ความรัก ไล่ตามยังไงก็ไม่ทัน
 
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
29 พฤษภาคม 2553

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ แนะนำ เทคนิคการฝึกสมาธิเบื้องต้น ตอนที่ 1-3

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ แนะนำ เทคนิคการฝึกสมาธิเบื้องต้น ตอนที่ 1-3
มหาสติปัฏฐาน 4 โดย พระมหาวีระ ถาวโร
(ตอนที่ 1 ถึงตอนที่ 3)



…………………………………………………………………………

ตอน ที่ 1
(เรื่องการรู้ลมหายใจเข้าและรู้ลมหายใจออก)

พระพุทธเจ้า ทรงตรัสว่า
มหาสติปัฏฐาน 4 เป็นทางเอกทำให้สำเร็จซึ่งพระนิพพาน
ได้แก่
(1) ให้พิจารณากายในกาย
(2) พิจารณาเวทนาในเวทนา
(3) พิจารณาจิตในจิต
(4) พิจารณาธรรมในธรรม

ข้อที่ว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายนั้น
คือ อะไร?????

ท่านตอบว่า คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไปอยู่ในป่า หรือว่าอยู่ที่โคนต้นไม้
หรือไปอยู่ที่ว่างบ้านเรือน
แล้วก็นั่งกาย ให้ตรง ดำรงสติมั่น
ภิกษุนั้นหายใจออกก็มีสติ หายใจเจ้าก็มีสติ

การ พิจารณากายในกาย
ในขั้นแรก ท่านถือเอากองลมเป็นสำคัญ
จุดเริ่มต้น นี้เขาเรียกว่า อานาปานบรรพ
หรือว่า อานาปานสติกรรมฐาน นั่นเอง

อา นาปานสติกรรมฐานนี้มีกำลังมาก
มีความสำคัญมาก
สามารถทรงฌาน 4 ได้แล้ว
ถ้าหาว่าท่านเจริญตามแบบนี้
ท่านจะมีความสุขแบบสุขวิปัสสโก

แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
มหาสติปัฏฐานสูตรนี้
เราจะสามารถดัด แปลงขึ้นไปสู่
วิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณ
ก็ทำได้ ก็ทำกันตอนอานาปานสติกรรมฐานนี้แหละ
(แต่ส่วนนี้จะยังไม่พูดตอนนี้นะ)

การ พิจารณากายในกาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อานาปานสติกรรมฐานนี่นะ
ท่านสอน ให้เข้าไปทีละนิด ๆ
ท่านไม่ได้ให้ทำแบบหักโหม

ตอนนี้
ท่าน สอนอานาปานสติกรรมฐานตอนต้น
ว่าเราหายใจเข้าก็มีสติ
หายใจออกก็มี สติ

วันนี้เอาแค่นี้แหละ …………..

ถ้าพูดว่าสติ ดูเหมือนว่ามันยุ่ง ๆ ไปสักหน่อย
เอาคำว่ารู้นี่ดีกว่า

แล้วรู้ น่ะ รู้ตรงไหน
รู้ตรงจมูก ไม่ต้องรู้มาก

เวลาลมเข้ามันกระทบ จมูก
เวลาลมหายใจออกมันกระทบจมูก
เอาแค่รู้อย่างเดียว

ไอ้ รู้สั้นรู้ยาวนี่ตอนนี้ยังไม่ต้อง ก็ได้

ท่านผู้หญิงจะทำครัว เวลาหั่นผักหั่นหญ้า ซาวข้าว ทำกับข้าว รู้ลมหายใจเข้าออกด้วยก็ดี

ท่าน ผู้ชายทำงานนอกบ้าน ทำงานในบ้าน รู้ลมเข้าออกด้วยก็ดี

ทำอย่างนี้ ให้ชิน จนกระทั่งจิตไม่ต้องระวังเรื่องลมเข้าออก
รู้ได้เป็นปกติเป็น อัตโนมัติของมันเอง

