ไหลเรือไฟ

ภาพไหลเรือไฟ ปี 2549 นำมาประชาสัมพันธ์ทางเน็ต Pantip.com ปี 2550

href="//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html">//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html
ไหลเรือไฟเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของทางอีสาน มีศัพท์เฉพาะท้องถิ่นว่า "เฮือไฟ" ซึ่งคล้ายกับการลอยกระทงของภาคอื่นๆเนื่องจากคาบเกี่ยวอยู่ในระหว่างเดือน๑๑ และเดือน๑๒ โดยถูกกำหนดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปีในเทศกาลออกพรรษา
การไหลเรือไฟของภาคอีสาน เริ่มต้นกันครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐานยืนนันแน่ชัด แต่เข้าใจว่าคงมีขึ้นหลังจากชนชาติอินเดียเข้ามาสู่สุวรรณภูมิแล้วดังที่ท่าน "เสฐียรโกเศศ" ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล" มีบันทึกเกี่ยวกับ "ลอยกระทงอินเดีย" ไว้ดังนี้
" ข้าพเจ้าสอบถามชาวอินเดียภาคใต้ท่านหนึ่ง (พราหมณ์ ป.ส.ศาสตรี)" ถึงเรื่องลอยกระทง เขาชี้แจงว่า การลอยกระทงเรียกว่า ปติเนฎฏามเปร แปลว่า วันที่ ๑๘ เดือน ๑๑ ทำไมจึงชื่ออย่างนี้เขาก็ไม่ทราบในวันที่มีน้ำขึ้นมาก ตอนเย็นชาวบ้านจัดอาหารพากันไปเลี้ยงริมฝั่งซึ่งมีน้ำเจิ่งฝั่ง พอกินเลี้ยงกันเสร็จแล้วก็เอากาบกล้วยมาทำเป็นเรือเล็กๆเอาตะคันดินขนาดเล็กอย่างผางประทีปของชาวภาคพายัพมาใส่น้ำมันจุดไฟวางในเรือนั้นหรือถ้าไม่ใช้ตะคันหากมีเทียนจะใช้เทียนไขก็ได้แล้วลอยกาบกล้วยไปตามกระแสน้ำ เรือกาบกล้วยนั้นทำแต่พอเป็นสังเขปเท่านั้นไม่ได้ทำดิบดีอะไรและการลอยก็เป็นเพียงทำตามประเพณีเท่านั้นไม่มีความหมายในทางศาสนาอย่างไร เขาออกความเห็นว่า การลอยกระทงเห็นจะเป็นการบูชาพระแม่คงคาที่ให้น้ำสำหรับการเพาะปลูกได้บริบูรณ์ตามที่เขาชี้แจงนี้แสดงให้ว่าการลอยกระทงเป็รนเรื่องทำตามประเพณีสืบกันมาเท่านั้นต้นเหตุเดิมสูญเสียแล้ว จึงไม่มีความหมายในลักธิศาสนาที่เขานับถือ บางแห่งว่าลอยไปบูชาพระลักษมี เรียกว่าพิธีโภชากร บ้างว่าบูชาพระทุรคาเทวีมเหสีพระศิวะ "
มูลเหตุสำคัญแห่งการไหลเรือไฟของชาวอีสาน เพื่อเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ.ริมฝั่งแม่น้ำนัมนทีซึ่งมีเรื่องเดิมปรากฎในอรรถกถาโรวาทสูตรว่า
" เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำนัมนที แม่น้ำสายนี้เป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค แล้วพญานาคได้ต้อนรับและอาราธนาให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองบาดาล แล้วพญานาคทำการบูชาพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพญานาคก่อนที่จะเสด็จกลับ พญานาคได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ประทับรอยพระบาทไว้ ณ.ริมฝั่งแม่น้ำนัมนที พระพุทธเจ้าจึงได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ตามความประสงค์ รอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้ประทับนี้ ต่อมาบรรดาเทวดา มนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งหลายได้พากันมาเคารพสักการะบูชา โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการบุญกุศลพากันกราบไหว้สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้ "
ดังนั้นในวันปราวณาออกพรรษา ชาวอีสานจึงถือเป็นวันลอยประทีปโคมไฟ พอใกล้ออกพรรษา บรรดาพระภิกษุสามเณรของแต่ล่ะคุ้มวัดตลอดจนชาวบ้านทุกคนต่างมาเตรียมจัดทำเรือไฟไว้ก่อนล่วงหน้าหลายวัน โดยเอาต้นกล้วยทั้งต้นมาเสียบไม้ต่อกันให้ยาวตั้งหลายวา วางขนานกันสองแถวกว้างห่างกันพอประมาณ แล้วนำไม้ไผ่ที่เรียวยาวมาผูกไขว้กันเป็นตารางสี่เหลี่ยม ระยะห่างกันคืบเศษวางราบกับพื้น มัดด้วยลวดให้แน่นและแข็งแรง เพื่อที่จะรอการออกแบบภาพบนแผงผู้ออกแบบจะแสดงความคิดสร้างสรรค์อย่างสวยงามที่สุด เช่น ประดิษฐ์เป็นเรื่องเป็นราวตามพระพุทธประวัติ บ้างเป็นสัตว์ในตำนาน อาทิ พญาครุฑ นาค หงส์ เป็นต้น แล้วนำไปปักติดเป็นเสาบนแพหยวกกล้วย
สมัยก่อนเชื้อเพลิงที่ใช้จุดไฟนั้นชาวบ้านใช้น้ำมันสน ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวไม่มีสี ไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกับน้ำและเบากว่าน้ำ บ้างเป็นน้ำมันยางที่เจาะสกัดจากต้นยางตะแบก แล้วเอาไฟลนให้น้ำมันไหลออกมา ซึ่งเป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ไม่ต้องเสียเงินเสียทองไปหาซื้อมา แต่ขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยากและเสียเวลา
ต่อจากนั้น เข้าจะเอาจีวรหรือสบงเก่าของพระมาฉีกให้ยาวเป็นริ้วๆแล้วชโลมด้วยน้ำมันให้ชุ่มพอได้ที่ก็นำออกผึ่งแดดให้หมาดราว๖-๗วันรอจนกว่าจะมีสีสันคล้ายน้ำตาลเข้มจึงจะนำไปผูกเป็นปมและมัดแน่นด้วยลวด วางระยะห่างกันพอประมาณให้เกิดความสวยงามบางรายจุดก้วยกะไต้(ขี้ไต้) ตั้งแต่หัวเรือจนถึงท้ายเรือทั้งสองข้าง นอกจากนี้ภายในเรือยังมีเครื่องอุปโภคบริโภค เช่นผ้านุ่ง ผ้าห่ม กล้วย อ้อย เปือ มัน เป็นต้น สำหรับให้ทานแก่ผู้สัญจรไปมาตามลำน้ำแล้วลากเรือไฟไปจอดคอยอยู่ทางต้นน้ำ
ครั้นเวลาเย็นชาวบ้านทั้งสองฝั่งลำน้ำพากันลงเรือไปชุมนุมกันร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน พอค่ำลงก็จุดไฟในเรือให้สว่างไสวก่อนที่จะเอาเชือกลากต๋งไปกลางน้ำ ต่อจากนั้นจึงปล่อยให้ลอยไปตามกระแสน้ำอย่างช้าๆโดยมีเรือลำเลียงคอยถือท้ายพร้อมด้วยจุดพลุตะไลฉลองควบคุมเรือไปจนกว่าจะพ้นเขตหมู่บ้านแล้วจึงพากันกลับคนยากจนที่อยู่ทางปลายน้ำก็คอยเก็บเอาสิ่งของมีค่าในเรือไปจนหมด
มูลเหตุที่ทำให้การไหลเรือไฟไม่ได้รับความนิยมอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเพราะก่อนหน้านั้นทำกันแบบตัวใครตัวมันตามกำลังศรัทธา เมื่อปล่อยเรือไฟล่องลอยไปพ้นเขตหมู่บ้าน มักถูกคนที่อยู่ทางใต้ว่ายไปเก็บเอาสิ่งของมีค่าหรือกะไต้ที่จุดไปใช ้มิฉะนั้นก็แกล้งดับไฟให้มือลงทำให้เรือไฟที่สว่างโชติช่วงอยู่ได้ไม่นานบ่อยครั้งเข้าผู้คนที่ร่วมแรงกันประดิษฐ์เรือไฟก็หมดกำลังใจทำให้การไหลเรือไฟซบเซาลง ชักชวนส่วนราชการ พ่อค้า ประชาชน และชาวคุ้มวัดต่างๆช่วยกันประดิษฐ์เรือไฟด้วยต้นกล้วย ไม้ไผ่ หรือวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ลอยน้ำได้ ให้มีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือ มีความยาวไม่น้อยกว่า๖เมตร โดยจะประดิษฐ์เป็นรูปครุฑ นาค หรือหงส์ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ที่คิดว่าสวยงาม ส่งเข้ามาประกวดชิงรางวัลผู้คนที่มาท่องเที่ยวได้พบเห็นต่างๆพากันตะลึงในความสวยงาม คล้ายกับเกาะนิมิตขนาดใหญ่ที่ลอยเลื่อนอยู่กลางแม่น้ำโขง เรือไฟแต่ละลำประดับโคมไฟอย่างงดงามแพรวพราว ซึ่งเป็นภาพที่ชวนประทับใจจนยากที่จะลืมเลือนได้
ปีต่อมา การทำเรือไฟจึงมีวิธีตกแต่งให้วิจิตรพิสดารยิ่งขึ้น รู้จักนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประกอบ สามารถดัดแปลงเรือไฟให้มีรูปร่างแปลกตาออกไป เพื่อความสะดวกคล่องตัวเชื้อเพลิงที่เคยใช้จุดไฟให้สว่าง จากเดิมใช้กะไต้หรือน้ำมันยางก็เปลี่ยนมาเป็นน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันโซล่า สำหรับไส้ชนวนที่เคยใช้เศษผ้าจีวรเก่าหรือสบงเก่าของพระมาฉีกเป็นริ้วนั้น ก็เปลี่ยนมาใช้ด้ายบรรจุในตะเกียงที่ทำจากขวดแก้วของยาชูกำลังหรือกระป๋องโลหะบรรจุเครื่องบริโภค ส่วนจะนำวัสดุใดมาทำตะเกียงนั้นขึ้นอยู่กับการวางแผนของผู้สร้างเรือไฟแต่ละลำ โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของวัสดุประเภทนั้นๆเช่น กระป๋องโลหะสามารถบรรจุปริมาณเชื้อเพลิงได้มากกว่าทำให้จุดไฟได้สว่าง ลอยอยู่พื้นน้ำนานอีกทั้งทนต่อการใช้งาน ส่วนขวดแก้วหาง่ายราคาถูก เหมาะกับเรือไฟที่ต้องใช้ตะเกียงมากกว่าหนึ่งพันดวงขึ้นไป
ส่วนแพหยวกกล้วยที่เดิมถูกนำมาทำทุ่น จำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้ถังเหล็กขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุน้ำมันมาปูด้วยแผ่นไม้กระดานทับไว้ข้างบนซึ่งสามารถรองรับน้ำหนักได้มากตามความต้องการ โครงเรือไฟแบบเก่า ที่ทำด้วยไม้ไผ่นั้น เริ่มมีการใช้โครงเหล็กเสริมตาข่ายเพื่อที่จะดัดแปลงรูปร่างได้ตามต้องการ อีกทั้งยังมีความแข็งแรงทนทานและมีความปลอดภัยสูงกว่าเก่าด้วยมีแต่ความโอ่อ่างดงามตระการเพียงเท่านั้นแต่ยังมีคุณค่าและสิ่งที่แฝงปรัชญาทางศาสนาความเชื่อจากอานิสงส์ที่ได้รับจากการทำบุญร่วมกันอีกทั้งมีดวงจิตที่ใสสะอาดจากการฟังเทศน์
ประการสุดท้ายอุบายที่แฝงอยู่ในพิธีเรือไฟคือ กฎอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...


