Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
29 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 

Prenuptial Agreement

ก่อนจะทำพรีนัพ คุณควร ทำความเข้าใจก่อนว่า อะำไรบ้าง ที่ควรระบุในพรีนัพ และอะไรบ้าง ที่ไม่ควรใส่ลงไป วัตถุประสงค์ ของการทำ Prenuptial agreements มีหลักใหญ่ๆ คือ:

แยกเรื่องการเงินออกจากกัน ทุกรัฐมีกฏหมาย เหมือนกันอยู่ข้อหนึ่งว่า ทรัพย์สินที่หามาได้ ระหว่างการแต่งงาน ถือว่าเป็นสินสมรส (marital property หรือ community property) ถึงแม้ว่า จะเป็นชื่อ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพียงคนเดียวก็ตาม ถ้ามีการหย่า หรือเสียชีวิต สินสมรสก็จะต้อง ถูกแบ่ง ไม่ว่าจะ โดยการตกลงกันเอง หรือให้ศาลสั่ง ถ้าทำ Prenuptial agreements เอาไว้ ก็สามารถ จัดการตามนั้นได้เลย โดยไม่ต้องพึ่งอำนาจศาล

กันตัวเองจากปัญหาเรื่องหนี้ บางคน มีหนี้ผูกพัน มาก่อนแต่งงาน ถ้าไม่มีพรีนัพ เจ้าหนี้อาจหันมายึด สินสมรสครึ่งหนึ่ง ไปหักหนี้ได้ แต่การทำพรีนัพ ก็ไม่ถือว่า เป็นการปฏิเสธ ไม่รับสภาะหนี้ เสียเลยทีเดียว แต่เป็นการระบุ ชัดเจนว่า อะไรบ้างที่เป็นของๆ คุณ

เป็นการจัดการให้บุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งก่อน พรีนัพ เป็นเรื่องจำเป็นถ้าคุณ หรือคู่สมรส มีลูกที่เกิดจาก การสมรสครั้งก่อน และคุณมี ความประสงค์ จะยกเป็นมรดกให้ลูก ในเนื้อหาของสัญญา ทั้งคู่สามารถ สละสิทธิ์ที่จะรับมรดก ส่วนที่เป็นสินเดิมของอีกฝ่าย ในกรณีที่ คู่สมรสเสียชีวิต

รักษาทรัพย์สินเอาไว้ในครอบครัว ของบางอย่าง ที่คุณต้องการ เก็บรักษาเอาไว้ ให้สมาชิกในครอบครัว เช่น ธุรกิจ ที่ครอบครัวก่อตั้งขึ้นมา หรือวัตถุโบราณ ที่มีคุณค่า ถ้าคุณกับคู่สมรส สามารถตกลงกันได้ ว่าจะรักษาไว้ ก็สามารถ ระบุลงไปในพรีนัพ ได้ว่าให้ใคร และให้เก็บรักษา ห้ามจำหน่ายจ่ายแจก

ระบุความรับผิดชอบเรื่องการเงินระหว่างการแต่งงาน ตัวอย่าง เช่น

* ยื่นแบบภาษีร่วมกัน หรือยื่นแยกกัน
* ใครจะเป็นคนจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบ้าน จัดสรรกันอย่างไร
* ควรมีบัญชีชื่อร่วมกันหรือไม่ ถ้ามี จะบริหารเรื่องการเงินของบัญชีนี้อย่างไร จะจัดการเรื่อง บัตรเครดิตยังไง เช่น จะใช้บัตรของใครของมัน หรือทำบัตรเสริม ใครจ่ายค่าอะไรบ้าง และชำระคืออย่างไร ใครจัดการ
* ทำข้อตกลงในกรณีที่จะใช้เงินก่อนลงทุนทำอะไร เช่น ซื้อบ้าน หรือลงทุนทำธุรกิจ
* ทำข้อตกลงเรื่องเงินออม ทุนการศึกษาของลูก
* ทำข้อตกลงเรื่องการเงินในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต ก่อนเวลาอันควร เช่น การทำพินัยกรรม การทำประกันชีวิต
* จะตกลงกันอย่างไรในกรณีที่ความเห็นไม่ลงรอยกันเรื่องการเงิน เช่น ระบุๆไปเลยว่า หาืีที่ปรึกษาทางการเงินมืออาชีพ ที่เป็นคนนอก ไม่ใช่เพื่อนฝูงหรือสมาชิกในครอบครัว

