<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
28 มิถุนายน 2553

คนอินโดฯพูด2ครั้ง ความหมายไม่เหมือนเดิมนะ

   ในภาษาอินโดนีเซีย มีรูปแบบการนำคำศัพท์มาใช้พูดซ้ำ2ครั้งแล้วทำให้ความหมายเปลี่ยนไปได้หลายรูปแบบ แบบแรกหลายๆคนที่ศึกษาภาษานี้มาบ้างแล้วคงทราบดี นั่นคือการใช้คำนามซ้ำ2ครั้งแล้วทำให้คำนั้นเปลี่ยนจากเอกพจน์เป็นพหูพจน์ได้ เหมือนกับภาษาอังกฤษที่เติม S เช่น


    Gelas <เกอ-ลัส> แก้ว พหูพจน์คือ Gelas-gelas <เกอ-ลัส-เกอ-ลัส> หมายถึงแก้วหลายๆใบ
    Buku  <บู-คู> หนังสือ พหูพจน์คือ Buku-buku  <บู-คู-บู-คู> หนังสือหลายๆเล่ม


    นอกจากการทำเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์แล้ว ยังมีคำบางคำที่ใช้ซ้ำกัน2ครั้งแล้วความหมายไม่ได้เกี่ยวกันเลย เช่นคำว่า Undang <อุน-ดัง> เป็นคำกริยาแปลว่า "เชิญ" แต่เมื่อใช้ซ้ำกันเป็น Undang-undang จะหมายถึง "กฏหมาย" (ความจริง Undang อย่างเดียวก็แปลว่ากฏหมายได้ แต่ไม่นิยมใช้)


   อีกคำหนึ่งที่เด่นชัดกว่าคำแรกก็คือคำว่า Jangan <จา-งัน> ที่แปลว่า "อย่า,ห้าม" แต่พอเอามาใช้ซ้ำกัน Jangan-jangan ความหมายไหงกลายเป็น "สงสัย" ได้หว่า เช่น 


  Jangan membuang sampa di sungai!
  Jangan-jangan mereka tidak paham.
 
<จางัน เมิม-บวง ซัม-ป้า ดิ สุ-ไหง. จางัน-จางัน เมอ-เร-กา ติ-ดัก ปา-ฮาม >
 
แปลว่า ห้ามทิ้งขยะลงแม่น้ำ  สงสัยไอ้พวกนี้คงไม่เข้าใจ


  นอกจากนี้คำว่า Tiba <ติ-บา> ที่แปลว่า "มาถึง" แต่ Tiba-tiba <ติบา-ติบา> กลับแปลว่า "ทันใดนั้น" หน้าตาเฉยเลย


  Ketika guru tiba di kelas. 
  Tiba-tiba,ada suara di belakang ruangan.
  <เคอ-ติ-คา กู-รู ติ-บา ดิ เคอ-ลัส. ติบา-ติบา อะ-ดา ซัว-รา ดิ เบอ-ลา-คัง รวง-งัน>
  ขณะที่คุณครูเข้ามาในห้อง ทันใดนั้นก็มีเสียงดังขึ้นข้างหลังห้อง


  ตอนหน้าจะมาเล่าต่อเรื่องคำซ้ำในรูปแบบอื่นๆครับ โอกาสนี้ต้องขอตัวก่อนครับจะไป Jalan-jalan <จาลัน-จาลัน> เที่ยว  ที่  jalan <จาลัน> ถนน รัชดา ครับ. Smiley


ศัพท์เพิ่มเติม
Buang <บวง>  ทิ้ง
Sampa <ซัม-ป้า> ขยะ
Sungai <สุ-ไหง> แม่น้ำ
Mereka <เมอ-เร-กา> พวกเขา,พวกมัน
Paham <ปา-ฮาม> เข้าใจ
Ketika <เคอ-ติ-คา> ขณะที่
Guru <กู-รู> ครู
Kelas <เคอ-ลัส> ห้องเรียน
Suara <ซัว-รา> เสียง
Belakang <เบอ-ลา-คัง> ข้างหลัง
Ruangan <รวง-งัน> ห้อง





Create Date : 28 มิถุนายน 2553
Last Update : 28 มิถุนายน 2553 15:58:48 น. 2 comments
Counter : 1992 Pageviews.  

 
อีกคำหนึ่งที่เด่นชัดกว่าคำแรกก็คือคำว่า Jangan <จา-งัน> ที่แปลว่า "อย่า,ห้าม" แต่พอเอามาใช้ซ้ำกัน Jangan-jangan ความหมายไหงกลายเป็น "สงสัย" ได้หว่า เช่น

*** อาจจะเป็นได้ว่า ห้ามมากๆ ก็เลยสงสัยว่าห้ามทำไมเหรอป่าวคะ ***


เป็นเทคนิคการจำคำศัพท์ส่วนตัวค่ะ เวลาเรียนภาษาเราชอบหาเทคนิคการจำแบบฮาๆ จะได้ไม่เครียด และก็ทำให้จำแม่นดีด้วยค่ะ ตอนเรียนภาษาจีน ก็ชอบใช้เทคนิคการจำแบบนี้เหมือนกันค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ คุณ Maniac ไว้จะแวะมาอ่านบ่อยๆ นะคะ เพราะมีเพื่อนอินโดอยู่คนนึงเหมือนกันค่ะ เผื่อจะไว้ใช้พูดกับเค้าบ้าง ขอบคุณนะคะ


โดย: yzai วันที่: 28 มิถุนายน 2553 เวลา:19:54:28 น.  

 
มีประโยชน์มากครับ ผมอยากเรียนภาษาอินโดไว้คุยกับพี่ชายชาวอินโดครับ


โดย: pop IP: 118.173.88.158 วันที่: 13 ตุลาคม 2553 เวลา:14:19:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Maniac2844
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




** บทความในBlog นี้เขียนขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้แก่ผู้ที่สนใจ ขอสงวนสิทธิ์ในการนำไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เขียน **
New Comments
[Add Maniac2844's blog to your web]