สิงหาคม 2556

 
 
 
 
2
3
6
7
8
10
11
13
17
18
22
23
24
25
27
28
31
 
All Blog
ขะชุรโห วิหารอีโรติก ศิลปะกามสูตรแห่งการหลุดพ้น!
เรื่องทางเพศศึกษา ไม่ใช่สิ่งที่น่าอับอาย น่าจะมีทำความเข้าใจให้มากขึ้น โดยเฉพาะคุณพ่อแม่ ควรมีการหันมาพูดคุยกับคุณลูกอย่างจริงจัง ให้รู้ว่าเรื่องใต้สะดือ มันเป็นเรื่องของธรรมชาติที่ติดตัวมากับมนุษย์ เพียงแต่เราสามารถควบคุมได้ ปรุงแต่ง ปรับปรุงได้ ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม และไม่ให้ความต้องการตามธรรมชาติมาอยู่เหนือ หิริโอตัปปะ รวมทั้ง ต้องมีสติยั้งคิด ในการกระทำเพื่อตอบสนองต่อความต้องการตามธรรมชาติ การเรียนรู้เรื่องเพศ จึงเป็นการเรียนรู้ผู้ชาย เข้าใจผู้หญิง เรียนรู้ถึงทางมีความรัก กามารมณ์ ที่ประสานสอดคล้องกัน ด้วยการคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เป็นต้น

แม้ปัจจุบันในบ้านเรา จะมีเรื่องเกี่ยวกับทางเพศเกิดขึ้นมากมาย (แม้ในแง่ลบก็ตามที) แต่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งของอินเดีย มีสถาปัตยกรรมแปลก บอกเล่าเรื่องกามสูตรแสดงออกโจ่งแจ้ง แต่แฝงด้วยความคิดทางศาสนาฮินดู กันที่ ขะชุรโห ในรัฐมัธยมประเทศ ภาคกลางของประเทศอินเดีย

ขะชุรโห (Khajuraho) เป็นสถาปัตยกรรมทางศาสนาที่พิเศษแตกต่างจากที่อื่นๆ คือ มีการประดับประติมากรรมภาพสตรีเปือยกาย และการมีเพศสัมพันธ์จากกามสูตรอย่างเปิดเผย ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างศาสนาฮินดูและเชน (Jain) สร้างขึ้นเมื่อประมาณพันปีก่อน ระหว่างปี ค.ศ. 950-1050 ในการอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงจัณฑละ ที่เป็นใหญ่ในภาคกลางของอินเดีย สำหรับศาสนาเชน เกิดขึ้นในอินเดียมานาน และดำรงสถานะเป็นศาสนาหนึ่งในอินเดียจนถึงทุกวันนี้

วิหารงดงามโอ่อ่า ทั้งรูปทรงและรูปแกะสลักจำนวนมาก ตั้งอยู่ใกล้กับหมู่บ้าน ขะขุรโห จึงได้ชื่อตามนั้น รูปแกะสลักหินประดับวิหารสะท้อนให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ และความชำนาญงานศิลปะชั้นสูงของศิลปินสมัยนั้น ซึ่งสามารถแกะสลักหินให้สวยงามอ่อนช้อย และมีชีวิตชีวาน่าอัศจรรย์ แรกสร้างวิหารมีจำนวน 85 หลัง กาลเวลาทำลายวิหารพังเสียหายเป็นส่วนใหญ่ หลงเหลือมาถึงปัจจุบันเพียง 22 หลัง แต่ยังพอเพียงเป็นประจักษ์พยานงานศิลปกรรมที่ยิ่งใหญ่อลังการ ทั้งยังสื่อขนบประเพณี ความเชื่อของชนชาติอินเดียชัดเจน

ความแตกต่างจากวิหารทั่วไป คือ องค์วิหารยืนตะหง่าน ปราศจากกำแพงล้อมรอบ ตั้งอยู่บนฐานอิฐสูงแข็งแรง เป็นสถาปัตยกรรมที่ก่อสร้างรวมกันเป็นหมู่อย่างมีเอกภาพ เพดานแกะสลักลวดลายประณีต มีเสาค้ำยันหลังคา 4 ต้น บัวหัวเสาแกะสลักอย่างพิถีพิถัน

