สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ตอนที่ 2








เสลาต้นไม้ประจำมหาวิทยานเรศวร

วงศ์
LYTHRACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์
Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn.

ชื่ออื่น
เกรียบ ตะเกรียบ (ชอง-จันทบุรี), ตะแบกขน (นครราชสีมา), เสลาใบใหญ่ อินทรชิต(ทั่วไป)

ขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด


ถิ่นกำเนิด
ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าชายหาด ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางลงไปถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 10–20 เมตร เรือนยอดกลมทึบ กิ่งห้อยลง ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโค้งมน ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีม่วง ม่วงอมชมพูหรือม่วงอมขาว ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ผล มีเมล็ดมีปีกจำนวนมาก

สภาพที่เหมาะสม
สภาพดินร่วน แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง







ต้นมะพร้าวต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยบูรพา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocos nucifera Linn.

ชื่อวงศ์ PALMAE

ชื่อสามัญ Coconut

ชื่อท้องถิ่น
จันทบุรี เรียก ดุง
กาญจนบุรี เรียก โพล
แม่ฮ่องสอน เรียก คอส่า
ทั่วไป เรียก หมากอุ๋น หมากอูน
จีน เรียก เอี่ยจี้

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น สูงชะลูด 7–10 เมตร เปลือกลำต้นแข็ง ใบ ออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเป็นแผ่นแคบยาว เรียงสลับกันเป็นรูปขนนกปลายใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อตามบริเวณกาบที่หุ้ม ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ผล เป็นรูปกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8-9.5 นิ้ว เปลือกนอกเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา เนื้อผลมีสีขาวนุ่ม และมีน้ำใส รสจืดหรือหวาน







ราชพฤกษ์ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ชื่อสามัญ Golden Shower

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassis fistula Linn.

วงศ์ LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น คูน, ลมแล้ง

ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนกลาง ทางใต้ของอเมริกา และออสเตรเลียตอนเหนือ

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

ลักษณะทั่วไป ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 12–15 เมตร ลำต้นสีขาวปนเทา ผิวเรียบมีรอยเส้นรอบต้น และรอยปมอยู่บริเวณที่เกิดกิ่ง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยเป็นคู่ออกจากก้านใบ ใบย่อยมีประมาณ 4–8 คู่ ใบรี รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบสีเขียว ออกดอกสีเหลือง เป็นช่อห้อยระย้าตามก้านใบ เวลาออกดอกใบจะร่วง

สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ต้องการน้ำน้อยทนแล้ง แสงแดดจัด







กันภัยมหิดลต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล

ชื่อวิทยาศาสตร์ Afgekia sericea

ชื่อสามัญ -

วงศ์ LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น ถั่วแปบช้าง

ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้เถาเลื้อย ต้องการหลักยึด ลำต้นเป็นสีน้ำตาล ใบ มีสีเขียว ท้องใบจะขาว ลักษณะของใบเหมือนกับรูปรีทาง ปลายใบแหลมเล็กน้อย จะออกตามกิ่งก้านที่แตกออกมาจากลำต้น ดอก จะออกดอกเป็นช่อยาว และแต่ละดอกจะอัดตัวกันแน่นเป็นกระจุก ภายในดอกๆ หนึ่งจะมีสีดอกอยู่ 3 สีคือหลังกลีบบน สีขาวๆ เหลืองๆ กลีบในสองกลีบสีขาว กลีบล่างสองกลีบสีชมพูม่วง ปลีดอกสีม่วง ช่อดอกจะยาวยื่นออกไปประมาณ 30–40 ซม. ดอกบานกว้างประมาณ 3.5 ซม. ถ้าปลูกในดินที่ดีแล้วจะออกดอกดกมาก

ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม ชอบดินร่วนซุยและปนทราย ความชื้นปานกลาง แสงแดดจัดหรือกลางแจ้ง มีลักษณะพิเศษของพืชชนิดนี้ คือไม่ตายง่าย และไม่พักตัวเหมือนพืชเถาอื่นๆ