ขอย้ำอีกนิดหนึ่งว่า

ขอให้บรรดาพุทธ บริษัทจำไว้ว่า
ท่านจะเจริญมหาสติปัฏฐานสูตร
ในกายานุปัสสนาสติ ปัฏฐาน ในบทว่าอานาปานบรรพ
เราจะรู้ลมหายใจเข้า
รู้ลมหายใจออกอยู่ เสมอ
จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน พระจะไปบิณฑบาต จะอาบน้ำ จะทำวัตร จะดูหนังสือ จะเดินไปไหน
ชาวบ้านก็เหมือนกัน ทำการทำงานอย่างใดก็ตาม
รุ้ ลมเข้า รู้ลมออก

รู้แค่นี้นะ ไม่ช้าจะดีเอง

แล้วถ้าหากว่า จะมีนักปราชญ์มาถามว่า
แล้วมันจะได้ฌานได้ยังไง
ขอตอบว่า เอาเถอะ ค่อย ๆ ทำไปเถอะ

ทำตามนี้ก็แล้วกัน
ค่อย ๆ ทำไปแล้วจะรู้ผลเอง

(จบ ตอนที่ 1)

……………………………………………

ตอนที่ 2
(เรื่องการเห็น นิมิต)

ทีนี้มาพูดกันถึงว่าเราทำได้ถึงตอนนี้จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

เรื่อง ของพระกรรมฐานกับนิมิตเป็นเรื่องธรรมดา

เรื่องนิมิตที่พึ่งเกิดจาก สมาธินี่
เป็นของธรรมดา

นิมิตของอานาปานสติกรรมฐานก็มี เช่น
สี เขียว สีแดง สีสว่างคล้าย ๆ แสงไฟฉาย หรือเหมือนฟ้าแลบ

นี่เป็น นิมิตของอานาปานสติกรรมฐาน

ส่วนเรื่องของการได้บุญนะ
ถ้ากลัว ว่าจะไม่ได้บุญ ละก็โปรดเข้าใจด้วยว่า

เขตของการบุญนะ มันอยู่ตรงที่จิตเป็นสมาธิ
ตัวบุญนะอยู่ที่จิตเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ตั้ง มั่น

ตัวบุญไม่ได้อยู่ที่องค์ภาวนาอย่างเดียว

คำว่าเอกัคคตา รมณ์ แปลว่า เป็นหนึ่ง

อารมณ์ของเราเป็นหนึ่งไม่มีสอง

อย่าง นี้จัดว่าเป็นสมาธิ คือ ตัวรู้อยู่

ตัวบุญใหญ่ ก็คือ การทรงสมาธิจิต

ถ้าสมาธิสูงมากเพียงใด

นิวรณ์ที่จะมากั้น ความดีคืออารมณ์ของความชั่วก็เข้าสิงได้ยากเพียงนั้น

คำว่านิวรณ์ก็ ได้แก่อารมณ์ของความชั่ว

ถ้าขณะใดจิตทรงสมาธิ ที่เรียกกันว่าได้ฌาน

คำว่าฌานนี้
ฌานัง แปลว่าการเพ่ง การทรงอยู่ของจิต
จิต เพ่งอยู่เฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง อันนี้เราเรียกกันว่าฌาน

ขณะที่ จิตอยู่เฉพาะลมหายใจเข้า หายใจออก จิตไม่ส่ายไปสู้อารมณ์อย่างอื่น อย่างนี้ เราเรียกกันว่าฌาน

แต่ว่าจะเป็นฌานขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นปลาย อะไรก็ตาม
นั่นก็เป็นอีกเรืองหนึ่ง
เป็นอาการละเอียดของจิต เป็นอาการทรงของจิต

เรามีสติ สามารถจะรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ที่กระทบจมูกได้ รู้แล้วนะ

เมื่อรู้ ๆ ไป อย่างนี้จิตก็จะเริ่มเป็นสมาธิ แต่ยังหยาบนัก อย่างนี้เรียกว่า ขณิกสมาธิ

คำ ว่า ขณิกสมาธิ
แปลว่า สมาธิเล็กน้อย สมาธิยังไม่ใหญ่

เมื่อเริ่ม เข้าถึง ขณิกสมาธิตอนปลาย
จิตเริ่มละเอียด
ลมที่กระทบจมูกจะเบาลง ๆ
แต่จิตเรียบร้อยดีเพราะส่ายออกไปน้อย

