Robots And Empire นครหุ่นยนต์




นครหุ่นยนต์ Robots And Empire (1985)
โดย Isaac Asimov
สนพ.Science Fiction Publishing House แปลโดย ระเริงชัย 

"ดานีล ความตายของผม" เขากล่าวขึ้นอีก "ไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่าไหร่นักหรอก ในหมู่มวลมนุษย์ด้วยกันแล้วไม่มีความตายของใครหรอกที่มีค่าเหนือความตายของคนอื่น บางคนตายไปแต่สร้างผลงานทิ้งเอาไว้ นั่นนับเป็นความตายที่ไม่สมบูรณ์และจะยังคงไม่ตายตราบเท่าที่ยังมีมนุษยชาติปรากฎอยู่ คุณพอจะเข้าใจในสิ่งที่ผมพูดหรือเปล่าล่ะ"

ดานีลตอบ "ครับ สหายอีลิจาห์" 

"ผลงานของแต่ละคนอาจสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้และนั่นย่อมทำให้สังคมส่วนใหญ่ไม่มีวันตาย เพราะความที่สังคมมนุษย์ไม่เคยถึงแก่กาลแตกดับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การสืบทอดยาวนานเหลือคณานับ และจะมีแต่เติบโตแตกกิ่งก้านสาขาออกไปไม่สิ้นสุด นั่นคือ การเจริญเติบโตที่บรรเจิดสุดพรรณนามิใช่หรือ แม้แต่บรรดาชาวอวกาศเองก็ยังดำเนินวิถีชีวิตเยี่ยงนี้เช่นกันและได้บรรลุถึงความสถาพรแห่งอาณาจักรของตนเช่นกัน ชีวิตของคนแต่ละคนเปรียบไปก็ประดุจเส้นด้ายแต่ละเส้นที่ใช้ถักทอเป็นพรมผืนใหญ่ตระการตา ถึงแม้จะร่วมกันสานเป็นพรมที่ทรงคุณค่าได้สำเร็จ แต่ถ้าจะเปรียบเทียบคุณค่าของเส้นด้ายเส้นเดียวกับพรทั้งผืนแล้วจะเปรียบเทียบกันได้อย่างไร"

"ดานีล คุณจะต้องพุ่งความสนใจของคุณ ไปที่ผืนพรมนั่น และอย่าได้ปล่อยใจว่อกแว่กไปให้ความสนใจต่อเส้นด้ายเพียงเส้นเดียวเป็นอันขาด ยังมีเส้นด้ายอื่นๆอีกมากมายที่มีคุณค่า...ที่สร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม..."

หลังจากผ่านช่วงเวลายาวนานกว่า 20 ทศวรรษที่แกลเดีย หญิงชาวโซลาเรีย ใช้ชีวิตมาอย่างเนิ่นนานอยู่บนดาวออโรร่า ด้วยการจากไปของ ดร.ฟาสตอล์อฟ ทำให้การเมืองบนดาวดวงนี้พลิกผัน ส่งผลให้ ดร.เคลเด็น อะมาดิโร่ ได้ขึ้นเป็นใหญ่พร้อมกับพยายาม ผลักดันและวางแผนเพื่อสนับสนุนแนวคิดโลกนิยมที่เขาฝักใฝ่ 

ส่วนตัวเธอได้รับมอบหุ่นยนต์มนุษย์อย่าง ดานีล โอลิวาร์ และหุ่นยนต์จิสการ์ด เรเวนท์ลอฟ มาจาก ดร.ฟาสตอล์อฟ ผู้ล่วงลับเพื่อคอยช่วยดูแลเธอ

วันดีคืนดี ชื่อของ อีลิจาห์ แบเล่ย์ ก็ถูกเอ่ยถึงแทบจะพร้อมๆกันทั้งจากดานีลและ
จิสการ์ด ทั้งๆที่เขาได้จากไปนานแล้วกว่า 15 ทศวรรษ พร้อมกับเสียงสนทนาของเขาเกี่ยวกับ จิสการ์ดเมื่อครั้งกระโน้น ก็กลับมาดังกึกก้องอยู่ในหัวของเธอ

"ผมไม่ได้ขอร้องให้คุณชอบเขา ผมเพียงแต่ขอร้องให้คุณไว้ใจเขา"

และเรื่องราวทั้งหลายในช่วงนี้ของเธอ ก็เกี่ยวพันกับชื่อ "อีลิจาห์ แบเล่ย์" ทั้งนั้น

ไม่ว่าจะเป็น ดร.เลวูลาร์ แมนดามุส ผู้ทำงานใกล้ชิดกับดร.อะมาดิโร่ และกล่าวอ้างว่าเขาเป็นทายาทรุ่นที่ 5 ของอีลิจาห์ที่จิสการ์ดคะยั้นคะยอให้นัดพบกับเธอ 

แมนดามุสมาเพื่อสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวเขาที่เกี่ยวข้องระหว่างเธอและอีลิจาห์ ซึ่งจะมีผลต่อหน้าที่การงานของเขาเองและยังขอให้เธอไปพบกับชาวโลกอาณานิคมอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกร้องขอพบเธอโดยเฉพาะและให้รายงานกลับมายังตัวเขา

ชาวโลกอาณานิคมคนนั้น  ก็คือ ดานีล จิสการ์ด แบเล่ย์ หรือ ดี.จี.แบเลย์ ทายาทรุ่นที่ 7 ของอีลิจาห์ ซึ่งเป็นกัปตันยานพ่อค้าพาณิชย์จากดาวแบเล่ย์ ดวงดาวที่มนุษย์โลกอย่าง เบน แบเล่ย์ลูกชายของอีลิจาห์ ได้เคยไปบุกเบิกสำเร็จตามนโยบายส่งเสริมแนวคิดมนุษย์นิยมของ ดร.ฟาสตอล์อฟ

เขามาเพื่อโน้มน้าวเธอให้เดินทางไปยังดาวโซลาเรีย ดาวบ้านเกิดของเธอ ในฐานะที่เธอคุ้นเคยกับดาวดวงนั้นเพราะเหตุที่ว่า ยานของพ่อค้าพาณิชย์ 2 ลำที่จะมาเก็บหุ่นยนต์ไม่ใช้แล้วบนดาวร้างแทบไร้ผู้คนแล้วดวงนี้เพื่อนำไปขายต่อ กลับถูกทำลายย่อยยับโดยไม่รู้สาเหตุและไม่รู้ใครผู้ใดเป็นคนทำ

หลังจากโดนโน้มน้าว เธอจึงตอบตกลงร่วมมือเดินทางไปกับ ดี.จี.แบเล่ย์และลูกเรือของเขาพร้อมทั้งขอนำ ห.ดานีลและจิสการ์ด หุ่นยนต์พิทักษ์ของเธอไปด้วย มุ่งตรงสู่โซลาเรียคลี่คลายปริศนาพร้อมเผชิญกับอันตรายอย่างหุ่นยนต์ที่มีความสามารถละเมิดกฎ 3 ข้อได้ ทั้งยังไม่รู้ว่า ดร.อะมาดิโร่และดร.แมนดามุส มีแผนการเช่นไร ทำไมถึงปล่อยตัวเธอออกจากดาวออโรร่าได้อย่างง่ายดาย

กว่า 23 ทศวรรษของอายุเธอ ศักยภาพที่แท้จริงของเธอจะฉายแววออกมาอย่างที่เธอก็ไม่คาดคิด พร้อมกับความลับของจิสการ์ดที่กำลังจะถูกเปิดเผยและพัฒนาการขั้นสูงสุดของ ห.ดานีล ที่มาพร้อมกฎข้อ 0 ของหุ่นยนต์

อนาคตของโลกมนุษย์และโลกอาณานิคมรวมถึงมนุษยชาติที่จะได้แผ่ขยายไปทั่วทั้งจักรวาล สร้างเป็นจักรวรรดิอยู่ที่มือของพวกเขาแล้ว...

เล่มสุดท้ายของชุดหุ่นยนต์ ที่ Asimov เขียนแล้ว สเกลของเรื่องไม่เหมือนเล่มก่อนหน้านี้ที่สืบสวนการฆาตกรรมระดับบุคคล คราวนี้ถึงขั้นระดับวินาศกรรมใหญ่ถึงระดับดวงดาวเลย สะเทือนอนาคตของมนุษยชาติทีเดียว แต่ตัวเอกในการดำเนินเรื่องอย่างแกลเดีย ผมว่าน่าสนใจในระดับที่น้อยกว่า อีลิจาห์ พอควรทีเดียว

Asimov ตอกย้ำทัศนคติต่อการมีอายุยืนยาวนานมากๆของชาวอวกาศ (3-400 ปี) อีกครั้งนึงในเล่มนี้ว่า อาจจะขัดต่อพัฒนาการของมนุษยชาติในอนาคตได้ 

"การมีช่วงชีวิตยืนยาวนานนั่นน่าจะเป็นสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยคนเราจะปั้นหน้าสร้างอารมณ์ชั่วนาตาปีได้อย่างไร เมื่อเวลาผ่านไปนานหลายทศวรรษ อารมณ์ที่สดชื่นย่อมจะเฉยชามากขึ้น หรือถ้ามีใครสักคนตายลงไป คนที่เหลือย่อมมองเห็นเวลาอันยาวนาน
ที่ตัวเองจะต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป ต่างคนต่างได้เรียนรู้ ไม่มีใครเอาอารมณ์ของตัวเองไปผูกพันกับคนอื่นอีกต่อไป หากแต่สร้างความชินชาของตัวเองขึ้นมาทีละน้อย" 

"ในทางตรงข้าม มนุษย์ที่มีช่วงชีวิตสั้น ต่างก็มองเห็นวันตายของตนว่าอยู่ไม่ไกลนัก ชีวิตผู้คนแต่ละรุ่นผ่านไปอย่างรวดเร็ว ชีวิตพวกเขาจึงใช้กันอย่างเต็มที่ ลูกโป่งแห่งชีวิตหฤหรรษ์นั้นถลาไปจากมือนี้สู่มือโน้นโดยไม่มีโอกาสสัมผัสพื้นเลย"

