สวัสดีครับ ผม ขุนศึกตระกูล เหลา หรือเรียกว่า บ่าวฮ้าง ชอบแนว มรดกอีสาน... ผญา นิทานก้อม ใครลูกอีสาน มาพูดคุย(เว้านัวหัวหม่วน) ด้วยกันครับ...
<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
23 เมษายน 2556

กลับบ้านสงกรานต์ ไปไล่แย้ ไปไล่แย่..



แย้ (อังกฤษ: Butterfly lizard, Small-scaled lizard, Ground lizard) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae วงศ์ย่อย Leiolepidinae พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน พบทั้งหมด 8 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม

ลักษณะ

มีความแตกต่างจากกิ้งก่าในวงศ์ย่อย Agaminae ซึ่งเป็นวงศ์ย่อยที่มีจำนวนสมาชิกหลากหลายที่สุดของวงศ์ Agamidae คือ มีช่องเปิดบริเวณแอ่งเบ้าตาเล็ก และไม่มีช่องเปิดบริเวณกล่องหู[1] มีขนาดลำตัววัดจากปลายปากโดยตลอดยาวประมาณ 11.5 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 23.8 เซนติเมตร ตัวแบนหางราบ โคนหางแบนและแผ่บานออก สีข้างแผ่ขยาย ไม่มีแผงหนามที่สันหลัง ช่องหูใหญ่ เยื่อหูจมใต้ผิวหนัง หนังข้างคอมีรอยพับตามขวาง รอบลำตัวมีเกล็ดประมาณ 40 แถว หัวและหลังสีเขียวมะกอก โดยมีจุดสีเหลืองขอบดำเรียงเป็นแนวข้างตัว มีแถบดำสลับเหลืองคอมีลวดลายร่างแหดำ ประกอบสีครีม ท้องและอกสีส้มสด ตัวผู้จะมีพังผืดด้านข้าง และสวยกว่าตัวเมีย โดยที่แย้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ

พฤติกรรม

แย้ทุกชนิดเป็นสัตว์ที่หากินและอาศัยอยู่ในพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้อย่างสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น โดยเฉพาะพื้นดินที่เป็นที่แห้งแล้งลักษณะดินปนทราย ที่อยู่ของแย้เป็นรู ลึกประมาณ 1 ฟุต เป็นโพรงข้างใน สามารถกลับตัวได้ ที่ปากรูจะมีรอยของหางแย้ เป็นรอยยาว ๆ และจะมีรูพิเศษอีกรูหนึ่ง ที่ใช้ป้องกันตัว เมื่อถูกศัตรูรุกรานเข้ารูด้านหนึ่ง แย้สามารถหลบรอดออกไปอีกรูหนึ่งได้อย่างแยบยล โดยรูนี้เรียกในภาษาไทยว่า "แปว"

แย้สามารถสืบพันธุ์ได้ทุกฤดูกาล กินแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร แย้ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้

ชนิดพันธุ์

มีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก่

    Leiolepis belliana แบ่งได้ออกเป็นชนิดย่อย 2 ชนิด คือ Leiolepis belliana belliana แย้ธรรมดา หรือ แย้เส้น-พบได้ทั่วไปในประเทศไทยทุกภาค แม้กระทั่งตามเกาะแก่งต่าง ๆ กลางทะเล และ Leiolepis belliana rubritaeniata แย้อีสาน-พบมากที่สุดในภาคอีสาน
    Leiolepis boehmei แย้ใต้-พบเฉพาะภาคใต้ เช่น นครศรีธรรมราช, ตรัง และสงขลา และเป็นแย้ชนิดเดียวที่พบเฉพาะเพศเมีย
    Leiolepis guentherpetersi
    Leiolepis guttata แย้ยักษ์
    Leiolepis peguensis
    Leiolepis reevesii แย้จีน
    Leiolepis triploida
    Leiolepis ngovantrii แย้กะเทย-พบได้ที่เวียดนาม สามารถแพร่ขยายพันธุ์วางไข่ได้เองโดยไม่ต้องพึ่งตัวผู้

วิธีจับ

























ก้อยแย้







ตำใส่มะม่วง







เป็นตาแซบบ่คับ..





 

Create Date : 23 เมษายน 2556
0 comments
Last Update : 23 เมษายน 2556 22:51:40 น.
Counter : 18684 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมาชิกหมายเลข 756237
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เหล้ายี่ห้อไหนไม่อร่อย กินบ่อยๆ เดี๋ยวก็ อร่อยเอง.
[Add สมาชิกหมายเลข 756237's blog to your web]