เพิ่งรู้ว่าเหนื่อยแค่ไหน ที่ต้องใช้ชีวิตลำพัง ฟ้าทุกเช้ามันอ้างว้าง ตั้งแต่เธอจากไป ชีวิตต้องเดินก็รู้ แต่ไม่รู้จะเดินเพื่อใคร ดาวบนฟ้าคว้ามาได้ ใครจะร่วมชื่นชม ยามค่ำคืนยังยืนมองขอบฟ้า เธอสบตากับฉันบ้างหรือเปล่า คิดถึงเธอ คนที่ดีที่สุด ถึงแม้ได้พูดในวันที่มันสาย ยังคงรักเธอ เธอได้ยินฉันมั้ย อยู่แห่งไหน หัวใจมีแต่เธอ
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
17 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 

@@@ ชีวิตนักดนตรีวงโยธวาทิต AC Band @@@

(คัดลอกมานะครับ ไม่ได้เขียนเอง.. แต่ผมเป็นหนึ่งในสมาชิกวงและร่วมเย็นในเย็นวันนั้นด้วย)

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา มีการแสดงคอนเสริต์เล็ก ๆ ในหอประชุมโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งวงโยธวาทิตอัสสัมชัญ หรือบรรดาเด็กอัสสัมรู้จักกันดีในนามของวง เอซีแบนด์
คืนนั้นผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมเป็นส่วนหนึ่งของนักดนตรีเจ็ดสิบกว่าชีวิต ที่ล้วนเป็นศิษย์เก่าเอซีแบนด์ อายุตั้งแต่ยี่สิบกว่าจนถึงห้าสิบปี มาหวนรำลึกถึงความหลังสมัยเป็นนักเรียนนุ่งขาสั้นด้วยการเล่นดนตรียาวนานร่วมหนึ่งชั่วโมง


