ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
22 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว

"ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" หมายความว่าอย่างไร

สวัสดีค่ะ

ข้อความ "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" ที่มีในคำให้การจำเลย และคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากโจทก์ หมายความว่าอย่างไรคะ

ทำไม่ต้องมีข้อความนี้
หากไม่มีจะมีผลอย่างไร

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

จากคุณ : MGinSW
เขียนเมื่อ : 6 ม.ค. 53 16:59:05


ความคิดเห็นที่ 1

ขอแสดงความเห็นดังนี้ครับ

เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ

คำว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" มักจะเป็นคำที่กำหนดในแบบพิมพ์คำฟ้อง/คำร้องศาล ในตอนท้ายของคำฟ้อง/คำร้องนั้นๆ และให้ผู้ยื่นคำฟ้อง/คำร้อง ลงชื่อไว้

เพื่อเป็นการ ผูกมัด ผู้ยื่นฟ้อง หรือ ยื่นคำร้อง ว่าได้คอยติดตามฟังคำสั่งศาลในเรื่องนั้นๆอยู่อยู่ ไม่ว่าศาลจะสั่งเมื่อใดและผลอย่างไร เป็นหน้าที่ของผู้นั้นที่ต้องติดตามเพื่อให้ทราบคำสั่งศาลในเรื่องนั้นๆและปฏิบัติตามให้ถูกต้อง

การสั่งคำฟ้อง/คำร้องของศาล หลักใหญ่ๆจะอยู่ใน ปวิ.แพ่ง ดังนี้ครับ

มาตรา ๑๘
ให้ ศาล มีอำนาจที่จะตรวจ คำคู่ความ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ ของศาล ได้รับไว้ เพื่อยื่นต่อศาล หรือ ส่งให้แก่ คู่ความ หรือ บุคคลใดๆ
ถ้า ศาลเห็นว่า คำคู่ความ ที่ได้ยื่นไว้ ดั่งกล่าวแล้วนั้น อ่านไม่ออก หรือ อ่านไม่เข้าใจ หรือ เขียนฟุ่มเฟือยเกินไป หรือ ไม่มีรายการ ไม่มีลายมือชื่อ ไม่แนบเอกสารต่างๆ ตามที่กฎหมายต้องการ หรือ มิได้ชำระ หรือ วาง ค่าธรรมเนียมศาล โดยถูกต้องครบถ้วน ศาลจะมีคำสั่ง ให้คืน คำคู่ความ นั้นไป ให้ทำมาใหม่ หรือ แก้ไขเพิ่มเติม หรือ ชำระ หรือ วาง ค่าธรรมเนียมศาล ให้ถูกต้องครบถ้วน ภายในระยะเวลา และ กำหนด เงื่อนไขใดๆ ตลอดจนเรื่อง ค่าฤชาธรรมเนียม ตามที่ศาล เห็นสมควร ก็ได้ ถ้า มิได้ปฏิบัติตาม ข้อกำหนดของศาล ในระยะเวลา หรือ เงื่อนไข ที่กำหนดไว้ ก็ให้มีคำสั่ง ไม่รับ คำคู่ความนั้น
ถ้า ศาลเห็นว่า คำคู่ความ ที่ได้นำมายื่น ดั่งกล่าวข้างต้น มิได้เป็นไป ตามเงื่อนไข แห่งกฎหมาย ที่บังคับไว้ นอกจาก ที่กล่าวมา ในวรรคก่อน และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ เห็นว่า สิทธิของ คู่ความ หรือ บุคคล ซึ่ง ยื่น คำคู่ความนั้น ได้ถูกจำกัดห้าม โดยบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย เรื่อง เขตอำนาจศาล ก็ให้ศาล มีคำสั่ง ไม่รับ หรือ คืน คำคู่ความ นั้นไป เพื่อยื่นต่อ ศาล ที่มีเขตอำนาจ
ถ้า ไม่มีข้อขัดข้อง ดั่งกล่าวแล้ว ก็ให้ศาล จดแจ้งแสดง การรับ คำคู่ความนั้น ไว้บน คำคู่ความ นั้นเอง หรือ ในที่อื่น
คำสั่ง ของ ศาล ที่ไม่รับ หรือ ให้คืน คำคู่ความ ตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์ และ ฎีกาได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๒๒๗, ๒๒๘ และ ๒๔๗
////////