//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html

//www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5869397/G5869397.html


//www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=chiangkan&id=209



Create Date : 07 กันยายน 2553
Last Update : 28 กันยายน 2553 22:22:51 น.
Counter : 4129 Pageviews.

1 comments
  
สวัสดีครับ ผมกำลังจะไป เชียงคาน จะไปอยู่นานด้วย ชอบเมือง แบบนี้

กำลังหาที่พักอยู่ อยากอยู่ที่เป็นบ้าน นอนที่เป็นโล่งๆไม่ต้องเป็นห้อง ราคาประหยัดๆครับ

เว็บที่ คุณ โฟมน่ารัก แปะใว้ ผมก็เป็นสมาชิกอยู่ เข้าประจำเลยครับ เว็บ ใน เชียงคานผมชอบมาก ชอบความ รักถี่นฐาน บ้านช่อง หวงแหนแผ่นดินเกิด ผมเป็นคนที่อื่น ก็ รักเชียงคาน เหมือนคุณครับ คงได้มีโอกาส ทักทายกันนะครับ
โดย: ลุงช้าง เมืองปาย วันที่: 12 กันยายน 2553 เวลา:5:34:24 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

โฟมน่ารัก
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Group Blog
กันยายน 2553

 
 
 
4
5
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
7 กันยายน 2553
All Blog