My World
 
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
4 สิงหาคม 2552
 
 
Google

Innovation To Go สไตล์กูเกิล !!!!

credit : K.Bing //www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X8161671/X8161671.html

คอลัมน์ แยบยลกลยุทธ์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรยุส วัฒนาศุภโชค Teerayout@acc.chula.ac.th ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4018 (3218)

นับถึงวันนี้ คงยากจะหานักเล่นอินเทอร์เน็ตที่ไม่รู้จักกูเกิล นะครับ ถือว่าเป็นเว็บไซต์ที่ทรงพลังที่สุดเว็บหนึ่งในโลกไซเบอร์ เรียกว่า จะค้นหาข้อมูลใด รูปภาพที่ไหน ถ่ายภาพโลเกชั่นใดๆ ในโลก เป็นต้องนึกถึงกูเกิลมาก่อนเสมอ รวมถึงมีการให้บริการกูเกิลเอิร์ทที่โด่งดัง สามารถทำให้ทุกแห่งหนบนโลก ไม่เป็นแดนสนธยา ที่มืดดำอีกต่อไป

อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในเว็บท่า (portal web) ที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยคำว่าเว็บท่านั้น เปรียบเสมือนท่าเรือที่นักท่องเน็ตทุกท่านต้องมาแวะจอด ก่อนที่จะทะลุทะลวงผ่านไปยังเว็บอื่นๆ ต่อไป ซึ่งกูเกิลตอนนี้ทำได้ดีมาก ไม่เพียงเว็บแม่ของกูเกิลเอง แต่ //www.gmail.com ที่นำเสนอฟรีเมล์ให้กับทุกคน ก็กำลังสร้างความนิยมไม่น้อยกว่า Hotmail หรือ Yahoo เลย เรียกว่าเขย่าบัลลังก์เจ้าแห่งผู้ให้บริการฟรีเมล์

และกูเกิลเองก็ยังไม่หยุดยั้งในการสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ ออกมาท้าทายสายตาชาวโลก โดยไม่ต้องการเป็นแค่เพียง เจ้าแห่งสื่อในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยัง ขยับขยายไปยังธุรกิจสื่อครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นสื่อในเน็ต สื่อแบบดั้งเดิม ทั้งโทรทัศน์ บิลบอร์ด และสื่ออื่นๆ เรียกว่าเอเยนซี่โฆษณาทั้งหลายต้องเหลียวหันมามองกูเกิลในยุคใหม่นี้กันทั้งสิ้น เพราะกำลังจะครอบครองทุกสื่อ ทุกช่องทางที่เข้าถึงตัวผู้บริโภคทุกคนอย่างครบวงจรทีเดียว

สิ่งหนึ่งที่นำสู่ความสำเร็จของกูเกิลอย่างรวดเร็วแซงหน้าคู่แข่งมากขนาดนี้ ก็เพราะนวัตกรรมที่แตกต่างเป็นเอกลักษณ์ ที่กูเกิลพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จนคู่แข่งสารพัดรายถึงกับมีการวิเคราะห์กลยุทธ์การ สร้างสรรค์นวัตกรรมของกูเกิลกันเลยว่า ใช้แนวทางใดถึงกระตุ้นให้เกิดสิ่งใหม่ๆสร้างสรรค์ได้มากมายในเวลาอันสั้น

กลยุทธ์ที่สำคัญของกูเกิล คือ การที่กิจการปลูกฝังวัฒนธรรมด้านการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ให้กับบุคลากรทุกคนอย่างเหนียวแน่น โดยที่เห็นอย่างชัดเจนก็คือ นโยบายที่ผลักดันให้บุคลากรทุกคนใช้เวลาที่เหลือ 20% ในการทำงาน มาใช้ในการทำโปรเจ็กต์พิเศษนอกเหนือจากงานประจำของตน โดยโปรเจ็กต์นั้นๆ ต้องเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในการทำงานของกิจการ ซึ่งกิจการจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และนำมาเป็นผลงานชิ้นโบแดงของแต่ละคนได้อีกด้วย

