ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
16 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

อันเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข

!!ใครเก่งภาษาไทย ช่วยอธิบายคำเหล่านี้ให้ทีครับ...ผมงงมากกก!!

เป็นคำในตัวบทกฎหมายล้มละลายครับ พอเจอคำพวกนี้ที่ไรผมอ่านยังไงก็ตีความไม่ออกสักที

มันคือ..คำนี้ครับ

" อันเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข..."


ที่ผมงงและสับสนทุกครั้งเวลาเจอ คำว่า "ไม่ กับ ไม่" สองคำมารวมกัน
มันหมายความว่าอย่างไรในทางภาษาไทย มันจะเหมือนกับเลขคณิตหรือเปล่า คือ ลบ กับ ลบ เป็น บวก อะไรทำนองนั้น

คือบอกตรงๆนะครับ ผมมีปัญหากับ ภาษาไทยตรงนี้มากที่สุด

ใครก็ได้ที่เก่งภาษาไทย หรือ เข้าใจหลักการดูและจดจำคำพวกนี้
บอกผมด้วยนะครับ


ปล. ขอเป็นวิชาการหน่อยนะครับ

จากคุณ : น้าออด
เขียนเมื่อ : 16 ก.พ. 53 13:40:13


ความคิดเห็นที่ 9

กรณีที่คุณน้าออด หารือมา

น่าจะเป็นถ้อยคำใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ดังนี้ครับ

มาตรา 42 เมื่อได้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเสร็จแล้ว ให้ศาล ไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยเป็นการด่วน เพื่อทราบกิจการและทรัพย์สินของ ลูกหนี้ เหตุผลที่ทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจนความประพฤติของลูกหนี้ ว่าได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่นเกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็น เหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข
ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศแจ้งความกำหนดวันเวลาที่ศาลนัด ไต่ส่วนโดยเปิดเผยให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และ ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ


^
^

จากหลักกฏหมายดังกล่าว พูดถึงการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยในคดีล้มละลาย

เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้ครับ

1.เพื่อทราบกิจการและทรัพย์สินของ ลูกหนี้

2.เพื่อทราบเหตุผลที่ทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจนความประพฤติของลูกหนี้ ว่าได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่นเกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็น เหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข

////

จากตัวบทข้างต้น มีถ้อยคำที่คุณทนายออดหารือมาคือ " อันเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข..." ซึ่งก้อนะ เข้าใจยากเหมือนกันครับ

คงต้องไปดูถึงเรื่องปลดจากล้มละลายประกอบด้วยครับ

การปลดล้มละลายจะมี 2 กรณีครับ

- ตามคำสั่งศาล (ม.71)โดยยื่นคำร้องต่อศาลตามขั้นตอนของกฏหมาย ซึ่งกรณีนี้ไม่ค่อยเป็นผลในทางปฏิบัติ เพราะกฏหมายให้มีการแบ่ง=ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ซึ่งผมว่าคงแทบจะเป็นไปไม่ได้

- ปลดโดยผลของกฏหมาย(ม.81/1) หรือบางคนก็เรียกว่าปลดโดยอัตโนมัติ คือบุคคลธรรมดาซึ่งศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว ให้ปลดบุคคลนั้นจากล้มละลายทันทีที่พ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยมีข้อยกเว้นต้องสุจริต ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม.81/1

กรณีปลดล้มละลายโดยมีเงื่อนไข จะเป็นกรณีตาม ม.71 ดังนี้ครับ


มาตรา 71 ให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลาย เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า
(1) ได้แบ่งทรัพย์สินชำระให้แก่เจ้าหนี้ที่ได้ขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบและ
(2) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
คำสั่งปลดจากล้มละลายตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะพึงได้มาในเวลาต่อไปก็ได้ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลาที่บุคคลนั้นได้รับการปลดจากล้มละลายตาม มาตรา 81/1
^
^

คือ ถึงศาลจะสั่งปลดล้มละลายให้แล้ว ศาลยังอาจกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะพึงได้มาในเวลาต่อไปก็ได้ เช่น หากลูกหนี้ที่ได้รับการปลดล้มละลายได้ทรัพย์สินใดๆมาภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ศาลสั่งปลดล้มละลาย ให้ถือว่า ทรัพย์นั้นๆเป็นทรัพย์ที่อาจรวบรวม(ยึด/อายัด)เข้าในคดีล้มละลายได้ เป็นต้นครับ

//////////

กล่าวโดยสรุป ในความเห็นส่วนตัวผมเห็นว่า ต้องดูเจตนารมย์ม.42 นั่นเอง

ว่าต้องการให้ลูกหนี้ไปให้การไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย ให้ได้ความจริง ตาม ม.42 มากที่สุด จนถึงขนาดว่า หากมีการจะปลดล้มละลายตามกฏหมายแล้ว ศาลจะสั่งปลดล้มละลายให้ลูกหนี้ ที่มาทำการไต่สวนแล้วโดยไม่มีเงื่อนไขนั่นเองครับ

ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 16 ก.พ. 53 15:56:33


ที่มา - //www.pantip.com/cafe/social/topic/U8887935/U8887935.html




 

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2553
0 comments
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2553 18:52:06 น.
Counter : 1177 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.