ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
15 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

ประธานวิปรัฐบาลกล่าวว่า ที่ประชุมวันนี้ไม่ได้พิจารณาคำถามในการทำประชามติ เนื่องจากประธานสภาฯไม่ได้มีคำสั่งให้พิจารณาเรื่องนี้ และเรื่องประชามติเป็นอำนาจของ ครม.และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องไปดำเนินการ ซึ่งตอนนี้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามตินั้นได้ส่งกลับมาที่สภาเรียบร้อยแล้ว และกำลังดำเนินการเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ


รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมการกฎหมายฯเสนอคำถามการจัดทำประชามติให้ที่ประชุมครั้งนี้พิจารณาด้วย โดยตัวอย่างคำถาม อาทิ "ท่านเห็นด้วยหรือไม่ กับที่มาของ ส.ส.แบบแบ่งเขต เขตเดียวเบอร์เดียว 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อเขตประเทศ 100 คน" "ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการให้ ส.ส.เป็นข้าราชการการเมืองได้ ได้แก่ ที่ปรึกษา เลขานุการ และผู้ช่วยรัฐมนตรี" "ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ที่ให้ ส.ส. สามารถมีหนังสือถึงราชการให้ช่วยเหลือประชาชน" แต่ที่ประชุมเห็นว่า ไม่อยู่ในอำนาจ และหากสื่อมวลชนนำเสนอเรื่องนี้ต่อสาธารณะ จะถูกนำไปขยายความ และเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างมากมาย จึงเห็นว่า ให้เป็นอำนาจของ ครม. ในการพิจารณา


ที่มา- //www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1259250679&grpid=00&catid= 27 พ.ย. 2552
15:11 น.

สำหรับร่าง พ.ร.บ.นี้ ได้มีสาระสำคัญ คือ การกำหนดวันออกเสียงประชามติ ต้องไม่น้อยกว่า 90 วัน แต่ไม่เกิน 120 วัน นับแต่วันที่ประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา และภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันประกาศให้มีการออกเสียงใด ถ้าผู้มีสิทธิออกเสียงเห็นว่าการออกเสียงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย สามารถฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้มีคำวินิจฉัยได้
รวมถึงการออกเสียงจะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องจัดทำประชามติ จะต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น

ที่มา- //www.ryt9.คอม/s/iq02/654117/ 27 พ.ย. 2552
15:12 น.

สำหรับหลักในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน

ได้ให้หลักเกณฑ์ในการทำประชามติไว้ดังนี้ครับ

มาตรา ๑๖๕
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งย่อมมีสิทธิออกเสียงประชามติ การจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในเหตุ ดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสีย ของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธาน สภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้

(๒) ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ

การออกเสียงประชามติตาม (๑) หรือ (๒) อาจจัดให้เป็นการออกเสียงเพื่อมีข้อยุติ โดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติในปัญหาที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ หรือเป็น การออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีก็ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ

การออกเสียงประชามติต้องเป็นการให้ออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกิจการ ตามที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ และการจัดการออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญหรือเกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคล จะกระทำมิได้

ก่อนการออกเสียงประชามติ รัฐต้องดำเนินการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ และให้บุคคล ฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบกับกิจการนั้น มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน

หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการออกเสียง ประชามติ ระยะเวลาในการดำเนินการ และจำนวนเสียงประชามติ เพื่อมีข้อยุติ
... 27 พ.ย. 2552
15:12 น.

การออกเสียงประชามติตาม (๑) หรือ (๒) อาจจัดให้เป็นการออกเสียงเพื่อมีข้อยุติ โดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติในปัญหาที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ หรือเป็น การออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีก็ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ

...

จากข้างต้น จึงอาจให้ทำประชามติเพื่อให้ได้ผลลัพท์ออกมาในสองลักษณะ

๑.เพื่อมีข้อยุติ โดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติในปัญหาที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ

๒.เพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี

แต่ถ้ามีกฏหมายเฉพาะ ว่าให้ออกเสียงลงมติเพื่อผลลัพท์ใดๆตามข้อ ๑ หรือ ข้อ ๒ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น

จากหลักการข้างต้น ผมมองว่าปัญหาคือ การทำประชามติไม่ใช่ง่ายๆ ไม่ควรทำพร่ำเพรื่อ

หากจะทำ ต้องทำเพื่อให้ได้ผลลัพท์ คือให้ได้ข้อยุติ ตามข้อ ๑.เท่านั้น ถ้าเสียงส่วนใหญ่ เห็นอย่างไร ก้อต้องว่าตามนั้น

ไม่ควรมีประชามติ เพื่อขอคำปรึกษาตามข้อ ๒ เพราะ คณะรัฐมนตรี มีทีมงาน มีข้าราชการ ที่เก่งในเรื่องนั้นๆคอยให้คำปรึกษาอยู่แล้ว

การให้มีประชามติเพื่อขอคำปรึกษาตามข้อ ๒ จึงไม่ควรทำ เพราะน่าจะเสียเวลา เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ให้คำปรึกษาไปแล้ว ก้อไม่มีบทบัญญัติบังคับว่าต้องเอาตามประชามติที่ให้คำปรึกษานั้น ไปปฎิบัติ

แต่เอาเถอะ พรบ.ประชามติกำลังทูลเกล้าลงพระปรมาภิไธย ประกาศราชกิจจานุบกษา ก้อใช้บังคับทันที คงเร็วๆนี้แหละได้ใช้กัน

ว่าแต่ว่า จะทันได้ลงประชามติ เรื่องแก้ รธน. ก่อนยุบสภาไหมหนอ

แต่นึกอนาถใจนิดนึง เพราะการแก้ รธน. ตาม รธน.นี้ ไม่ได้กำหนดว่าให้ทำประชามติก่อนเลย แต่พวกเขากลับลากเกมส์ไปงั้นๆ

เล่นแต่เกมส์การเมืองกันอย่างเดียว ไม่รู้เคยนึกถึงประชาชนบ้างไหม 27 พ.ย. 2552
18:52 น.




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2553
0 comments
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2553 19:13:43 น.
Counter : 1300 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.