นโยบายดังกล่าวทำให้ทุกคนในกิจการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนา ไอเดียใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหากตนเองเป็นพนักงานกูเกิล แต่ไม่กระตือรือร้นที่จะสร้างความแปลกใหม่เร้าใจที่แตกต่างให้เกิดขึ้นแล้ว ก็ยากที่จะเจริญรุ่งเรืองอยู่ในกิจการครับ ทำให้ทุกคนต้องพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง จนกลายเป็น "บรรทัดฐาน" ของคนในกูเกิลไปแล้ว

การที่กูเกิลมีโลเกชั่นหลักๆ อยู่ถึงกว่า 50 แห่งกระจัดกระจายกันอยู่ ทำให้การพบปะหน้าตา เพื่อร่วมกันเป็นทีมงานสร้างสรรค์นวัตกรรม จึงทำได้ยากลำบากขึ้น แต่กูเกิลก็ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยีการสื่อสารอยู่แล้ว จึงใช้สารพัดเทคนิคมาทดแทนได้อย่างไม่มีปัญหามากนักครับ

อีกกลยุทธ์หนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อการสร้างนวัตกรรมของกูเกิลก็คือ การ เทกโอเวอร์หรือเข้าซื้อกิจการอื่นๆ เพื่อได้รับแนวคิดไอเดีย ทักษะ และเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในกิจการ โดยดีลยักษ์ใหญ่ล่าสุด คือ ดับเบิลคลิก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจการด้านอีคอมเมิร์ซที่กำลังเป็นที่นิยม ซึ่งเมื่อมาอยู่ภายใต้ชายคาของกูเกิลแล้ว ก็เท่ากับเพิ่มเขี้ยวเล็บให้กับกิจการได้ อย่างมาก และนำนวัตกรรมเข้ามาสู่กิจการได้ไม่น้อยทีเดียว

กูเกิลเน้นย้ำว่า การที่จะส่งเสริม นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ควรมุ่งเน้นที่การเทกโอเวอร์กิจการที่ขนาดไม่ใหญ่โตนัก ซึ่งดีลขนาดใหญ่แบบดับเบิลคลิก คงไม่เห็นบ่อยครั้งนักนับจากนี้ โดยเหตุผลก็คือ กิจการขนาดเล็ก อย่างที่ทราบกันว่าก็มีความคล่องตัว ยืดหยุ่นค่อนข้างสูงกว่ากิจการขนาดใหญ่อยู่แล้วครับ มักจะรู้จักในชื่อที่เรียกว่า องค์กรแบบผู้ประกอบการ (entrepreneurial organization) ซึ่งก็ทำให้มักมีนวัตกรรมเก๋ไก๋เปี่ยมศักยภาพแฝงอยู่ในกิจการลักษณะนี้อยู่ตลอดเวลา

อีกเหตุผลหนึ่งที่กูเกิลเน้นการเทกโอเวอร์กิจการขนาดเล็กมากกว่า ก็เนื่องจากจะทำให้เกิดการผสมผสานถ่ายเทแนวคิดระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะถูกกลืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิลได้อย่างไม่ยากเย็น แรงเสียดทานและการ ต่อต้านน้อยกว่า เพราะกิจการขนาดเล็กนั้น มักจะมีวัฒนธรรมที่อ่อนกว่า และมีแนวโน้มที่จะผสมกลมกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ กูเกิลได้ง่ายดายกว่ากิจการที่มีขนาดใหญ่ที่มีจำนวนพนักงานมาก ทำให้ลดความขัดแย้งด้านวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ระหว่างกิจการลงได้มากครับ