คนส่วนใหญ่คงรู้จักวงโยธวาทิต หรือวงดุริยางค์ที่เป็นวงเครื่องเป่าประจำโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เครื่องดนตรีหลักประจำวงประกอบด้วย กลองแต็ก กลองใหญ่ ฉาบ คลาริเน็ต ทรัมเป็ต ทรัมโบน ฟลุต แซ็กโซโฟน เฟรนช์ฮอร์น ยูโฟเนียม ฯลฯ
เวลามีงานกลางแจ้งเรามักจะเห็นนักเรียนนักดนตรีวงโยธวาทิตตั้งแต่สามสี่สิบคนไปถึงร้อยกว่าคนจัดแถวเดินอย่างสง่า พร้อมบรรเลงเพลงมาร์ชกระหึ่มนำหน้าขบวนพาเหรด หรือนั่งบรรเลงเพลงตามงานต่าง ๆ สร้างความคึกคักครึกครื้นให้กับผู้คนที่มาร่วมงาน
การก่อตั้งวงโยธวาทิตในอดีตถึงปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นราคาไม่ถูก การตั้งวงดนตรีจึงใช้งบประมาณค่อนข้างสูง แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือการเคี่ยวเข็ญนักเรียนที่มาสมัครเรียนดนตรีให้เป่าให้ได้ และจิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นของครูผู้สอนดนตรีต้องมีความอดทนสูงมากในการสอนนักเรียนเกือบครึ่งร้อยคนให้สามารถเล่นเพลงได้พร้อมเพรียงกันและไพเราะ
วงดนตรีเอซีแบนด์ก่อตั้งโดยนักบวชชาวฝรั่งเศส และสามารถสืบทอดรุ่นต่อรุ่นกันมาตลอด จนสามารถมีอายุยืนนานถึงร้อยปีนับว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดา
เมื่อสามสิบกว่าปีก่อน ผู้เขียนจำได้ว่า วันหนึ่งสมัยเป็นนักเรียนชั้นม.ศ. 1 ได้เดินไปสมัครเล่นดนตรีวงเอซีแบนด์ ด้วยความฝันที่อยากเป่าทรัมเป็ต เพราะรู้สึกว่ามันเท่ห์ดี เผื่อจะเป็นเครื่องมือไปจีบเด็กนักเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ข้าง ๆโรงเรียนได้
ว้นแรก ครูผู้สอนได้ให้รุ่นพี่คนหนึ่งมาเป็นพี่เลี้ยง สอนให้เม้มปาก แต่พอลองเป่าได้สองสามวัน ก็ยังเป่าไม่ออก ครูบอกว่า ริมฝีปากหนาไปไม่เหมาะกับการเป่าแตร และเลือกคลาริเน็ตหรือปี่ฝรั่งมาให้ บอกว่าน่าจะเหมาะกับเธอ
ผู้เขียนหาทราบไม่ว่าคลาริเน็ตถือเป็นเครื่องดนตรีเป่ายากที่สุดชนิดหนึ่ง ทุกวันช่วงพักกลางวันและตอนเย็นหลังเลิกเรียน ผู้เขียนได้เพียรพยายามเป่าปี่ฝรั่งให้มีเสียงออกมา เป่าจนเกือบหน้ามืดเพราะใช้แรงมาก แต่สองอาทิตย์ผ่านไป ก็ยังไม่มีเสียงเล็ดรอดออกมา ขณะที่ริมฝีปากก็แตกเป็นแผลเลือดซึมจากการคาบปี่มานานติดต่อกันหลายวัน
จนเกือบเดือนผ่านไป จึงพอจะเป่าคลาริเน็ตออกมามีเสียง แต่เป็นเสียงที่น่าเกลียดจนคนเป่าก็แทบจะทนความหนวกหูไม่ได้ มีครั้งหนึ่งผู้เขียนเอาไปซ้อมที่บ้านตอนกลางคืน ก็ได้เสียงก่นด่าจากเพื่อนบ้านมาเป็นเครื่องเตือนสติว่าทีหลังอย่าทำ
ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ต้องหัดอ่านโน้ตดนตรีให้เป็น ยิ่งเป็นโน้ตเพลงมาร์ชแล้ว จังหวะเร็ว โน้ตเขบ็ดสองชั้นหรือสี่ชั้นมีเยอะมาก ดูโน้ตกันตาลายไปหมดก็ยังเป่าไม่จบเพลง จนแทบจะบอกอำลาชีวิตนักดนตรีไปหลายครั้งแล้วเพราะความยากเย็นแสนเข็ญ
ตอนนั้นจึงพอเข้าใจได้ว่า ทำไมแรกที่เห็นนักเรียนมาสมัครเล่นดนตรีกันหลายคน แต่เอาเข้าจริงก็ค่อย ๆ หายไปทีละคนสองคน เพราะการเป็นนักดนตรีมันไม่ง่ายอย่างที่คิด
ผู้เขียนอาจจะโชคดีที่ได้รุ่นพี่บางคนที่เสียเวลามานั่งสอนวันละหลายชั่วโมง สอนเทคนิคการเป่าไม่ให้แก้มโป่ง แต่ให้ลมเป่ามาจากท้อง สอนให้ผ่อนลมหายใจเพื่อจะได้ไม่เหนื่อย และสอนการเคาะจังหวะเพลงให้ถูกต้อง สอนการเม้มปากตอนที่เป่าโน้ตเสียงสูง ๆ
แต่ที่สำคัญคือ สอนให้รู้ว่า การเป็นนักดนตรีต้องอดทนมาก ๆ โดยเฉพาะช่วงหกเดือนแรกที่ถือว่ายากที่สุดต้องซ้อมดนตรีทุกวัน วันละหลายเวลา เพื่อให้สามารถเป่าได้อย่างไพเราะและถูกต้อง
ครูดนตรีบอกว่า การเป่าเครื่องดนตรีนั้น หลายคนอาจจะเป่าได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป่าเป็น
หลายคนเป่าได้ถูกต้องตามโน้ตเพลง แต่เป่าไม่เป็น เพราะมันไม่เพราะ
พอหกเดือนผ่านไป รุ่นพี่บอกว่า ผู้เขียนสามารถเข้าวงได้แล้ว วันนั้นดีใจกว่ารู้ผลสอบเสียอีก แต่รู้ตัวว่าเมื่อเป็นสมาชิกวงเต็มตัวแล้ว ยิ่งต้องซ้อมให้มาก ๆ เพราะการเป่าคลาริเน็ตร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ อีกสี่สิบกว่าชิ้น จำต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม ขณะบรรเลงเพลง ต้องเหลือบตาจากโน้ตคอยดูคอนดักเตอร์ว่าท่อนไหนเล่นช้า เล่นเร็ว เล่นดังหรือเล่นเสียงเบา ความไพเราะของบทเพลงนอกจากจะเป่าให้ถูกต้องแล้ว ยังต้องสามารถประสานเสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆให้กลมกลืนด้วยการนำของคอนดัคเตอร์
ห้าปีตั้งแต่ชั้นมศ.1-5 จนจบการศึกษาที่มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของวงเอซีแบนด์ ได้สอนให้ผู้เขียนรู้จักฟังว่า อะไรคือความไพเราะของบทเพลง อะไรคือความงดงามของเสียงดนตรี และความสุขของการเล่นดนตรีคืออะไร
แต่เหนืออื่นใดชีวิตนักดนตรีสอนให้ผู้เขียนใจเย็นโดยไม่รู้ตัว เรียนรู้ที่จะอดทน เพื่อเป้าหมายข้างหน้า สอนให้รู้จักการทำงานเป็นทีม เพื่อความสำเร็จของทุกคน
ครั้งหนึ่งของชีวิตนักดนตรีวงโยธวาทิตในวัยเด็กได้ให้อะไรกับชีวิตข้างหน้าอย่างที่คาดไม่ถึงจริง ๆ

กรุงเทพธุรกิจ 16 กพ. 55




 

Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2555
0 comments
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2555 0:39:51 น.
Counter : 2635 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


KowPoad
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




เพิ่งรู้ว่าเหนื่อยแค่ไหน ที่ต้องใช้ชีวิตลำพัง
ฟ้าทุกเช้ามันอ้างว้าง ตั้งแต่เธอจากไป
ชีวิตต้องเดินก็รู้ แต่ไม่รู้จะเดินเพื่อใคร
ดาวบนฟ้าคว้ามาได้ ใครจะร่วมชื่นชม

ยามค่ำคืนยังยืนมองขอบฟ้า
เธอสบตากับฉันบ้างหรือเปล่า
คิดถึงเธอ คนที่ดีที่สุด
ถึงแม้ได้พูดในวันที่มันสาย
ยังคงรักเธอ เธอได้ยินฉันมั้ย
อยู่แห่งไหน หัวใจมีแต่เธอ
Friends' blogs
[Add KowPoad's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.