space
space
space
 
กุมภาพันธ์ 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
space
space
25 กุมภาพันธ์ 2559
space
space
space

โหลดเซลล์แบบสเตรนเกจ ประเภทไหนใช้กับงานแบบใด

Load Cell มีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีการออกแบบสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการเลือกประเภทของโหลดเซลล์จึงมีความสำคัญ เพราะหากเลือกใช้งานผิดประเภทก็อาจจะทำให้ทั้งงานและอุปกรณ์โหลดเซลล์เสียหายได้

วันนี้เราจะอธิบายถึงประเภทของโหลดเซลล์แบบสเตรนเกจ ซึ่งโหลดเซลล์เกือบ 80% เป็นประเภทนี้ หากใครยังไม่ค่อยเข้าใจการทำงานพื้นฐานของโหลดเซลล์ลองอ่านก่อนได้ที่นี่ //www.factomart.com/th/load-cell/ หรือดูหน้าตาโหลดเซลล์ประเภทต่างๆ ประกอบที่นี่ //www.factomart.com/th/weighing-scales-load-cell/load-cell.html


ประเภทโหลดเซลล์แบบสเตรนเกจ (Strain Gauge Load cell)
โหลดเซลล์แบบสเตรนเกจ ก็มีทั้ง Single Beam, Shear Beam, Canister,Pancake, S Beam และแบบอื่นๆ อีกมากมาย มาดูกันว่าแบบไหนใช้กับอะไรบ้าง

Load cell แบบใช้แรงกด

เป็นโหลดเซลล์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้แรงกดลงบนตัวโหลดเซลล์ ซึ่งมีชื่อเรียกตามรูปร่างและการใช้ ได้แก่

- Single End Shear Beam หรือปกติจะเรียก Shear Beam เป็น Load cell ที่ใช้งานโดยยึดปลายด้านหนึ่งเข้ากับฐานและนำถังวางลงบนปลายอีกด้านหนึ่งเพื่อวัดแรงกด ซึ่งจะใช้ 4 ตัวต่อ 1 ถังนิยมใช้มากในการชั่งน้ำหนักในถัง เช่น การชั่งน้ำหนักหินทรายในถัง ก่อนปล่อยลงไปผสมกับซิเมนต์และน้ำในแพลนคอนกรีตผสมเสร็จ มีขนาดตั้งแต่ 250 กิโลกรัม ถึง 10 ตัน


Shear Beam Load Cell

- Double End Shear Beam เป็น Load cell ที่เหมือนกับนำ Single End Shear Beam จำนวน 2 ตัวมารวมกัน ซึ่งจะทำให้มีจำนวน Strain Gauge มากขึ้น ทำให้ได้ความละเอียดมากขึ้น การติดตั้งเป็นการยึดปลายทั้งสองข้างด้วยสกรูติดกับฐาน และนำถังมาวางตรงกลาง โดยมีลูกบอลและเบ้ายึดกับถังและโหลดเซลล์ เพื่อให้ถังสามารถขยับได้ แต่ไม่หลุดหล่นไป นิยมใช้ในงานชั่งที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้ชั่งถัง หรือไซโลที่มีขนาดใหญ่ จะติดตั้งไว้ที่ขาของถังหรือไซโล มีขนาดตั้งแต่ 10 ตัน ถึง 50 ตัน


Double End Shear BeamLoad Cell


- Single Point เป็น Load cell ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับ Platform ขนาดเล็ก สำหรับงานชั่งที่น้ำหนักน้อยกว่า ตัน โดยใช้โหลดเซลล์เพียงตัวเดียว ยึดโหลดเซลล์เข้าที่จุดศูนย์กลางของ Platform มีขนาดน้ำหนัก ตั้งแต่ 2 กิโลกรัม ถึง 800 กิโลกรัม


Single Point Load cell

- Bending Beam เป็น Load cell ที่ออกแบบมาโดยการแปลงแรงบิดที่กดที่ปลายด้านหนึ่ง และอีกด้านยึดตึดกับฐาน และมีโครงสร้างคล้ายสปริง ซึ่งจะให้สัญญาณได้ดีที่ขนาดแรงกดไม่มาก ตั้งแต่ 25 กิโลกรัม ถึง 500 กิโลกรัม


Bending Beam Load cell

- Pancake เป็น Load cell ที่มีรูปร่างคล้ายขนมแพนเค็ก สามารถใช้ได้ทั้งแรงกดและแรงดึง มีความแม่นยำสูง ค่า Linearity และ Hysteresis ในระดับ 0.05% เนื่องจากมีจำนวน Stain Gauge มากกว่า Load cell ชนิดอื่น นิยมใช้สำหรับงานเครื่องทดสอบแรงกดหรือแรงดึง มีขนาดตั้งแต่ 500 กิโลกรัม ถึง 500 ตัน


Pancake Load cell

- Canister เป็น Load cell ที่รูปร่างเหมือนกระป๋อง ใช้รับแรงกด มีความแม่นยำสูง ค่า Linearityและ Hysteresis ในระดับ 0.05% โดยนิยมใช้ทำเครื่องชั่งทั่วไปที่ต้องการความแม่นยำสูง รวมถึงเครื่องชั่งรถบรรทุก มีขนาดตั้งแต่ 200 กิโลกรัม ถึง 20 ตัน


Canister Load cell

Load cell แบบใช้แรงดึง

เป็นโหลดเซลล์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้แรงดึงตัวโหลดเซลล์ออกจากกัน ซึ่งมีชื่อเรียกตามรูปร่างและการใช้ ได้แก่

- S Beam เป็น Load cell ที่ใช้งานโดยยึดด้านบนกับโครงสร้างโดยใช้ลูกปืนตาเหลือก (Rod end) ส่วนด้านล่างใช้แขวนถังที่ต้องการชั่ง ซึ่งจะทำให้ถังสามารถแกว่งตัวเล็กน้อยได้โดยที่ไม่มีผลกับการชั่ง มีขนาดตั้งแต่ กิโลกรัม ถึง 5 ตัน


S Beam Load cell


ตารางเปรียบเทียบประเภทของโหลดเซลล์


จะเห็นได้ว่า Load Cell แต่ละประเภทมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อก็ควรศึกษาให้ดี เพราะหากใช้โหลดเซลล์ไม่เหมาะกับงาน งานก็อาจจะออกมาเสียหาย ไม่แม่นยำ หรือตัวโหลดเซลล์เองก็จะเสียหายได้


Cr: //www.factomart.com/




 

Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2559
0 comments
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2559 15:27:38 น.
Counter : 4518 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

ลัลล้าในสายลม
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add ลัลล้าในสายลม's blog to your web]
space
space
space
space
space