ในกระบวนการของการเทกโอเวอร์นั้น กูเกิลจะไม่นิยมการเข้าซื้อแบบปรปักษ์ (hostile takeover) เลย ซึ่งการเข้าซื้อลักษณะนี้คือ การซื้อที่กิจการผู้ถูกซื้อ ไม่ยินยอมพร้อมใจ พยายามหลีกลี้หนีห่าง ผู้ไล่ล่าซื้อกิจการให้มากที่สุด และใช้ทุกวิถีทางในการต่อสู้ดิ้นรนจากการเทกโอเวอร์นั้น ซึ่งก็มักลงเอยด้วยการบาดเจ็บ ขัดแย้ง และสร้างรอยแผลเอาไว้ให้กับทั้งสองฝ่ายอย่างมากหลังจากการเข้าซื้อกิจการจบสิ้น

กูเกิลไม่นิยมการเข้าซื้อกิจการแบบนี้เลย เพราะจะนำไปสู่ความยากลำบากในการผสมผสาน สร้างความเป็นเอกลักษณ์ด้านนวัตกรรมต่อไปในภายภาคหน้าครับ อีกทั้งการเทกโอเวอร์แบบนี้ มักทำให้เกิดการลาออกของบุคลากรระดับมันสมองและผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ของกิจการที่ถูกซื้อ ทำให้เกิดความสูญเสีย ไอเดียใหม่ๆ และลดศักยภาพของกิจการไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อีกทั้งการถ่ายโอนความรู้ทักษะ และการผสมกลมกลืนกันระหว่างสองกิจการเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้นครับ และทีมเวิร์กของบุคลากรทั้งสองฝ่ายก็ยากที่จะเกิด นวัตกรรมจากการผสมผสานจุดเด่นของ ทั้งสองกิจการ ก็จะประสบความสำเร็จได้น้อยลงเช่นกันครับ ซึ่งเป็นการลดสัมฤทธิผลของการเทกโอเวอร์ดังกล่าว

ดังนั้น ในแต่ละเคสของกูเกิลนั้นมักจะเป็นการเทกโอเวอร์แบบเป็นมิตร (friendly takeover) มากกว่า ซึ่งทำให้บุคลากรทั้งสองฝ่ายยินยอมพร้อมใจ และเต็มใจที่จะผสมกลมกลืนกัน เป็นหนึ่งเดียวกันในองค์กรของกูเกิล และในที่สุดก็จะถูกหล่อหลอมด้วยวัฒนธรรมของกูเกิล จนสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างใจปรารถนาครับ

ที่กล่าวมาเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ กูเกิลนำสู่ความสำเร็จด้านนวัตกรรมของตนเองนะครับ อาจจะลองพิจารณา นำไปประยุกต์ใช้ดูบ้าง เพื่อผลักดันทุกกิจการของเราสู่ความเป็นองค์กรนวัตกรรมของเราเต็มภาคภูมิครับ

//www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q3/2008july14p4.htm



************************************


กูเกิ้ล .. แจ๊คผู้(กำลัง)ฆ่ายักษ์

ไมโครซอฟท์เตรียมถอดใจกับ Yahoo!

ความพยายามเข้าซื้อกิจการ Yahoo! ของไมโครซอฟท์อาจจะกำลังหมดลง เมื่อ Steve Ballmer เริ่มให้ข่าวว่าไมโครซอฟท์กำลังเตรียมเดินหน้าต่อไปโดยไม่มี Yahoo! เป็นเพื่อนร่วมทาง

Ballmer ระบุว่า Yahoo! ควรรับข้อเสนอของไมโครซอฟท์เพื่อร่วมกันไล่ตามหมายเลขหนึ่งอย่างกูเกิลโดยเร็ว และ Baller เองต้องการแน่ใจว่ากูเกิลจะมีคู่แข่งที่สูสีกัน และการรวมตัวกันนี้น่าจะทำให้ทั้งสองบริษัทขึ้นแท่นคู่แข่งสำคัญได้เร็วกว่า อย่างไรก็ตามไมโครซอฟท์พร้อมจะเดินหน้าต่อไปตามลำพัง

วันเสาร์นี้จะถึงเส้นตายที่ไมโครซอฟท์วางไว้ว่าจะเดินหน้าซื้อ Yahoo! ต่อไปโดยไม่สนคำตอบรับของผู้บริหาร โดยไมโครซอฟท์ขู่ว่าจะเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้น Yahoo! เปลี่ยนทีมบริหารหากจำเป็น

