Sustainable Architecture



สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ในปัญหาที่โลกต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้ คือ ปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น
โดยที่สาเหตุส่วนใหญ่มาจากฝีมือมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยปัญหาเกิดมาจากความต้องการ
ใช้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ในโลกอย่างไม่ระมัดระวังและขาดจิตสำนึก ทำให้ทรัพยากรเหล่านี้หมดไป


จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2530 มีการตื่นตัวต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเมื่อสมัชชาโลกว่าด้วย สิ่งแวดล้อม
และการพัฒนาที่องค์การสหประชาชาติจัดตั้งขึ้น ได้พิมพ์เอกสารชื่อ “Our Common Future”
ออกเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมีสาระเรียกร้องให้ชาวโลกเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตที่ฟุ่มเฟือย
และหาวิถีทางการพัฒนาเสียใหม่ให้ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และข้อจำกัดของธรรมชาติให้มากขึ้น
พร้อมกับได้ให้นิยามถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ว่า

“การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาที่สนองตอบต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำให้คนรุ่น
ต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดทอนความสามารถในการที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง”


Sustainable Development is a development that meets the needs of the present
without compromising the ability of future generations to meet their own needs.




Sustainable Architecture

Sustainable Architecture หรือ สถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน คือ การออกแบบอาคารเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งในระหว่างการผลิตวัสดุอาคาร ในระหว่างกระบวนการก่อสร้าง รวมถึงในระหว่างช่วงอายุการใช้งานของอาคาร
( เช่น การใช้ความร้อน ไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งการทำความสะอาด เป็นต้น ) การออกแบบที่เน้นประสิทธิภาพในเรื่องของ
การทำความร้อนและระบบทำความเย็น การเลือกใช้แหล่งพลังงานทางเลือก เช่น ระบบทำน้ำร้อนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
การใช้พลังงานจากลม พลังงานแสงอาทิตย์ การใช้น้ำฝนมารดน้ำต้นไม้ ฯลฯ การเลือกที่ตั้งของอาคารที่เหมาะสม
การนำวัสดุก่อสร้างอาคารมาใช้ใหม่ การจัดการของเสียจากอาคาร เป็นต้น
มีการพัฒนาเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อตอบสนองสิ่งจำเป็นของมนุษย์
ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันต่อเนื่องไปถึงอนาคต โดยการนำประโยชน์จากเทคโนโลยี วิธีการสร้างสรรค์
ตลอดจนการวางแผนหากลวิธี ที่จะนำสิ่งของกลับมาคืนรูปมาใช้ในแบบต่าง ๆ โดยที่จะยังช่วยอนุรักษ์แหล่งพลังงาน
ที่ไม่สามารถกลับคืนมาได้ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กล่าวโดยสรุปแล้ว

Sustainable Architecture คือ สถาปัตยกรรมที่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม
ผสานความต้องการของมนุษย์เข้ากับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
และสร้างผลกระทบน้อยที่สุด






สำหรับอิทธิพลของแนวคิดด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ส่งผลต่องานสถาปัตยกรรม จากการศึกษาพบว่า
ทิศทางของโลกที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนคือ การแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะภายหลังจากที่เกิดวิกฤตการณ์น้ำมัน
ในยุคทศวรรษ 70 มีความพยายามในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่จะสร้างให้เกิดความสมดุลขึ้น 3 ด้าน ได้แก่
สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เกิดเป็นแนวคิดของสถาปัตยกรรมยั่งยืน (Sustainable Architecture)





Glenn Murcutt สถาปนิกชาวออสเตรเลีย ได้กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับ Sustainable Architecture ไว้ดังนี้

Touch the earth lightly.
Watch the flow of water.
Follow the sun.
Observe the wind.
Use simple materials


“นอบน้อมต่อธรรมชาติ แดดแรงก็หลบ ลมดีก็เปิดรับไม่ออกแบบฝืนธรรมชาติ ไม่แก้ที่ปลายเหตุ
ใช้วัสดุง่ายๆ ที่มีในท้องถิ่น ไม่ต้องขวนขวายสั่งมาจากต่างเมือง”

สรุปหลักการ หรือ หัวใจสำคัญ Sustainable Architecture
1.“ Ecological concern ” เคารพในที่ตั้ง รักษาแผ่นดินและพืชพรรณ
2.“ Climate concern ” คำนึงถึงสภาพอากาศในท้องถิ่น ไม่สร้างมลภาวะทางอากาศ
3.“ Energy Efficiency ” การประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน
4.“ User Concern ” คำนึงถึงความสบายของผู้ใช้อาคารปลอดมลภาวะทางเสียงและทัศนียภาพ
5.“ Material Efficiency ” ใช้วัสดุอย่างมีประสิทธิภาพการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ไม่ใช้วัสดุที่เป็นพิษต่อผู้อาศัย
6.“ Water Efficiency ” ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพไม่สร้างมลภาวะทางน้ำ


ขั้นตอนของการออกแบบก่อสร้างแบบยั่งยืน
Steps of Sustainable Building design and construction
• ก่อนออกแบบ Predesign
• ออกแบบและพัฒนาแบบ Design
• ก่อสร้าง Construction
• หลังก่อสร้าง Post Construction





ประเภทของงาน Types of Work
• อาคารใหม่ New Design
• ฟื้นฟู ซ่อมแซม Renovate
• ปรับปรุงเปลือกอาคาร Retrofit

วิธีการนำไปสู่ Sustainable Architecture สามารถจำแนกหลักการที่สำคัญของวิธีการออกมาได้ 2 วิธี คือ
1. Nature - Driven Technologies
2. Technology - Driven Strategies


1. Nature - Driven Technologies เป็นวิธีการพึ่งพาธรรมชาติมาใช้ประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อม
โดยพยายามนำเทคโนโลยีเครื่องกลมาใช้ในอาคารให้น้อยที่สุด เป็นการพึ่งพาสภาวะแวดล้อมธรรมชาตให้มากที่สุด
วิธีการนี้สามารถนำมาออกแบบอาคารโดยมุ่งสู่ประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1.1 Solar and Wind Protection เป็นวิธีการป้องกันแสงอาทิตย์ และแสวงหาประโยชน์จากกระแสลม
โดยอาศัยต้นไม้ และอุปกรณ์บังแสงแดด การจัดสภาพแวดล้อม ควบคุมทิศทางกระแสลม
1.2 Daylight เป็นการอาศัยแสงสว่างจากธรรมชาติ เพื่อลดพลังงานจากแสงประดิษฐ์ เช่น การเปิด Court
หรือ Atrium กลางอาคาร การใช้แผงสะท้อนแสงเข้าสู่อาคาร
1.3 Thermal Envelope เป็นการใช้ฉนวนที่เปลือกอาคาร และหลังคา เพื่อป้องกันความร้อนถ่ายเทเข้าสู่อาคาร
1.4 Renewable Energy Source เป็นการนำแหล่งพลังงานที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดมาใช้ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น







1.5 Recycling (Reuse) เป็นการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่นกักเก็บน้ำฝนมารดน้ำต้นไม้
ทำความสะอาดบ้านเรือนอาคาร เป็นต้น
1.6 Air Quality เป็นการนำลมธรรมชาติมาช่วยถ่ายเทอากาศภายในอาคารให้บริสุทธิ์ขึ้น และการใช้ต้นไม้
ช่วยกรองฝุ่นละอองและดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในเวลากลางวัน

2. Technology - Driven Strategies
เป็นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ และประสิทธิภาพให้สูงที่สุด โดยการดัดแปลงให้เหมาะสม
เพื่อการประหยัดพลังงาน การออกแบบจะมุ่งสู่ประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

2.1 Site Selection เป็นการคัดเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมเอื้อประโยชน์แก่อาคาร ในด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ตลอดจนลดการสิ้นเปลืองในการเดินทางและติดต่อ
2.2 Lighting Controls & Daylighting เป็นการควบคุมแสงสว่างที่ใช้ในอาคารให้เหมาะสม โดยการอาศัยมนุษย์และอุปกรณ์กล
2.3 Building Materials เป็นการใช้วัสดุอุปกรณ์อื่น ที่ไม่ต้องพึ่งพาวัสดุธรรมชาติ เช่น วัสดุสังเคราะห์ที่มีคุณภาพต่าง ๆ
2.4 Heating / Cooling เป็นการทำความร้อนและเย็น โดยการนำพลังงานจากสภาวะแวดล้อมมาใช้อย่างฉลาด
2.5 Recycling เป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการหมุนเวียนทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้แล้ว นำมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์
เพื่อลดพลังงานในการจัดเก็บและทำลาย





ตัวอย่างอาคารต่างประเทศ

Banyan Tree Corniche Bay design by Norman Foster and Partners





Norman Foster and Partners ได้ร่วมกันออกแบบบ้านที่มีความสวยงามและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ชื่อว่า
Banyan Tree Corniche Bay ตั้งอยู่บนเกาะ Mauritius ในมหาสมุทรอินเดีย

We just wish it was a reality and not just a concept. Norman Foster

ที่พักแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของผังแม่บท ในการพัฒนา Banyan Tree Corniche Bay ใน La Gaulette บนเกาะ Mauritius
ลักษณะของหลังคาที่เป็นลูกคลื่น ช่วยให้การระบายอากาศตามธรรมชาติได้ดี ลมสามารถพัดผ่านเข้ามาภายในได้
ตัวอาคารสร้างจากวัสดุที่มีในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถรีไซเคิลได้ นอกจากบ้านจะออกแบบให้มีคุณสมบัติ
ในการประหยัดพลังงานของหลังคาที่ติด Photovoltaics (ใช้พลังงานแสงอาทิตย์) และระบบเก็บน้ำฝนไว้ใช้
การออกแบบในแนวร่วมสมัยที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและคุณลักษณะของพืชเขตร้อนอย่างลงตัว



แนวคิดที่นำมาใช้ในการออกแบบ คือ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ , การคำนึงถึงสภาพอากาศ ,
รักษาระบบนิเวศของพื้นที่

หลักการที่นำมาใช้ในการออกแบบ คือ

- Solar and Wind Protection การป้องกันแสงอาทิตย์ และแสวงหาประโยชน์จากกระแสลม
- Daylight การอาศัยแสงสว่างจากธรรมชาติ เพื่อลดพลังงานจากแสงประดิษฐ์
- Renewable Energy Source การนำแหล่งพลังงานที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดมาใช้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น
- Recycling (Reuse เป็นการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น กักเก็บน้ำฝนมาใช้
- Air Quality การนำลมธรรมชาติมาช่วยถ่ายเทอากาศภายในอาคารให้บริสุทธิ์ขึ้น และการใช้ต้นไม้
ช่วยกรองฝุ่นละอองและดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในเวลากลางวัน
- Site Selection การเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมเอื้อประโยชน์แก่อาคาร
- Recycling การลดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการหมุนเวียนทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้แล้ว นำมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์

กุฎิวัดพุทธเขาโคดม ออกแบบโดยบริษัท คุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์






ความพอเพียง ความยั่งยืน และความเป็นมิตรต่อสรรพสิ่งในโลก เป็นสิ่งที่sustainable architect ได้รับการกำหนดไว้มาเนิ่นนาน
ภายใต้หลักปรัชญาพุทธศาสนา และอาคารกุฎิหลังนี้ ก็แสดงออกถึงความเรียบง่าย ทั้งการออกแบบและการใช้วัสดุ
ซึ่งยังคงสร้างความรู้สึกน่าสบาย การระบายอากาศ และ “คุณภาพ” ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ลุ่มลึกเกินมาตรฐาน
ถือเป็นอีกตัวอย่างที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว

แนวคิดที่นำมาใช้ในการออกแบบ คือ การออกแบบมุ่งเน้นให้ผู้อยู่อาศัยได้รับสภาวะน่าสบายจากพื้นที่สีเขียวภายนอกอาคาร,
การคำนึงถึงสภาพอากาศ ,รักษาระบบนิเวศของพื้นที่

หลักการที่นำมาใช้ในการออกแบบ คือ

- Solar and Wind Protection การป้องกันแสงอาทิตย์ และแสวงหาประโยชน์จากกระแสลม
- Daylight การอาศัยแสงสว่างจากธรรมชาติ เพื่อลดพลังงานจากแสงประดิษฐ์
- Air Quality การนำลมธรรมชาติมาช่วยถ่ายเทอากาศภายในอาคารให้บริสุทธิ์ขึ้น และการใช้ต้นไม้
ช่วยกรองฝุ่นละอองและดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในเวลากลางวัน
- Site Selection การเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมเอื้อประโยชน์แก่อาคาร

