เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
7 กุมภาพันธ์ 2551
 
All Blogs
 
มะเร็งปอด



ภาพประกอบ มะเร็งปอด

ในประเทศไทยมะเร็งปอดเป็นโรคที่พบมากและเป็นสาเหตุการตาย ในอันดับ ต้นทั้งในเพศชายและหญิงและอุบัติการณ์โรคกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเพศหญิง ผู้ป่วยมะเร็งปอด ส่วนใหญ่ (80-90%) เกิดจากการสูบบุหรี่จึงสามารถป้องกันได้ ธรรมชาติทาง ชีววิทยาของมะเร็งปอด ทำให้เราพบผู้ป่วย เมื่อเริ่มมีอาการ ในขณะที่โรคอยู่ในระยะลุกลาม และแพร่กระจาย เป็นผลให้ผู้ป่วยประมาณ 90% เสียชีวิตจากโรคมะเร็งภายใน เวลา 1-2 ปี

สารบัญ
1 มะเร็งปอดคืออะไร
2 สาเหตุของมะเร็งปอด
3 ผู้ป่วยเป็นมะเร็งปอดมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าไร
4 อาการของมะเร็งปอด
5 ใครบ้างควรตรวจและหลังตรวจจะต้องทำอะไรต่ออีกบ้าง
5.1 ผู้ป่วยที่ตรวจแล้วพบว่าผลปกติก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ
6 ความก้าวหน้าของการตรวจในอนาคต
7 PET Scan (Positron Emmision Tomography)



มะเร็งปอดคืออะไร
ปกติเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเมื่อทำงานไปถึงอายุขัยก็จะเสื่อมลงและตายไป ร่างกายจะสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป การสร้างเซลล์ใหม่อยู่ใต้การควบคุมของร่างกายเรา เมื่อไหร่เราคุมไม่ได้เซลล์นั้นจะเติบโตไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นก้อนเนื้อที่ผิดปกติ เราเรียกก้อนเนื้อส่วนนั้นว่าเนื้องอก (Neoplasm) ถ้าเนื้องอกนั้นโตขึ้นโดยเบียดอวัยวะของเราแต่ไม่แทรกออกไปทำลายอวัยวะใกล้เคียงเราก็เรียกว่า เป็นเนื้องอกธรรมดาไม่ใช่เนื้อร้าย (Benign Tumor) แต่ถ้ามันทำลายอวัยวะของเราที่อยู่ใกล้เคียงกับมัน เราก็เรียกว่าเนื้อร้ายหรือ มะเร็ง (Cancer)

นอกนั้นมะเร็งส่วนใหญ่ยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายทางกระแสน้ำเหลืองและกระแสเลือด การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เป็นเพราะเซลล์ที่ปกติถูกกระตุ้นหรือถูกพิษทำให้ส่วนประกอบของเซลล์ (DNA หรือ Gene) เปลี่ยนไปกลายเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ

โดยทั่วไปเราแบ่งมะเร็งของปอดเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มซึ่งเซลล์ของมะเร็งเป็นเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) และกลุ่มที่เซลล์ของมะเร็งไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC)

1. กลุ่มมะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) พบราวๆ 15-20% มะเร็งพวกนี้แพร่ไปเร็ว แม้ว่าเมื่อแรกพบมะเร็งจะยังมีก้อนเล็กแต่ก็มักแพร่กระจายไปแล้ว การรักษามะเร็งพวกนี้จึงมักเป็นการรักษาทางยา

2. กลุ่มมะเร็งชนิดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC) พบประมาณ 80% ของมะเร็งปอด พวกนี้การพยากรณ์โรคดีกว่าและมีชีวิตอยู่ได้นานกว่ากลุ่มมะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็กมาก แบ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มมะเร็งชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็กตามลักษณะของเซลล์ได้คือ

- เป็นเซลล์ชนิด Squamous Cell Carcinoma ประมาณ 40-45% มะเร็งพวกนี้สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่มาก มักพบในปอดส่วนกลางใกล้ๆ ขั้วปอด - เป็น Adenocarcinoma ประมาณ 25-30% มักพบในปอดส่วนนอก และอาจพบได้ในคนที่ไม่สูบบุหรี่ และอาจเกิดจากแผลเป็นในปอด เช่น แผลเป็นวัณโรค แผลเป็นจากปอดบวม เป็นต้น - เป็น Large Cell Undiferentiated Cancer ประมาณ 5-10% - เป็น Bronchioloalveolar Carcinoma น้อยกว่า 5% - เป็นชนิดอื่นๆ น้อยกว่า 5%

มะเร็งของเยื่อหุ้มปอด หรือ Mesothilioma พบได้ในพวกทำงานอุสาหกรรมหรือเหมืองแร่โดยเฉพาะเกี่ยวกับผง Abestos

สาเหตุของมะเร็งปอด



ภาพประกอบ บุหรี่ อีกต้นเหตุของมะเร็งปอด.jpg
สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมีหลายอย่าง ที่สำคัญคือ การสูบบุหรี่ ประมาณ 80% ของมะเร็งปอดเกิดในผู้ที่สูบบุหรี่ ยิ่งสูบวันละมากๆ และสูบมานานยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น

ผงแอสเบสตอส (Asbestos) เป็นสารที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ ผู้ที่ทำงานในโรงงานที่มีการใช้ แอสเบสตอสในอุตสาหกรรมนั้นๆ รวมทั้งใช้เป็นส่วนประกอบของๆ ที่ใช้ในบ้านด้วยทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ คนงานที่ทำงานในโรงงานอุสาหกรรมนั้นมีโอกาสเป็นมะเร็งในปอดมากกว่าคนปกติถึง 7 เท่า และถ้าสูบบุหรี่ด้วยโอกาสเป็นมากกว่าถึง 50-90 เท่า นอกนั้นอาจทำให้เกิดมะเร็งของเยื่อหุ้มปอด (Mesothelioma)
เรดอน (Radon) เป็นก๊าซกัมมันตภาพรังสี ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของยูเรเนี่ยม ซึ่งหลายแห่งมีสารยูเรเนี่ยมอยู่ในดินจะมีก๊าซเรดอนสูงกว่าปกติรวมทั้งในเหมืองบางแห่ง โอกาสที่มีเรดอนสูงกว่าปกติจะทำให้คนเป็นมะเร็งได้โดยเฉพาะถ้าสูบบุหรี่ด้วยยิ่งเป็นมากขึ้น
สารในที่ทำงานที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ และเราควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ยูเรเนี่ยม (Uranium), สารหนู (Arsenic), พลาสติก (Vinyl), คลอไรด์ (Chloride), นิเกิล (Nickel Chromates), ผลิตภัณท์จากถ่านหิน (Coal Products), ควันพิษมัสตัส (Mustard Gas), อีเธอร์ (Chloromethyl Ethers), น้ำมันเบนซิน (Gasoline), ควันท่อไอเสียจากน้ำมันดีเซล (Diesel Exhaust)
กัญชา (Marijuana) บุหรี่กัญชาจะมีน้ำมันดิบปนมากกว่าบุหรี่ธรรมดา และยังมีสารอื่นที่ทำให้เกิดมะเร็งร่วมอยู่ด้วย ยิ่งกว่านั้นผู้สูบกัญชามักสูดควันเข้าไปลึกและกลั้นหายใจค้างไว้ทำให้ควันถึงปอดได้มากกว่า
รังสีรักษามะเร็ง (Radiotherapy) ผู้ที่ต้องฉายแสงรังสีเพื่อรักษาโรคในทรวงอกด้วยรังสีรักษาอาจเกิดมะเร็งของปอดได้ โดยเฉพาะถ้าสูบบุหรี่ยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น
โรคอื่นๆ โรคที่ทำให้เกิดมีแผลเป็นในปอด เช่น วัณโรค ปอดบวมบางอย่าง อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งในปอด บางโรคที่เกิดจากการหายใจเอาสารแร่เข้าไปในปอดอาจมีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น เช่น โรคซิลิโคซีส
ประวัติครอบครัว ถ้ามีบุคลในครอบครัวที่มีสายเลือดเดียวกันเป็นมะเร็งปอด เรามีโอกาสเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อาหาร มีรายงานแนะว่า ผู้ที่ทานอาหารที่มีผลไม้และผักน้อยมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากขึ้น และมีผู้เชื่อว่าอาหารพวกนี้อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งของปอด
มลภาวะเป็นพิษ อาจทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นแต่น้อยกว่าสูบบุหรี่ ผู้ที่อยู่ในเมืองมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่อยู่ในชนบท 1.2-2.3 เท่า



ผู้ป่วยเป็นมะเร็งปอดมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าไร


ภาพประกอบ ก้อนมะเร็งในปอด
ผู้ป่วยเป็นมะเร็งของปอดจะมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าไร แล้วแต่เวลาที่ตรวจพบและเริ่มรักษาว่ามะเร็งนั้นอยู่ในระยะไหน การแบ่งระยะของมะเร็งจึงมีความสำคัญในการพยากรณ์โรคโดยเฉพาะมะเร็งชนิดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC) ส่วนมะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) นั้นการแบ่งระยะของโรคมีความสำคัญน้อยกว่าเพราะโรคแพร่เร็วและผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ระยะสั้นๆ หลังเป็นโรค การรักษาก็ยังไม่ได้ผลดี

มะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) นั้นการแบ่งระยะของโรคเราแบ่งออกเป็นเพียง 2 ระยะเท่านั้นคือ



ระยะโรคจำกัดที่ (Limited Stage) หมายถึง มะเร็งอยู่ในปอดข้างหนึ่งและถ้าไปที่ต่อมน้ำเหลืองก็ไปที่ทรวงอกด้านเดียวกัน ผู้ป่วยพวกนี้มีชีวิตอยู่ได้ 2 ปีราวๆ 20%
ระยะที่โรคกระจายไปแล้ว (Extensive Stage) หมายถึง โรคกระจายไปยังปอดด้านตรงข้ามแล้ว หรือกระจายไปอวัยวะอื่นแล้ว ผู้ป่วยพวกนี้อยู่ได้ 2 ปีประมาณ 5%

สำหรับมะเร็งชนิดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC) นั้นการพยากรณ์โรคดีกว่ามากโดยเฉพาะผู้ป่วยที่พบในระยะแรก (Stage I)


การแบ่งระยะของมะเร็งพวกนี้ที่นิยมกันใช้เรียกว่า TNM System (T คือ ขนาดของก้อนมะเร็ง, N คือ ไปต่อมน้ำเหลืองแล้วหรือไม่ ไปที่ต่อมไหน, M คือ มีการกระจายไปอวัยวะอื่นแล้วหรือยัง)


Stage 0 : มะเร็งพบในหลอดลมแต่ไม่กินลึกลงไปในปอด อยู่เฉพาะที่ และไม่กระจายไปที่ใด (Carcinoma in Situ)
Stage I : มะเร็งจำกัดอยู่ในปอด ยังไม่กระจายแพร่ออกไป ก้อนมะเร็งจะโตเท่าไรก็ได้
Stage II : มะเร็งแพร่กระจายไปในต่อมน้ำเหลืองในปอดข้างเดียวกันแล้ว
Stage IIIA : มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองรอบๆ หลอดลม อาจลามไปถึงทรวงอก และกระบังลมข้างเดียวกัน
Stage IIIB : มะเร็งกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ปอดด้านตรงข้าม และที่คอ
Stage IV : มะเร็งแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นในร่างกายแล้ว
อัตราการตายขึ้นอยู่กับระยะของโรค รายงานจากสมาคมโรคมะเร็งของสหรัฐฯ ประมาณว่าผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ 5 ปี ถ้าผู้ป่วยอยู่ใน : Stage I = 47%, Stage II = 26%, Stage III = 8%, Stage IV = 2% ผู้ป่วยใน Stage I นั้นขนาดของก้อนมะเร็งมีความสำคัญมาก ก้อนเล็กมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าก้อนโต


อาการของมะเร็งปอด
อาการของมะเร็งปอดเป็นอาการของปอด ของตัวมะเร็งเองและจากการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น


อาการทางปอด มี ไอ ไอมีเสมหะ ไอเป็นเลือด เหนื่อย เจ็บหน้าอก ไข้อาจเป็นจากการติดเชื้อหรือจากมะเร็งก็ได้
อาการจากมะเร็ง มี เพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
อาการจากการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น เช่น ไปต่อมน้ำเหลืองจะมีต่อมน้ำเหลืองโต บางคราวอาจอุดหลอดเลือดที่พบบ่อยคือ อุดหลอดเลือดดำที่คอทำให้เลือดคั่งบวมที่หน้า อาจร่วมกับอาการอื่น ไปที่เยื่อหุ้มปอดทำให้มีน้ำในช่องเยื่อบุหุ้มปอด (Pleural Effusion) ไปที่สมอง มีปวดหัว ชัก อัมพาต ซึม หมดสติ ไปที่กระดูก มีปวดกระดูก กระดูกหัก ไปที่ตับ มีตัวเหลือง ตาเหลือง

ผู้ป่วยบางรายมีอาการที่เรียกว่า Paraneoplastic Syndrome ซึ่งเรายังไม่รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการพวกนี้แน่นอน เช่น มีไข้หนาวสั่น ปวดข้อและกล้ามเนื้อ ข้อบวม ระดับแคลเซี่ยมในเลือดสูง และระดับฮอร์โมนบางตัวในเลือดสูง อาการเหล่านี้จะหายไปถ้าเราตัดก้อนมะเร็งออกไป และถ้าโรคกลับมาอาการก็จะกลับมาใหม่ได้