ที่มา - ITWorld
ข่าว ภ.ไทยจาก Blognone

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ใครที่ได้ติดตามข่าวดีลนี้ คงพอจะทราบว่ามันหมายความว่าอย่างไรบ้าง
เรื่องของเรื่องก็คือ ไมโครซอฟต์ต้องการจะแข่งกับ GooGle ทำไมต้องกูเกิ้ล? ทำไมตอนมีแต่ YAHOO!
ไมโครซอฟต์ถึงไม่เห็นต้องการจะทำอะไรเลย แต่สำหรับกูเกิ้ล อะไรคือสิ่งที่ต่างออกไป ย้อนกลับไปได้ถึง 2 ตอน ;P (การทำลายเน็ตสเคปของไมโครซอฟต์ , และ ซิลิคอนวัลเลย์ )

ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟต์มองว่าอินเตอร์เน็ต เป็นได้เพียงช่องทางของข้อมูลข่าวสาร ทำไม ยักษ์ใหญ่ถึงขาดวิสัยทัศน์ได้ขนาดนั้น นั่นก็เพราะการเป็นเจ้าของโปรแกรมบราวส์เซอร์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก และการมีเงินถุงใหญ่อยู่ในกระเป๋า ดังนั้น จึงไม่ต้องดิ้นรนอะไรไปมากกว่านั่งรอให้คู่แข่ง ต่อสู้กันให้พอ แล้วเข้าไปช้อนตัก เมื่อโอกาสมาถึง .. เหมือนตอนที่ไมโครซอฟต์เริ่มมองเห็นช่องทางบางอย่างจากอินเตอร์เน็ต วิธีง่ายๆที่จะเป็นเจ้าตลาดในขณะนั้นก็คือ ซื้อ Hotmail แล้วสมาชิกทั้งหมดของ Hotmail ก็มาเป็นของไมโครซอฟต์!! ดีลง่ายๆ กลายเป็นผู้นำในตลาดผู้ให้บริการ e-mail


ก็แค่บังเอิญว่ากับกูเกิ้ล มันไม่สามารถเป็นแบบ เน็ตสเคป หรือ Hotmail ได้

กูเกิ้ลมีความแข่งแกร่ง นับแต่มันได้เริ่มก่อตั้ง เซอร์เกย์ บริน และ ลาร์รี่ เพจ พอใจจะให้ทุกอย่างเดินไปในเกมส์ของตน ซึ่งจริงๆแล้วทั้งคู่ไม่ได้ต้องการจะเป็นบริษัทมหาชนเลยด้วยซ้ำ ทั้งคู่ต้องการแค่เป็นบริษัทที่ไม่ถูกเหลียวมองด้วยสายตาของคู่แข่งรายใหญ่ๆ พวกเขาแค่ ต้องการทำบริษัท สร้างนวัตกรรม และค่อยๆเก็บกำไรก้อนโตไปโดยไม่อยากให้ใครเห็น .. แต่เงื่อนไข ของการใช้เงินจากบริษัทประเภทเวนเจอร์ แคปปิตอล (บริษัทร่วมเสี่ยงผู้ยอมให้เงินกับบริษัท ที่มีวิสัยทันศ์หรือนวัตกรรมที่น่าสนใจ) คือ อย่างน้อยก็ต้องทำกำไรกลับคืนสู่เจ้าของเม็ดเงิน ที่ยอมให้มัน

เรื่องการเข้าตลาดหลักทรัพย์ของกูเกิ้ลเล่าได้ไม่รู้จบ แนวคิดของทั้งคู่ค้านไปหมด แม้กระทั่งกับผู้ที่ต้องการถือหุ้นของบริษัทเอง ทั้งคู่ยอมไม่ได้ที่จะให้มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ๆ ส่งใครบางที่ที่ดูโง่เง่าเข้ามานั่งในบอร์ด เพื่อปลดผู้ก่อตั้งมัน หรือแม้แต่หากคู่แข่งจะมาซื้อหุ้น เพื่อสอดแนมบางอย่าง ภายในบริษัท และที่สำคัญคือ การเป็นบริษัทมหาชน ทำให้ทุกคนบนโลก จะได้รู้ว่ากู้เกิ้ลกำลังเก็บกำไรมหาศาล จากธุรกิจที่ทำอยู่

