เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
26 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 
กำเนิดว่านหางจระเข้




ว่านหางจระเข้เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม ( Lilium ) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชานฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปอาฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน

คำว่า " อะโล" ( Aloe ) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ่

นับเป็นหลายศตวรรษที่หลายประเทศรู้จักใช้ว่านหางจระเข้รักษาโรคต่างๆมากมาย เนื่องจากมีคุณวิเศษในการรักษาแผลไฟลวก รักษาแผลทั่วไปและระงับความเจ็บปวด รวมทั้งรักษาโรคเรื้อนกวาง ในกรณีของโรคเรื้อนกวางนี้ ถ้าใช้สม่ำเสมอจะลดการตกสะเก็ดและอาการคัน รวมทั้งช่วยให้แผลดูดีขึ้น จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ของอียิปต์ โรมัน กรีก แอลจีเรีย ตูนีเซีย อาหรับ อินเดียและจีน มีการรายงานใช้พืชนี้เป็นทั้งยาและเครื่องสำอาง แม้แต่พระนางคลีโอพัตราก็รักษาความงามและความมีเสน่ห์ของพระองค์ด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้

ก่อนคริสต์ศักราช 1500 ( หรือ 1000 ปีก่อนพุทธศักราช ) มีรายงานของชาวอียิปต์ที่ถือว่าเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดกล่าวถึงสรรพคุณมากมายของว่านหางจระเข้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรู้จักใช้พืชชนิดนี้มาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว ในตำราสมุนไพรที่มีชื่อของกรีกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 รายงานถึงวิธีการใช้ว่านหางจระเข้ในการรักษาโรคต่างๆอย่างละเอียดพิสดาร ตั้งแต่รักษาบาดแผล โรคนอนไม่หลับ กระเพาะอาหารทำงานไม่ปกติ ท้องผูก ริดสีดวงทวาร อาการคันที่ผิวหนัง ปวดหัว ผมร่วง โรคเหงือกและฟัน โรคไต ผิวหนังพอง ผิวถูกแดดเผา ผิวด่างดำ ช่วยบำรุงผิวหนัง ระงับอาการปวดและอื่นๆ

นักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า อริสโตเติ้ลได้กราบบังคมทูลให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยึดเกาะโซโครโต ซึ่งอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันออกของแอฟริกา เพื่อเอาว่านหางจระเข้มาไว้ใช้สำหรับรักษาบาดแผลของทหารที่ออกสู้รบ นอกจากนี้ บันทึกสมัยโบราณฉบับอื่นๆก็บรรยายถึงการใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิว ป้องกันผิวจากแดดเผา ถูกลมเป่า ถูกไฟลวก และผิวแตกเมื่อถูกความเย็น รักษาบาดแผลเล็กๆน้อยๆ แก้แมลงสัตว์กัดต่อย แผลถลอก แผลน้ำร้อนลวก แผลมีดบาด ผื่นคัน สิว ผิวหนังเป็นด่างดำ ผิวหนังถูกใบตำแยหรือแพ้สารต่างๆ แผลชอนทะลุ คันคอเนื่องจากกินอาหารผิด แผลเรื้อรัง ผื่นปวดแสบปวดร้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ ในคัมภีร์ไบเบิล ( จอห์น 19: 39 ) มีบันทึกไว้ว่า ยาชโลมพระศพพระเยซูมีส่วนผสมของว่านหางจระเข้อยู่ด้วย

การใช้ว่านหางจระเข้ในระยะหลัง ในซีกโลกตะวันตกซึ่งเป็นเขตอบอุ่นนั้น ไม่มีการใช้ว่านหางจระเข้สดๆ เป็นยา เพราะว่าว่านหางจระเข้เป็นไม้เมืองร้อนไม่สามารถทนต่อความหนาวได้ การใช้ว่านหางจระเข้เป็นยา จึงใช้วิธีเอายางจากใบมาทำให้แห้งเป็นก้อนที่เรารู้จักกันว่า ยาดำ และใช้เป็นเพียงยาระบายเท่านั้น ส่วนสรรพคุณอื่นๆนั้นใช้ยาอื่นแทนหมด และเนื่องจากยาสมัยใหม่ส่วนมากมาจากวัฒนธรรมของเขตอบอุ่น ดังนั้น ว่านหางจระเข้ซึ่งเป็นพืชในเขตร้อน จึงเพิ่งถูกค้นพบใหม่และกลับมาเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป การผลิตเครื่องฉายเอกซเรย์และระเบิดปรมาณูทำให้นักวิทยาศาสตร์มุ่งความสนใจมาที่ว่านหางจระเข้อีกครั้งหนึ่ง แผลไหม้จากรังสีทำให้ผิวหนังเกิดเป็นแผลเรื้อรังซึ่งเกือบจะรักษาไม่ได้ จนกระทั่งมาทดลองใช้ในว่านหางจระเข้ตามเก่าแก่ มันใช้ได้ผลดีกว่ายาอื่นทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังไม่มีใครรู้วิธีรักษาน้ำจากใบว่านหางจระเข้ให้อยู่ได้นาน จึงต้องใช้วิธีส่งใบสดมาจากประเทศในเขตร้อน

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมามีโครงการวิจัยสรรพคุณของว่านหางจระเข้เกิดขึ้นในหลายๆส่วนของโลก เป็นที่น่าประหลาดใจว่า ประเทศรัสเซียไปไกลกว่าเพื่อนในซีกโลกตะวันตกเองมีการศึกษาอย่างจริงจังเพื่อหาว่าอะไรทำให้ว่านหางจระเข้ใช้ได้ผลดีนัก มีการคาดหวังไปไกลถึงขนาดที่ว่าอีก 50 หรือ 60 ปีข้างหน้าทุกๆคนในประเทศจะได้รับประโยชน์จากต้นไม้นี้ ต้นไม้ที่สวรรค์ประทานให้

ในแต่ละปี มีชาวอเมริกันที่นิยมชมชอบสรรพคุณของว่านหางจระเข้เพิ่มขึ้นเป็นล้านๆคน คนที่รู้สรรพคุณหรือมีประสบการณ์มักจะบอกเล่าให้คนอื่นฟังต่ออย่างชื่นชมยินดี เกี่ยวกับว่านหางจระเข้


ชนิดของว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้มีกว่า 300 ชนิด แต่ในจำนวนนี้มีอยู่ไม่กี่ชนิดที่ใช้รักษาโรคให้ผลชะงัด ซึ่งได้แก่ ว่านหางจระเข้เขียว แหล่งดั้งเดิมมาจากอาฟริกา ว่านหางจระเข้แหลมกู๊ดโฮป และว่านหางจระเข้ไบรา ( BEIRA ) เป็นต้น

ว่านหางจระเข้ยืนต้นที่มีชื่อทางวิชาการว่า อะโล อาบะเร็สซินส์ ( ALOE ARBORESCENS ) เป็นว่านหางจระเข้ที่มีความสูงราว 2 เมตร ซึ่งต่างจากว่านหางจระเข้ทั่วไปที่ปลูกในกระถาง ลำต้นของว่านหางจระเข้ชนิดนี้มีใบขนาดใหญ่สีเขียวแก่ที่อิ่มอวบชุ่มชื้น มีปลูกทางตอนใต้ของไต้หวัน ชาวบ้านในแถบนี้รู้จักใช้ว่านหางจระเข้ทำเป็นยาพื้นบ้านมาช้านานแล้ว โดยใช้เป็นยาทาและยารับประทาน และปัจจุบันก็ยังคงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

ว่านหางจระเข้ที่ปลูกในสหรัฐอเมริกา และแถบทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้นั้น เป็นว่านหางจระเข้ไบรา ว่านหางจระเข้ชนิดนี้โดยส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้มาแปรสภาพเป็นน้ำว่านหางจระเข้ ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นเครื่องสำอาง

ว่านหางจระเข้ที่มีอยู่ในหมู่เกาะฮาวายกับหมู่เกาะซามัวร์ ก็เป็นว่านหางจระเข้ที่ผู้คนนำมาใช้เป็นยา พื้นบ้านอย่างกว้างขวาง

วิธีใช้ว่านหางจระเข้

ขนาดของต้นไม้ : ต้นว่านหางจระเข้ที่จะนำมาใช้ควรเป็นต้นที่ปลูกนาน 1 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามต้นเล็กๆก็มีสรรพคุณ ในการรักษาเช่นกัน แต่สรรพคุณของมันจะมีมากขึ้นตามอายุ จึงควรมีต้นแก่ๆอย่างน้อยสักต้นในบ้าน

ใบ : ปกติควรใช้ใบล่างสุด เพราะเป็นใบที่แก่และใหญ่กว่าใบอื่น ดังนั้นจึงมีเมือกมากและมีคุณค่าทางยามากกว่า

การนำใบมาใช้ : ก่อนนำใบว่านหางจระเข้มาใช้ต้องล่างให้สะอาดเสียก่อน ใบว่านที่นำมาใช้ยิ่งสดจากต้องเท่าไหร่ยิ่งดี ทั้งนี้เพราะใบที่ถูกตัดจากต้นแล้วสรรพคุณจะลดลงเรื่อยๆ วิธีที่ประหยัดต้นว่านหางจระเข้และทำให้มีสรรพคุณดีที่สุดคือ ตัดใบเอามาใช้เท่าที่จำเป็นและพอใช้ใน 1 วัน วันรุ่งขึ้นหากต้องการใช้ก็ไปตัดจากต้นมาใช้ใหม่ มีผู้ใช้บางท่านต้องการใช้เพียงเล็กน้อยแต่ตัดเอามาใช้ทั้งใบส่วนที่เหลือเก็บไว้ วิธีนี้สิ้นเปลืองและทำให้ใบว่านหางจระเข้มีสรรพคุณลดลง การตัดใบว่านออกมาบางส่วนไม่ได้ทำอันตรายต่อต้นไม้ เพราะว่ารอยตัดจะปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว มีผู้ใช้บางท่านรีดเอาวุ้นจากว่านหางจระเข้ออกมาใส่ชามแล้วนำไปแช่ในตู้เย็นโดยคิดว่าวิธีนี้จะทำให้นำมาใช้สะดวก ความจริงแล้ว วิธีนี้ทำให้ว่านหางจระเข้เสื่อมสรรพคุณเร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ใบว่านจากต้นได้ทุกครั้ง ใบว่านหางจระเข้สามารถเก็บไว้ใช้ได้ไม่เกิน 3-4 วัน หากนำมาแช่ในตู้เย็นสามารถเก็บไว้ใช้ได้ไม่เกิน 7 วัน

วุ้นและน้ำเมือก : เมื่อเราปอกเปลือกว่านหางจระเข้จนหมด จะเหลือส่วนที่เป็นเนื้อใสๆ ส่วนนี้เราเรียก วุ้น และเมื่อขูดเนื้อวุ้นนี้จะมีน้ำไหลออกมา เรียกว่า เมือก


การเลือกซื้อว่านหางจระเข้

มีข้อควรสนใจดังนี้

1. เลือกลำต้นอวบใหญ่และไม่แห้ง มีใบกว้างตั้งแต่ 2 ซ.ม. ขึ้นไปถึงจะดี ถ้าลำต้นแห้งเฉาไม่ควรเลือกซื้อ

2. ใบว่านต้องให้หนามีเนื้อมาก ใช้นิ้วมือกดูจะรู้สึกนิ่ม อย่าใช้ใบที่เคยใช้แล้วมาใช้

3. ใบต้องได้รับแสงอย่างเพียงพอ

4. หนามแหลมที่ขอบใบต้องบ่งบอกถึงความสดใหม่









Create Date : 26 มิถุนายน 2550
Last Update : 26 มิถุนายน 2550 21:07:30 น. 0 comments
Counter : 1386 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.