บทความ ความรู้ กฎหมายระหว่างประเทศ โดย: หลวงเพ่งพินิจ
 
ตุลาคม 2555
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
3 ตุลาคม 2555

การที่สหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศมหาอำนาจ จะกลับมาใช้ฐานทัพอากาศอู่ตะเภาของไทย ตอนที่ 3

6. ในที่สุดคดีที่มีชื่อว่าRyuichi Shimoda et.al. v. TheState et.al in the District Court of Tokyo ก็มาถึงบทสรุปสุดท้ายในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1963 โดยศาลดิสตริคของมหานครโตเกียวได้ให้คำวินิจฉัยในเรื่องนี้ในประการสำคัญดังต่อไปนี้:-

“ The aerial bombardment with atomic bombs of the citiesof Hiroshima and Nagasaki was an illegal act of hostilitiesaccording to the rules of international law. Nevertheless, the claimant as an individual wasnot entitled to claim damages on the plane of international law , andhe was not able , as the result of the doctrine of sovereign immunity, to pursue a claim on the plane of municipal law.In these circumstances , the plaintiffs had no rights to lose as a resultof the waiver contained in Article 19 ( a ) of the Treaty of Peace with Japan

เมื่อแปลเป็นภาษาไทยคงได้ความว่า:-

การโจมตีทางอากาศด้วยระเบิดปรมาณูต่อเมืองฮิโรชิมา และนางาซากิ เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายในเรื่องของการเป็นศัตรูกันตามกฏเกณฑ์ของกฏหมายระหว่างประเทศ.ในที่สุด,ผู้เรียกร้องเป็นเอกชนคนธรรมดา ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าแห่งความเสียหายในระดับนานาชาติที่ต้องใช้กฏหมายระหว่างประเทศบังคับ,และเขาไม่สามารถที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อติดตามทวงถามตามสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ในระดับของชาติที่ต้องใช้กฏหมายภายในบังคับ ทั้งนี้เป็นผลมาจากหลักการของเอกสิทธิคุ้มครองทางคดีต่ออธิปัตย์แห่งรัฐ.ในสถานการณ์เช่นที่เป็นอยู่นี้บรรดาโจทก์ทั้งหลายไม่สูญเสียสิทธิใดๆอันเป็นผลมาจากการยกเลิกสิทธิเรียกร้องตามที่บัญญัติไว้ในบทบัญญัติที่ 19( a ) ของสนธิสัญญาสงบศึกกับประเทศญี่ปุ่น

บทบัญญัติที่ 19 (a) ของสนธิสัญญาสงบศึกกับประเทศญี่ปุ่น ดังบัญญัติเป็นภาษาอังกฤษดังนี้:-

“Japan waives all claims of Japan and itsnationals against the Allied Powers and their nationals arisingout of the war or out of actions taken becauseof existence of a state of war and waives all claims arisingfrom presence , operations or actions of forces or authorities of any ofthe Allied Powers in Japanese territory prior to the coming into forceof the present treaty ”

แปลเป็นภาษาไทยคงได้ความดังนี้:- ประเทศญี่ปุ่นขอยกเลิกสิทธิเรียกร้องใดๆของประเทศญี่ปุ่นและของคนในชาติที่มีสิทธิเรียกร้องต่อสัมพันธมิตร และประชาชนในชาติของสัมพันธมิตร ที่สิทธิเรียกร้องเช่นว่านั้นเกิดจากสงครามหรือการกระทำใดๆที่ได้กระทำไปแล้ว อันเป็นผลเนื่องมาจากสถานะสงครามที่เป็นอยู่ และขอยกเลิกสิทธิเรียกร้องใดๆที่จะเกิดขึ้นในเวลาปัจจุบัน,การปฏิบัติการ หรือการกระทำที่ต้องใช้กำลังหรือกระทำไปภายใต้อำนาจของสัมพันธมิตรในบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศญี่ปุ่นก่อนที่สนธิสัญญานี้จะมีผลบังคับ”

