Group Blog
 
 
มิถุนายน 2553
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
24 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
วิกฤตินิวเคลียร์ อีกแค่ 5 นาทีปฐพีล่มสลาย!!








โลกเรากำลังเข้าใกล้จุดวิกฤติทั้งจากภัยนิวเคลียร์และสภาพสิ่งแวดล้อม


ที่ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ซึ่งกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกผู้ดูแลสัญลักษณ์แห่งหายนะได้ลงมติว่าปีที่แล้วเป็นช่วงเลวร้ายที่สุด



จึงตัดสินใจปรับเวลาของ นาฬิกาสิ้นโลก ให้เข้าใกล้เที่ยงคืนไปอีก เหลืออีกเพียง 5 นาทีเท่านั้นที่โลกจะล่มสลาย





เบเนดิกต์  และเคราส์ กำลังจ้องมองนาฬิกาสิ้นโลกที่ปีนี้เหลือเวลาอีกเพียง 5 นาทีเท่านั้น
เบเนดิกต์ และเคราส์ กำลังจ้องมองนาฬิกาสิ้นโลกที่ปีนี้เหลือเวลาอีกเพียง 5 นาทีเท่านั้น




วารสารวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ "เดอะบูลเละทิน" (Bulletin of Atomic Scientists : BAS)


ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างยิ่งในวงการ ได้นำนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกแถลงข่าวร่วมทั้งในกรุงลอนดอน อังกฤษ และวอชิงตัน สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 17 ม.ค. เพื่อขยับ นาฬิกาโลกาวินาศ (Doomsday Clock)



ให้เข้าใกล้เที่ยงคืนไปอีก 2 นาที จากเดิม 11.53 น. มาอยู่ที่เวลา 11.55 น. เป็นการส่งสัญญาณเชิงสัญลักษณ์ว่าโลกเขยิบเข้าใกล้สู่กาลอวสานมากขึ้น

ฮอว์กิงมาร่วมการขยับเข็มนาฬิกาที่จัดขึ้นในราชบัณฑิตยสมาคมอังกฤษ
ฮอว์กิงมาร่วมการขยับเข็มนาฬิกาที่จัดขึ้นในราชบัณฑิตยสมาคมอังกฤษ




นาฬิกาโลกาวินาศ ออกสู่สายตาชาวโลกตั้งแต่ปี 2490


หลังสหรัฐฯ ทิ้งปรมาณูทำลายญี่ปุ่นไม่กี่เดือน เป็นแนวคิดของกลุ่มนักฟิสิกส์ในโครงการแมนฮันตัน (Manhattan Project) สหรัฐฯ ที่พัฒนาอาวุธล้างโลกขึ้น



จากนั้นพวกเขาได้เตือนให้ทำลายอาวุธนิวเคลียร์ก่อนที่จะสายแรก



เริ่มตั้งเวลาห่างจากเที่ยงคืนออกไป 7 นาที โดยกำหนดให้ 12.00 น. (เที่ยงคืน) เป็นช่วงเวลาโลกล่มสลาย หรือ ดูมส์เดย์ ที่โลกจะถูกทำลายหมดไม่มีผู้คนหลงเหลือ



โดยมีวารสารบีเอเอสที่พวกเขาก่อตั้งขึ้นรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพพิจารณาการขยับของเข็มนาฬิกามากว่า 60 ปี

แม้จะพูดได้นาทีละไม่กี่คำ แต่ฮอว์กิงก็พยายามอธิบายให้เห็นว่าภัยโลกร้อนรายแรงเพียงใด
แม้จะพูดได้นาทีละไม่กี่คำ แต่ฮอว์กิงก็พยายามอธิบายให้เห็นว่าภัยโลกร้อนรายแรงเพียงใด




ปัจจัยสำคัญ 2 ข้อที่ทำให้คณะกรรมการวารสารตัดสินใจหดเวลาชีวิตของโลก


เข้าไป 2 นาทีในครั้งนี้ก็เพราะวิกฤติอาวุธนิวเคลียร์ที่เป็นปัญหากระจายอยู่หลายประเทศ และปัญหาสถานการณ์โลกร้อนที่นับวันจะทวีความรุนแรงอย่างรั้งไม่อยู่



