Kross (เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง~
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
17 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
พิชัยยุทธ์ซุนวู บรรพที่ 8-13 (ฉบับ อจ.จอม รุ่งสว่าง)

บทที่ ๘
เก้าเหตุการณ์


๑. SUNTZU
กล่าวไว้


ตามกฎของสงคราม


-
อย่าโจมตีข้าศึกบนเนินสูง


-
อย่าตั้งรับข้าศึกที่รุกเข้ามาโดยมีเนินเขาอยู่เบื้องหลัง


-
อย่าเผชิญหน้ากับข้าศึกในที่รกชัดเป็นเวลานาน


-
อย่ารุกไล่ข้าศึกที่หลอกถอย


-
อย่าโจมตีข้าศึกที่ขวัญดี


-
อย่ากินเหยื่อที่ข้าศึกลวงไว้


-
อย่าหยุดข้าศึกที่กำลังกลับบ้านเกิด


- อย่าล้อมข้าศึกโดยมิดชิด
ต้องเปิดทางให้หนีอย่างน้อย ๑ ทาง


-
อย่ารุกไล่ข้าศึกที่ถอยอย่างระมัดระวังเข้าไปชิดนัก


ทั้งหมดคือ
เก้าเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และเกิดขึ้น เป็นกฎของสงคราม


๒. ถนนที่น่าจะผ่านไปด้วยดี
แต่ผ่านไม่ได้นั้นมีอยู่


กองทัพข้าศึกที่น่าเข้าตี แต่เข้าตีไม่ได้นั้นมีอยู่


ป้อมปราการที่มั่นที่น่าเข้าโจมตี
แต่เข้าโจมตีไม่ได้นั้นมีอยู่


พื้นที่ที่น่าเข้ายึดครอง แต่เข้ายึดครองไม่ได้นั้นมีอยู่



คำสั่งของผู้นำประเทศที่น่าปฏิบัติตาม แต่ปฏิบัติไม่ได้ ก็มีอยู่เช่นกัน


๓. เพราะฉะนั้น
แม่ทัพที่คำนึงผลได้ผลเสียจากเก้าเหตุการณ์เป็นอย่างดี
คือผู้ใช้ทหารอย่างระมัดระวัง
แม่ทัพที่ไม่คำนึงผลได้ผลเสียจากเก้าเหตุการณ์เป็นอย่างดี
แม้จะเข้าใจภูมิประเทศดีแต่ก็จะไม่ได้ประโยชน์จากพื้นที่นั้น


ในการควบคุมการใช้กำลังทหารนั้น เก้าเหตุการณ์นี้เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง
แม้จะเข้าใจถึง ๕ ส่วน ก็ยังมิสามารถใช้กำลังทหารให้เกิดประโยชน์อย่างเพียงพอได้
...............


๔. ดังที่กล่าวมา


การคิดอ่านของผู้รู้นั้น
คิดเรื่องราวใดต้องระมัดระวังผลได้
และผลเสียประกอบกันไปเรื่องราวใดเป็นประโยชน์ก็ต้องคิดอ่านด้านผลเสียด้วย
งานก็จะสำเร็จบรรลุเป้าหมาย เรื่องราวใดเป็นผลเสียก็ต้องคิดอ่านด้านดีด้วย
ความกังวลก็จะหมดไป .............



๕. ฉะนั้น


ชี้ให้เห็นผลเสียจึงสยบต่างชาติ


ชี้ให้เห็นว่าจำเป็นจึงใช้ทูตต่างชาติ


ชี้ให้เห็นประโยชน์จึงให้ข้าศึกแตกหนี


๖.
เรามิอาจขอร้องข้าศึกมิให้ยกกองทัพมา
เราพึ่งพาการเตรียมการที่พร้อมต่อข้าศึกที่จะยกมาทุกเมื่อ
เรามิอาจขอร้องข้าศึกมิให้เข้าโจมตี
แต่เราพึ่งพาการตั้งมั่นที่มิอาจเข้าตีได้ต่างหาก


๗. ฉะนั้น
สำหรับแม่ทัพมีอันตรายอยู่ ๕ ประการ


- สำนึกว่าตนต้องสู้ตาย
ไม่รู้จักถอย แล้วถูกฆ่าตาย


- คิดแต่จะเอาตนรอด
ขาดความกล้า แล้วถูกจับเป็นเชลย


-
เอาแต่ใจร้อนจนผู้คนทั้งหลายมองว่าบ้าเลือด




    • ขาดความกระตือรือร้น
      ตกอยู่ในสภาวะต้องอาย





    • รักทหารจนต้องเหนื่อยเพราะทำงานให้ทหาร




ประการเหล่านี้ยามศึกเป็นผลเสีย กองทัพละลาย แม่ทัพตายในสนามรบ จะต้องเกิดขึ้นจาก ๕
ประการดังกล่าวแน่นอน จำเป็นที่แม่ทัพจะต้องระมัดระวังใส่ใจ
…...........


…................................................................


บทที่ ๙
เคลื่อนกำลัง


๑. SUNTZU
กล่าวเกี่ยวกับ สถานที่ตั้งของกองทัพ กับการหาข่าวสถานการณ์ข้าศึกไว้ดังนี้


จะข้ามเขาให้เลาะร่องเขา
พบที่สูงให้อยู่ที่สูง รบที่สูงอย่าหันหาข้าศึกที่สูงกว่า
ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพบนเขา


ถ้าข้ามแม่น้ำมาแล้วจงอยู่ให้ไกลจากฝั่งแม่น้ำ
ข้าศึกโจมตีข้ามแม่น้ำมาอย่ารับการโจมตีตรงกลางแม่น้ำ
จงเข้าตีขณะข้าศึกข้ามมาได้ครึ่งหนึ่งจะได้เปรียบ อย่ารับการโจมตีจากข้าศึกริมน้ำ
พบพื้นที่สูงอยู่ที่สูง หากต้องอยู่ปลายน้ำอย่ารบกับข้าศึกต้นน้ำ
ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพกับแม่น้ำจะข้ามที่ลุ่มมีน้ำขัง
ถ้าทำได้รีบไปให้เลยออกไปโดยเร็ว ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้
ต้องรบในที่ลุ่มเตรียมน้ำอาหาร หญ้าฟางมากๆ และตั้งทัพโดยเอาป่าไว้เบื้องหลัง
ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพในที่ลุ่ม


ในที่ราบจงอยู่ที่สะดวก
เอาที่สูงอยู่เบื้องหลังที่ต่ำอยู่เบื้องหน้า
ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพในที่ราบ


การใช้ประโยชน์พื้นที่ภูมิประเทศเป็นเหตุผลให้ได้ชัยชนะมาแล้วหลายครั้งในประวัติศาสตร์


๒. โดยทั่วไปที่ตั้งกองทัพ
ที่สูงกว่าดี ที่ต่ำกว่าไม่ดี มีแสงแดดดี ไม่มีแสงแดดไม่ดี
อยู่ในที่อุดมสมบูรณ์ปลอดโรคภัย โรคภัยไข้เจ็บในกองทัพก็เป็นเงื่อนไขแพ้ชนะ
…..


นี่เป็นผลที่ได้จากภูมิประเทศ


๓. ต้นน้ำที่ฝนตกลงมา
น้ำจะเชี่ยวกราด รอให้กระแสน้ำเบาลงก่อนจึงคิดข้าม


๔.
พื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ เช่น หนองน้ำ บึง หลุม หุบผาแคบ
ต้องรีบผ่านไปอย่างรวดเร็ว อย่าเข้าใกล้ เราเมื่อพยายามอยู่ไกล
แต่ชี้ให้ข้าศึกอยู่ใกล้ ฝ่ายเราเมื่อหันหน้าเข้าหา
ชี้ให้ข้าศึกมีพื้นที่นั้นอยู่เบื้องหลัง


๕. บริเวณตั้งทัพมีป่ารก
ให้ระมัดระวังให้ดี ที่นั่นจะเป็นที่ที่มีข้าศึกซุ่มอยู่
มีหน่วยลาดตระเวนข้าศึกอยู่



๖. ข้าศึกยิ่งใกล้ยิ่งเงียบ
แสดงว่าข้าศึกพึ่งพาความรกของภูมิประเทศ


ข้าศึกแม้อยู่ไกลแต่พยายามรบติดพัน แสดงว่าหวังจู่โจม


ข้าศึกตั้งอยู่ในที่ราบ
เหมือนข้าศึกชี้ให้เราเห็นประโยชน์ให้เราออกรบ


มีเสียงต้นไม้ใบหญ้า แสดงว่าข้าศึกกำลังโจมตีมา


นกบินหนี
แสดงว่ามีข้าศึกซุ่มอยู่


สัตว์ป่าตกใจ
แสดงว่าข้าศึกจู่โจม


ฝุ่นฟุ้งกระจาย
แสดงรถรบข้าศึก


ฝุ่นเป็นแผ่นกว้าง แสดงว่าเป็นทหารราบ


ฝุ่นฟุ้งกระจายเล็กน้อย นั่นแหละข้าศึกกำลังสร้างกองบัญชาการ


๗.
ทูตข้าศึกเข้ามาพูดหลอกล่อพยายามแสดงว่าเพิ่มการตั้งรับ
นั่นคือเตรียมการสำหรับรุก


ทูตข้าศึกแสดงให้ดูว่ากล้าหาญเตรียมการรุก
นั่นคือข้าศึกเตรียมการถอย


ข้าศึกมิได้ตกอยู่ในสภาวะลำบากพยายามปรองดอง
แสดงว่าข้าศึกมีแผนลับ


รถรบขนาดเบาออกหน้า แสดงว่ากำลังหลักอยู่สองข้าง


ทหารวิ่งกันสับสนมาจัดใหม่เป็นแถวเป็นระเบียบ
แสดงว่าเตรียมรบขั้นแตกหัก


ครึ่งหนึ่งไปข้างหน้า อีกครึ่งหนึ่งไปข้างหลัง แสดงว่ากำลังหลอกล่อ นั่นเอง
…....


๘.
การสงครามนั้นใช่ว่าคนยิ่งมากยิ่งดีก็หาไม่ เพียงแต่ไม่ผลีผลาม
ถ้าสามารถคาดการณ์ข้าศึกระดมพลได้เหมาะสม ก็สามารถรวบรวมชัยชนะได้เพียงพอแล้ว
แต่ถ้าคิดอ่านไม่รอบคอบประมาทข้าศึก ต้องถูกข้าศึกจับเป็นเชลยแน่
ถ้าทหารหาญไม่ใกล้ชิดแม่ทัพนายกอง ทั้งยังถูกลงโทษ เขาเหล่านั้นจะไม่เชื่อฟัง
เมื่อไม่เชื่อฟังก็ปกครองยาก ถ้าทหารหาญแม้ใกล้ชิดแม่ทัพนายกอง
แต่มิได้ใช้การลงโทษแก่ผู้ทำผิด คำสั่งที่ต้องปฏิบัติจะกลายเป็นเรื่องเล่นๆ
ไม่สามารถปกครองใช้งานได้เช่นกัน


เพราะฉะนั้น
แม่ทัพนายกองต้องใช้ คุณธรรม ระเบียบวินัย และการลงโทษทัณฑ์ในการปกครอง
นี้เป็นเงื่อนไขชัยชนะ


การรักษาระเบียบวินัยจากชีวิตประจำวัน เมื่อออกคำสั่งทหารจะเชื่อฟัง
ถ้าไม่รักษาระเบียบวินัยจากชีวิตประจำวัน
เมื่อออกคำสั่งทหารจะไม่เชื่อฟัง


ความจริงใจต่อระเบียบวินัยจากชีวิตประจำวันของทหาร


ชนะใจประชาชนได้ สามารถกำจิตใจประชาชนเป็นหนึ่งได้


….....................................................................


บทที่ ๑๐
ภูมิประเทศ


๑. SUNTZU กล่าวไว้
ลักษณะภูมิประเทศมี ๖ ประเภท




    • ที่ไปมาสะดวกนั้นมีอยู่





    • ที่ไปสะดวกแต่กลับลำบากก็มีอยู่





    • ทางแยกเป็นหลายแพร่งก็มีอยู่





    • มีที่แคบ





    • มีที่รก





    • มีที่ไกล



สำหรับที่ไปมาสะดวก
จงรีบเข้ายึดโดยเฉพาะที่ดีเป็นที่สูงมีแสงแดด
ก่อนออกศึกหากสถานที่ดังกล่าวไม่ถูกตัดเส้นทางส่งกำลังบำรุง การรบจะมีเปรียบ
สำหรับสถานที่ไปง่ายกลับลำบาก ถ้าเข้าไปในที่ข้าศึกไม่มีการเตรียมการชนะได้
แต่ถ้าข้าศึกมีการเตรียมการจะไม่อาจชนะข้าศึกได้ จะถอนกลับก็ยาก การรบจะเสียเปรียบ
สำหรับทางหลายแยกจะออกจะเข้าล้วนเสียเปรียบ ข้าศึกใช้ผลประโยชน์หลอกล่อให้เราออกรบ
อย่าออกรบ พยายามถอยออกให้ไกล ถ้าข้าศึกตามค่อยเข้าตีจะมีเปรียบสำหรับที่แคบ
ควรยึดได้ก่อนข้าศึก จากนั้นรวมกำลังรอคอยการมาของข้าศึก ถ้าข้าศึกยึดได้ก่อน
อย่าเข้าตีที่แคบ ถ้าข้าศึกมิได้รวมกำลังไว้เข้าตีดีคือที่รก เราควรยึดก่อน
ควรอยู่ในที่สูงรอคอยข้าศึก ถ้าข้าศึกยึดได้ก่อนควรอยู่ให้ห่าง ฝ่ายเรา
และข้าศึกตั้งทัพอยู่ไกลกัน ถ้ากำลังรบพอกันรบกันยาก
ฝ่ายรุกก่อนเสียเปรียบ


เหล่านี้คือ ๖
ประเภทพื้นที่ภูมิประเทศ แม่ทัพต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบอย่างเพียงพอ


๒. ในกองทัพนั้นมีพวกหนีทหาร
พวกปล่อยตัว พวกซึมเศร้า พวกแหกคอก พวกวุ่นวาย และพวกแพ้แล้วหนี ทั้งหมด ๖ จำพวก
โดยทั่วไปแม้มิได้เกิดเภทภัยก็จะทำให้แม่ทัพเดือดร้อนอยู่เสมอๆ


พวกเหล่านี้
เมื่อฝ่ายเราห้าวหาญพอๆ กับข้าศึก แต่ข้าศึกมีมากกว่า ๑๐ เท่า
แม้ยังมิได้ต่อสู้ก็หนีตายกันหมดสิ้นแล้ว


ถ้าทหารเข้มแข็งแต่ตัวนายอ่อน
กองทัพจะไม่มีกำลัง ถ้าทหารอ่อนแต่ตัวนายเข้มแข็ง กองทัพก็จะไม่คึกคักขวัญจะไม่ดี
ถ้าตัวนายโกรธไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของแม่ทัพ
แต่เมื่อข้าศึกยกมาต้องออกรบโดยมีความโกรธอยู่ในใจ รบแต่ตามที่ตนเองคิด
กองทัพก็จะไปไม่รอด แม่ทัพที่หย่อนยานไม่เคร่งครัดออกคำสั่งไม่แน่นอน ตัวนาย
และทหารย่อมปฏิบัติไม่ได้ เกิดความวุ่นวาย
แม่ทัพจะคิดอ่านสถานการณ์ข้าศึกก็ย่อมทำไม่ได้
ปะทะข้าศึกคราวใดก็ตีข้าศึกที่แข็งกว่าเสมอ ทหารจะหมดความกล้าหนีหายหมด


ทั้งหมดเกิดจากคน ๖
จำพวกดังที่กล่าวข้างต้น เป็นต้นเหตุแห่งความพ่ายแพ้


ถือเป็นหน้าที่ของแม่ทัพ
จะต้องคิดอ่านเรื่องนี้อย่างเพียงพอ


๓.
ลักษณะของภูมิประเทศเป็นสิ่งช่วยการศึก
ถ้าคิดอ่านพิจารณารอบคอบแล้วชนะได้



การพิจารณาภูมิประเทศ และดัดแปลงมาใช้ทางยุทธวิธี เป็นงานยิ่งใหญ่ของแม่ทัพ


ถ้าพิจารณารอบคอบระมัดระวังต้องชนะแน่นอน
ถ้าพิจารณาไม่รอบคอบไม่ระมัดระวังต้องแพ้แน่นอน


ถ้าคิดอ่านแล้วชนะแน่นอน แต่ผู้นำประเทศสั่งอย่าใช้กำลัง
การตัดสินใจรบของแม่ทัพเป็นสิ่งถูกต้อง


ถ้าคิดอ่านแล้วแพ้แน่นอน แต่ผู้นำประเทศสั่งให้ใช้กำลัง
การตัดสินใจไม่รบของแม่ทัพเป็นสิ่งถูกต้อง


เพราะฉะนั้น
มิได้แสวงหาชื่อเสียง รุกเมื่อควรรุก มิกลัวผิด ถอยเมื่อควรถอย
เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก



ถ้าผลประโยชน์ตรงกันกับผู้นำประเทศ


แม่ทัพคนนี้คือสมบัติล้ำค่าของประเทศชาติ ”


๔. ปกครองทหารเหมือนดูแลเด็ก
ทหารย่อมสามารถติดตามแม่ทัพไปในที่อันตรายได้


ปกครองทหารเหมือนลูก มีความรักความผูกพัน
ทหารก็พร้อมจะร่วมเป็นร่วมตายกับแม่ทัพได้


แต่ให้ความอบอุ่นอย่างเดียวใช้งานทหารไม่ได้
ให้แต่ความรักสั่งการใดใดย่อมไม่ได้


จะใช้ประโยชน์อันใดย่อมทำไม่ได้


๕.
เมื่อรู้ว่ามีกำลังพอที่จะเข้าตีข้าศึกรวบรวมชัยชนะได้
แต่ไม่รู้ว่าสถานการณ์ข้าศึกเข้าตีไม่ได้ จะชนะแน่นอนก็หาไม่
เมื่อรู้ว่าสถานการณ์ข้าศึกเข้าตีได้ แต่ไม่รู้ว่ากำลังฝ่ายเราไม่เพียงพอ
จะชนะแน่นอนก็หาไม่ เมื่อรู้ว่าสถานการณ์ข้าศึกเข้าตีได้
และรู้ว่ากำลังฝ่ายเรามีเพียงพอ แต่ไม่รู้ว่าสภาพพื้นที่ภูมิประเทศรบไม่ได้
จะชนะแน่นอนก็หาไม่ ......


ฉะนั้น คนที่เข้าใจการรบดี
รู้ข้าศึก รู้เรา รู้พื้นที่ภูมิประเทศ รู้เวลา จึงสามารถใช้กำลังทหารได้โดยไม่หลง
การศึกก็จะไม่ลำบาก


เพราะฉะนั้น
รู้เขา รู้เรา ชัยชนะไม่ไปไหน รู้ภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม และเวลา


กล่าวได้ว่าจะสามารถชนะได้อยู่เสมอ


..............................................................


บทที่ ๑๑
เก้าสนามรบ


๑. SUNTZU
กล่าวไว้


การศึกนั้นมี พื้นที่แตก
พื้นที่เบา พื้นที่ได้เปรียบ พื้นที่สัญจร พื้นที่ติดต่อ พื้นที่สำคัญพื้นที่ลำบาก
พื้นที่ถูกล้อม และพื้นที่สังหาร


สนามรบที่ต่อสู้ในประเทศตนเองหมายถึงพื้นที่แตก
สนามรบที่อยู่ในดินแดนข้าศึกแต่ไม่ไกลจากพรมแดนนักคือพื้นที่เบา
พื้นที่ที่ข้าศึกยึดได้มีเปรียบ เรายึดได้เราก็มีเปรียบคือพื้นที่ได้เปรียบ
พื้นที่ที่คิดจะไปก็ได้คิดจะมาก็ได้คือพื้นที่สัญจร พื้นที่ที่มี ๔
ทิศถ้าเราเข้าไปได้ก่อนสามารถรับความช่วยเหลือจากต่างชาติ
สามารถรวบรวมจิตใจประชาชนได้คือพื้นที่ติดต่อ
พื้นที่ลึกในดินแดนข้าศึกผ่านไปด้วยที่มั่นของข้าศึก หมู่บ้านมากมาย
เป็นพื้นที่สำคัญ ต้นไม้รกทึบ
มีหนองบึงเคลื่อนไหวลำบากเป็นพื้นที่ลำบากยิ่งเข้าไปยิ่งแคบถอยออกยาก
ข้าศึกใช้กำลังเพียงเล็กน้อยก็โจมตีเราได้คือพื้นที่ถูกล้อม
ต้องใช้การต่อสู้สุดชีวิตมิฉะนั้นจะเอาตัวรอดไม่ได้คือพื้นที่สังหาร
........


ดังกล่าวแล้ว
ถ้าเป็นพื้นที่แตกอย่ารบ พื้นที่เบาอย่าชักช้า
พื้นที่ได้เปรียบรีบเข้ายึดก่อนถ้าข้าศึกยึดก่อนอย่าเข้าตี
พื้นที่สัญจรอย่าทิ้งระยะกันห่าง พื้นที่ติดต่อใช้การทูต
พื้นที่สำคัญใช้แย่งเสบียงอาหารจากข้าศึก พื้นที่ลำบากรีบผ่านให้พ้นไป
พื้นที่ถูกล้อมใช้แผนลับ พื้นที่สังหารควร สู้สุดชีวิต


๒.
ขุนศึกที่เชี่ยวชาญการรบสมัยก่อน จะทำให้ทัพหน้า
และทัพหลังของข้าศึกติดต่อกันไม่ได้ทำให้กำลังใหญ่กำลังเล็กช่วยเหลือกันไม่ได้
ทำให้คนสูงคนต่ำช่วยกันไม่ได้ ทำให้นายกับบ่าวช่วยกันไม่ได้
ทำให้ทหารข้าศึกที่แตกกระจายรวมกันไม่ติด ถึงรวมติดก็ไม่เป็นระเบียบ


ดังนี้
ฝ่ายเราจะเริ่มเคลื่อนไหวเมื่อได้เปรียบ


ถ้ายังไม่ได้เปรียบไม่เคลื่อนไหว รอคอยโอกาสที่ได้เปรียบ


๓. “การสงครามนั้น
ความรวดเร็วเป็นอันดับหนึ่ง


ใช้จังหวะที่ข้าศึกกำลังเตรียมการ


ใช้วิธีที่ข้าศึกคาดไม่ถึง


ใช้การโจมตีสถานที่ที่ข้าศึกไม่มีการเตรียมการป้องกัน ”


๔.
ปกติการโจมตีประเทศข้าศึก


ถ้าบุกลึกเข้าไปยึดพื้นที่สำคัญในประเทศข้าศึก ฝ่ายเราต้องสามัคคีกันไว้
เนื่องจากเป็นพื้นที่แตกของข้าศึก ข้าศึกจะไม่สามารถต้านทานเราได้
และหากพื้นที่นั้นอุดมสมบูรณ์ เสบียงอาหารที่มาเลี้ยงกองทัพก็จะเพียงพอ
และเมื่อเลี้ยงดูทหารเป็นอย่างดีแล้ว อย่าให้ต้องเหนื่อยอ่อน เพิ่มขวัญ
และกำลังใจในการรบ ใช้แผนลับเคลื่อนกำลังจนข้าศึกไม่สามารถคาดการณ์ได้
จะไปที่ใดใดทหารที่ต้องตาย


หรือหนีตายจะไม่ปรากฏ
ถ้าระดับนายกองสู้อย่างสุดความสามารถ ทำไมจะไม่ได้มาซึ่งชัยชนะเล่า
แม้เหล่าทหารจะตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายก็มิเกรงกลัว มิต้องมีสัญญาก็ช่วยเหลือกัน
มิต้องสั่งการใดใดก็ปฏิบัติด้วยความจริงใจ แม้ต้องตายจิตใจก็ไม่เปลี่ยนแปลง
แม้เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ออกคำสั่งรบขั้นเด็ดขาด
ถึงน้ำตาจะไหลนองเนื่องจากผู้ต้องจากไป แต่ในสถานการณ์คับขันเช่นดังนี้
:-


ทุกคนจะกล้าหาญอย่างที่สุด


๕. ฉะนั้น


ยอดนักรบนั้นเรียกว่าสู้ยิบตา
สู้ยิบตานั้นเหมือนมดแมลงที่อยู่ตามเขานั่นเองเมื่อโจมตีด้วยส่วนหัว
ส่วนหางก็จะเข้ามาช่วย เมื่อโจมตีด้วยส่วนหาง
ส่วนหัวจะเข้าช่วยเมื่อถูกโจมตีที่ท้อง ส่วนหัว และส่วนหางจะเข้าช่วย
และโจมตีข้าศึกพร้อมกัน .........


.............................................................


บทที่ ๑๒
ไฟ


๑. SUNTZU
กล่าวไว้


ปกติการรุกด้วยไฟมี ๕
ประการ


- เผาคน


- เผาเสบียง


- เผาอาวุธ


- เผายุทธปัจจัย


- เผาเส้นทาง


การใช้ไฟนั้น
มีเงื่อนไขที่แน่นอน การใช้ไฟบินนั้นก็เช่นกัน ต้องมีเครื่องมือที่แน่นอน
การเริ่มทำการรุกด้วยไฟนั้น มีเวลาที่เหมาะสม มีวันที่เหมาะสม ........


๒. ปกติการรุกด้วยไฟนั้น
เมื่อฝ่ายเราเริ่มจุดไฟ ขณะกองบัญชาการข้าศึกติดไฟให้ระดมทหารเข้ารบ
แต่ถึงแม้ไฟติดแล้วข้าศึกยังเงียบอยู่ ให้รอก่อน จะรบทันทีนั้นไม่ได้
ปล่อยให้ไฟเผาไปพิจารณาสถานการณ์แล้วถ้าโจมตีได้ให้รบ ถ้าโจมตีไม่ได้อย่ารบ
แม้ไฟลุกลามจากภายนอกถ้าสถานการณ์เหมาะสมก็รบได้ อย่าโจมตีใต้ลม ใช้ลมตอนกลางวัน
อย่าใช้ลมกลางคืน ระมัดระวังการเปลี่ยนแปลงของไฟรอบคอบ เป็นยุทธวิธีการใช้ไฟ
........


๓. ฉะนั้น


การใช้ไฟช่วยในการโจมตีได้ ถือว่าฉลาด


การใช้น้ำทำลายข้าศึกได้ ถือว่าเป็นอำนาจ


๔. การที่รุกรบได้ชัยต่อข้าศึก
แต่ไม่สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้
ถือว่าโชคร้ายไร้ประโยชน์ถ้ามิใช่เพราะประโยชน์ของบ้านเมือง อย่าทำ
ถ้าทำแล้วไม่สามารถสำเร็จได้ อย่าใช้กำลัง ถ้ามิได้ตกอยู่ในอันตราย อย่ารบ
....


แม่ทัพไม่สามารถจัดกระบวนศึกได้ก็เพราะความแค้นเคือง


ทหารย่อมรบไม่ได้ก็เพราะความโกรธ


ชั่วขณะในอารมณ์โกรธ อาจกลับมาเกิดความสบายใจ


ชั่วขณะแค้นเคือง อาจกลับมาเกิดความพึงพอใจ


แต่บ้านเมืองเมื่อพินาศย่อยยับแล้ว ไม่อาจซ่อมแซมได้
คนตายย่อมมิอาจฟื้น


ฉะนั้น
แม่ทัพที่ฉลาดจะมีการตัดสินใจดี รอบคอบ


บ้านเมืองย่อมรักษาได้มั่นคง กองทัพย่อมดำรงอยู่ได้


.............................................................


บทที่ ๑๓
สายลับ


๑.
การจัดกองทัพด้วยกำลังคนมากมายโดยส่งออกไปรบในที่ไกล
ย่อมเกิดความสิ้นเปลืองที่รบกวนต่อเนื่องไปทั่วทั้งบ้านเมือง ประชาชนจะพากันอิดโรย
แม้กระนั้น
หากแม่ทัพตระหนี่ที่จะใช้ทรัพย์สินมหาศาลเพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวกรองข้าศึก
แม่ทัพผู้นี้ย่อมไม่เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ย่อมไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นแม่ทัพได้
......