การฟ้องคดีในคดี Ryuichi Shimoda et.al. v. TheState et.al in the District Court of Tokyo นั้น เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติที่4 ของสนธิสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1907 ที่บัญญัติถึงกฏเกณฑ์และประเพณีการทำสงครามทางบก, บทบัญญัติที่9 ว่าด้วยการใช้ปืนเรือยิงถล่มโดยกองกำลังทางทัพเรือในยามสงคราม,ร่างกฏเกณฑ์ของการทำสงครามทางอากาศฉบับกรุงเฮกปีค.ศ. 1922 – 1923 เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับสนธิสัญญากรุงเจนีวาค.ศ.1949ฉบับที่ 4 ว่าด้วยการต้องให้ความคุ้มครองแก่เอกชนในยามที่เกิดสงครามและในยามที่เกิดความขัดแย้งทางอาวุธภายในรัฐใดๆที่มิใช่ความขัดแย้งทางอาวุธในระดับนานาชาติ และบทบัญญัติที่3 ร่วมที่ต้องให้ความคุ้มครองแก่เอกชนหรือพลเรือนอย่างสูงสุดก่อนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จะใช้อาวุธปรมาณูสหรัฐอเมริกาต้องจำแนกพื้นที่ที่ทำการรบหรือสนามรบออกจากบริเวณเมืองที่มีพลเรือนอาศัยอยู่ให้ได้ก่อนการตัดสินใจที่จะใช้อาวุธปรมาณูถล่มใส่ทางอากาศ แต่สหรัฐอเมริกา ก็ไม่ทำ จึงเป็นเหตุให้การกระทำของสหรัฐอเมริกาเป็นความผิดตามกฏหมาย นั่นก็คือ กฏเกณฑ์และประเพณีในการทำสงครามทางบกซึ่งศาลดิสตริคของกรุงโตเกียวตัดสินไว้โดยชอบแล้วซึ่งในเวลาต่อมาศาลอุทธรณ์แห่งรัฐคาลิฟอร์เนียเขตอุทธรณ์ในดิสตริคที่ 4 หน่วยงานที่ 3 ได้พิพากษาในคดี MitsuiMaterials Corporation et al v. Frank H. Dillman et.al (ฉบับลงพิมพ์โฆษณาลงวันที่ 11 เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2003) คดีหมายเลขแดงของศาลสูงสุดแห่งรัฐคาลิฟอร์เนียที่814430 และในคดีหมายเลขแดงที่ 814594 ไว้โดยให้เหตุผลเช่นเดียวกันกับศาลดิสตริคแห่งกรุงโตเกียว ในกรณีที่เชลยศึกชาวอเมริกันที่ถูกจับได้โดยกองทัพญี่ปุ่นถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงานให้กับบริษัททำการค้าญี่ปุ่น ศาลอุทธรณ์ของรัฐคาลิฟอร์เนียได้พิพากษายกฟ้องจำเลยที่เป็นเชลยศึกชาวอเมริกันผู้เสียหายที่เรียกร้องค่าเสียหายด้วยเหตุผลและข้อกฏหมายเดียวกันนี่จึงเป็นอุทธาหรณ์ที่จะชี้ว่าเมื่อสหรัฐอเมริกา ละเมิดต่อสนธิสัญญากรุงเจนีวาค.ศ.1949และบทบัญญัติที่ 3 ร่วมคงให้ผลเป็นจุดจบเช่นเดียวกัน

ที่ยกอุทาหรณ์คดีดังกล่าวมาก็เพื่อเตือนสติฝ่ายบริหารไทยว่าอย่าดำเนินการใดๆในเรื่องสนามบินอู่ตะเภากับอเมริกันโดยลำพัง เพราะในวันนี้ เป็นเรื่องที่ต้องใช้สนธิสัญญาTreaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia Indonesia, 24 February 1976 เข้ามาแก้ไขสถานการณ์อันคับขันแล้วมิฉะนั้นคู่ภาคีฝ่ายอื่นๆของสนธิสัญญานี้ย่อมเกิดสิทธิฟ้องร้องบังคับแก่ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาในศาลโลกเป็นแน่แท้โดยให้ประเทศทั้งสองต้องรับผิดชอบตามสนธิสัญญาฉบับนี้

