Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
17 มกราคม 2554
 
All Blogs
 

ความรู้พื้นฐานสำหรับการลงทุนในตลาดอนุพันธ์ (ตอนที่7) Options5 : Strike price

ตอนแรกว่าจะเขียนเรื่องการเป็นผู้ซื้อ (long) หรือผู้ขาย (short) ว่ามีดีมีเสียอย่างไร แต่คิดว่าน่าจะคุยเรื่อง price หรือสิ่งที่เราจ่ายเงินซื้อ (หรือรับเงินเวลาขาย) option ว่ามันประกอบด้วยอะไร และก็จะทำให้เห็นภาพด้วยว่า เวลาที่เราดูกระดาน option มีตัว strike price ต่าง ๆ เป็นสิบรุ่น เราจะเลือกอะไร (อ่านเสร็จก็เลือกไม่ตรงกันหรอกครับ ขึ้นกับ risk tolerance กับ expected return ของแต่ละคน)

เอาหน้าจอตัวอย่างมาดูกันนะครับ เราจะโฟกัสในด้าน call option กัน ส่วน put option อยากให้ลองไปคิดกันเองถ้ามีเวลา ดูที่จอ มีข้อสังเกต คือ ดัชนีอยู่ที่ 707.07 เวลาเราดูเกี่ยวกับ price option ให้ดูดัชนีเป็นหลักนะครับ อย่าไปดู futures S50 เพราะหลายครั้งที่ S50 futures ราคาต่างกับ Set50 พอควร แต่พอหมดอายุ มันก็จะวิ่งไปเท่ากัน ดังนั้นเราต้องยึดตัวดัชนีในการคำนวณ



ขอแก้ไขในรูปหน่อยนะครับ ให้แก้คำว่า premium เป็นคำว่า time value

โดยราคา option ที่เราซื้อจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ค่ามันต่างจาก strike price และส่วนเพิ่ม ซึ่งเรียกว่า time decay value หรือ time value (รายละเอียดอ่านใน option intermediate ตอน 3-4) แก้ไข 5 กพ.54


เราเอาตัว call options ที่ strike price ใกล้เคียงกับดัชนี ณ วันที่เราดู ก็จะได้ 2 ตัวคือ C700 และ C710 โดย C700 มีราคาขายที่ 32.0 และ C710 มีราคาขายที่ 26.8 ถ้าดัชนีSet50 ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง และในวันที่ 30 มีนาคม ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญา ดัชนีก็ปิดที่ 707.07 นั่นหมายความว่า

คนที่ซื้อ C700 ก็จะได้เงินจากค่าที่ต่างกันของดัชนีที่สูงกว่า strike price คือ 707.07-700 หรือ 7.07 แต่เสียเงินที่ซื้อไปคือ 32 หรือหักกลบลบหนี้แล้วเสียไป 24.93

คนที่ซื้อ C710 จะไม่ได้ค่าส่วนต่างเลย เพราะดัชนีปิดต่ำกว่า 710 และยังเสียเงินซื้อไปอีก 26.8 อีก

พอเห็นอะไรลาง ๆ ไหมครับ ประเด็นเป็นดังนี้ครับ
1 option 2 ตัวที่ยกตัวอย่างมา ตัวนึง (C700)มีมูลค่าในตัวของมัน ในวันซื้อ แต่อีกตัว (C710) ไม่มีมูลค่าเลย เพราะหากดัชนีปิดเท่ากับตอนซื้อ ก็คือไม่เหลืออะไรเลย

2. ตัวที่มีมูลค่าในตัวบ้าง สำหรับ call ก็คือตัวที่ strike price น้อยกว่าค่าดัชนี (C700, C690, C680……) พวกนี้เขาเรียกว่า In the money option (ITM) หรือคิดแบบง่าย ๆ ว่า เหมือนในนั้นมันมีเงิน(อยู่บ้าง)

3. ตัวที่ไม่มีมูลค่าในตัวเลย สำหรับ call ก็คือตัวที่ strike price มากกว่าค่าดัชนี (C710, C720,C730…) พวกนี้เรียก Out the money (OTM)

4. มีคำศัพท์อีกคำคือ ATM (At the money) หมายถึงoption ที่มี strike price = ดัชนีเป๊ะ เช่นหากตอนซื้อดัชนีอยู่ที่ 710 ตัว C710 ก็จะเป็น ATM option ซึ่งก็หายากที่จะมีอย่างนั้น แต่ก็อลุ้มอล่วยได้เช่น ดัชนี 710.05 ก็อาจบอกว่า C710 เป็น ATM แต่มันก็แค่เป็นคำเรียกครับ จะได้เข้าใจพื้นฐานเท่านั้น ไม่ได้ serious อะไร

5. สำหรับ ITM options (รวมถึงกรณี ATM option) เงินที่เราจ่ายไปตอนซื้อ จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นมูลค่าจริง ๆ (ค่าที่ ดัชนีสูงกว่า strike price) ส่วนที่เหลือก็คือ time value

6. สำหรับ OTM option สิ่งที่เราจ่ายเป็น time value ล้วน ๆ ไม่มี มูลค่าจริง หรือที่เรียกว่า intrinsic value เลย

7 ยิ่ง (call) option ที่มี strike price ต่ำ จะมี time value น้อยกว่า option ที่มี strike price สูง แต่เมื่อไล่ strike price มาจนเป็น OTM ค่า time value จะต่ำลง ตามstrike price ที่สูงขึ้น

8 แต่ถ้าดู break event ของ option แต่ละตัว จะพบว่า break event ของตัวที่ strike price ต่ำ จะต่ำกว่า ตัวที่ strike price สูงเสมอ

ลองดูตารางนะครับ ขอเอาราคา last done มาทำตารางนะครับ เพราะถ้าเอาราคาเสนอขาย มันจะมีเวอร์ ๆ บางตัว



ค่อย ๆ อ่านทีละประเด็นนะครับ ทำความเข้าใจกับมัน ถ้าเข้าใจแล้วต่อไปนี้เราจะมาวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวกัน

1Call options ที่ deep ITM มาก ๆ เช่น C680 ข้อดีคือ time value น้อย เป็นมูลค่าที่แท้จริงเป็นส่วนใหญ่ แต่ หากราคามันไม่เป็นไปตามที่เราคิด ( ดัชนีตก) เราก็จะมี loss ไปเยอะ และถ้ามัน มีโอกาส loss จากการที่ดัชนีตกเยอะ กว่าที่คุณสมบัติการป้องกันความเสียงของ option จะทำงาน (ในกรณี C680 ดัชนีเมื่อต่ำกว่า C680 เราจะไม่เสียไปกว่านั้นอีกแล้ว โดยเราจะเสียค่า option 45.2) หมายความว่าดัชนีตกไปจากเดิม 27 จุด ถ้าเป็นอย่างงั้น ไปเล่น future ดีกว่า แทบไม่เสีย time value เลย

2 option ที่ time value น้อย ๆ อีกแบบคือพวก OTM ข้อดีคือ ราคามันถูก ใช้เงินนิดเดียว ขาดทุนก็นิดเดียว แต่ถ้าดูจะพบว่า Break-event หรือจุดที่จะเริ่มกำไร ก็จะสูงตามไป

ประเด็นเรื่อง time value ก็คงต้องบอกว่า เอาทางสายกลาง ๆ น่าจะดีกว่า คือถ้างกนัก เล่น OTM ก็ต้องยอมรับว่ากว่าจะได้กำไรก็ต้องใช้เวลา แต่ของอย่างนี้ก็แล้วแต่คนครับคงไม่ใช่สูตรตายตัว

3 เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ดัชนีมีการเปลี่ยนแปลง (ที่ผมยกตัวอย่างเรื่องดัชนีอยู่นิ่งจนวันหมดสัญญา เป็นการลดตัวแปร ทำให้คิดง่ายขึ้น ซึ่งในความเป็นจริง คงไม่เป็นอย่างนั้น) สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือมีการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าทั้ง 2 ส่วนที่ประกอบกันเป็นราคา option ก็คือ intrinsic value และ time value ดังนี้ครับ

Intrinsic value จะเปลี่ยนแปลงตามดัชนี อันนี้ common sense ครับ อย่างในตัวอย่าง C700 ทีมี intrinsic value 7.07 และ time value อยู่ที่ 24.93 หากดัชนีเปลี่ยนจาก 707.07 เป็น 720 ก็จะได้ว่า intrinsic value มันเปลี่ยนเป็น 20 แต่ time value จะเปลี่ยนเป็นเท่าไร ก็ไม่ทราบ เพราะขึ้นกับ demand supply และ expectation ของคนที่จะมาขอซื้อ อย่างไรก็ตาม time value มักจะลดลง เมื่อเวลาผ่านไป บางคนจึงเรียก time value ในอีกชื่อว่า time-decay value หรือมูลค่าที่เสื่อมสภาพไปตามเวลาที่ผ่านไป เพราะเมื่อถึงวันสุดท้ายของสัญญา time value ก็จะเข้าใกล้ 0

ถ้ามีเวลา ลองเอาข้อมูลฝั่ง put option มาคิดและทำตารางเหมือนที่ทำใน call option จะเห็นภาพได้ดียิ่งขึ้นครับ คราวนี้ ถ้าเรามีเป้าหมายในใจว่า อีก 2-3 เดือนข้างหน้า ดัชนีจะขึ้น หรือลง และเราอยาก limit loss โดยการซื้อ (long) options เราก็วิเคราะห์ว่า ที่ strike price ไหน ที่เรามองว่า น่าจะทำกำไรให้เราได้ และเรายอมรับความเสี่ยงได้

อย่าไปคิดว่ามันยุ่งยาก มีอะไรให้ตัดสินใจเยอะเหลือเกิน จริงๆ แล้ว เหมือนกับเราออกรบ หากเข้าไปดูในคลังอาวุธเรา พบว่ามีอาวุธหลายอย่าง ทั้งแบบ ยิงระยะไกล หรือสู้ประชิด น่าจะทำให้เราอุ่นใจได้มากกว่าครับ

ขอ comment หรือลงชื่อหน่อยนะครับ รู้ว่าเหลือน้อย แต่อย่างที่บอก เหลือ 1 คนก็จะเขียนให้จบให้ได้ แต่ถ้าเหลือ 0 ก็คงไม่เขียนต่อแล้ว

ตอนต่อไป จะเขียนเรื่อง การเป็นคนซื้อ long กะ การเป็นคนขาย short มันมีข้อดีข้อเสียอย่างไรครับ




 

Create Date : 17 มกราคม 2554
16 comments
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2554 11:38:32 น.
Counter : 2899 Pageviews.

 

ติดตามอ่านอยู่ครับทุกตอน

 

โดย: หมอสัจจะ 17 มกราคม 2554 7:30:20 น.  

 

ติดตามด้วยครับ

 

โดย: ํYimt IP: 182.53.18.250 17 มกราคม 2554 7:58:35 น.  

 

เพิ่งไล่ตามอ่านอยู่เหมือนกันครับ

 

โดย: เพิ่งตามอ่าน IP: 1.1.1.231, 115.87.235.186 17 มกราคม 2554 8:10:27 น.  

 

ยางอยู่ครับ จะอยู่จนเลิกเขียนเลยครับ ฮ่าๆ
ขอบคุณครับ

 

โดย: chess IP: 58.9.48.120 17 มกราคม 2554 12:36:55 น.  

 

ขออ่านก่อน เดี๋ยวมาถามครับ

 

โดย: U1000 IP: 58.8.239.47 17 มกราคม 2554 15:20:48 น.  

 

อ่านแล้ว เหมือนคณิตศาสตร์เพื่อการลงทุนเลย สูตรเยอะเหมือนกัน จะว่าไปก็เหมือน DW มากเลย
รู้สึกว่า options มีหลายแบบเหมือนกัน ทั้งแนว VI (ไม่ค่อยเห็น แต่เคยอ่านข่าว เจอ บ้ฟเฟต ก็ชื้อ options) daytrade (เห็นเยอะมาก เก่งจริงๆ)

 

โดย: U1000 IP: 58.8.157.201 19 มกราคม 2554 13:04:33 น.  

 



มีแต่บวก ลบ ครับ สูตรไม่เยอะหรอกครับ ถ้าทำความเข้าใจได้ ก็หมูมาก ถึงพยายามเน้นความเข้าใจ เพราะถ้าเอาสูตรจริง ๆ ก็เป๋เหมือนกันครับ

DW ก็คือ warrant และ warrant ก็คือ call options ชนิดนึง
แต่ในตลาด option มีครบ เลยคือ จะเอา call หรือ put อยากได้ strike price แบบไหน หรืออยากเป็นคน ออก DW เองก็ยังได้ หนุกกว่าเยอะ และถ้าอ่าน intermediate level รับรองว่า คุณจะลืมเรื่องการ trade หุ้นไปเลยครับ

 

โดย: krit587 19 มกราคม 2554 14:24:14 น.  

 

รออ่าน intermediate level ด้วยคนค่ะ
ขอขอบพระคุณล่วงหน้า

 

โดย: 3am IP: 183.89.205.126 23 มกราคม 2554 18:56:14 น.  

 

ขอบคุณมากๆ ครับ เพิ่งมาใหม่กะลังไล่อ่านจากตอนต้นๆ ครับ

 

โดย: Tone IP: 182.53.196.113 3 กุมภาพันธ์ 2554 22:47:02 น.  

 

ลงชื่อเข้าห้องเรียนค่ะ เปงนักเรียใหม่ จะตามไประดับ intermediate level ให้ได้เร็วๆๆ นี้จ๊ะ

 

โดย: genie IP: 10.0.2.208, 125.25.252.7 22 มิถุนายน 2554 4:47:52 น.  

 

Intrinsic value จะเปลี่ยนแปลงตามดัชนี อันนี้ common sense ครับ อย่างในตัวอย่าง C700 ทีมี intrinsic value 7.07 และ time value อยู่ที่ 24.93

สงสัยค่ะ:-
time value น่าจะ 24.83 ไม๊ค่ะ (31.9-7.07=24.83)?

 

โดย: genie IP: 10.0.2.208, 125.25.252.13 22 มิถุนายน 2554 5:03:23 น.  

 

เขียนอ่านได้เข้าใจง่ายมาก ติดตามผลงานอยู่ครับ

 

โดย: seenin IP: 183.89.126.146 18 กันยายน 2554 13:31:27 น.  

 

ขอบคุณที่เขียนให้อ่านครับ (ผ่านไปปีกว่าจากที่เขียน อิอิ)

 

โดย: กั๊ก IP: 223.205.68.28 12 เมษายน 2555 17:23:43 น.  

 

ใครหนีไป ....ยังอยู่จ๊า.... ยังไม่เมา....เอิ๊กๆ

 

โดย: kenkoong IP: 58.9.6.137 15 มกราคม 2556 21:30:01 น.  

 

ขอบคุณค่ะ

 

โดย: เจ้าปิ้ง IP: 110.171.33.2 26 เมษายน 2556 23:17:24 น.  

 

ขอบคุณค่ะ กำลังศึกษาพอดี

 

โดย: หนิง IP: 2.233.104.139 20 พฤษภาคม 2556 22:36:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


krit587
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add krit587's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.