หนึ่งในเรื่องที่สำคัญก็คือบรินและเพจได้ชี้แจงกับผู้ที่ต้องการจะซื้อหุ้น ว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะไม่มีผู้ถือหุ้นรายใด สามารถเปลี่ยนแปลงอำนาจในการบริหารของคนทั้ง 3 ได้ (ชมิดท์ คือ CEO ร่วมอีกคน ในทีมบริหารผู้มีอำนาจสูงสุดของกูเกิ้ล ซึ่งจะมีอยู่ 3 คน ก่อนหน้านี้มีการวิพากษ์การบริหารงานที่มี CEO 3 คนพอสมควร ว่าไม่น่าจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ และกูเกิ้ลก็ทำให้เห็นแล้ว ด้วยกำไรก้อนโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี มีเรื่องติดตลกว่าหากต้องมีการยกมือให้กับเรื่องใดๆ ชมิดท์จะแพ้เสมอ -_-' )

กูเกิ้ลขายหุ้นไอพีโอ (การขายหุ้นครั้งแรก) ด้วยจำนวนเงิน 2,718,261,828 เหรียญ จำนวนเงินเท่ากับค่าของ 'e' ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ และในครั้งถัดมามันได้ขายหุ้นเพิ่มอีก 14,159,265 หุ้น การระดมเงินในครั้งหลังนี้ จำนวนของมันคือตัวเลขแปดหลักแรก หลังจุดทศนิยมในค่าของ "ไพ" ( pi อัตราส่วนของเส้นรอบวงกับเส้นผ่าศูนย์กลาง = 3.14159265) การซ่อนมุขสนุกๆ แม้แต่ในเรื่องสำคัญๆแบบนี้ คือวัฒนธรรมของกู้เกิ้ลไปแล้ว (เหมือนโปรแกรมเมอร์ที่ซ่อนไข่อีสเตอร์*ไว้ในโปรแกรมของตน) สิ่งที่ไมโครซอฟต์เกรงกลัว ไม่ใช่แค่ Search Engine ตัวหนึ่ง ที่ทีมวิศวกรของไมโครซอฟต์ไม่สามารถตามได้ทัน แต่มีข้อบ่งชี้ชัดเจนหลายอย่าง ที่ทำให้บิล เกตส์นอนไม่หลับ นั่นก็คือ ปัญหาสมองไหลจากไมโครซอฟต์ สู่กูเกิ้ล ในระดับหนึ่ง วิศวกรจะต้องการมากกว่าสถานะทางการเงิน การได้แข่งขัน หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นสิ่งที่หายไปนานจากไมโครซอฟต์ การดึงบุคลากรไปมันหมายถึงความลับทางธุรกิจบางอย่าง นอกจากความสามารถและประสบการณ์ที่มีค่าแล้ว โดยเฉพาะเมื่อวินโดวส์ ยังไม่สามารถค้นหาไฟล์ใดๆในตัวมันเองได้ดีพอ และกูเกิ้ล สร้างสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการใน Google Desktop (โปรแกรมค้นหาไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล) การให้ฟรี ทำให้ผู้ใช้จำนวนมาก นำมันมาติดตั้งในวินโดวส์ ยิ่งตัวเลขดาวส์โหลดมากเท่าไร ก็ยิ่งฟ้องว่าการค้นหาของตัววินโดส์เองนั้นแย่เพียงไร