7. การใช้อากาศยานหรือเครื่องบิน ถ้าเป็นอากาศยานขนถ่ายสินค้าเอกชนต้องถูกบังคับและเป็นไปตาม สนธิสัญญากรุงวอร์ซอร์ว่าด้วย เรื่องการบิน ผู้โดยสาร, สินค้า และความเสียหาย ต่อมากฏเกณฑ์ถูกแทนที่โดยสนธิสัญญากรุงมอนทรีออล(MontrealConvention,1999 ) ค.ศ.1999 และ CHICAGOCONVENTION เกี่ยวกับเรื่องการบินและตารางการบิน สนธิสัญญาทั้งสามที่บังคับแก่การบินฝ่ายเอกชนนั้นมีความเหลื่อมกันอยู่ในเรื่องการใช้พาหนะทางอากาศ หากเป็นของรัฐ ก็ต้องอยู่ภายใต้สนธิสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1907 และสนธิสัญญากรุงเจนีวา ค.ศ1949 ทั้งสี่ฉบับและบทบัญญัติที่ 3 ร่วมด้วย หากใช้เพื่อการสงคราม หรือเพื่อการสอดแนมที่ถือว่าเป็น Act of Hostilities(การกระทำที่เป็นอริราชศัตรู) ดังได้อธิบายมาแล้วข้างต้น ทั้งนี้เพราะอากาศยานทั้งสองชนิดได้มีการรับรองโดยกฏของนานาชาติให้ผลในทางปฏิบัติไม่เหมือนกัน

8. เมื่อจะต้องทำให้ถูกต้องตามกฏทุกอย่างประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา จะต้องนำเรื่องการใช้ฐานทัพอากาศอู่ตะเภา เข้าสู่ที่ประชุมของสภาสูงอาเซี่ยน เพื่อขอการตัดสินใจและยินยอมเสียก่อนทั้งนี้เป็นไปตาม RULES OF PROCEDURE OF THE HIGH COUNCIL OF THE TREATY OF AMITY ANDCOOPERATION IN SOUTHEAST ASIA ประเทศไทย และประเทศสหรัฐอเมริกาไม่มีสิทธิให้ความยินยอมแก่การใช้ฐานทัพสัตหีบ(สนามบินอู่ตะเภา)โดยลำพังต้องถาม และขอความเห็นชอบของชาติภาคีสมาชิกของสนธิสัญญา Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia Indonesia, 24 February 1976 เสียก่อน จึงจะถูกต้อง.

ในฐานะที่ผมเป็นคนไทยคนหนึ่ง ที่มีความหวงแหนในอธิปัตย์ และบูรณภาพแห่งดินแดนไทย จึงเห็นสมควรที่จะต้องนำเสนอปัญหานี้ต่อสาธารณชนเพื่อให้ช่วยกันคิด และช่วยกันหาทางออกให้แก่ ฝ่ายบริหารชุดนี้ด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ

จึงเรียนมาด้วยความเคารพและในไมตรีจิตรมิตรภาพ

ขอแสดงความนับถือ

หลวงเพ่ง พินิจ




 

Create Date : 03 ตุลาคม 2555
0 comments
Last Update : 3 ตุลาคม 2555 11:57:44 น.
Counter : 813 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


หลวงเพ่งพินิจ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




หลวงเพ่งพินิจ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ อดีตเป็นอัยการประจำกรม กองคดีอาญา 10 กรมอัยการ และได้รับเกียรติบัตร ชมเชยจากประธานาธิบดี เรแกน และกระทรวงยุติธรรม สหรัฐอเมริกา ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตในเรื่องการปราบปรามการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ และปราบปรามการค้าดอลลาร์เถื่อน พนักงานอัยการ กรมอัยการ ผู้บรรยายพิเศษโรงเรียนสารวัตรสืบสวนสอบสวนและผู้กำกับการวิชา บริหารยุติธรรมเปรียบเทียบ ปี 2539 – 2549

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และนักจัดรายการวิทยุ รายการวิพากษ์ประชาธิปไตย FM.92.25
ผลงานเขียนหนังสือ บทความ FTA ใครได้ใครเสีย หนังสือพิมพ์ สวัสดีกรุงเทพ บทความยุคอันธพาลครองโลก ปี ค.ศ. 1997 - 2001
บทความ ฯลฯ นามปากกา หลวงเพ่งพินิจ นิตยสาร CITY JORUNAL
เอกสารสอน วิชานิติปรัชญา FTA ใครได้ใครเสีย , การแก้วิกฤติเศรษฐกิจ โลกาภิวัฒน์


***สงวนลิขสิทธิ์บทความตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พศ. 2537 มาตรา 15 ***
New Comments
[Add หลวงเพ่งพินิจ's blog to your web]