Group Blog
 
 
มิถุนายน 2554
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
19 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
ใครๆ ก็ทำโครงการอวกาศที่บ้านได้

อยากจะคุยกับนักบินอวกาศไม่ต้องไปถึงศูนย์ควบคุมของนาซา อยากได้ภาพอวกาศก็ไม่จำเป็นต้องสร้างสถานีรับสัญญาณ เรื่องเหล่านี้ทำได้เองที่บ้าน ตัวแทนเยาวชน “ทีมทีเอสอาร์” ที่ประสบความสำเร็จในการปล่อยบอลลูนขึ้นไปเก็บภาพ “ขอบอวกาศ” ยืนยัน

“อวกาศใกล้ตัวกว่าที่คิด” ความเห็นจาก พลกฤษณ์ สุขเฉลิม สมาชิกทีมทีเอสอาร์ (Thailand Near Space Research Group: TSR) ซึ่งเป็นเยาวชนกลุ่มแรกที่ประสบความสำเร็จในการปล่อยบอลลูนฮีเลียมขึ้นไปบันทึกภาพขอบอวกาศ (Near Space) และเขายังบอกอีกว่ามีกิจกรรมด้านอวกาศหลายอย่างที่สามารถทำได้ที่บ้านด้วยอุปกรณ์ง่ายๆ

การพูดคุยกับนักบินอวกาศเป็นหนึ่งในกิจกรรมอวกาศที่เราทำได้ที่บ้าน พลกฤษณ์ยืนยันและบอกกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า เขาเริ่มคุยกับนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) ครั้งแรกเมื่อประมาณ ม.ต้น โดยใช้ “วิทยุ” เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อ ซึ่งบนสถานีอวกาศมีเครื่องส่งสัญญาณวิทยุโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุสมัครเล่น

“เราคุยกับเขาได้เพราะสถานีอวกาศวนรอบโลกตลอดเวลา ผ่านไทยวันละหลายรอบ ผ่านหลังคาบ้านเราไป การคุยกับนักบินอวกาศก็เหมือนเราตะโกนคุยกับคนที่ขับรถผ่านหน้าบ้านเรา ถ้ารู้เวลาที่แน่นอนว่าเขาขับผ่านหน้าบ้านเราเมื่อไร เราก็ออกไปคุยกับเขา แต่ก่อนที่เราจะคุยกับนักบินอวกาศเราต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักวิทยุสมัครเล่นก่อน” พลกฤษณ์ ซึ่งตอนนี้เป็นนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ปี 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกล่าว

พลกฤษณ์บอกว่าเรามีเวลาคุยกับนักบินอวกาศเมื่อสถานีอวกาศผ่านประเทศไทยประมาณ 10 นาที ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่านักบินอวกาศมีเวลาว่างมาคุยกับเราหรือไม่ และยังมีนักวิทยุสมัครเล่นอีกกลายคนที่พยายามติดต่อกับนักบินอวกาศ ซึ่งมากมักจะถามว่า “รับสัญญาณได้ไหม” “กินอย่างไร” และ “อยู่อย่างไร” เป็นต้น แต่กว่าที่เขาจะคุยได้กับนักบินอวกาศนั้นต้องใช้ความพยายามเป็น 1,000 ครั้ง และนักบินอวกาศก็ตอบกลับมาด้วยการเรียกเขาที่เป็นรหัสของนักวิทยุสมัครเล่นว่า E29AJP

“ติดต่อยากมาก ถ้าถูกจังหวะ เขาว่าง เราก็ได้คุย เพราะนักบินอวกาศเขามีภารกิจเยอะ” พลกฤษณ์กล่าว และบอกว่าด้วยวิทยุเครื่องเดียวกับที่ใช้สื่อสารกับนักบินอวกาศนี้ยังใช้รับข้อมูลภาพถ่ายจากสถานีอวกาศได้ด้วย โดยเขาเคยรับภาพโลกและภาพของนักบินอวกาศที่คุยด้วยจากสถานีอวกาศซึ่งส่งลงมาด้วยสัญญาณวิทยุ

ทั้งนี้ เราสามารถตรวจสอบว่าสถานีอวกาศนานาชาติอยู่ในเส้นทางที่เราสามารถติดต่อได้หรือไม่ผ่านเว็บไซต์ //www.heavens-above.com ซึ่งนอกจากเป็นข้อมูลสำหรับการติดต่อพูดคุยกับนักบินอวกาศแล้ว ยังเป็นข้อมูลให้เราออกไปดูสถานีอวกาศได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งพลกฤษณ์บอกว่าถ้าจังหวะพอดีเราจะเห็นสถานีอวกาศวิ่งผ่านเหมือนดาวดวงใหญ่ๆ กำลังเคลื่อนที่

มาถึงการปล่อยบอลลูนสู่ขอบอวกาศของทีมทีเอสอาร์ที่ล่าสุดพวกเขาสามารถบันทึกภาพขอบอวกาศและภาพภาษาไทยบนขอบอวกาศได้ ซึ่งพลกฤษณ์บอกว่าโครงการอวกาศนี้เราสามารถทำเองที่ได้บ้านได้ทั้งหมดเช่นกัน ด้วยงบประมาณ 10,000-20,000 บาท โดยพวกเขาได้ปล่อยบอลลูนมาแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งในครั้งที่ 2 เป็นครั้งที่น่าตื่นเต้นที่สุด เพราะได้ติดตั้งหัววัดรังสีขึ้นไปด้วย แต่เนื่องจากหัววัดไม่ไวพอจึงไม่สามารถบันทึกรังสีไว้ได้

ณัฐพงษ์ วงศ์เฟื่องฟูถาวร หัวหน้าทีมทีเอสอาร์บอกว่าอุปกรณ์สำคัญในโครงการปล่อยบอลลูน คือ บอลลูน ร่มชูชีพสำหรับช่วยพยุงหลังบอลลูนที่ส่งขึ้นแตกแล้วตกกลับสู่พื้นโลก และส่วนสุดท้ายคืออุปกรณ์สื่อสารและการทดลอง ซึ่งเป็นส่วนที่ทีมต้องช่วยกันคิดขึ้นมา

สำหรับอุปกรณ์สื่อสารที่พวกเขาติดตั้งในบอลลูนนั้น มีทั้งอุปกรณ์ติดตามด้วยสัญญาณจีเอสเอ็ม ซึ่งจะส่งข้อความสั้นหรือเอสเอ็มเอสกลับมาเมื่อโทรเข้า แต่จะทำงานหลังจากบอลลูนตกสู่พื้นโลกแล้ว อุปกรณ์สื่อสารด้วยสัญญาณวิทยุ และอุปกรณ์ควบคุมที่พวกเขาพัฒนาขึ้นมาเอง โดยสามารถส่งสัญญาณกลับมายังสถานีรับภาคพื้นและสถานีรับที่ติดตั้งบนรถยนต์สำหรับตามเก็บกู้บอลลูน

ในการทดลองพวกเขาได้เติมก๊าซฮีเลียมให้ลูกบอลลูนที่มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร และเมื่อบอลลูนลอยสูงขึ้นความดันอากาศนอกบอลลูนจะลดลงเรื่อยๆ ทำให้บอลลูนค่อยๆ ขยายตัวจนแตกแล้วตกสู่พื้นโลก ซึ่งจากข้อมูลภาพวิดีโอที่ติดตั้งขึ้นไปกับการปล่อยบอลลูนครั้งที่ 3 นั้น คำนวณคร่าวๆ ได้ว่าบอลลูนขยายขึ้นจากเดิมถึง 40 เท่าก่อนที่จะแตก และบอลลูนขึ้นไปได้สูงสุด 29.9 กิโลเมตร

เหล่านี้คือตัวอย่างที่เยาวชนไทยกลุ่มเล็กๆ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า คนไทยสามารถทำโครงการอวกาศได้ แม้จำกัดด้วยเทคโนโลยีและงบประมาณ ซึ่งอย่างน้อยน่าจะเป็นการจุดประกายและเป็นกำลังใจให้เยาวชนและคนอื่นๆ ได้เริ่มต้นทำโครงการอวกาศด้วยตัวเองบ้าง

ปิดท้ายด้วยคลิปการทดลองครั้งล่าสุดของทีมทีเอสอาร์



ที่มาmanager.co.th


Create Date : 19 มิถุนายน 2554
Last Update : 19 มิถุนายน 2554 11:02:17 น. 0 comments
Counter : 1144 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

konseo
Location :
ohio United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




Friends' blogs
[Add konseo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.