ถิ่นกำเนิด เป็นไม้ที่อยู่ในประเทศไทย

เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี แห่งวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 2 มีนาคม 2542 มหาวิทยาลัยมหิดลมีดำริให้จัดการประกวดพรรณไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางและพรรณไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดลให้ยั่งยืนตลอดไป เนื่องจากมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่ยังไม่มีพรรณไม้สัญลักษณ์เป็นทางการ และมักจะมีความเข้าใจผิดว่า ศรีตรัง เป็นพรรณไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องจาก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ปลูกต้นศรีตรังไว้ที่บริเวณหน้าคณะและยังเป็นชื่อเพลงซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายเพลงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล และในที่สุดคณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกรายชื่อพรรณไม้ไว้ 3 ชนิดเสนอต่อที่ประชุมคณบดีเพื่อพิจารณาตัดสินใจ คือ
1. กันภัยมหิดล
2. พญายา
3. พญาสัตบรรณ
ต่อมาที่ประชุมคณบดีมีมติให้นำความขึ้นกราบทูลต่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อขอประทานพระวินิจฉัย ซึ่งได้ประทานพระวินิจฉัยให้กันภัยมหิดลเป็นพรรณไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ดังที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้อัญเชิญพระวินิจฉัยไว้ในสูจิบัตรงานสถาปนามหาวิทยาลัยมหิดลครบ 30 ปี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2542 ดังนี้

ชื่อ "กันภัยมหิดล" เป็นชื่อที่ดีและมีความหมายดีไม่เฉพาะเหมือนชื่อของต้นพญายาที่สื่อความหมายเพียงด้านเดียว "กันภัย" เป็นนามมงคล สื่อถึงการป้องกันภยันตรายให้แก่ชาวมหาวิทยาลัยมหิดล "มหิดล" ตั้งชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และมีนามพ้องกับชื่อของมหาวิทยาลัยมหิดล ต้นกันภัยมหิดล เป็นต้นไม้ที่มีค่ายิ่ง เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่พบครั้งแรกในโลกที่ จ.กาญจนบุรี และยังไม่พบว่ามีพรรณไม้ชนิดนี้ในประเทศอื่นอีก จึงเป็นสิ่งเดียวในโลกที่มีค่ายิ่ง เป็นต้นไม้ที่มีดอกตลอดทั้งปี และดอกมีลักษณะสวยงาม ผลไม่เป็นพิษเหมือนกับต้นพญาสัตบรรณ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Devil Tree ซึ่งอาจสื่อความหมายในเชิงลบได้ ลักษณะของต้นเป็นไม้เถามี ข้อดีในการหาพื้นที่ปลูกได้ง่ายและดัดแปลงรูปทรงได้ตามต้องการตามภูมิทัศน์ แพร่พันธุ์ได้ง่ายและมีอายุยืน แม้ส่วนบนจะตายก็ยังสามารถงอกใหม่ได้อีก

ถึงแม้มีลักษณะเป็นไม้เถา แต่ถ้านำมาปลูกเป็นพุ่มรวมกัน หาอะไรเป็นหลักให้เกาะให้สูงๆ หรือต้นไม้ใหญ่ให้เกาะเลื้อยออกดอกไปตามต้นไม้ใหญ่ก็จะสวยงาม







อินทนิล (อินทนิลบก) ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia macrocarpa Wall.

วงศ์ LYTHRACEAE

ชื่ออื่น จ้อล่อ, อินทนิลบก

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ผลัดใบขนาดเล็ก สูง 5-12 เมตร เรือนยอดรูปไข่ เปลือกต้นสีเทาอ่อนหรือน้ำตาล มีปุมปมตามลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่กลับหรือรูปรีป้อม ปลายใบมนหรือแหลมติ่ง โคนสอบมน สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อตั้งที่ปลายกิ่ง ดอกมีขนาด 6-10 ซม. มี 6 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้น สีม่วงสดแล้วซีดออกชมพู ออกดอกเดือนมีนาคม–พฤษภาคม ผลรูปไข่สีน้ำตาลอ่อนเป็นมัน กลีบเลี้ยงแข็ง มีเมล็ดจำนวนมาก
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม ในที่โล่งแจ้ง แสงแดดจัด ดินร่วนซุย
ถิ่นกำเนิด เอเซียเขตร้อน กระจายทั่วไปในป่าโล่งแจ้งหรือป่าเต็งรัง







ดอกหอมนวล (ลำดวน) ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ชื่อสามัญ Devil Tree, White Cheesewood

ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum Lour.

