โหระพา




โหระพากับกะเพรา เป็นพืชสกุลเดียวกัน อยู่ในวงศ์เดียวกัน แม้ชื่อก็ใกล้เคียงกันกัน ขนาด รูปทรง ลำต้น น้ำมันหอมระเหยก็มีอยู่มากคล้ายกัน ลักษณะที่แตกต่างจากกะเพราก็คือ ต้นไม่มีขนอ่อนปกคลุม ใบค่อนข้างหนา บางสายพันธุ์ใบโตมาก มักจะบิด ย่นง่าย เป็นรอยพับ ช่อดอกยาว และเป็นพวง มีสีขาวแซมม่วง เมล็ดเล็กสีดำคล้ายแมงลัก โหระพามีถิ่นกำเนิดแถบเอเซียใต้ ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ฯลฯ ต่อมาได้กระจายไปทั่วโลก แต่ปัจจุบันการปลูกโหระพาในประเทศตะวันตกแถบอบอุ่นมีมากกว่าถิ่นกำเนิดเดิมคือเขตร้อนแถบเอเซียเสียอีก โหระพาชอบดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการตัดกิ่ง ปักชำหรือเพาะเมล็ด



ประโยชน์ของโหระพา

ใช้เป็นยาหรือเป็นอาหาร สามารถใช้ได้ทั้งต้น ใบ เมล็ดและผล ใบและลำต้นของโหระพามีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก จึงมีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด ใบมีกลิ่นฉุน รสร้อน แก้ลมวิงเวียน ขับลมในลำไส้ช่วยให้ผายลม แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น จุกเสียด ขับเสมหะ ตำพอกหรือประคบแก้ไขข้ออักเสบ ยอดอ่อนตำปิดแผลงูกัด ปรุงกับน้ำนมราชสีห์ รับประทานเพิ่มน้ำนม ตำรวมกับแมงดาตัวผู้พอกแก้พิษแมลงกัดต่อย ส่วนเมล็ดแก้ไข้ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย บดพอก พอกฝีหรือแผลอักเสบ แช่น้ำรับประทานเป็นยาระบายท้อง แก้อาหารไม่ย่อย หรือจะใช้ใบโหระพาตากแห้งชงน้ำร้อนอมกลั้วคอแก้กลิ่นปากหรือหายใจมีกลิ่นเหม็น



ประโยชน์ทางอาหาร

ใบโหระพาหนานุ่มกว่าใบกะเพรา กลิ่นไม่แรงและไม่เผ็ดเท่าใบกะเพรา จึงนิยมนำมาใช้เป็นผักจิ้ม หรือกินสดๆ ร่วมกับอาหารประเภทหลน ลาบ ยำ ส้มตำ หรือกินกับขนมจีนน้ำยาปลาร้า ใช้ยอดอ่อนหรือใบอ่อนใส่แกงเช่น แกงเขียวหวาน แกงโสฬส เพื่อแต่งกลิ่นอาหาร



ประโยชน์อื่น ๆ

ใบและลำต้นนำมากลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหย ซึ่งใช้มากในอุตสาหกรรมทำขนม ลูกกวาด น้ำส้ม ไส้กรอก แต่งกลิ่นเครื่องดื่ม ยาสีฟัน ยาที่ใช้กับปากคอ ใช้เป็นส่วนผสมของโลชั่น ครีม แชมพู และสบู่ น้ำมันโหระพาใช้ไล่แมลง เช่น ยุง แมลงวัน เมล็ดมีีลักษณะเหมือนเมล็ดแมงลัก ใช้กินกับน้ำกะทิเป็นของหวานได้ หรือใช้เป็นอาหารลดความอ้วน นอกจากนี้โหระพายังใช้เป็นไม้ประดับได้ และมีหลายสายพันธุ์ อาจใช้จัดสวน ปลูกตามขอบถนน ใส่กระถางแขวนและยังใช้เป็นพืชประกอบการศึกษาการ
ถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ความหลากหลายทางพันธุกรรมในวิชาพันธุศาสตร์ โดยสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรอีกด้วย


โหระพาเป็นพืชที่ปลูกง่ายและมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นปีๆ เมื่อเราตัดกิ่งไปใช้ประโยชน์แล้วก็จะแตกกิ่งก้านใหม่ได้อีกหลายๆ ครั้ง จนกว่าจะหมดอายุแล้วจึงจะปลูกใหม่

Credit : //www.nautilus.co.th/health_nutrition/herb_basil.asp



Create Date : 05 ตุลาคม 2554
Last Update : 5 ตุลาคม 2554 11:56:09 น.
Counter : 1135 Pageviews.

0 comments

Lcristatus
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]



ตุลาคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
5 ตุลาคม 2554
All Blog