ส่วนความสนุก ความสลับซับซ้อน ปมพลิกผันอาจจะไม่เท่าเล่มก่อนๆมากนัก แต่จบได้เป็นอย่างดีเชื่อมต่อไปยังชุดสถาบันสถาปนาได้อย่างไร้ตะเข็บ และ Asimov ก็พิสูจน์ได้ว่านิยายวิทยาศาสตร์ก็สามารถใช้แนวทางในรูปแบบนิยายสืบสวนสอบสวนได้ ทั้ง 4 เล่มในชุดนี้เป็นข้อยืนยันได้

ข้อคิดทิ้งท้ายที่น่าคิดเป็นอย่างยิ่งในชุดนี้ซึ่ง Asimov เขียนเกี่ยวกับหุ่นยนต์โดยเฉพาะ นั่นก็คือ ถึงแม้แรกเริ่มหุ่นยนต์จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้มนุษย์ ในแง่ความเป็นปัจเจกเป็นหลักภายใต้คำสั่งของเจ้าของมัน ด้วยกฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์ แต่ในท้ายที่สุด แม้แต่สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ตีความได้ว่า ไร้ซึ่งความมีชีวิต เลือดเนื้อ หุ่นยนต์ก็ยังก้าวข้ามพ้น กฎ 3 ข้อ ไปยังกฎข้อที่ 0 ได้ นั่นคือ ต้องปกป้องมวลมนุษยชาติ เล็งเห็นผลเพื่อส่วนรวมในระยะยาวก่อน แต่ก็ยังคงต้องไม่ทำร้ายมนุษย์ในแง่ตัวบุคคลหรือให้มีผลกระทบน้อยที่สุด

...แล้วตัวเราที่เป็นมนุษย์ที่มีความคิดเป็นของตัวเองล่ะ...

"ภาษาทุกภาษาล้วนมีเรื่องชวนหัวร่อได้ทั้งนั้นแหละ สำหรับใครก็ตามที่ไม่คุ้นกับภาษาที่ว่านั่นมาก่อนและสำหรับคนที่ชอบแบ่งกลุ่มแบ่งพวกระหว่างมนุษย์ด้วยเช่นกัน คนที่ไม่ค่อยชอบผู้คนในหมู่ในเผ่าอื่น ภาษาสนทนาก็คือภาษาของลิ้นของแต่ละคน ที่จริงแล้วทั้งพวกคุณและฉัน รวมทั้งมนุษย์ทุกคนที่อยู่กระจัดกระจายอยู่ตามโลกต่างๆ ควรจะรับฟังเสียงที่ดังออกมาจากหัวใจของแต่ละคนจะดีกว่า ภาษาที่ว่านั้นถ้าพวกเราลองฟังกันให้ดีๆแล้ว จะเห็นได้ชัดๆเลยว่า เป็นท่วงทำนองเดียวกันหมด"

ป.ล.ถ้าให้ผมเรียงลำดับความชอบในชุดนี้ ก็คงประมาณนี้

1.นครอรุณรุ่ง (The Robots Of Dawn) #3 
2.นครโลหะ (The Caves Of Steel) #1
3.นครหุ่นยนต์ (Robots And Empire) #4
4.นครสุริยะ (The Naked Sun) #2

คะแนน 8.2/10



Create Date : 18 ตุลาคม 2559
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2559 21:06:41 น.
Counter : 1885 Pageviews.

2 comments
  

มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

เห็นชื่อไอแซก อาซีมอฟแล้วต้องยอมรับเลยครับ เพราะว่าชื่อนี้เป็นปรมาจารย์แห่งนวนิยายวิทยาศาสตร์เลยครับ ไอแซก อาซีมอฟนี้เป็ฯคนที่คุณวินทร์ เลียววาริณ ยกย่องมากในเรื่องนิยายวิทยาศตร์เลยครับ

แต่นวนิยายวิทยาศาสตร์และแนวแฟนตาซีนั้นผมไม่ถนัดเลยครับ ผมแทบจะไม่เคยอ่านเลยด้วยซ้ำ เคยอ่านแต่นวนิยายวิทยาศาสตร์ของคุณวินทร์ เท่านั้นเองครับ

ดูแล้ว จขบ. น่าจะชอบแนววิทยาศาสตร์แน่ๆ ครับ

โหวตจใฝห้ไอแซก อาซีมอฟครับ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ




บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เรียวรุ้ง Literature Blog ดู Blog
คนบ้านป่า Home & Garden Blog ดู Blog
jackfruit_k Book Blog ดู Blog
สมาชิกหมายเลข 755059 Book Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

อิอิ

โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 24 พฤศจิกายน 2559 เวลา:22:31:38 น.
  
ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมชมและโหวตให้นะครับ

อ่านของคุณวินทร์แล้วชอบเหมือนกันครับ พอเจาะลึกไปนิยายแปลยิ่งชอบมากขึ้นครับ
โดย: leehua (สมาชิกหมายเลข 755059 ) วันที่: 29 พฤศจิกายน 2559 เวลา:21:09:59 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 755059
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2559

 
 
 
 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog