เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
29 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 

เทวาลัย อาคารแรกแห่งรั้วจามจุรี สู่อาคารมหาจักรีสิรินธร















หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติได้ 52 วัน ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงพระราชดำริที่จะขยายการจัดการศึกษาของกุลบุตรให้มีความรู้ความสามารถเพื่อรับราชการในทุกกระทรวงทบวงกรม

ในการจัดตั้งโรงเรียน ข้าราชการพลเรือนฯนี้เป็นการรวมโรงเรียนที่สอนวิชาต่าง ๆ ที่แยกย้ายกันอยู่ในขณะนั้น ให้มารวม ณ ที่แห่งเดียวกันและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ กำหนดที่ดินในเขตพระคลังข้างที่ที่สระปทุมเป็นเขตโรงเรียนมีเนื้อที่รวม 1,309 ไร่ ได้พระราชทานเงินที่เหลือจากราษฎรเรี่ยไรกันสร้างพระบรมรูปเป็นอนุสาวรีย์ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นทุนทรัพย์สำหรับก่อสร้างมหาวิทยาลัย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ Dr.Carl Doring นายช่าง ชาวเยอรมัน ซึ่งรับราชการที่ กระทรวงมหาดไทย และ Dr. Edward Healey นายช่างชาวอังกฤษที่รับราชการอยู่ที่ กระทรวงศึกษาธิการขณะนั้นศึกษาลักษณะอาคารที่เมืองสุโขทัยและสวรรคโลกเพื่อออกแบบให้คล้ายคลึงกัน

หลังจากก่อสร้างรากฐานอาคารแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรง วางศิลาพระฤกษ์เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 ต่อมาวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นอยู่ในกระทรวงธรรมการ

อาคารหลังแรกของจุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้ต่อมาได้ใช้เป็นสถานที่เรียนของคณะอักษรศาสตร์ซึ่งเป็นหนึ่งใน คณะแรก ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตอักษรศาสตร์ มักเรียกอาคารเรียนของตนว่า เทวาลัย โดยไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ขนานนาม เข้าใจกันว่าคงเป็นที่รูปร่างลักษณะของ ตัวอาคารที่คล้ายคลึงกับที่อยู่อาศัยของเทวดา จึงพากันเรียกว่า เทวาลัย

เทวาลัย หรือตึกอักษร ศาสตร์ มีลักษณะทางสถาปัตย กรรม ประติมากรรมงดงามและมีกลิ่นอายประวัติศาสตร์จารึกอยู่ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นศิลาพระฤกษ์ ตราแผ่นดินประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่หน้าบันมุขด้านเหนือ ตราจักรตรี ประจำพระบรมราชจักรีวงศ์ที่อกครุฑหน้าบันทิศเหนือและทิศใต้ นอกจากนี้ยังมีรูปแกะสลักพระสุรัสวดี (เทพีแห่งวิชาการ) นั่งบนหลังนกยูง ซึ่งนิสิตคณะอักษรศาสตร์ถือเป็นสัญลักษณ์ของคณะ มีอรุณเทพบุตร นาค เหรา มังกร ลวดลายดอกบัว กลีบบัว ที่เพดาน ลายกนกงดงามทั้งซุ้มหน้าบัน คันทวยหัวเสา และกรอบช่องลม ล้วนเป็นประติ มากรรมที่งดงามและทรงคุณค่าของชาติ

สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ทรงศึกษาในจุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัยและทรงศึกษา ณ เทวาลัย แห่งนี้ ทรงเป็นนิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นที่ 41 ทรงรับพระราชทานปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 และทรงรับพระราชทานปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524

เก้าสิบปีที่ผ่านมา จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนาขึ้น ทั้งด้านความรู้และจำนวนนิสิต มีคณะใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น มีอาคารเรียนเพิ่มขึ้น ปัจจุบันอาคารเทวาลัยของคณะอักษร ศาสตร์ถูกโอนเป็นส่วนกลางของมหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์เหลืออาคารเรียนเพียง ตึกเดียวที่รับโอนจากคณะพาณิชยศาสตร์เดิม ซึ่งสภาพชำรุดทรุดโทรมและมีห้องเรียนไม่พอเพียงสำหรับใช้ในการเรียนการสอน

ในปีนี้จุฬาลงกรณ์รมหาวิทยาลัยจึงได้อนุมัติงบประมาณเพื่อสร้างตึกอักษรศาสตร์ใหม่โดยรื้อตึกอักษรศาสตร์ (4) ออก และจะสร้างตึกใหม่ขึ้นแทนที่โดยอาคาร หลังใหม่นี้ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่า อาคารมหาจักรีสิรินธร มีกำหนดแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2552

ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นและเป็นปัญหาเร่งด่วน คือการจัดหาอุปกรณ์ในการเรียนการสอนและอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายซ่อม แซม บำรุงรักษาอาคารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงพระราชดำริให้ตั้ง มูลนิธิมหาจักรีสิรินธรเพื่อคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นประธานมูลนิธิเพื่อนำดอกผลสำหรับเป็นค่าใช้จ่าย ในการดูแลคณะอักษรศาสตร์ ให้เป็นสถานศึกษาที่ยั่งยืนต่อ ไป

เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริและแสดงกตเวทิตารำลึกถึงพระคุณของคณะอักษรศาสตร์อันเป็นที่ประสิทธิ์ประสาทวิชา ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550 คณะอักษรศาสตร์ และสมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งอักษรศาสตรบัณฑิตรุ่น 41 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ขอพระราชทานพระราชานุญาต สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดงาน วันเทวาลัยรำฦก : รวมพลคนอักษรฯ ขึ้น ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา และขอพระราชทานพระมหากรุณาให้ทรงเป็นประธานในการจัดงาน เพื่อให้นิสิตเก่าและนิสิตใหม่มีส่วนสนับสนุนการดำเนินงาน การพัฒนาการเรียนการสอน สร้างความรัก

และความผูกพันกับคณะอักษรศาสตร์อันเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ และเผยแพร่ข้อ มูลข่าวสารให้ ผู้ที่มีจิตศรัทธาได้มีส่วนช่วยสนับสนุนหารายได้สมทบทุนมูลนิธิมหาจักรีสิรินธร เพื่อคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โอกาสนี้ขอเชิญชวน นิสิตอักษรศาสตร์ทุกรุ่นและผู้มีจิตกุศลร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์ตามกำลังศรัทธาสมทบทุนมูลนิธิมหาจักรีสิรินธรฯ โดยสอบถามเพิ่มเติมที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ โทร.0-2218-4885 และสมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ โทร.0- 2253-2059.


จากเดลินิวส์ออนไลน์





Various - 01 ลาวสว...




 

Create Date : 29 พฤศจิกายน 2550
0 comments
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2550 18:25:53 น.
Counter : 8049 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.