สิ่งที่ไม่ควรทำ :ในการทำพรีนัพ เนื่องจากกฏหมายของแต่ละรัฐแตกต่างกันไป ดังนั้น ข้อตกลงใดๆ ก็ตามที่ผิดกฏหมาย หรือขัดกับกฏข้อบังคับต่างๆ ที่เป็นกฏหมายของรัฐนั้นๆ ก็จะมีผล ให้พรีนัพนั้น กลายเป็นโมฆะได้ และนอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นการ ริดรอนสิทธิ ที่คุณพึงมีพึงได้ ตามกฏหมายอีกด้วย ตัวอย่างเช่น

การกำหนดเงื่อนไขเรื่อง สิทธิการดูแลบุตร ค่าเลี้ยงดูบุตร และสิทธิการเยี่ยมเยียนบุตร กฏหมายทุกรัฐ ไม่ยอมให้คุณ กำหนดกฏเกณฑ์ เรื่องนี้เอง เพราะกฏหมาย ถือสวัสดิภาพ และความมั่นคง ของอนาคตของเด็ก เป็นหลัก และสถานการณ์ ณ วันที่ทำพรีนัพ อาจจะเปลี่ยนไป หลังจากนั้น ศาลจะไม่ยอม ให้คุณเป็นผู้กำหนด เรื่องนี้เด็ดขาด ถึงแม้คุณทั้งสองคน ตกลงกันเองได้ก็ตาม

ยกเลิกสิทธิในการรับค่าเลี้ยงชีพจากคู่สมรส มีไม่กี่รัฐ ที่ยอมให้คุณ ยกเลิกสิทธิ ในการรับค่าเลี้ยงชีพ จากคู่สมรส หรือที่เรียกว่า alimony หรือ spousal support หรือ separate maintenance ดังนั้น ควรศึกษากฏหมาย ของรัฐนั้นๆ ก่อน ว่าขัดกับ กฏหมายครอบครัว ของรัฐนั้นๆ หรือไม่

เงื่อนไขจูงใจให้หย่า บางครั้ง ศาลพิจารณา ประเด็นที่เรียกว่าจูงใจให้หย่า คือระบุเรื่องเงินทอง เช่น ถ้าหย่ากันจะได้เท่าไหร่ หรือถ้าหย่ากัน จะไม่ได้อะไร จากสินสมรสเลย ข้อหลังนี่มีผลนะคะ เพราะไม่มีผู้หญิงที่ไหน จะทนอยู่ ถ้ารู้ว่าอยู่ไปก็ไม่ได้อะไร

เพื่อมิให้เป็นโมฆะ คุณควรแยกข้อตกลง ที่เป็นเรื่องส่วนตัว ออกจากพรีนัพ โดยเฉพาะอย่างยื่ง เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับ การเงินการทอง เช่น: ความรับผิดชอบเรื่องงานบ้าน เช่นใครล้างจาน หรือใครล้างรถ การใช้นามสกุลสามี หรือนามสกุลเดิมหลังแต่งงาน การมีลูก ตั้งชื่อลูก วิธีการเลี้ยงลูก การศึกษาของลูก ฯลฯ จะมีสัตว์เลี้ยงได้หรือไม่ หรือใครจะเป็นคนดูแล ฯลฯ

คำถามคลาสสิคของหัวข้อนี้ คือ แฟนจะให้เซ็นข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินก่อนแต่งงาน เซ็นดีหรือไม่ดีคะ

ตอบว่า: การทำข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินก่อนแต่งงาน Prenuptial Agreement เป็นการทำบันทึกรายการ ทรัพย์สินส่วนตัว ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือทั้งสองฝ่าย โดยมีจุดประสงค์ ให้อีกฝ่ายหนึ่ง รับทราบว่า บันทึกรายการ ทรัพย์สินส่วนตัวนี้ เป็นสินเดิม หากมีการหย่าร้างกัน ในภายภาคหน้า อีกฝ่ายหนึ่ง ไม่สามารถอ้างสิทธิ์ ในทรัพย์สินเหล่านี้ได้ เอกสารฉบับนี้มีผล บังคับใช้ ถูกต้องตามกฏหมาย