ตอนนี้แหละและตอนต่อไป เมื่อ ขณิกสมาธิ ละเอียดขึ้น
จิตก็จะเข้าสู่ อุปจารสมาธิ
ซึ่งเป็น สมาธิสูงกว่านั้น
ใกล้จะถึงฌาน

ตอนนี้ อารมณ์ของจิตที่เป็นทิพย์จะปรากฏ

นี่แหละที่เขาเรียกว่าสามารถเห็น ผี เห็นเทวดา เห็นพรหมได้
หรือเรียกว่าจิตเป็นทิพย์

คือไม่ใช่ ลูกตาเป็นทิพย์นะ

ฟังให้ดี
จิตเป็นทิพย์ คือ จิตย่อมว่างจากกิเลส

จิตก็ว่างจากนิวรณ์ทั้ง 5 ประการ
เมื่อจิต ว่างจาก นิวรณ์ 5 ประการแล้ว จิตก็สมารถเป็นทิพย์

แต่ว่าจะเป็นมาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสมาธิจิต
บางทีมันเป็นประเดี๋ยวเดียว

ว่าง จากนิวรณ์นิดหนึ่ง
แว๊บหนึ่งของวินาที
หรือครึ่งวินาที จิตก็กลับมัวหมองใหม่

ที่นี้ เวลาจิตเป็นทิพย์ มันเป็นยังไง
จิต เป็นทิพย์มันก็จะเห็นแสง เห็นสี เห็นภาพต่าง ๆ ที่เราคิดไม่ถึง ที่เราคาดไม่ถึง

จำให้ดีนะ
คือ บางทีก็เห็นเป็นแสง เป็นสีเขียว สีแดง เป็นแสงสว่าง แปลบปลาบคล้าย ๆกับฟ้าแลบก็มี

นี่ตอนนี้ จงรู้ว่าจิตของเราเป็นสมาธิ
และจิตเริ่มเป็นทิพย์
สามารถเห็นแสงที่ เป็นทิพย์ได้

แต่ถ้าอาการปรากฏอย่างนี้
มักจะปรากฏแผล๊บเดียว
แล้ว ก็หายไป

ในเมื่อปรากฏแล้วหายไป

บางคนเสียคนตอนนี้เยอะ

บาง คนมาเอาดีกันตอนเห็น

ต่อไปถ้าเห็นไม่ได้ จิตใจก็ฟุ้งซ่าน

ที่ มาเสียกันตอนนี้เสียมาก

เพราะอะไร

เพราะว่าเข้าใจพลาด คิดว่าอาการอย่างนี้เป็นของดี แล้วก็ควรยึดถือ เพราะว่าเป็นของใหม่ มีความปลาบปลื้มใจ มีความภูมิใจมาก

บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระ คุณเจ้าที่เคารพ

ถ้าอาการปรากฏอย่างนี้นะ ขอพระคุณเจ้าโปรดทราบว่า

ภาพ ที่ปรากฏก็ดี แสงที่ปรากฏก็ดี

จงอย่าเอาจิตเข้าไปเกาะ
เพราะจะ ทำให้สมาธิของท่านจะคลาย
สมาธิของท่านจะเคลื่อน ความดีจะสูญไป

จง ทิ้งอารมณ์นั้นเสีย
ทิ้งภาพนั้นเสีย
อย่าเอาจิตเข้าไปติด

หนี มาเริ่มต้นความดีกันใหม่ จับลมหายใจเข้าออกกันใหม่

ขอให้โปรดทราบ ว่า การเห็นนิด ๆ หน่อย ๆ อย่างนี้
มันพึ่งอ่านตัว ก. ไม่จบตัวนี่
ถ้า จะเทียบกับนักเรียนประชาบาลนะ
เขาเรียกว่าเขียนตัว ก.ยังไม่ครบตัวเลย

โปรด ทราบว่า จิตของท่านได้ผ่าน ขณิกสมาธิไปแล้ว
กำลังจะเข้าอุปจารสมาธิ
และ เมื่อเห็นแว๊บเดียวหายไป ก็แสดงว่า
อุปจารสมาธิของท่านยังดีไม่พอ

เมื่อ เห็นแว๊บหนึ่งจิตก็ฟูไป ดีใจในภาพเห็น หรือว่าตกใจในภาพเห็น
จิตก็เลย เคลื่อนจากสมาธิ ภาพที่เห็นนั้นก็เลยไม่เห็นต่อไป

ถ้าอาการเป็น อย่างนี้ ก็โปรดทราบว่า
จงอย่าสนใจ

ภาพจะปรากฏหรือไม่ปรากฏก็ ช่าง ไม่มีความสำคัญ

เราต้องการอย่างเดียว คือรู้อยู่ว่าลมหายใจเข้า หรือลมหายใจออก
จำไว้แค่นี้

เป็นอัน ว่าถ้าท่านจะเรียนกรรมฐานในมหาสติปัฏฐานสูตรก็ดี
หรือที่แบบอื่นก็ดี ก็โปรดทราบว่า

จงเรียนตามคำสั่งของพระพุทธเจ้า

ท่านสั่งแค่ ไหนทำแค่นั้น

อย่าเพิ่งพลิกแพงไป แล้วท่านจะได้ดี

(จบตอน ที่ 2)
……………………………………………………………………



ตอนที่ 3
(เรื่องการทรงฌาน และความสัมพันธ์ระหว่างสมถะกับวิปัสสนา)

เรื่องที่ได้พูดไปบ้างแล้ว คือเรื่อง มหาสติปัฏฐานสูตร และ อานาปานสติกรรมฐาน และโดยเฉพาะกายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน การกำหนดลมหายจะเข้าและลมหายใจออก

กฎ ของการปฏิบัติอันดับต้นนั้น
พระพุทะเจ้าทรงสอนวิธีง่าย ๆ แล้ววิธีปฏิบัติก็ให้ทำในเวลาที่เราเห็นว่าเหมาะ
ให้ทำกันตลอดวันได้ ไม่ต้องไปตั้งท่าตั่งทาง
ไม่ต้องไปหาเวลาทำสมาธิ ว่างตอนไปนั่งก็ขัดสมาธิทำกัน
หรือจะนั่งเหยียดขาก็ได้ ห้อยขาก็ได้ ยืน เดิน นอนก็ได้ ทำได้ทั้งในท่านั่ง ยืน เดิน นอน ทำกอริยาบถทำได้ดีทั้งนั้น

ขอเพียงให้ กำหนดรู้ลมเข้า กับรู้ลมออก
คือ เอาสติเข้าไปคุมไว้

คำว่าสติเป็นภาษาบาลี
ถ้าฟังแล้วรู้สึกอึด อัด เราก็จะใช้ว่ารู้ ๆ แค่นี้ จะสบายกว่า
ตัวรู้นี่ก็ได้แก่ตัวสติ

พระ พุทธเจ้าทรงให้ฝึกเฉพาะสติก่อนเท่านั้น
ยังไม่เข้าถึงสัมปชัญญะ ซึ่งก็อยู่ในกายานุปัสสนามหาสติปัฏฐานเหมือนกัน แต่ให้ทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนก็แล้วกัน

วันนี้มาจะขยับต่อไปอีก สักนิดหนึ่ง
แต่เวลาท่านฟัง(อ่าน)นี่ ลองซ้อมอารมณ์เดิมดูสิว่า ลมหายใจเข้าออกท่านยังรู้สึกอยู่หรือเปล่า แล้วให้ท่าฟัง(อ่าน)ไปด้วย สติจะได้ทรง
นี่เป็นการฝึกสติ หรือเป็นการฝึกสมาธิโดยตรง

ที่ นี้ เอาไปอีกนิดหนึ่ง คือ
ท่านบอกว่าเวลาที่จะหายใจเข้ายาวหรือสั้น
ก็ จงรู้ว่าเราหายใจเข้ายาวหรือสั้น
หายใจออกยาวหรือสั้น
ก็จงรู้ว่า หายใจออกยาวหรือสั้น

แล้วรู้ต่อไปอีกนิดก็ดีว่า
เมื่อเวลาที่เรา หายใจเข้าหรือออกนี่มันหายใจแรงหรือหายใจเบา

อย่างนี่เรียกว่าเพิ่ม สติให้มากกว่าเดิมอีกนิดหนึ่ง

เอาเท่านี้นะ
จะนั่งอยู่ที่ไหน จะทำอะไรอยู่ก็ตาม จะนอน จะยืน จะเดิน จะนั่งห้อยขา ทำได้ทุกอิริยาบถ ไม่จำกัด ลองซ้อมดู

ทีนี้ มาว่ากันว่าพระพุทธเจ้าสอนตรงนี้ทำไม
คำ ตอบ ก็คือ เพื่อสร้างสติให้มันมากขึ้น
นี่ท่านค่อย ๆ สอนนะ สอนให้ค่อย ๆ ทำ อย่าคิดว่าช้าเกินไปนะ

อีตอนที่กำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก รู้ยาว รู้สั้น นี่แหละ
ถ้าทำได้แล้วมันเป็นอุปจารสมาธิและปฐมฌานด้วย
อย่า ลืมนะ เพราะสมาธิเริ่มมากขึ้น อารมณ์เริ่มละเอียดขึ้น

อุปจารสมาธิ มีอาการอย่างไร?????

ก็มีปีติให้ปรากฏ มีความชุ่มชื่น มีขนพองสยองเกล้า มีน้ำตาไหล มีร่างกายโยกโคลงอะไรเป็นต้น

มีความ อิ่มเอิบ มีความปลาบปลื้มใจ มีอารมณ์ดิ่ง มีอารมณ์ละเอียด มีความสบายมากกว่าปกติ นี่เป็นปีตินะ

ทีนี้เวลาเข้าไปถึงปฐมฌาน มันเป็นยังไง
จะขอพูดให้ฟังเสียก่อน
ถ้าไม่พูดประเดี๋ยวจะเฝือ

มี คนถามว่าฉันนั่งนี่เป็นยังไงบ้าง ทำอย่างนี้มันจะสำเร็จไหม
ถามอย่างนี้ ตอบไม่ได้
จะตอบได้ยังไง ก็ท่านรับประทานเกลือเองแล้วไปถามชาวบ้านว่าเค็มหรือไม่เค็ม
เรารู้ของ เราเองดีกว่า

คือ อาการของการเข้าถึงปฐมฌาน นั้น มันเป็นอย่างนี้นะ
อารมณ์ ของเราในขณะนั้นย่อมไม่ข้องกับนิวรณ์ทั้ง 5 ประการ
คือ

1. ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ รสอร่อย กลิ่นหอม สัมผัสนิ่มนวล ไม่มี อารมณ์นิ่ง พอใจในการภาวนาหรือพอใจในการกำหนดลมหายใจเข้าออก
2. ความโกรธพยาบาทไม่ปรากฏ
3. ความง่วงเหงาหาวนอนไม่ปรากฏ
4. อารมณ์ภายนอก นอกจากการกำหนดลมหมายใจเข้าออกไม่ปรากฏ
5. ทรงอารมณ์หายใจเข้าออกไว้ เวลาหูได้ยินเสียงภายนอกทุกอย่าง แม้แต่การนินทาว่าร้ายเราเอง หูได้ยินทุกอย่าง แต่ว่าใจไม่กังวล จิตใจไม่สอดส่ายไปตามอารมณ์นั้น คงรักษาลมหายใจเข้าออกไว้ได้อย่างสบาย ๆ ไม่เกิดความรำคาญ

อาการอย่างนี้เป็นอาการของปฐมฌาน

ค่อย ๆ ทำไปนะ อย่ารีบร้อน หาเวลาวันหนึ่ง ๆ ทำให้มาก
อย่าทำแต่เฉพาะสองทุ่ม สามทุ่ม สองยาม นอกนั้นปล่อยอารมณ์ให้เลื่อนลอยไป อย่างนี้ละก็เชื่อว่ายังไกลความสำเร็จมาก

อาณาปานสตินี้ เป็นกรรมฐานใหญ่
สามารถทรงได้ถึงฌาน 4
แล้วถ้าทรงฌาน 4 ได้แล้ว
ก็ สามารถจะทรงวิชชาสามและอภิญญาหกปฏิสัมภิทาญาณด้วย

(วิชชาสามเป็นหลัก สูตรสำคัญสนพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง เพราะว่าเป็นหลักสูตรที่สามารถพิสูจน์คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า สวรรค์มีจริง นรกมีจริง พรหมมีจริง อะไรพวกนี้ คนตายแล้วไปเกิดที่ไหน คนที่มาเกิดมาเกิดจากไหน เรื่องนี้จะทิ้งท้ายไว้แค่นี้ก่อน)

คราวนี้ เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน ก็รู้อยู่แล้วว่า จิตไม่กังวล
อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า จิตมันเริ่มแยกจากกาย
หูเป็นกาย สัมผัสกับเสียง แต่จิตที่อยู่ภายในกายนี้ไม่สนใจกับเสียง
ได้ยินเหมือนกันแต่จะว่าอย่าง ไรก็ช่าง จะนินทา หรือจะชม หรือจะร้องเพลงละครก็ช่าง ฉันไม่เกี่ยว
ทรง อารมณ์สบาย ๆ นี่เป็นอาการของปฐมฌาน

ต่อไปก็ขยับเข้าอีกนิดหนึ่ง
ฟัง(อ่าน) ให้ดี ๆ นะ
คือ

ก่อนที่จะรู้ลมหายใจเข้า รู้หายใจออกนั้น
ให้ เราจะกำหนดกองลมเสียก่อน

คำว่ากองลม ก็คือ
ความตั้งใจไว้ว่านี่ เราจะหายใจเข้า ว่านี่เราจะหายใจออก
แล้วหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น ก็รู้ไว้ด้วย

ขยับเข้าไปอีกนิดหนึ่ง ก็คือ
อี ตอนหายใจเข้าหายใจออกนั้น ก็ให้ รู้เฉพาเท่านั้น ไม่ต้องกำหนดกองลม


แล้ว ตอนหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น ไม่ต้องกำหนดรู้กองลม คือ มันจะหายใจของมันเอง

ตอนนี้มาตอนที่สาม
รู้อยู่ว่านี่เราจะ หายใจเข้า นี่เราจะหายใจออก
นี่ทำสติของท่านให้ละเอียดเข้าไปอีกนิด หนึ่ง ให้กระชั้นเข้าไป

แต่การกำหนดให้รู้อยู่ว่านี่เราหายใจเข้า นี่เราหายใจออก หายใจเข้าสั้นหรือยาว ออกสั้นหรือยาว
ไอ้การรู้อย่างนี้ ถ้าสามารถทรงได้เป็นเอกัคคตารมณ์
หมายความว่าไม่ปล่อยอารมณ์อื่นให้ เข้ามายุ่ง
เรากำหนดอย่างนี้ได้ครั้งละ 2-3 นาที หรือ 5 นาทีก็ตาม
ก็ แสดงว่าอารมณ์จิตของเราเข้าถึงฌานที่ 2 และฌานที่ 3

อย่างนี้บรรดา คณาจารย์ทั้งหลายอาจจะเถียงบอกว่า
ไอ้ฌานที่ 2 และฌานที่ 3 นี่มันไม่มีการภาวนา ไม่มีการกำหนดรู้อยู่
คำตอบก็คือ การภาวนาไม่มีจริงถ้าทำถึงนะ แต่การรู้ลมหายใจเข้าออกยังมีอยู่อย่างนี้
ลอง สอบอารมณ์จิตของท่านให้ดี
ถ้าท่านจะค้านว่า ต้องไม่รู้ลมหายใจเข้าออกอันนี้ไม่ถูก
ที่ถูกก็ต้องบอกว่ารู้ลมหายใจเข้า ออก