ใครบ้างควรตรวจและหลังตรวจจะต้องทำอะไรต่ออีกบ้าง





ภาพประกอบ แนวโน้มมะเร็งปอดในเพศหญิงที่มีอัตราเพิ่มขึ้น
ผู้ที่ควรตรวจก็คือ


ผู้สูงอายุ อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงมีโอกาสเป็นโรคสูงตามที่กล่าวมาข้างต้นโดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัด
ผู้ที่มีอาการสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งปอดตามที่กล่าวมาแล้ว เช่นกัน
ผู้ที่มีประวัติมะเร็งในครอบครัวสายตรง



ผู้ป่วยที่ตรวจแล้วพบว่าผลปกติก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงอาจตรวจซ้ำปีละครั้ง ผู้ป่วยที่พบว่ามีก้อนในปอด แพทย์จะพิจารณาดูว่าโอกาสที่ก้อนนั้นจะเป็นมะเร็งมากน้อยแค่ไหน ถ้าโอกาสเป็นไปได้มากว่าเป็นมะเร็งและก้อนโตอาจพิจารณาตัดออก ถ้าก้อนไม่โตมากและยังสงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งได้ ก็อาจพิจารณาตัดชิ้นเนื้อไปตรวจพิสูจน์ก่อน ถ้าก้อนมีขนาดเล็กวินิจฉัยโรคไม่ได้แน่นอนก็อาจรอดูโดยทำเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของปอดหรือใช้ Spiral CT ซ้ำในเวลา 6-12 เดือนว่าก้อนโตขึ้นหรือไม่ อาจต้องทำซ้ำอีกครั้งถ้ายังไม่แน่ใจอีก


ความก้าวหน้าของการตรวจในอนาคต
โดยที่มะเร็งปอดเป็นโรคพบบ่อยและร้ายแรงจึงมีการปรับปรุงหาวิธีตรวจที่พบผู้ป่วยให้เร็วขึ้น และผลแน่นอนขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น


การตรวจยีนที่ผิดปกติ เซลล์ของมะเร็งเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ ดังนั้นจึงมียีนที่ผิดปกติ (Oncogene) ซึ่งมีนักวิจัยพบว่ามีอย่างน้อย 26 ยีน การตรวจหายีนเหล่านี้อาจทำให้พบมะเร็งระยะแรกเริ่มได้
การตรวจเลือดเพื่อหาผลิตภัณฑ์จากเซลล์มะเร็งที่เรียกว่า Marker ชนิดต่างๆ เช่น การตรวจเลือดที่หา Anti-malignin Antibody Screen หรือ AMAS โดยเซลล์มะเร็งจะหลั่งสาร malignin ซึ่งเป็น antigen ออกมาในเลือด โดยที่ไม่มีการสร้างในเซลล์ปกติ การตรวจผลโดยใช้ *antibody เข้าไปทำปฏิกิริยาดูว่าในเลือดมีสารนี้หรือไม่
การปรับปรุงเครื่องเอกซ์เรย์ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

PET Scan (Positron Emmision Tomography)
เป็นเครื่องมือใหม่ ไม่เหมือนเอกซ์เรย์ ไม่เหมือนเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (Computer Tomography) ไม่เหมือน Magnetic Resonance Image (MRI) หรือ อัลตร้าซาวด์ หลักการคือ การตรวจหาเซลล์ที่มีเมตะบอลลิสม์ผิดปกติ เป็นการตรวจหาการทำงานของเซลล์และผ่านกลวิธีทำให้ออกมาเป็นรูปให้เราเห็น ในการตรวจมะเร็งปอดเราใช้น้ำตาล เมื่อเราทำให้น้ำตาลนั้นจับกับสารกัมมันตภาพ (Glucose 2-fluoro-2-deoxy-D-glucose หรือ FDG) ฉีดเข้าไปในเลือด เซลล์ไหนที่มีเมตะบอลลิสม์สูงจะใช้น้ำตาลมาก เช่น เซลล์ของมะเร็ง เซลล์ไหนที่ตายหรือมีเมตะบอลลิสม์ต่ำจะใช้น้ำตาลน้อย เมื่อใช้ Radiotracer จับปริมาณกัมมันตภาพ เราจะพบว่าก้อนมะเร็งนั้นมีกัมมันตภาพสูงกว่าเนื้อธรรมดาและใช้ตรวจทั้งตัวก็ได้





--------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

- โรงพยาบาลกรุงเทพ

- คลังปัญญาไทย




Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2551 0:58:52 น. 3 comments
Counter : 746 Pageviews.

 
น่ากลัวนะคะ
มาทักทายคะ



โดย: patchchoy วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:14:15:33 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้น่ะค่ะ


โดย: ตุ๊กตา IP: 136.8.5.100 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:02:39 น.  

 
ขอความหมาย paraneopastic syndrome


โดย: เด็กรังสี IP: 222.123.168.196 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:28:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.