ชอบกิน ชอบเที่ยว แต่มะมีตังค์ รูปภาพ
เพลงฮิต เกมส์ เกมส์ปลูกผัก เกมส์ทําอาหาร
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
27 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
ชาติมหาอำนาจปรัสเซีย

ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชนชาติเยอรมันมีเจ้าปกครองเป็นแคว้นต่างๆ แต่ยังไม่มีการรวมตัวเป็นชาติรัฐ ในบรรดาแคว้นเยอรมนีเหล่านี้ ปรัสเซียเป็นแคว้นที่ใหญ่ที่สุด (ยกเว้นอาณาจักรออสเตรีย) ซึ่งแต่เดิมปรัสเซียเป็นเพียงแคว้นเล็กๆ แต่การที่พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 ช่วยออสเตรียรบในสงครามสืบราชสมบัติสเปน ปรัสเซียจึงได้รับการยกฐานะเป็นอาณาจักรอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1713 บรรดาชาติที่เป็นศัตรูกับฝรั่งเศส คาดหวังว่าปรัสเซียจะเป็นศูนย์อำนาจใหม่ในกลุ่มแคว้นของเยอรมันเพื่อสู้รบกับฝรั่งเศสแทนออสเตรียที่เสื่อมอำนาจลง ดังนั้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ปรัสเซียจึงเริ่มเป็นชาติที่มีฐานะเป็นที่ยอมรับในสังคมนานาชาติของยุโรป

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปรัสเซียกลายเป็นชาติที่มีอำนาจในเวลาต่อมา คือ ปรัสเซียมีผู้นำที่มีความสามารถ เช่น พระเจ้าเฟรเดอริก วิลเลียมที่ 1 ผู้ทรงเข้มแข็งเจ้าระเบียบ ประหยัดและมีขันติธรรมทางศาสนา ดังนั้นเมื่อชาวฝรั่งเศสที่นับถือโปรเตสแตนต์ หรือคาทอลิกที่อพยพลี้ภัยทางศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ปรัสเซีย จึงได้รับการต้อนรับทั้งสิ้นทำให้ปรัสเซียซึ่งเดิมเป็นแคว้นที่มีประชากรเบาบางได้มีประชากรเพิ่มขึ้นและเป็นประชากรที่มีคุณภาพ ส่วนในด้านการปกครอง ผู้นำปรัสเซียแต่ก่อนได้วางรากฐานไว้โดยทำการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ปฏิรูปกฎหมายและการศาล การจัดเก็บภาษี รวมทั้งเก็บภาษีขุนนางแทนการปฏิบัติหน้าที่ของขุนนางต่อกษัตริย์ตามพันธะแบบระบบฟิวดัล

พระเจ้าเฟรเดอริก วิลเลียมที่ 1 ทรงปฏิรูปด้านอุตสาหกรรม ทำให้ปรัสเซียในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้า รวมทั้งการค้ากับนานาชาติ ขณะเดียวกันได้มีการออกกฎหมายกีดกันสินค้าจากต่างประเทศ เช่น ห้ามนำเข้าผ้าขนสัตว์จากอังกฤษ และกำหนดให้เครื่องแบบทหารปรัสเซียต้องตัดด้วยผ้าที่ผลิตในประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันเงินตรารั่วไหลออกนอกประเทศและหาทางนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาให้มากที่สุด การปฏิรูปที่สำคัญของปรัสเซียอีกด้านหนึ่งคือการปฏิรูปกองทัพ เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าเฟรเดอริกวิลเลียมที่ 1 พระโอรสของพระองค์ คือ พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช ทรงปฏิบัติหน้าที่กษัตริย์ในฐานะผู้รับใช้ประเทศอย่างเข้มแข็ง พระองค์ทรงดำเนินนโยบายต่อจากพระราชบิดา โดยทรงปรับปรุงกองทัพจนทำให้กองทัพปรัสเซียมีระเบียบวินัยและมีอาวุธที่ทันสมัย ดังนั้นนับตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาปรัสเซียจึงมีอำนาจมากขึ้นในยุโรป ทั้งนี้จะเห็นได้จากบทบาทปรัสเซียในสงคราม เช่น สงครามชิงราชสมบัติออสเตรีย (ค.ศ. 1740-1748) พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชทรงส่งกองทัพปรัสเซียเข้าโจมตีดินแดนออสเตรียทางตะวันตก และสามารถยึดดินแดนได้โดยกองทัพออสเตรียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ปรัสเซียยังได้แนะนำยุทธวิธีฝรั่งเศส ให้โจมตีกรุงปราก เมืองหลวงของแคว้นโบฮีเมียก่อน แทนที่จะมุ่งเข้าโจมตีกรุงเวียนนาเมืองหลวงของออสเตรีย เป็นต้น