ถ้านึกกรรมฐานที่ใช้องค์ภาวนาด้วย
ตั้งแต่ฌาน 2 ขึ้นไป ก็จะเลิกภาวน องค์ภาวนาจะหยุดไปเอง
ไม่ใช่หยุดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
แต่ เวลาลมหายใจเข้าออกจะรู้สึกเบาลงไป

สำหรับฌานที่ 2
จะรู้สึกว่า ลมหายใจเข้าออกเบาลงไป มีจิตชุ่มชื่น มีความเยือกเย็น มีความสบายมากขึ้น หูยังได้ยินเสียง แต่รู้สึกว่าเบากว่าปกตินิดหน่อย เบากว่าสมัยที่เป็นปฐมฌานนิดหนึ่ง

ที่นี้ พอเข้าถึงฌานที่ 3
จะ รู้สึกว่าทางกายมันเครียด
เรานั่งธรรมดา เรานอนธรรมดาเหมือนมีอาการเกร็งตัว มีอาการตึงเป๋ง
ลมหายใจรูสึกว่าน้อย ลง
เสียงที่ได้ยินเบาลงมากเข้า เสียงที่ไดยินจากภายนอกนะเขาพูดแรง ๆ เราก็รู้สึกว่าเบาลงมาก นี่เป็นอาการของฌานที่ 3

เมื่อทำได้ถึงตอน นี้ ก็ให้รักษาไว้ ทรงไว้ให้ดี ๆ
อย่ารีบ อย่าจู่โจม นี่ใกล้จะดีแล้ว

ถ้า อานาปานสติกรรมฐานที่ทำได้ถึงฌาน 4 แล้วก็ทรงฌาน 4 ไว้ให้ได้ตลอดชีวิต
รักษา ไว้ด้วยชีวิต
ไม่ใช่ว่าได้แล้วก็ปล่อยไปนะ

คราวนี้ มาอันดับที่ 4
ตอนเป็นเรื่องอาการของฌาน 4

พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า
จงไม่ กำหนดรู้ลม คือปล่อยกองลมเสีย
มันจะหายใจเข้าหรือหายใจออกก็ตามใจ
เรา จะไม่ยอมรู้มันละ
คือ เราจะไม่ยุ่งกับเรื่องของลมหายใจ
มันจะหายใจ เข้า หรือหายใจออก็ตามใจ
เรารักษาอารมณ์ดีไว้อย่างเดียว

กล่าว ย้อนนิดหนึ่ง ก็คือ
ในตอนต้น ๆ เวลาทำต้องขึ้นต้นมาตั้งแต่รู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก สักประเดี๋ยวหนึ่ง
แล้ว ก็มา รู้ลมหายใจเข้าสั้นหรือยาว ออกสั้นหรือยาว อีกประเดี๋ยวหนึ่ง
แล้ว กำหนดรู้กองลม ก็รู้อีกประเดี๋ยวหนึ่ง จิตก็ละเอียดขึ้นมาก
และในอันดับ สุดท้าย เราไม่สนใจกับกองลม
มันจะหายใจเข้าหรืออกก็ตามใจ

ส่วน ของฌาน 4 นี้นะ ลมหายใจที่เรากำลังหายใจอยู่นี่นะ
จะเกิดมีความรู้สึก เหมือนไม่หายใจ
แต่อารมณ์จิตภายในมีความโพลง มีความสว่าง มีการทรงตัวดีมาก
มีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นหนึ่ง
เป็นอุเบกขา วางเฉยต่ออารมณ์ทั้งปวง
มีความชุ่มชื่น มีความสุขที่สุด มีความสบายที่สุด
ไม่รู้สึกในการสัมผัสภายนอก คือ ลมจะมากระทบ ยุงจะมากัดเรา เวลานั่งความปวดเมื่อยไม่ปรากฏ
อย่างนี้เป็นอาการของฌาน 4

เมื่อเราเข้าถึงฌาน 4 หรือฌานที่เท่าไรก็ตามที่ทำได้
ก็ขอให้ จงรักษาไว้
หมั่นทำไว้เสมอให้คล่อง
จะกำลังนั่งยืนหรือเมื่อไรก็ตาม เราต้องสามารถ เข้าฌาน 4 ได้ทันทีที่ต้องการ
แล้วก็สามารถจะกำหนดเวลาออก ได้ด้วย

อานาปานสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่ระงับกายสังขารที่มีคุณประโยชน์มาก
เวลาป่วยไข้ไม่สบายมี ทุกขเวทนาสาหัส ถ้ากำหนดลมหายใจเข้าออกจนจิตเป็นฌาน อาการปวดเมื่อยทั้งหลายเหล่านั้น มันจะสลายไป

ท่านที่ได้อานาปานสติ กรรมฐานจนคล่อง จนชำนาญ จะสามารถกำหนดเวลาตายได้
ตัวอย่าง เช่น หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ท่านบอกเวลา ตายล่วงหน้าไว้ 3 ปี กำหนดเดือน กำหนดวันกำหนดจนกระทั่งเวลาที่ท่านจะตาย

พระ พุทธเจ้าได้ตรัสสอนในตอนท้ายไว้ด้วยว่า

“การกำหนดลมหายใจเข้าออกนี้
เรา กำหนดเพื่อรู้ความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป แล้วการสลายตัว
ของร่างกายของ เรา
ร่างกายเรานี้ที่ชื่อว่าร่างกายของเรา เมื่อมันเกิดขึ้น แล้วมันก็เสื่อมไป แล้วมันก็สลายตัว เราจะไม่ยึดถืออะไรทั้งหมดในร่างกายนี้”
ตอนนี้เป็นวิปัสสนาญาณ

บรรดา ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย
ท่านคิดว่าอัตภาพร่างกายนี้เกิดขึ้นได้ แล้วจะเป็นกายเราก็ตาม กายคนอื่นก็ตาม ถ้ากายเราท่านเรียกว่ากายภายใน ถ้าเป็นกายคนอื่นเรียกว่ากายภายนอก
ขอให้ท่านนึกถึงว่ามันมีสภาพเหมือน กัน มันมีความปกติเหมือนกัน
คือ มีความเกิดขึ้น มีความเสื่อมไป และมีการสลายตัวไปเหมือนกัน
เราจะไปยึดมั่นมันไว้เพื่อประโยชน์อะไร
เรา จงอย่าคิดว่ากายนี้เป็นของเรา
จงอย่าคิดว่าเรามีในกาย หรือกายมีในเรา
นี่ มันไม่มี
สภาวะของมันเป็นยังไงมันก็ต้องเป็นอย่างนั้น
ถึงเวลามันจะ แตกมันจะสลายมันก็สลายตัวของมันเอง
ไม่มีใครไปบังคับบัญชามันได้

ที นี้ ขอให้ท่านย้อนกลับไปอีกนิดหนึ่งว่า
ถ้าคิดอย่างนี้แล้ว ถ้าจิตใจยังไม่สบาย เกิดอารมณ์ฟุ้งซ่าน ท่านบอกให้หักใจกลับเข้ามาเสียอีกนิดหนึ่งว่า ที่เรากำหนดการตั้งขึ้นของร่างกาย และความเสื่อมไปขอร่างกายนี่ เราไม่กำหนดเพื่ออย่างอื่น เรากำหนด “เพื่อรู้” เท่านั้น เป็นการทรงสติไว้ นี่หลบกลับมาเป็นสมถะ

ตอนก่อนหน้านี้เป็นวิปัสสนา ตอนนี้หลบมาหาสมถะ

นี่ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระคุณเจ้าที่เคารพ
คงจะเห็นแล้วว่า
สมถะ ของพระพุทธเจ้าย่อมควบคุม วิปัสสนาฌานไว้เสมอ

(จบตอนที่ 3)


สรุปย่อโดย kongsilp2000


Create Date : 29 พฤษภาคม 2553
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 10:05:52 น. 3 comments
Counter : 2486 Pageviews.  

 
สาธุครับ


โดย: ซาตานเกรท วันที่: 29 พฤษภาคม 2553 เวลา:10:41:04 น.  

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 29 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:43:11 น.  

 


โดย: nuyza_za วันที่: 29 พฤษภาคม 2553 เวลา:15:30:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ไทยไทย
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ไทยไทย's blog to your web]