ด้านบนและฐานล่างของเสาแกะสลัก เป็นรูปคนแคระ และสัตว์ในเทพนิยายมีหัวและปีกเป็นอินทรี มีร่างเป็นสิงโต ตรงกลางเสาแกะสลักนางอัปสรทรวดทรงอรชรจำนวนนับพันนับหมื่นประดับรอบวิหารทุกหลัง บรรดานางสวรรค์แสดงอารมณ์ออกทางสีหน้า และวางท่าราวกับซูเปอร์โมเดลยุคปัจจุบัน สะท้อนจินตนาการและความสามารถในการถ่ายทอดของศิลปิน ถือเป็นงานศิลปกรรมชิ้นเอก ชาวอินเดียในสมัยนั้น ยึดมั่นศรัทธาลัทธิตันตระ ซึ่งเชื่อว่าความพึงพอใจกิเลสทางโลก จะช่วยยกจิตใจและนำพาจิตวิญญาณไปสู่ความหลุดพ้น รูปแกะสลักแสดงความรักใคร่จึงปรากฏทั่วไป

รูปแกะสลักกามสูตร สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์จำเพาะ เนื่องมาจากคำว่า “กาม” ในภาษาสันสกฤตยังหมายถึง การดำเนินชีวิตอันเหมาะสมของผู้ชายด้วย ตามหลักวิถีการดำเนินชีวิตของฮินดู ซึ่งกำหนดให้เด็กชายรักษาพรหมจรรย์ในวัยอันบริสุทธิ์ เพียรศึกษาศาสตร์แห่งความรักใคร่ เพราะกามารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของการครองเรือน จึงพร้อมรับบทบาทผู้นำครอบครัว

กำแพงหินด้านนอกของวิหาร ประดับประดาด้วยงานแกะสลักหินแบบนูนสูง บรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้าและเทวี ได้แก่ พระศิวะ และนางปาวรตีซึ่งเป็นชายา พระวิษณุ และพระนางลักษมีผู้เป็นชายา พระพิฆเนศวรในท่วงท่าร่ายรำ รูปแกะสลักนักดนตรีและนางรำ เป็นต้น ซึ่งดูลักษณะเหมือนจริง แสดงอารมณ์รู้สึกออกมาให้เห็น หาดูได้ยากจากสถาปัตยกรรมของวิหารอื่น

วิหาร 12 หลังที่สร้างอุทิศถวายพระวิษณุ และพระศิวะทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจัดว่ามีความสำคัญที่สุด เป้นที่ประดิษฐานแท่นบูชากัณฑารวาส มหาเทวะขนาดใหญ่โตที่สุดในหมู่วิหาร แผนผังคล้ายกับจัสตุรัสกล แสดงให้เห็นถึงทักษะชั้นสูงในการออกแบบก่อสร้างวิหาร

หลายร้อยปีหลังหมดยุครุ่งเรืองของราชวงศ์ สถาปัตยกรรมโบราณถูกทอดทิ้งให้รกร้างและเสื่อมโทรมลง จวบจนราชนาวีอังกฤษคนหนึ่งมาพบหมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้เมื่อปี ค.ศ. 1838 วิหารแห่งความรัก และกามารามณ์ของอินเดีย จึงเป็นที่รู้จักไปของคนทั่วโลก แม้ว่าสายตาของผู้คนในตอนแรก จะมองเป็นศิลปะที่อนาจาร และแสดงถึงความเสื่อมของศีลธรรมมนุษย์ก็ตามที

แต่ชาวอินเดีย ไม่มองประติมากรรมแนวอีโรติกเป็นเรื่องน่าอาย เพราะเชื่อกันมาแต่โบราณว่า กามสูตรเป็นมาตรฐานเพศศึกษาสืบทอดกันมาหลายพันปี ชาวอินเดียเรียกนางรำว่า “ศิลปิน” ซึ่งฟ้อนรำเพื่อบูชาสักการะทวยเทพผู้เป็นใหญ่ ซึ่งหากมองมุมนี้ ย่อมจำแนกได้ระหว่างศิลปะและอนาจาร เห็นความงามอันบริสุทธิ์ของประติมากรรม และอาจชื่นชมแนวคิดการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาตั้งแต่วัยเด็กด้วยซ้ำ!

จากคุณค่าของศิลปะ และสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ วิหาร ขะชุรโห จึงได้รับการยกย่องจากองศ์การยูเนสโกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ควรค่าแก่การอนุรักษ์เมื่อปี ค.ศ. 1986























Create Date : 15 สิงหาคม 2556
Last Update : 15 สิงหาคม 2556 22:59:15 น.
Counter : 2066 Pageviews.

0 comments

iforyouz
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]