จากหลักดังกล่าว เมื่อมีผู้ยื่นคำฟ้อง/คำร้อง/คำขอ ใดๆ ศาลจะพิจารณาจาก ม.18 ข้างต้น โดยจะสั่งใน 3 ลักษณะ คือ

1.ให้คืน คำคู่ความ นั้นไป ให้ทำมาใหม่ หรือ แก้ไขเพิ่มเติม หรือ ชำระ หรือ วาง ค่าธรรมเนียมศาล ให้ถูกต้องครบถ้วน ภายในระยะเวลา และ กำหนด เงื่อนไขใดๆ ตลอดจนเรื่อง ค่าฤชาธรรมเนียม ตามที่ศาล เห็นสมควร ก็ได้ ถ้า มิได้ปฏิบัติตาม ข้อกำหนดของศาล ในระยะเวลา หรือ เงื่อนไข ที่กำหนดไว้ ก็ให้มีคำสั่ง ไม่รับ คำคู่ความนั้น

2.มีคำสั่ง ไม่รับ หรือ คืน คำคู่ความ นั้นไป เพื่อยื่นต่อ ศาล ที่มีเขตอำนาจ

3.จดแจ้งแสดง การรับ คำคู่ความนั้น ไว้บน คำคู่ความ นั้นเอง หรือ ในที่อื่น

และกรณีศาลสั่งที่ไม่รับ หรือ ให้คืน คำคู่ความ ให้ผู้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ตามกฏหมายต่อไป

/////////

จากเหตุผลข้างต้น การมีคำว่า"ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงมีผลในคดีเป็นอย่างมาก เพราะ ถือว่าผู้ยื่นคำฟ้อง/คำร้อง มีหน้าที่ต้องคอยติดตามรับทราบคำสั่งศาลนั่นเองครับ หากศาลสั่งคืนให้ทำมาใหม่ เช่น ให้ไปเสียค่าธรรมเนียมภายใน 7 วันหากไม่เสียถือว่าทิ้งคำร้อง ก้อต้องถือว่าผู้ยื่นทราบแล้วในวันที่ศาลสั่ง หากไม่ติดตามคำสั่งและไม่ปฏิบัติตาม ศาลก้อจะถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องนั่นเองครับ

กรณีเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาสนับสนุนหลักดังกล่าวไว้ด้วยดังนี้ครับ

คำพิพากษาฎีกาที่ 4713/2541

ส่วนจำเลยที่ 2 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2539 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันว่า"รับคำฟ้อง หมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์จัดการนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง"
ต่อมาวันที่ 23 เมษายน 2539เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว ปรากฏว่าส่งไม่ได้เพราะหาบ้านไม่พบดังนี้
ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แถลงภายใน 7 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ในวันเดียวกับวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง และตามแบบพิมพ์ท้ายคำขอท้ายฟ้องซึ่งทนายโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อโจทก์มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วยสองฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว"
จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้แล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น แต่โจทก์กระทำเพียงเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิได้นำส่งเอง โจทก์จึงมีหน้าที่ติดตามขวนขวายให้ได้ทราบผลการส่งหมายเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องแจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบอีก เมื่อโจทก์เพิกเฉยมิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
//////////

ขอแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 6 ม.ค. 53 18:17:20




Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 12:58:38 น.




Create Date : 22 มีนาคม 2553
Last Update : 22 มีนาคม 2553 16:46:35 น. 2 comments
Counter : 6230 Pageviews.

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: นนนี่มาแล้ว วันที่: 22 มีนาคม 2553 เวลา:17:58:26 น.  

 


โดย: thi_noi วันที่: 22 มีนาคม 2553 เวลา:22:57:39 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.