ลอว์เรนซ์ เคราซ์ (Lawrence Krauss) แห่งภาควิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์น รีเสิร์ฟ (Case Western Reserve University, Cleveland) สหรัฐฯ หนึ่งในคณะกรรมการ กล่าวว่า



เป็นภาระหน้าทีอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ของนักวิทยาศาสตร์ที่จะต้องออกมาเตือนผู้นำชาติสำคัญของโลกถึงหายนะภัยที่กำลังคืบคลานเข้ามาคุกคามมนุษยชาติมากขึ้นทุกที

นาฬิกาวันสิ้นโลกเกิดหลังสหรัฐฯ ทิ้งปรมาณูทำลายฮิโรชิมาและนางาซากิ
นาฬิกาวันสิ้นโลกเกิดหลังสหรัฐฯ ทิ้งปรมาณูทำลายฮิโรชิมาและนางาซากิ




วิกฤติการณ์นิวเคลียร์ที่ไม่มีใครยอมใคร


รุ่งอรุณแห่ง นิวเคลียร์ยุคที่สอง กำลังส่องสว่าง คือเหตุผลสำคัญในการปรับนาฬิกา เพราะหลายประเทศต่างกำลังพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปีที่แล้ว คณะกรรมการได้ระบุชื่อบางประเทศเช่น



เกาหลีเหนือที่ทดลองนิวเคลียร์ในเดือนตุลาคม,

การลักลอบนำเข้าเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของนักวิทยาศาสตร์ปากีสถานี

และพิธีทางการทูตที่ล้มเหลวในการเจรจาห้ามมิให้อิหร่านครอบครองนิวเคลียร์



ซึ่งเหล่านี้ส่งผลให้อัตราการเติบโตของ อาวุธนิวเคลียร์ เพิ่มขึ้นและกระจายไปทั่วโลก

ช่วงเวลาเด่นๆ ที่มีการปรับนาฬิกาสิ้นโลก
ช่วงเวลาเด่นๆ ที่มีการปรับนาฬิกาสิ้นโลก




นอกจากนี้ คณะกรรมการยังกล่าวถึงการสะสมนิวเคลียร์ของชาติยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐฯ และรัสเซีย


ซึ่งทั้ง 2 ประเทศนี้มีหัวรบพร้อมใช้มากกว่า 26,000 หัวรบเก็บไว้ รวมถึงการเพิ่มสมรรถนะยูเรเนียมและพลูโตเนียม และข้อเสนอให้มีการทำลายนิวเคลียร์ทั่วโลกล้วนได้รับการปฏิเสธ



ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในระดับภูมิภาค



ซึ่งมาร์ติน รีส (Martin Rees) นักดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อังกฤษ (Cambridge University, UK) ก็ระบุว่า



ไม่มีโอกาสใดที่ดีกว่านี้แล้วในการลดปริมาณนิวเคลียร์และจะช่วยลดความขัดแย้งในระดับภูมิภาคได้อีกด้วย







เพิ่มประเด็นใหม่ อากาศวิปริต ทำลายชีวิต


ส่วน อากาศผันผวน เป็นประเด็นที่ 2 ที่คณะกรรมการยกขึ้นมาพิจารณาปรับเวลา และนับเป็นครั้งแรกที่มีประเด็นสิ่งแวดล้อมมาเกี่ยวข้อง



ซึ่งเคนน็ตต์ เบเนดิกต์ (Kennette Benedict) ประธานคณะกรรมการวารสารเปิดใจว่า



เมื่อเขามองนาฬิกาโลกาวินาศ ทำให้ตระหนักว่ายังต้องมีเทคโนโลยีและแนวคิดอื่นๆ นอกเหนือจากนิวเคลียร์เข้ามาประกอบกันทำให้โลกย่ำแย่ จากนั้นจึงพิจาณาองค์ประกอบอื่นๆ อาทิ



เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดมลพิษ

การเติบโตของนาโนเทคโนโลยี

ความก้าวหน้าทางด้านพันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ

และการก่อการร้ายด้วยอาวุธชีวภาพ



ทว่าก็พิเคราะห์จนแน่ใจว่า



สถานการณ์โลกร้อนนั้นอันตรายร้ายแรงพอๆ กับอาวุธนิวเคลียร์


สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen W. Hawking) นักฟิสิกดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์คนสำคัญของโลก


ก็มาร่วมพีธีการขยับเข็มนาฬิกาครั้งนี้ด้วย โดยให้สัมภาษณ์ผ่านเครื่องสังเคราะห์เสียงว่า แค่วิกฤติโลกร้อนก็ทำร้ายโลกไปมากกว่าครึ่ง



ยิ่งกว่าการก่อการร้าย เพราะก่อการร้ายอาจจะฆ่าผู้คนได้ทีละร้อยละพัน แต่โลกร้อนทำลายได้เป็นล้านๆ ชีวิต พวกเราควรทำสงครามกับโลกร้อน มากกว่าสงครามกับผู้ก่อการร้าย





ย้ำแนวคิดตั้งต้น อาวุธนิวเคลียร์ เคลียร์ได้โลกสดใส


ทั้งนี้ ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาเข็มนาฬิกาขยับเข้า-ออกจากเที่ยงคืนมาแล้ว 18 ครั้ง โดยครั้งที่เข็มยาวของนาฬิกาสิ้นโลกได้ขยับใกล้เวลาเที่ยงคืนมากที่สุดคือก่อนถึงเที่ยงคืนเพียง 2 นาที



ในปี 2496 ที่สหรัฐฯ และสหภาพโซเวียต



ต่างทดลองระเบิดไฮโดรเจนฝ่ายละครั้งห่างกันแค่ 9 เดือน และเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 2534 นาฬิกาก็ถอยห่างจากเที่ยงคืนออกมาถึง 17 นาที


ส่วนการขยับครั้งก่อนหน้านี้คือเมื่อ 5 ปีก่อนเข้าใกล้เที่ยงคืน 2 นาที


(อยู่ที่ 11.53 น.) หลังเหตุก่อการร้าย 11 กันยา ในสหรัฐฯ และนโยบายด้านนิวเคลียร์ของประธานาธิบดีจอร์จ บุชที่แข็งกร้าว



การตัดสินใจขยับเข็มนาฬิกาแต่ละครั้งนั้นร่วมกันพิจารณาโดยคณะกรรมการของวารสาร



ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในระดับนโยบาย รวมถึงผู้สนับสนุนกิจกรรม อาทิ ฮอว์กิง และอาร์เธอร์ ซี คลาร์ก (Arthur C. Clarke) นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อดัง


แม้ว่าแนวคิดใหม่ในการขยับเข็มนาฬิกาจะมีเรื่องโลกร้อนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย


แต่ประเด็นทางด้าน นิวเคลียร์ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ดั้งเดิมทีต้องการให้นาฬิกาเรือนนี้เป็นสัญลักษณ์ความขัดแย้งในการสะสมและแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์



ทางคณะกรรมการก็ยังให้ความสำคัญมากกว่า เพราะถือว่ายังไม่มีเหตุการณ์ใดเลวร้ายเท่ากับการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ


คำตัดสินในการปรับนาฬิกาให้เข้าใกล้เวลาโลกแตกนั้นบรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างระบุว่า


ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจเท่าใดนัก เพราะปี 2549 ที่ผ่านมานับเป็นปีที่เลวร้ายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความพยายามยุติการกระจายของระเบิดนิวเคลียร์



โดยหวังว่าการขยับนาฬิกาเข้าใกล้จุดหายนะนี้จะกระตุ้นผู้คนให้หันมาสนใจแก้ปัญหาวิกฤติที่เราและโลกกำลังเผชิญอยู่




ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: ผู้จัดการออนไลน์


 

From: //variety.teenee.com/foodforbrain/1589.html


Create Date : 24 มิถุนายน 2553
Last Update : 24 มิถุนายน 2553 15:29:44 น. 0 comments
Counter : 437 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

lifewater
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add lifewater's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.