Rendezvous With Rama ดุจดั่งอวตาร




ดุจดั่งอวตาร Rendezvous With Rama (1972) 
โดย Arthur C.Clake
สนพ.โปรวิชั่น แปลโดย บรรยงก์

"ความมืดและความลึกลับซึ่งแผ่คลุมอยู่ ทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด แต่ที่ร้ายกว่านั้นก็คือความเงียบ การปราศจากเสียงใดๆทั้งสิ้น มิใช่สภาพปกติธรรมดา อายตนะทุกอย่างของมนุษย์ต้องการสัมผัสอะไรบางอย่าง ถ้าไม่มีสัมผัสจากภายนอก จิตใจจะสร้างมันขึ้นมาเอง

ค.ศ.2130 ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 22 มนุษย์ตั้งถิ่นฐานอาณานิคมบนดาวอังคาร ดาวพุธ และดวงจันทร์ได้แล้ว แต่ยังไปไม่พ้นระบบสุริยะ

เมื่อเรดาร์บนฐานปฏิบัติการของดาวอังคาร ตรวจจับวัตถุชนิดหนึ่งคล้ายดาวเคราะห์น้อยได้ ขณะที่มันโคจรผ่านดาวพฤหัส มุ่งหน้าด้วยความเร็งสูงผ่านเข้ามาในระบบสุริยะของเรา สู่ดาวพุธ ดวงอาทิตย์ เข้าใกล้ไปเรื่อยๆ พวกเขาขนานนามมันว่า "ราม"

รามมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ขนาดความยาว 50 กิโลเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 16 กิโลเมตร และเคลื่อนที่โดยการหมุนรอบตัวเอง

ยานเอนเดียเวอร์ ได้รับมอบหมายให้ทำการปฎิบัติการสำรวจราม เนื่องจากเป็นยานที่อยู่ใกล้ที่สุดแล้ว

กัปตันนอร์ตันและลูกเรือกว่าจะขับยานไล่มันทันก็อยู่ที่ดาวศุกร์แล้ว เมื่อลงเทียบกับยาน พร้อมกับเข้าสำรวจ พวกเขาต้องตะลึงกับความใหญ่โตมโหฬารของมัน แต่บรรยากาศภายในกลับมืดมิดและไม่มีเสียงใดๆทั้งสิ้น

ยิ่งสำรวจก็พบกับความแปลกประหลาดใจ ภายในตัวยานทุกอย่างดูโค้งไปตามระนาบทรงกระบอก เช่นทะเลทรงกระบอก และทุกอย่างมักมีเป็นสามเสมอ

รามมีความลึกลับใดกันแน่ที่รออยู่ ใครเป็นคนสร้างมันมา 
มีวัตถุประสงค์มุ่งหมายอะไร ถึงเข้ามาสู่ระบบสุริยะของเรา
แล้วสิ่งมีชีวิตหายไปไหนหมดกันแน่...

นิยายวิทยาศาสตร์เจ้าของรางวัล Hugo และ Nebula Award เล่มนี้ เป็นเรื่องที่เคยหยิบจับมาอ่านแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไปไม่รอด วางทิ้งลงเมื่ออ่านไปเกือบๆร้อยหน้าได้มั้ง คราวนี้ลองใหม่ อาจจะเป็นเพราะ แก่กล้ามากขึ้น หรือได้ที่พอดีมั้งทั้งอารมณ์และเงื่อนเวลา 

จุดที่ติดขัดคราวอ่านครั้งก่อนเมื่อ 7-8 ปีที่แล้วเพราะจินตนาการภายในยานไม่ออก นักสำรวจอยู่ในทิศไหนกันแน่ ขึ้นหรือลง ถ้าผ่านจุดนี้ไปได้ก็ฉลุยแล้วล่ะครับ

เท่าที่ผมอ่านงานของ Arthur C.Clarke มา เล่มนี้สนุกที่สุด การเล่าเรื่องลื่นไหลไม่ค่อยเนิบนาบ แต่จะเยี่ยมสุดถ้าจบได้ดีกว่านี้เหมือน สุดสิ้นกลิ่นน้ำนม (Childhood's End) บางอย่างไม่ได้เฉลยในสิ่งที่คาดหวังไว้ เหมือนจะเขียนทิ้งไว้ให้มีภาคต่อ 
ไม่แน่ใจว่าตอนที่ Clarke เขียนเล่มนี้กะจะให้มีภาคต่ออยู่แล้วหรือเปล่า เพราะภายหลัง มีเล่มต่อเนื่องจากเล่มนี้อีก 3 เล่ม แต่เขียนโดย Gentry Lee โดยใช้แนวคิดหลักของ Arthur C.Clarke นี่แหละ

แต่ถ้ามองในอีกแง่หนึ่ง สมมติว่ามียานแบบนี้จริงๆเข้ามาในระบบสุริยะของเราจริงๆ เราอาจจะไม่รู้คำตอบอะไรๆที่เกี่ยวกับมันเลยก็ได้ Clarke อาจจะสื่อในแง่นี้ก็เป็นได้ อาจจะต้องรอคำตอบให้คนยุคหลังมาค้นคว้าสืบต่อไปมั้ง

ถือได้ว่าเป็นนิยายที่เปี่ยมจินตนาการสูง การค้นพบ ลุยสำรวจ ผจญภัย เผชิญกับสิ่งอันไม่มีใครล่วงรู้ได้ หาคำตอบในระหว่างทางสำคัญกว่าจุดหมายปลายทางจริงๆ

ป.ล.1 นิยายเรื่องยาวๆของ Clarke ขาด แสงโลก (Earthlight) นี่แหละที่ยังไม่มีให้อ่าน รวมถึงดองภาคต่อชุด Space Odyssey ไว้อีก 3 เล่ม และเล่มบางๆที่ สนพ.บ้านวรรณกรรมเคยพิมพ์ออกมาด้วยอย่างสุดแสนประหลาดใจอย่างมาก อย่าง "ประหนึ่งจะเย้ยรัตติกาล" 

ถ้านับที่เคยอ่านมา ชอบตามลำดับดังนี้เลย
1.Rendezvous With Rama
2.The Fountains Of Paradise
3.Childhood's End
4.2001 Space Odyssey
5.A Fall Of Moondust

ป.ล.2 อ้อ...ฉบับพิมพ์นี้ มีแปลขาดหายไปบางส่วนด้วย ประมาณสักเกือบๆหน้านึงได้ ได้เพื่อนๆในเฟซนี่แหละบอก แถมถ่ายรูปส่วนที่หายมาแทรกไว้เรียบร้อยแล้ว...ขอบคุณในน้ำใจอันงดงามยิ่งนักครับ

คะแนน 8.8/10



Create Date : 13 สิงหาคม 2559
Last Update : 13 สิงหาคม 2559 14:21:31 น.
Counter : 1949 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 755059
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2559

 
1
2
3
5
6
7
8
9
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog