สวัสดีครับ ผม ขุนศึกตระกูล เหลา หรือเรียกว่า บ่าวฮ้าง ชอบแนว มรดกอีสาน... ผญา นิทานก้อม ใครลูกอีสาน มาพูดคุย(เว้านัวหัวหม่วน) ด้วยกันครับ...
 
เมษายน 2556
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
24 เมษายน 2556

อันตราย…จากรังสีทางการแพทย์



อันตรายจากรังสีทางการแพทย์

ปิยทัศน์ แสงดาว

โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ศรีราชา

สภากาชาดไทย

รังสีทางการแพทย์ก็คือรังสีพลังงานชนิดหนึ่งซึ่งส่วนมากจะพบอยู่ในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรืออนุภาคชนิดต่างๆ มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่เกิดจากมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น รังสีแกมม่า อนุภาค โปรตอน นิวตรอน อิเล็คตรอน รวมถึงรังสีเอ็กซ์ หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม X-Ray นั่นเอง ซึ่งมนุษย์ได้มีการนำเอารังสีมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร โดยนำรังสีมาฉายเพื่อทำลายหรือฆ่าเชื้อโรคเพื่อถนอมอาหาร ด้านอุตสาหกรรมก็จะนำมาสำรวจรอยรั่ว รอยร้าวของวัสดุต่าง ด้านพลังงานก็จะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีราคาถูกให้เราได้ใช้กัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือ นำมาใช้ในด้านการแพทย์โดยการนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรค รักษาโรค ซึ่งเรารู้จักมักคุ้นกันว่าการฉายแสง หรือ X-Ray

เมื่อร่างกายได้รับรังสีแล้วก็จะมีผลกระทบต่อร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณของรังสีที่ได้รับ ตำแหน่งหรือบริเวณที่ได้รับรังสี ชนิดของเนื้อเยื่อเซลล์ อวัยวะที่ได้รับรังสีว่ามีความไวต่อรังสีมากน้อยเพียงใด อย่างเช่นเซลล์สืบพันธ์ เซลล์สร้างเม็ดเลือดเป็นเซลล์ที่มีความไวต่อรังสีมากซึ่งรังสีนี้จะทำอันตรายต่อเซลล์ร่างกายมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ กันไปอาจจะทำให้เซลล์บริเวณนั้นตายลงหรือขัดขวางต่อการแบ่งตัว หรือการเจริญเติบโตของเซลล์ หากเกิดกับเซลล์สืบพันธ์ก็จะมีผลทำให้เกิดความผิดปกติอาจส่งผลต่อไปยังรุ่นลูก รุ่นหลานในที่สุดอาจเป็นลักษณะด้อยทางพันธุกรรมได้ หรือถ้าเซลล์ที่ได้รับความเสียหายมีจำนวนมากก็จะทำให้อวัยวะของร่างกายนั้นผิดปกติได้แต่ถ้าหากได้รับรังสีในปริมาณมากๆ ก็อาจจะถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งผลของอันตรายจากรังสีนี้แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. ผลชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการที่ได้รังสีในปริมาณมากๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งหลังจากได้รับรังสีไม่นาน ความรุนแรงนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีที่ได้รับจะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เกิดอาการคลื่นไส้ อ่อนเพลีย อาเจียน จำนวนเม็ดเลือดเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยหรือมากขึ้น มีอาการเจ็บป่วย ผมร่วง ผิวหนังบวมแดงอักเสบ อวัยวะภายในร่างกายที่ได้รับรังสีจะมีความเสียหาย มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร

หรือถ้าหากได้รับรังสีในปริมาณมากๆ อาจจะทำให้เสียชีวิตได้

2. ผลชนิดเรื้อรัง เกิดจากการที่ได้รับรังสีในปริมาณน้อยแต่ได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานซึ่งจะปรากฏอาการขึ้นอย่างช้าๆ เช่น โรคต้อกระจก อายุสั้นลง หรือเกิดโรคมะเร็งสาเหตุเกิดจากการซ่อมแซมของโครโมโซมที่ถูกทำลายผิดแบบ เมื่อโครโมโซมเจริญเติบโตขึ้นความผิดปกตินี้ก็จะเป็นเงาเจริญเติบโตเป็นคู่แฝดไปด้วย ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะทำให้เป็นโรคมะเร็งได้ ที่พบเห็นบ่อยได้ก็จะเป็นมะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

บางท่านอาจจะคิดว่าในเมื่อรังสีอันตรายแล้วทำไมถึงต้องนำมาใช้กับผู้ป่วยด้วยซึ่งผมขออธิบายให้ได้รับทราบโดยทั่วกันว่า ตามปกติแล้วการที่แพทย์คนหนึ่งจะสั่งทำ X-Ray แพทย์จะต้องตระหนักถึงความปลอดภัย ความมีชีวิตอยู่รอดของผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ แพทย์ก็จะเลือกวิธีที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วย การ X-Ray ก็จะอยู่ในดุลยพินิจและการวินิจฉัยของแพทย์ และรังสี X-Ray ก็จะมีอันตรายน้อยมากระยะเวลาในการ X-Ray ก็จะน้อยมากเช่นกันแค่เพียงเศษเสี้ยวของวินาทีเท่านั้น หรือถ้าหากได้รับแพทย์ก็หาหนทางวิธีแก้ไขไว้ให้แล้วผลประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับมีมากกว่าโทษแน่นอน ที่สำคัญอีกอย่างคือหากผู้ป่วยเลือกที่จะมา X-Ray ในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานทั่วไปซึ่งจะมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับ และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพด้านรังสีโดยเฉพาะ เพราะทุกคนจะยึดหลักการปฏิบัติงาน คือ ในการที่จะปฏิบัติงานในแต่ละครั้งด้านรังสี ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติก็จะต้องคิดและมีความมั่นใจว่าเกิดประโยชน์มากกว่าโทษต่อผู้ป่วย ต่อแพทย์ในการวินิจฉัย ซึ่งแพทย์และนักรังสีก็จะทำงานร่วมกันเป็นทีม ท่านสามารถไว้วางใจได้แน่นอน ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับก็ต่ำสุด

ท้ายสุดนี้ผมอยากจะฝากถึงทุกท่านว่าในการเข้ารับบริการทางรังสีจากโรงพยาบาลท่านควรอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการ X-Ray หากท่านไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องมีการ X-Ray ใหม่อาจจะเป็นอีกครั้ง หรือหลายครั้ง ซึ่งก็เท่ากับว่าตัวท่านเองจะต้องได้รับปริมาณของรังสีมากขึ้นด้วย ถ้าหากท่านมีข้อสงสัยในการ X-Ray หรืออยากจะสอบถามอะไรเพิ่มเติมก็กรุณาสอบถาม หรือขอคำแนะนำจากนักรังสีการแพทย์ก่อนที่จะมีการลงมือปฏิบัติงานเกิดขึ้น สรุปแล้วจะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ ที่สำคัญที่สุดคือ สตรีวัยเจริญพันธุ์หากอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้ง เพื่อนักรังสีจะได้พิจารณาถึงความจำเป็นในการ X-Ray ร่วมกับแพทย์ผู้ส่งท่านมาตรวจว่าจะสามารถดำเนินการต่อไปอย่างไรให้ท่านและลูกปลอดภัย รังสีไม่อันตรายอย่างที่คิด หากอยู่ในดุลยพินิจของผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านรังสีโดยตรง




 

Create Date : 24 เมษายน 2556
0 comments
Last Update : 24 เมษายน 2556 19:58:19 น.
Counter : 4487 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมาชิกหมายเลข 756237
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เหล้ายี่ห้อไหนไม่อร่อย กินบ่อยๆ เดี๋ยวก็ อร่อยเอง.
[Add สมาชิกหมายเลข 756237's blog to your web]