มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
12
13
15
19
21
22
23
24
29
31
 
 
All Blog
โรงเรียนเก่าแก่ที่สุดของไทย ชาย-หญิง


การก่อตั้งโรงเรียน เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ และสืบเนื่องจากการมีชาวต่างประเทศ ได้เริ่มเข้ามาติดต่อ ทางสัมพันธไมตรี ทางการค้า และเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ นำวิทยาการต่างๆ  ของชาวตะวันตก ก็ได้เข้ามาเผยแพร่มากขึ้น

  • เริ่มมีการสอนหนังสือภาษาอังกฤษ ขึ้นในพระบรมมหาราชวังแก่เชื้อพระวงศ์ฝ่ายใน และนอกจากนี้ ยังมีการเรียนวิชาการต่างๆ  เช่น การต่อเรือกำปั่น วิชาแพทย์ วิชาเครื่องจักรกล การเดินเรือ และการถ่ายภาพ เป็นต้น
  • ในขณะเดียวกัน ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ นั่นเอง คณะมิชชั่นนารีโดยการนำของหมอบรัดเลย์ ได้นำเอาการพิมพ์หนังสือ และเครื่องพิมพ์เข้ามาในประเทศสยาม จึงได้ มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยขึ้น ออกจำหน่ายจ่ายแจก แก่ประชาชนทั่วไป และแบบเรียนภาษาไทยอย่าง จินดามณี ประถม ก กา ประถม มาลา ก็ได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้นด้วย ดังนั้น การศึกษาจึงได้แพร่หลาย และสะดวกขึ้นกว่าที่เจยเป็นมา (หนังสือแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรกของไทย คือ จินดามณี ต่อมามีเพิ่มอีก 2 เล่ม คือ ประถม ก กา และ ประถม มาลา )
  • ทรงโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ “โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก” ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น“โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ”


โรงสกูล (school) หรือ โรงเรียนหลวง โรงเรียนแรกของเมืองไทย


  • หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงขึ้นครองราชสมบัติ ในปีพุทธศักราช 2411 ต่อมาอีกไม่กี่ปี ในปีพุทธศักราช 2414 พระองค์ท่านได้โปรดเกล้าฯ ให้ ตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกในสยาม สถานที่ดังกล่าวนี้ คือ โรงสกูลหลวง (โรงเรียนหลวง) และ โรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษ
  • โรงสกูลหลวง ตั้งอยู่ข้างโรงละครเก่าในสนาม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยครูใหญ่คนแรกก็คือ หลวงสารประเสริฐ ปลัดกรมอาลักษณ์ (นามจริง “น้อย  อาจารยางกูร  ต่อมา ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระศรีสุนทรโวหาร”) และโปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษสำหรับสอนภาษาอังกฤษ ให้กับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ และหม่อมเจ้าต่างกรม ที่ทรงได้เรียนภาษาไทยแล้ว โดยตั้งอยู่ที่ตึกสองชั้น ข้างประตูพิมานไชยศรี ด้านทิศตะวันออก มีนายฟรานซิส  ยอร์ช  แปเตอร์สัน  เป็นครูผู้สอน

โรงเรียนสวนนันทอุยาน (กำเนิด “โรงเรียน” ที่มีคุณลักษณะ เป็นโรงเรียนอย่างแท้จริง)


  • ต่อมาเมื่อนาย ฟรานซิส  ยอร์ช  แปเตอร์สัน  ครูสอนภาษาอังกฤษ กราบทูลฯ ขอลากลับยุโปร ในปีพุทธศักราช 2419 โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ จึงต้องเลิกไป จนกระทั่งในปี พุทธศักราช 2422 จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้นมาใหม่  ณ พระราชวัง นันนทอุทยาน  เรียกชื่อว่า “โรงเรียนนันทอุทยาน” หรือ “โรงเรียนสวนนันทอุยาน“  โดยโปรดฯ ให้หมอแมคฟาร์แลนด์ (S.G. Mc. Farland) มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ และมีคณะกรรมการคณะหนึ่ง จำนวน 8 ท่าน ทำหน้าที่ควบคุม ดูและจัดการ  และนี่คือกำเนิด “โรงเรียน” ที่มีคุณลักษณะ เป็นโรงเรียนอย่างแท้จริง แทนการเรียนตามวัด หรือบ้าน อย่างที่เคยเป็นมา


โรงเรียนวัดแห่งแรกของไทย


ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชปรารภให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง แต่ ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนสำหรับราชนิกูลหรือบุตรหลานของข้าราชการ พระองค์จึงได้ทรงโปรดฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น เพื่อให้บุตรหลานของเหล่าราษฎรได้เล่าเรียน

  • ในปี 2427  ที่ได้ มีการตั้งโรงเรียนเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โรงเรียนหลวง สำหรับราษฎร ขึ้นตามวัดหลายแห่งทั้งในพระนคร และตามหัวเมืองสำคัญ ๆ  ดังนั้น โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกจึงถือกำเนิดขึ้น ที่กรุงเทพฯ นี่เอง ณ วัดมหรรณพาราม  ถนนตะนาว ตำบลเสาชิงช้า  อำเภอพระนคร  โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร แห่งแรกนี้ ก็คือ “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม” หรือ “โรงเรียนวัดมหรรณพ์” โดยเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาแบบสหศึกษา
(ประเพณีไทยเรา ชอบส่งลูกหลานไปเป็นลูกศิษย์พระที่วัด การตั้งโรงเรียนในวัด จึงเป็นการปลูกฝังให้ราษฎรส่งบุตรหลานของตน เข้ามาเรียนหนังสือ โดยไม่มีความรังเกียจโรงเรียน)

ที่มา : teen.mthai.com/variety/57269.html



Create Date : 28 มีนาคม 2556
Last Update : 28 มีนาคม 2556 16:11:35 น.
Counter : 2396 Pageviews.

0 comments

iforyouz
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]