และแล้ว สิ่งที่ไมโครซอฟต์เกรงกลัวก็เกิดขึ้นเมื่อกูเกิ้ล เปิดตัว กูเกิ้ลแอป์ ( Google Apps ) ซึ่งเป็นศูนย์รวมการใช้งานโปรแกรมเอกสารออนไลน์ มันมีทั้งเอกสาร พรีเซนท์เทชั่น และตารางเอ็กเซล โดยที่ทุกอย่างนั้นสามารถใช้งานได้ออนไลน์ นั่นหมายความว่าไมโครซอฟต์ เดินเกมส์ตามหลังกูเกิ้ลไปอีกครั้ง และดูจะเป็นก้าวยาวๆ ที่ทิ้งช่วงห่างระหว่างนวัตกรรมที่ควรจะพึงมี ของกูเกิ้ล กับไมโครซอฟต์ออฟฟิศ สินค้าเดิมๆ ซึ่งเป็นรายได้หลักหลักของไมโครซอฟต์

สิ่งสำคัญของกูเกิ้ลคือ นวัตกรรม มันหมายถึงว่ากูเกิ้ลเป็นของจริง นอกจากบริการต่างๆมากมายแล้ว มันยังขยายตัวเพิ่มออกไปเรื่อยๆ แม้ในทิศทางที่มันไม่ถนัด นอกจากนั้น ไม่จำเป็นว่าทุกอย่างจะเป็นไปเพื่อธุรกิจ (แน่ล่ะ มันย่อมส่งผลดีต่อตัวมันเองด้วยเสมอ แต่ด้วยเจตนาที่ดูดีกว่ารายอื่นๆ นั้นทำให้มันดู "บริสุทธ์" กว่าคู่แข่ง)


และดูเหมือน คำตอบของการนอนไม่หลับของบิลเกตส์ กำลังจะถูกเปิดเผย เมื่อกูเกิ้ล กำลังจะปล่อย แอนดรอย์ OS บนมือถือ (คือระบบปฏิบัติการ ที่ทำให้เครื่องมือถือทำงานได้) อย่างเป็นทางการ เร็วๆนี้ ซึ่งมันเป็นตลาดที่อยู่ท่ามกลางสมรภูมิอย่าง Symbian (ของโนเกีย) , Windows Mobile (ของไมโครซอฟต์) และ iPhone (ของ Apple) แต่อนดรอยด์นั้นฉลาดกว่า เพราะกูเกิ้ลไม่ได้ต้องการผลิตโทรศัพท์ขึ้นมาขายเอง กูเกิ้ลต้องการผลิต OS ซึ่งตอนนี้ HTC และ SAMSUNG ก็ได้เป็นหนึ่งในหลายๆบริษัทที่เซ็นสัญญาแล้วว่า เมื่อกูเกิ้ลทำเสร็จ พวกเขาจะนำมันไปติดตั้งในมือถือของตัวเอง และที่สำคัญ แอนดรอยด์นั้นใช้ จาวา เป็นหลัก และ คอนเซ็ปในการพัฒนา ก็อิงแพลตฟอร์มจาวา เท่ากับว่า iPhone ซึ่งไม่ได้รองรับจาวา ก็ต้องปรับ (เตรียมเฟริมแวร์ ที่รอรับจาวาออกมา) แต่ไมโครซอฟต์ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากับจาวา เพราะเป็นเทคโนโลยีของบริษัทคู่แข่ง (ซันไมโครซิสเต็มส์) จึงกระอักกระอ่วนใจอยู่ไม่น้อย หากฝันร้ายที่ใกล้จะเป็นจริง กำลังเดินทางมาถึง

(ต้นแบบแอนดรอย์ ซึ่งพัฒนาไปมากๆๆๆๆ แล้ว ^-^' รองรับทั้งจอทัชสกรีน และแบบปุ่มกด เรื่อง Design ก็คงแล้วแต่ละบริษัทที่ออกแบบเครื่อง แต่ข้างในเหมือนกัน หุๆ)

ทั้งหมดนี้ .. เป็นเพียงบางส่วน ที่พอจะอธิบายได้ว่า ทำไม ไมโครซอฟต์ จึงต้องการยาฮู แม้ว่ามันไม่ง่ายนัก (จริงๆแล้ว Yahoo มีสัมพันธ์อันดีกับกูเกิ้ล นอกจากเรื่องธุรกิจแล้ว เจอรรี่หยาง CEO ยาฮู ก็เป็นรุ่นพี่สแตนฟอร์ดของ พริน และเพจ คู่หูกูเกิ้ล) การออกมากดดันยาฮูนั้น เป็นสิ่งถนัดของไมโครซอลฟ์ เหมือนที่เคยทำมา ในธุรกิจนี้ .. อาจจะมีคำถามว่า แล้วทำไมกูเกิล้ ไม่ชิงซื้อยาฮู้ไปเลยล่ะ .. นั่นสิ -_-'

เรื่องมีอยู่ว่า สำคัญคือกฏหมายการผูกขาดตลาด ซึ่งเป็นกฏหมายที่น่ากลัวของธุรกิจดอทคอม โดยเฉพาะในยุโรป (ซึ่งไมโครซอฟต์โดนปรับไปหลักหมื่นล้านมาทีนึงแล้ว -_-' แต่ยังไม่จ่าย) หากกูเกิ้ล เข้าซื้อยาฮู้ มันจะกลายเป็น Search Engine ที่มี market share สูงที่สุดแบบไร้คู่แข่ง (เกินไป) เหมือนที่ไมโครซอฟต์ เคยทำใส่เน็ตสเคป ในการแจกซอตฟ์แวร์ IE ไปกับวินโดวส์ จนทำให้คู่แข่งรายเล็กๆตายกันหมด แล้วตลาดก็จะไม่มีนวัตกรรมใหม่ๆออกมา ซึ่งมันนำไปสู่การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม

//starbucks.exteen.com/20080425/entry


************************************


ไมโครซอฟท์ตกลงร่วมมือด้านการค้นหากับยาฮูสำเร็จ
Submitted by pawinpawin on 29 July, 2009 - 21:42. tags:

* Bing
* Microsoft
* Search Engine
* Yahoo!

หลังจากมีข่าวออกมานานตั้งแต่ต้นปีที่แล้วและไม่สามารถตกลงกันได้เสียที วันนี้ไมโครซอฟท์ก็เผยแล้วว่าทำข้อตกลงกับยาฮูสำเร็จครับ

ข้อตกลงในคราวนี้นั้นสรุปได้ง่ายๆ ว่าไมโครซอฟท์จะดูแลระบบค้นหาของยาฮู (โดยใช้ Bing เป็นเทคโนโลยีเบื้องหลังในการค้นหา) ในขณะที่ยาฮูนั้นจะดูแลในส่วนของโฆษณาต่างๆ แทน โดยข้อตกลงนั้นมีกำหนดระยะเวลาทั้งหมด 10 ปี ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้าสำหรับระบบค้นหาและ 12 เดือนข้างหน้าสำหรับส่วนของโฆษณา

สำหรับเรื่องของส่วนแบ่งรายได้นั้น ยาฮูนั้นจะได้รายได้ 88% จากการค้นหาในช่วงห้าปีแรก และไมโครซอฟท์จะรับรองรายได้ให้ในช่วง 18 เดือนแรก ซึ่งยาฮูนั้นคาดว่าจะได้รายได้เพิ่มประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (รายละเอียดข้อตกลงนั้นสามารถดูได้จาก Microsoft PressPass)

"การรวมตัวในครั้งนี้จะช่วยสร้างคู่แข่งทางด้านการค้นหาอันดับสองที่แข็ง แกร่งยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดมากขึ้น" Steve Ballmer ผู้บริหารไมโครซอฟท์กล่าว

ที่มา: Microsoft PressPass, TechCrunch, CNET News
-----------------------------------------------------------------------------
//www.blognone.com/node/12579


************************************





Create Date : 04 สิงหาคม 2552
Last Update : 4 สิงหาคม 2552 17:34:19 น. 0 comments
Counter : 387 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

องุ่นทอง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




New Comments
[Add องุ่นทอง's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com