ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
3 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 

การหักเงินลูกจ้างที่ทำผิดแล้วก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้างตามกฏหมายคุ้มครองแรง

ขอคำปรึกษาครับ นายจ้างมีสิทธิหักเงินเดือนลูกจ้างประมาณ 95% หรือครับ vote ติดต่อทีมงาน

คือเรื่องมีอยู่ว่า เพื่อนของผม ทำงานเป็นพนักงานขาย ไปออเดอร์จากลูกค้ารายหนึ่ง แต่เค้าอ่อนหัดไม่ระวังให้ดี ไม่ได้ขอเอกสารไปบางอย่าง แล้วต่อมาลูกค้าเบี้ยว
ไม่จ่ายเงินและลูกค้าคนนั้นก็ปิดบริษัทหนีไป ตอนนี้กำลังดำเนินการทางอาญาอยู่

แต่ตัวเพื่อนผมต้องรับผิดในหนี้ที่ลูกค้ารายนี้หนีไป ซึ่งเค้าก็จำใจที่ต้องรับ (คาใจที่หัวหน้าซึ่งเซ็นต์ชื่อในเอกสารอนุมัติด้วย กลับชิ่งให้รับผิดคนเดียว)

**ปัญหาที่อยากถามอยู่ตรงนี้ครับ***
เค้าต้องรับผิดประมาณหนึ่งแสนสามหมื่นบาท
เงินเดือนที่ออกมาเมื่อ 4-5 วันก่อนเค้าได้เงินประมาณ 900 บาทจากเงินเดือนประมาณ 21,000.- ซึ่งมันเป็นวิธีหักเงินลูกจ้างที่บัดซบมาก ในชีวิตจริงใครจะอยู่ได้ครับ บอกผมที

ผมเลยอยากทราบว่า บริษัทมีอำนาจหักเงินเดือนลูกจ้างประมาณ 95% ของเงินเดือนเชียวหรือครับ --> ไม่ผิดกฎหมายหรือ

ถ้าผิดกฎหมาย --> ผิดพรบ.ไหนครับ

แล้วมีหน่วยงานราชการไหนที่จะช่วยได้บ้างครับ (คือเพื่อนผมเค้าก็พร้อมที่จะรับผิด แต่หักเงินแทบเกลี้ยงแบบนี้ใครจะมีกำลังใจทำงานครับ)


ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ + ความช่วยเหลือครับ ลูกสาว

จากคุณ : เพชรฆาตสีส้ม
เขียนเมื่อ : 27 พ.ค. 55 18:31:08

ความคิดเห็นที่ 1 ติดต่อทีมงาน

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541


มาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่า ทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหัก เพื่อ
(1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระ เงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
(2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพ แรงงาน
(3) ชำระหนึ้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะ เดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็น ประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจาก ลูกจ้าง
(4) เป็นเงินประกันตาม มาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้ แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม การหักตาม (2) (3) (4) และ (5) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้ หักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงิน ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตาม มาตรา 70 เว้น แต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง



มาตรา 144 นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 10 มาตรา 22 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 40 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 46 มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 49 มาตรา 50 มาตรา 51 มาตรา 61 มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 67 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 72 มาตรา 76 มาตรา 90 วรรคหนึ่ง กฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 95 มาตรา 107 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง ไม่จ่าย ค่าชดเชยพิเศษตาม มาตรา 120 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มาตรา 121 วรรคสอง หรือ มาตรา 122 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

//////////////////////



นายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง แต่นายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างได้ไม่เกินร้อยละ 10 และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่าย เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76   ทั้งนายจ้างที่หักเงินค่าจ้างเกินนั้นต้องมีความผิดทางอาญาตามม.144 ด้วย


กรณีตามกระทู้  นายจ้างเขาหักเงินเกินกว่าที่กฏหมายให้หักได้ (ไม่เกินร้อยละสิบ)  ควรให้เพื่อนคุณจขกท.ไปเจรจากับเขาตามข้อกฏหมายข้างต้น  ว่าเขาทำไม่ได้นะ และ มีความผิดอาญาด้วยนะ

ถ้าเขายังไม่ฟัง  ก็คงต้องพึ่ง กรมคุ้มครองแรงงาน ในเขตที่ทำงานอยู่ หรือ เอาเรื่องฟ้องศาลแล้วละครับ



smile

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 27 พ.ค. 55 18:44:25




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2555
0 comments
Last Update : 3 มิถุนายน 2555 14:19:51 น.
Counter : 3181 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.