มกราคม 2556
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
31 มกราคม 2556

KZM ฉบับจับมือทำ

Blog ของผมเองครับ


//value-visions.blogspot.com/

KZM ฉบับจับมือทำ

 

เริ่มต้นนะครับ


1. เราต้องกำหนดก่อนว่า การเทรด KZM ครั้งนี้เนี่ย เรามีงบประมาณเท่าไหร่

สมมุติว่าเรากำหนดไว้ 100,000 บาทก็แล้วกัน


2. จากนั้นก็มาดูว่า เราจะเลือก Product อะไรในการเทรด

จะยกตัวอย่าง TDEX แล้วกันนะครับ TDEX ณ วันนี้ราคาอยู่ที่ ~ 9.70 บาท / หุ้น


3. คำนวณดูว่า เงิน 100,000 บาท ซื้อ TDEX 9.70 บาท ได้กี่ไม้ ( กำหนดไม้ละ 100 หุ้น )

100,000 / 970 = ประมาณ 100 ไม้


4. KZM แบ่งเป็น 4 กอง คือ A , B , C , D เราก็จะมีจำนวนไม้ที่ใช้เล่นในแต่ละกอง กองละ 25 ไม้


5. จากนั้นก็มาจัดโซนกอง A ว่าเราจะเทรดในกรอบเท่าไหร่

สมมุติเรากำหนดไว้ว่าจะเทรดในกรอบ 8.92 – 11.32 จะแบ่งไม้แล้วเข้าซื้อตามจุดดังนี้ครับ

Zone A1 8.92 buy 100 หุ้น

Zone A2 9.02 buy 100 หุ้น

Zone A3 9.12 buy 100 หุ้น

Zone A4 9.22 buy 100 หุ้น…

ไปปเรื่อยๆจนถึง 11.32 ก็จะได้ 25 ไม้พอดีครับ



6. จากนั้นก็จะมากำหนดจุดขายของกอง A ครับ โดยตรงนี้แล้วแต่เรากำหนดนะครับ

อย่างผมก็จะกำหนดว่าไม้ปล่อยทำกำไรกอง A เมื่อขึ้นไปจากโซน 20 ช่อง เช่น

Zone A1 เราเข้าซื้อที่ 8.92 ก็จะปล่อยออกที่ 9.12 ครับ

Zone A2 เราเข้าซื้อที่ 9.02 ก็จะปล่อยออกที่ 9.22

Zone A3 เราเข้าซื้อที่ 9.12 ก็จะปล่อยออกที่ 9.32 แบบนี้ไปเรื่อยๆครับ



และสมมุติว่าเราปล่อยโซน A3 ออกไปที่ 9.32 แล้วราคามันลงมา 9.12 อีกรอบ

ก็ให้ซื้อ A3 กลับเข้ามาไว้ในโซนเช่นเดิมครับ รอทำกำไรในรอบต่อไป



ถ้าราคาลงมาที่ 9.02 ก็รับ A2 กลับเข้ามาในโซนต่อ A1 ก็เหมือนกันครับ

นี่คือ Zone Trading Style กอง A ครับ…


7. จากนั้นเราก็จะเริ่มซื้อหุ้นเข้ากอง A ครับ โดยหากวันนี้ TDEX ราคาอยู่ที่ 9.70

เราก็จะซื้อรวบโซนทั้งหมดตั้งแต่โซนของ 9.72 ขึ้นไปถึง 11.32 เลยครับ

ซึ่งทั้งหมดก็จะเป็น 17 ไม้ครับ

ต้นทุนเราจะเป็นดังนี้ครับ

A9 – 9.70

A10 – 9.70

A11 – 9.70

A12 – 9.70

…จนถึง A25 ทุกโซนของเราจะมีต้นทุน 9.70 เท่ากันหมดครับ

การซื้อแบบนี้เค้าเรียกว่า “การซื้อรวบโซน” ครับ

ข้อดีของมันก็คือ ในโซนบนๆ เราจะได้กำไรมากครับ


8. จากนั้นก็จะเป็นของในเรื่องการเข้าซื้อ กอง B ครับ

จำไว้เลยครับว่า กอง B ให้เข้าซื้อพร้อมกอง A ในจำนวนเท่ากอง A ครับ


9. สมมุติเราซื้อ A , B มาอย่างละ 1,700 หุ้น ที่ราคา 9.70 ( ซื้อรวบ 17 ไม้ )

การเทรดกอง B ก็คือ ให้เราหาจังหวะทำกำไรภายในวันครับ

อย่างผมตั้งกฎง่ายๆเลยก็คือ จะขายกอง B เมื่อกำไร 10 ช่อง

หากซื้อมา 9.70 ผมก็จะพยายามหาจังหวะขายออกที่ 9.80 ครับ

หากขายได้ เราก็จะมีกำไร 10 สตางค์ เท่ากับว่า กอง A ของเรานั้น

มีต้นทุนเพียงแค่ 9.60 บาท เท่านั้นครับ ( นี่แหละ เหตุผลที่เรียกกอง B ว่าหน่วยรบคุ้มกัน )

แต่ถ้าขายไม่ได้ในวันก็ไม่เป็นไรนะครับ วันต่อๆไปค่อยหาจังหวะใหม่ก็ได้


10. จากนั้นก็หาจังหวะขายกอง A ออกตามโซน แล้วก็รับกลับมา (อย่าลืมซื้อพร้อมๆกอง B)

ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆเพื่อสร้าง Cash Flow ให้กับพอร์ตเราครับ


11. พอเราสร้าง Cash Flow ได้จำนวนนึง ก็นำมาขยายโซนต่อไปครับ

จำได้ไหมครับว่าเมื่อกี้เราไล่เก็บ TDEX ในราคาที่ลงท้ายด้วย 2

( 8.92 , 9.02 , 9.12 , 9.22 ไปจนถึง 11.32 )

จากนี้เราก็จะนำ Cash Flow มาขยายโซนที่ลงท้ายด้วยเลขอื่นบ้างครับ

เช่นอาจจะเก็บในโซนเลข 7 ก็ได้ ( ผมก็ทำแบบนี้ เพราะมันห่างกัน 5 ช่องพอดี )

พอได้เลข 7 ครบ ตั้งแต่ 8.87 – 11.37 ก็ไล่เก็บเลขอื่นต่อไปครับ


12. พอเราเก็บเลขท้ายได้ครบทุกเลข ตั้งแต่ 0 – 9 แล้ว

สิ่งที่เราจะทำต่อไปก็คือ เพิ่มจำนวนหุ้นในแต่ละไม้ครับ

จากเดิมที่เราซื้อโซนละ 100 หุ้น ก็เพิ่มเป็น 200 หุ้น

เป็น 300 , 400 , 500 หุ้น … เพิ่มไปเรื่อยๆครับ



แต่เราต้องคำนึงไว้อย่างนึงก็คือ เราต้องเทรดภายใต้งบประมาณที่เรามีนะครับ

อย่า Over Trade เด็ดขาดนะครับ เพราะอาจจะทำให้พอร์ตขาดสภาพคล่องได้





นี่ก็คือตัวอย่างคร่าวของการเริ่มต้นเทรดกอง A , B นะครับ

ขอให้ทุกท่านมีความสุขและความมั่งคั่งจากการลงทุนนะครับ : )




 

Create Date : 31 มกราคม 2556
0 comments
Last Update : 31 มกราคม 2556 21:00:03 น.
Counter : 2173 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Leon-[Z]
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Leon-[Z]'s blog to your web]