วงศ์ ANNONACEAE

ชื่ออื่น ลำดวน (ภาคกลาง), หอมนวล (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 3–8 เมตร ลำต้นเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบยาวรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย หลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อนกว่า ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบและส่วนยอด สีเหลือง กลิ่นหอม กลีบดอกและกลีบรองดอกคล้ายกัน ดอกหนึ่งจะมีอยู่ 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้นชั้นละ 3 กลีบ กลีบแต่ละกลีบชั้นในจะมีขนาดเล็กกว่าและโค้งกว่าปลายกลีบแหลม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม ผลสีเขียวอ่อน ยาว ปลายมน โคนผลแหลม ผิวเรียบเกลี้ยง
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้







สุพรรณิการ์ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานต้นสุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคารหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2542

ชื่อสามัญ Yellow Silk Cotton Tree, Yellow Cotton

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cochlospermum religiosum Alston

วงศ์ COCHLOSPERMACEAE

ชื่ออื่น ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)

ถิ่นกำเนิด อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย แสงแดดจัด

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ มี 5 แฉก ปลายใบแฉกแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเป็นคลื่น ออกเวียนสลับกัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งสีเหลือง ผล เป็นรูปไข่กลับ เมื่อแห้งเมล็ดสีน้ำตาล มีปุยสีขาวคล้ายปุยฝ้ายหุ้มเมล็ด







ต้นประดู่ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ชื่อสามัญ Burmese Rosewood

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd.

วงศ์ LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น ดู่บ้าน (ภาคเหนือ), ประดู่บ้าน ประดู่ลาย (ภาคกลาง), สะโน (มลายู-นราธิวาส), ประดู่ไทย (ภาคกลาง), ประดู่กิ่งอ่อน (ทั่วไป)

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มหรือดำคล้ำ มีสะเก็ดแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย แผ่นใบรูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ รูปดอกถั่ว สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผล เป็นรูปโล่ มีครีบเป็นแผ่นกลม ตรงกลางนูน

ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง

ถิ่นกำเนิด แถบทะเลอันดามัน มัทราช อ่าวเบงกอล มาเลเซีย และภาคใต้ของไทย







สาละ (สาละลังกา)ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ชื่อสามัญ Cannon-ball Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ Couroupita guianensis Aubl.

วงศ์ LECYTHIDACEAE

ชื่ออื่น ต้นลูกปืนใหญ่

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูงประมาณ 80 ฟุต เรือนยอดกลมหรือรูปไข่หนาทึบ เปลือกต้นขรุขระตกสะเก็ดเป็นร่อง เปลือกสีน้ำตาล ใบเดี่ยว เรืองเวียนเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ลักษณะใบยาวรูปหอกหรือรูปไข่ ขอบใบจักสั้น ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว ปลายช่อโน้มลงกลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลีบค่อนข้างแข็ง ดอกตูมจะเป็นสีเหลือง เมื่อบานดอกจะมีสีแดง หรือสีชมพูอมเหลือง กลิ่นหอมฉุน ออกดอกเกือบตลอดปี ผลมีขนาดใหญ่ เปลือกแข็ง ลักษณะคล้ายลูกปืนใหญ่สมัยโบราณ มีเมล็ดจำนวนมาก
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง

ถิ่นกำเนิด เกาะคาริบเบียนในอเมริกาใต้







จันต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร

ชื่ออื่น จันอิน จันโอ (ทั่วไป), จันขาว จันลูกหอม (ภาคกลาง)

ชื่อสามัญ Diospyros decandra Lour.

วงศ์ EBENACEAE

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นสูง 20 เมตร ยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรี ดอก แยกเพศ เพศผู้เป็นช่อ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท สีขาวนวล ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่า ผลเป็นผลสดมีสองลักษณะคือ ทรงกลมแป้นเรียกว่าลูกจัน และทรงกลมเรียกว่าลูกอิน เมื่อสุกสีเหลือง มีกลิ่นหอม และกลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่

ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด กลางแจ้ง

ถิ่นกำเนิด ไทย พบขึ้นตามป่าดิบแล้งทางภาคกลาง นิยมปลูกตามวัด







ศรีตรังต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ชื่อวิทยาศาสตร์ Jacaranda filicifolia D. Don.

ชื่อสามัญ Jacaranda, Green ebony

วงศ์ BIGNONIACEAE

ชื่ออื่น แคฝอย (กรุงเทพฯ), ศรีตรัง (ตรัง)

ถิ่นกำเนิด เป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม.ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก

สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด






 

Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2552
2 comments
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2552 9:50:32 น.
Counter : 4570 Pageviews.

 

ได้ความรู้ใหม่ๆเพียบเลยครับ

 

โดย: adeagus 11 กุมภาพันธ์ 2552 10:19:13 น.  

 

 

โดย: izephyr888 29 มกราคม 2555 10:12:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
11 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.