โดยทั่วไป ฝ่ายที่ประสงค์จะทำ จะต้องร่างข้อตกลง โดยให้ทนาย เป็นผู้ดำเนินการหรือ ดำเนินการเองก็ได้ ถ้าเข้าใจ ขั้นตอน ของกฏหมาย อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องมีทนาย เป็นตัวแทน ทนายจะเป็นคนอธิบาย ให้คุณเข้าใจว่า เอกสารฉบับนี้มีใจความ ว่าอย่างไร จากนั้น คุณถึงจะลงชื่อ รับเงื่อนไข ต้องมีพยานทั้งสองฝ่าย

Prenuptial Agreement สามารถระบุระยะเวลาได้ เช่น หากอยู่กินกันเกินกี่ปี ก็ให้ถือว่าข้อตกลง เรื่องทรัพย์สินก่อนแต่งงานนี้ สิ้นสุดลง หรือถ้าไม่ระบุระยะเวลา ก็ถือว่ามีผลบังคับใช้ จนกว่าจะบอกเลิก หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต

Prenuptial Agreement สามารถยกเลิกได้ หากฝ่ายที่ทำ ต้องการยกเลิก โดยติดต่อทนาย และพยานที่ลงชื่อ ในเอกสารฉบับนี้ เพื่อลงนามแก้ไขยกเลิก ก็ถือว่าการยกเลิกมีผลสมบูรณ์ตามกฏหมาย

หากแฟนบอกคุณว่าจะทำ Prenuptial Agreement ก็อย่าเพิ่งไป ตีโพยตีพายว่าเค้าไม่รัก หรือ เค้าหาว่า เราจะไปปอกลอก เอาเงินของเค้า อ่านก่อน ว่ารายละเอียดว่าอย่างไร แต่ถ้าคุณอ่านแล้ว ยังรู้สึกว่า ถูกเอาเปรียบมาก หรือรับไม่ได้ ก็อย่าไปแต่งงานด้วยเลยค่ะ เพราะผู้หญิงจำนวนมาก มีการศึกษาดี เคยทำงาน มีเงินเดือนกินสบายๆ อยากซื้ออะไรสวยๆ งามๆ ก็ซื้อได้ ถ้าต้องมารอ แบมือขอ สามีขี้เหนียว รับรองไปไม่รอดค่ะ

© 2007 Lawanwadee




 

Create Date : 29 ตุลาคม 2550
0 comments
Last Update : 29 ตุลาคม 2550 6:54:43 น.
Counter : 3882 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Lawanwadee
Location :
California United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 48 คน [?]




ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและติดต่อดิฉันได้ที่ http://lawanwadee.com/

หากคุณกำลังประสบปัญหาเรื่อง domestic violence เช่น สามีทำร้ายร่างกาย สามีเอาข้าวของๆ คุณออกมาโยนไว้หน้าบ้าน ไล่คุณออกจากบ้าน เปลี่ยนกุญแจ หรือสามีบังคับให้คุณขายบริการทางเพศ บังคับให้เข้าร่วมกลุ่มสวิงกิ้ง หรือทำการใดๆ ที่เป็นการบังคับขู่เข็ญ คุณสามารถติดต่อดิฉันได้ ทางฟอร์มข้างล่างนี้ กรุณาเล่ารายละเอียดทั้งหมด ตั้งแต่คุณมาด้วยวีซ่าอะไร เมื่อไหร่ แต่งงานมานานเท่าไหร่ เกิดอะไรขึ้น ฯลฯ และระบุชื่อเมือง รัฐ และ zip code มาด้วย ถ้าเป็นกรณีเร่งด่วน กรุณาให้เบอร์โทรศัพท์ของคุณมาด้วยค่ะ
Friends' blogs
[Add Lawanwadee's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.