ภายหลังจากการโจมตีออสเตรีย ทำให้ปรัสเซียรู้ว่าจะต้องต่อสู้กับออสเตรียอีก พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชจึงทรงเตรียมพร้อมเพื่อทำสงครามต่อไป ในระยะแรกของสงครามกองทัพออสเตรียตอบโต้กองทัพปรัสเซียให้ถอยไปได้สำเร็จ แต่ในปี ค.ศ. 1745 ปรัสเซียรบชนะออสเตรียสามารถยึดดินแดนได้หลายแห่ง การขยายอำนาจทางทหารเพื่อชิงดินแดนต่างๆ ทำให้ปรัสเซียถูกโจมตีหลายด้านจนต้องเข้าร่วมสงครามเจ็ดปี (ค.ศ. 1756-1763) ทั้งนี้เนื่องจากออสเตรียต้องการยึดดินแดนที่เสียให้แก่ปรัสเซียเมื่อปี 1745 คืน นอกจากนี้รัสเซียซึ่งระแวงว่าความเข้มแข็งทางทหารของปรัสเซียจะเป็นอันตรายต่อประเทศ จึงทำสัญญากับออสเตรียและฝรั่งเศสเพื่อยึดดินแดนด้านตะวันออกของปรัสเซีย เพื่อให้ปรัสเซียกลับเป็นแคว้นเล็กๆ เหมือนเดิม สวีเดนที่เคยขัดแย้งเรื่องดินแดนกับปรัสเซียเตรียมทัพเข้าโจมตีปรัสเซีย เช่นเดียวกับแคว้นเยอรมนีที่อยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น ปรัสเซียได้แก้ไขโดยดำเนินการทางการทูตและต่อสู้กับกองทัพชาติต่างๆ โดยมีเพียงอังกฤษเป็นพันธมิตร ในที่สุดสงครามยุติลงโดยปรัสเซียร่วมกับอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ เมื่ออังกฤษทำสนธิสัญญาปารีสกับฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1763 แล้ว ในปีเดียวกันปรัสเซียกับออสเตรียได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพที่ทำให้ปรัสเซียได้ดินแดนบางส่วนกลับคืน ดังนั้นช่วงเวลาครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ปรัสเซียได้กลายเป็นชาติมหาอำนาจที่มีบทบาททางการเมืองและการทหารในยุโรปอีกทั้งสามารถทำลายอำนาจผูกขาดของออสเตรียที่มีต่อแคว้นเยอรมนีต่างๆ ที่มีมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี

เมื่อเกิดการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1789 ออสเตรีย ปรัสเซียและแคว้นต่างๆ ในเยอรมนีซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ได้ร่วมกันทำสงครามต่อต้านการปฏิวัติ โดยชาติเหล่านั้นนำทัพเข้าโจมตีกรุงปารีส ทำให้ชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่ที่เป็นกลางตัดสินใจเข้าร่วมกับกองทัพปฏิวัติ เพราะถือว่าเป็นการป้องกันประเทศจากการรุกรานโดยกองทัพต่างชาติ พลังชาตินิยมฝรั่งเศสทำให้กองทัพปรัสเซียไม่สามารถยึดกรุงปารีสและการที่ปรัสเซียยกทัพรุกรานฝรั่งเศสเป็นสาเหตุสำคัญที่คณะปฏิวัติได้ตัดสินประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เพื่อยุติข้ออ้างที่ต่างชาติใช้ในการรุกรานฝรั่งเศส

ในช่วงเวลานั้นปรัสเซียและออสเตรียกังวลอยู่กับการขยายอำนาจของรัสเซียในโปรแลนด์ ทั้งสองชาติเกรงว่ารัสเซียจะผนวกโปรแลนด์จึงเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสขยายอำนาจไปยังดินแดนต่างๆ ในยุโรป ปรัสเซียซึ่งขัดแย้งกับออสเตรียด้วยเรื่องการแบ่งโปรแลนด์ จึงทำให้สัญญาสงบศึกกับฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1795 โดยปรัสเซียยอมรับสิทธิของฝรั่งเศสเหนือดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำไรด์ แลกกับปรัสเซียที่มีสิทธิควบคุมแคว้นเยอรมนีทางภาคเหนือ ด้วยสัญญาสงบศึกปี 1795 ที่ทำกับฝรั่งเศส ปรัสเซียดำเนินนโยบายเป็นกลางไม่เข้าร่วมรบกับพันธมิตรในสงครามต่อต้านการขยายอำนาจของนโปรเลียนในระหว่าง ค.ศ. 17990-1801 สงครามครั้งนี้มีผลที่เป็นประโยชน์ต่อปรัสเซีย ประการหนึ่งคือทำให้ออสเตรียซึ่งเคยมีอิทธิพลเหนือแคว้นต่างๆ ในเยอรมนีได้หมดอิทธิพลลงในขณะที่ปรัสเซียกลายเป็นอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในบรรดาแคว้นเยอรมนีในคริสต์ศตวรรษที่ 19




Create Date : 27 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 4 ธันวาคม 2552 6:17:05 น. 1 comments
Counter : 3628 Pageviews.

 
รูปน่ารักดีนะ


โดย: ตัวแสบ IP: 124.121.105.47 วันที่: 9 มกราคม 2555 เวลา:19:49:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

krumuti
Location :
หนองคาย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เช่ออ้อมแอ้มนะ
โค้ดเมาส์แต่งhi5 มากมาย กดที่นี่เลย Photo Flipbook Slideshow Maker
Glitterfy.com - Photo Flipbooks
Friends' blogs
[Add krumuti's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.