ปกติยอดนักรบชนะข้าศึกได้เสมอด้วยการรู้ล่วงหน้าก่อน การรู้ล่วงหน้าก่อน
มิได้ใช้เวทมนต์คาถา มิได้ใช้การดูฤกษ์ยาม
มิได้ใช้การคำนวณอนาคตใดใดจากเหตุการณ์ในอดีต แต่เขาจะพึ่งพาบุคคลพิเศษ
จะต้องเป็นบุคคลเฉพาะจริงที่รู้สถานการณ์ของข้าศึกนั่นเอง



ดังกล่าวย่อมต้องเป็นสายลับ


๒. สายลับที่ใช้งานมีอยู่ ๕
ประเภท กล่าวคือ


- สายลับในพื้นที่


- สายลับใน


- สายลับสองหน้า


- สายลับที่ยอมตาย


-
สายลับที่รอดกลับมา


๓.
ในบรรดาผู้สนิทสนมใกล้ชิดแม่ทัพ ไม่มีผู้ใดใกล้ชิดไปกว่าสายลับ
ไม่มีใครได้บำเหน็จรางวัลมากกว่าสายลับ
และไม่มีเรื่องราวใดเป็นความลับมากไปกว่าเรื่องในหน่วยสืบราชการลับ



ผู้มีมนุษยธรรมมาก มีความยุติธรรมมากใช้งานสายลับไม่ได้


ผู้ไม่ละเอียด
ไม่มีไหวพริบ ย่อมเอาความจริงจากสายลับไม่ได้


ในกรณีแผนลับแตก
ผู้เกี่ยวข้องย่อมต้องโทษประหาร ”


๔.
ปกติเมื่อต้องการเข้าโจมตีที่ใด ต้องการสังหารใคร จำเป็นต้องรู้จักนายทหารข้าศึก
ผู้บังคับบัญชาข้าศึก ฝ่ายเสนาธิการ องครักษ์
สายลับต้องสืบเรื่องราวของบุคคลที่เกี่ยวข้องเหล่านี้โดยละเอียด
จึงสามารถกระทำตามความต้องการได้ .......


๕.
เป็นเรื่องสำคัญต้องหาสายลับของข้าศึกที่มาสืบข่าวฝ่ายเราให้พบ
แล้วทำให้สายลับผู้นั้นกลับทำงานให้เรา ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ
ย่อมได้สายลับสองหน้า เมื่อได้สายลับสองหน้า ย่อมได้สายลับในพื้นที่ และสายลับใน
ซึ่งจะทำให้ฝ่ายเราสามารถส่งสายลับที่ยอมตายไปปล่อยข่าวลวงข้าศึก


แม่ทัพจะต้องรู้เท่าทันสายลับทุกประเภท
โดยปฏิบัติต่อสายลับสองหน้าอย่างอิสระ .....


...........................................................................


ส่งท้าย


เรื่องราวที่กล่าวถึงทั้งหมด เป็นสิ่งซึ่งแต่ละคนรู้ได้ เข้าใจได้
จากสิ่งแวดล้อม วันเวลา
และประสบการณ์ดีนักรบที่คร่ำศึกย่อมสามารถเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้ได้แต่ผู้ที่เข้าใจลึกซึ้งกว่า
คือผู้กำชัยชนะชี้ขาดชะตากรรมของข้าศึกแน่นอน
.................................


SUNTZU


จอม รุ่งสว่าง
ผู้แปล





Create Date : 17 สิงหาคม 2552
Last Update : 17 สิงหาคม 2552 22:31:38 น. 0 comments
Counter : 1900 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Kross_ISC
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 79 คน [?]




Blog จับฉ่ายของ Kross ครับ เทคโนโลยี, การทหาร,Military Expert, การ์ตูน, Anime, Manga, Review, Preview, Game, Bishojo Game, Infinite Stratos (IS), Hidan no Aria, Light Novel (LN)

ติดตามเพิ่มเติมได้ทาง Twitter ที่ @PrameKross
New Comments
Friends' blogs
[Add Kross_ISC's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.