เพิ่งรู้ว่าเหนื่อยแค่ไหน ที่ต้องใช้ชีวิตลำพัง ฟ้าทุกเช้ามันอ้างว้าง ตั้งแต่เธอจากไป ชีวิตต้องเดินก็รู้ แต่ไม่รู้จะเดินเพื่อใคร ดาวบนฟ้าคว้ามาได้ ใครจะร่วมชื่นชม ยามค่ำคืนยังยืนมองขอบฟ้า เธอสบตากับฉันบ้างหรือเปล่า คิดถึงเธอ คนที่ดีที่สุด ถึงแม้ได้พูดในวันที่มันสาย ยังคงรักเธอ เธอได้ยินฉันมั้ย อยู่แห่งไหน หัวใจมีแต่เธอ
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2558
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
1 สิงหาคม 2558
 
All Blogs
 

&&& ปุ๋ยมูลไส้เดือน น้ำหมักมูลไส้เดือน แพ๊คคู่ ขนาดทดลองใช้ &&&




ประโยชน์ของมูลไส้เดือน(Worm Casting)

ประโยชน์ของ ไส้เดือนดิน

บทบาทด้านที่เป็นประโยชน์ของ ไส้เดือนดิน

บทบาท ของไส้เดือนดินจะ ถูกมองว่ามีประโยชน์มากกว่า มีโทษต่อมนุษย์ โดยเฉพาะไส้เดือนดินจะมีส่วนช่วยทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น โดยการชอนไชทำให้ดินร่วนซุย ทำให้การระบายน้ำและอากาศไปสู่ดินได้ดีขึ้น  ไส้เดือนดินสามารถชอนไชลงใต้ดินได้ลึกกว่า 20 เมตร ซึ่งเป็นการไถพรวนทางธรรมชาติ ที่เครื่องกลทางการเกษตรไม่สามารถทำได้ และยังช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์โดยการช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารแก่ดิน นอกจากนี้ยังพบว่าไส้เดือนดินมีประโยชน์ต่อพืชในการช่วยกระตุ้นการเจริญเติบ โตของพืชด้วย สามารถบอกถึงการปนเปื้อนสารเคมีในดิน ด้วยการดูจำนวนของไส้เดือนในดิน ถึงปริมาณความหนาแน่นของประชากรไส้เดือน

บทบาทด้านที่เป็นประโยชน์ของไส้เดือนดิน

มูล ไส้เดือนนอกจากจะมีคุณสมบัติในการปรับปรุงโครง สร้างของดินและให้ธาตุอาหารแก่พืชเหมือนปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไปแล้ว มูลไส้เดือนยังมีสิ่งที่เหนือกว่าปุ๋ยทั่วไปดังนี้

1. มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์แก่พืชอยู่เป็นจำนวนมาก
2. มีฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของพืช (growth hormones) และโฮโมนที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ออกซิน (auxins) ,จิบเบอริลิค แอซิด (gibberellic acid), ไคเนติน (kinetins)และไซโตไคนิน (cytokinin)
3. มีเอนไซม์ต่างๆเช่น เอนไซม์ย่อยฟอสแฟต(phosphates) เอนไซม์ย่อยเซลลูโลส(cellulase) และไคติเนส(kitinase)

ดังนั้น การนำมูลไส้เดือนไปโรยหน้าดินหรือผสมกับดินที่ใช้ปลูกไม้กระถาง จะทำให้ต้นไม้งอกงามโตเร็ว อีกทั้งยังเหมาะในการผสมดินเพื่อเพาะเมล็ดพืชและเพาะชำกิ่งพันธุ์ไม้ หากถามว่าในการใช้ผสมดินปลูกพืช ต้องใช้มากน้อยแค่ไหน คำตอบไม่มีที่แน่นอนตายตัวขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของดินเดิม จะใช้มากถึง 50 % ก็ไม่เป็นอันตรายต่อพืช(แต่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ คือเป็นโรคกระเป๋าแห้ง เพราะมูลไส้เดือนมีราคาค่อนข้างสูง) ถ้าแนะนำกลางๆก็คือใช้ในอัตรา 10-30 % ของดินผสม หากที่บ้านท่านมีอ่างบัว ลองเอากระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษทิชชูห่อมูลไส้เดือนสัก 1 กำมือ ฝังลงในกระถางบัว รับรองได้ว่าไม่เกิน 15 วันต่อมาบัวจะสมบูรณ์ออกดอกสวยงามทันตาเห็น

มูลไส้เดือนไม่มีกลิ่น และพืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ขบวนการหมักเสร็จสิ้นเหมือน ปุ๋ยมูลสัตว์อื่นๆ เพราะขบวนการหมักเสร็จสิ้นในตัวไส้เดือนแล้ว

แนวทางการนำไส้เดือนดินมาใช้ประโยชน์

1) นำมาย่อยสลายขยะอินทรีย์และเศษอาหารจากบ้านเรือนเพื่อผลิต ปุ๋ยหมักมูล ไส้เดือนดิน นำมาใช้ในการ เกษตรลด ต้นทุนการซื้อปุ๋ยเคมี

2) นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีปริมาณเปอร์เซ็นต์โปรตีนที่สูงมากช่วยลดค่าใช้จ่ายในค่า อาหารสัตว์

3) ใช้ฟื้นฟูสภาพดินที่ เสื่อมโทรมเช่นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และเหมืองแร่เก่า

4) ใช้เป็นดัชนีทางสิ่งแวดล้อมในการตรวจสอบธาตุโลหะหนักและ สารเคมีที่ปนเปื้อน จากการเกษตรในดิน

5) ใช้เป็นอาหาร ยาบำบัดโรค ยาบำรุงทางเพศ  หรือ ใช้เป็นวัตถุดิบในวงการเภสัชกรรม และเครื่องสำอาง

6) ใช้ เป็นดัชนีทางสิ่งแวดล้อมในการตรวจสอบธาตุโลหะหนัก และการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในดิน

CREDIT :-

Article Credit : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


----------------------------


สนใจสินค้า ติดต่อ


www.thaieasyplants.com (สั่งซื้อได้เลย) หรือ

www.facebook.com/easyplants (สอบถามในอินบ๊อก) หรือ

Line: kennystonehead





 

Create Date : 01 สิงหาคม 2558
0 comments
Last Update : 1 สิงหาคม 2558 13:44:57 น.
Counter : 1834 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


KowPoad
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




เพิ่งรู้ว่าเหนื่อยแค่ไหน ที่ต้องใช้ชีวิตลำพัง
ฟ้าทุกเช้ามันอ้างว้าง ตั้งแต่เธอจากไป
ชีวิตต้องเดินก็รู้ แต่ไม่รู้จะเดินเพื่อใคร
ดาวบนฟ้าคว้ามาได้ ใครจะร่วมชื่นชม

ยามค่ำคืนยังยืนมองขอบฟ้า
เธอสบตากับฉันบ้างหรือเปล่า
คิดถึงเธอ คนที่ดีที่สุด
ถึงแม้ได้พูดในวันที่มันสาย
ยังคงรักเธอ เธอได้ยินฉันมั้ย
อยู่แห่งไหน หัวใจมีแต่เธอ
Friends' blogs
[Add KowPoad's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.