สนามบินนานาชาติเกาะสมุย ออกแบบโดย บริษัท Habita



สนามบินสมุย เป็นสนามบินพาณิชย์มาตรฐานของบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด เปิดทำการบินเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2532
ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 600 ไร่ (ในปัจจุบัน) ณ ต.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2527
ในพื้นที่สวนมะพร้าวดั้งเดิม

สนามบินสมุย ก่อสร้างและออกแบบโดยคำนึงถึงสภาพสิ่งแวดล้อมของเกาะสมุย และความกลมกลืนกับธรรมชาติแวดล้อม สร้างด้วยวัสดุที่เป็นไม้ต้นมะพร้าว ลักษณะอาคารเปิดโล่ง เพื่อให้บรรยากาศเป็นธรรมชาติในรูปแบบของเกาะสมุยมากที่สุด

ลักษณะเด่นของความเป็นอาคารสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนในอาคารแห่งนี้คือ ความกลมกลืนกับบริบททางวัฒนธรรม (Cultural Context)
เป็นการดึงความเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเขตร้อนชื้น (Tropical Vebnacular Design) มานำเสนออย่างเด่นชัด
และงดงาม ตั้งแต่การระบายอากาศที่เป็นธรรมชาติ คุณภาพของแสงสว่างจากธรรมชาติ รวมไปถึงการใช้วัสดุและการออกแบบ
รายละเอียดทางสถาปัตยกรรม

สนามบินสมุยเป็นตัวอย่างที่ดีในการเปลี่ยนวิธีการนำเสนอด้วยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สามารถอ้างอิงแนวคิดที่ดีเหล่านี้ได้
ด้วยบรรยากาศสนามบินที่ให้ความเป็นกันเอง และสามารถเชื่อมโยงกับบริบทสภาพแวดล้อมของสมุยอย่างดีมาก

แนวคิดที่นำมาใช้ในการออกแบบ คือ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ , การคำนึงถึงสภาพอากาศ ,
รักษาระบบนิเวศของพื้นที่

หลักการที่นำมาใช้ในการออกแบบ คือ

- Solar and Wind Protection การป้องกันแสงอาทิตย์ และแสวงหาประโยชน์จากกระแสลม
- Daylight การอาศัยแสงสว่างจากธรรมชาติ เพื่อลดพลังงานจากแสงประดิษฐ์
- Air Quality การนำลมธรรมชาติมาช่วยถ่ายเทอากาศภายในอาคารให้บริสุทธิ์ขึ้น และการใช้ต้นไม้
ช่วยกรองฝุ่นละอองและดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในเวลากลางวัน
- Site Selection การเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมเอื้อประโยชน์แก่อาคาร
- Recycling การลดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการหมุนเวียนทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้แล้ว นำมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์

a href="//www.bloggang.com/data/l/lettuce-onion/picture/1284375046.jpg" target=_blank>


อ้างอิง

//sorkornkasem.com/2010/03/28/green-building-in-thailand-4-
//sorkornkasem.com/2010/04/12/green-building-in-thailand-5-
//www.abit-ku.com/index.php?mo=3&art=325981
//www.meegigg.com/
//kikakonn.spaces.live.com/blog/cns!714602D5203B609B!3047.entry
//inhabitat.com/2010/09/06/foster-partners-design-undulating-eco-villas-for-mauritius/
//kunlung0.tripod.com/index/concept_sustain_arch_1.htm#ยั่งยืน
//www.arch.hku.hk/research/beer/sustain.htm#1.1




 

Create Date : 12 กันยายน 2553
1 comments
Last Update : 13 กันยายน 2553 18:02:51 น.
Counter : 10687 Pageviews.

 

ไม่ทราบจบสถาปัตย์เกษตรไหม ข้อมูลส่วนใหญ่ข้างบนนี้มาจากเอกสารของอ.ค่ะ

 

โดย: พาสินี สุนากร IP: 58.9.30.50 30 กรกฎาคม 2559 15:18:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


littleonion
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
 
กันยายน 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
12 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add littleonion's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.