Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2557
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
19 มิถุนายน 2557
 
All Blogs
 

ข่าวเกี่ยวกับเมฆอาร์คัส ที่เมืองไทย

  ช่วงนี้มีข่าวเกี่ยวกับเมฆอาร์คัสเยอะ ตอนแรกว่าจะไม่เขียนละ แต่โพสท์กันเยอะเหลือเกิน .... จริงๆไม่มีอะไรนะครับ เกิดทั่วโลกเป็นปกติ เพียงแต่ปีนี้เกิดที่ไทยเยอะ คงเพราะปีนี้อากาศร้อนมากกว่าปกตินั่นเองหลายเดือนที่ผ่านมา พอหน้าฝนมาลง เลยเกิดเมฆนี้ได้ง่าย ผมจะเล่าให้ฟังว่ามันเกิดจากอะไร

เมฆอาร์คัสนั้นเป็นเมฆที่ก่อตัวระดับต่ำ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือแบบ หิ้ง (shelf) อย่างที่เกิดที่ อุดรฯ นครปฐม และอุตรดิตถ์ และแบบที่สอง คือแบบ ม้วน (roll) อย่างที่เกิดที่ ยโสธร ... ในรูป ที่ 2 จนถึง 8 นั้นเป็นเมฆอาร์คัส ที่เกิดที่ เนเธอร์แลนด์ อุรุกวัย อเมริกา (วิสคอนซิล) ออสเตรเลีย ฯลฯ มาก่อน ถึงแม้มันจะหาได้ยาก แต่มันไม่ได้มีพิษมีภัยอะไรครับ มันก็แค่เมฆฝน อย่างแรกนั้นจะมาคู่กับฟ้าแล่บฟ้าผ่าด้วย
เมฆอาร์คัสแบบหิ้งนั้น ลักษณะเป็นชั้นๆ (แบบหิ้ง) แนวนอน และออกโค้งๆ ครึ่งวงกลม และโผล่ออกมาจากตัวพายุแม่ที่ฟ้าแล่บฟ้าร้อง ดังรูปวาดที่ 4 นี้ ในตอนที่ฝนตกบนโลกพร้อมเมฆฝน มันนำพาอากาศเย็นจัดมาด้วย อากาศที่มีไอน้ำ ยิ่งเย็นยิ่งหนัก อากาศยิ่งร้อนยิ่งเบา (เหมือนตอนทำกับข้าวไง ไอน้ำเดือดลอยตัวขึ้น) ทีนี้เมื่อเมืองไทยร้อนมากบนผืนดิน อากาศเย็นตรงศูนย์กลางฝน/ฟ้าแล่บ ก็ร่วงลงมาเร็วกว่าปกติเพราะหนัก ดังรูป (สีน้ำเงิน) เรียกว่า downdraft เมื่ออากาศมันเคลื่อนตัวลงมาเร็วก็เกิดเป็นลมพัดแรงตรงศูนย์กลาง และแผ่ออกมาข้างๆเมื่อกระทบพื้นดิน ตามลูกศรสีน้ำเงิน ตรงขอบๆมันเรียกว่า gust front (แปลว่า ขอบหน้าของลมแรง) ดังรุป เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ ลมร้อนชื้น (ปท ไทย ความชื้นสูงมาก ทำให้เหงื่อออกตลอด) ที่ผิวดินก็ถูกดันขึ้นโดย gust front ตามลูกศรแดงในรูป บางทีก็หอบฝุ่นขึ้นไปด้วย ลมร้อนชื้นนี้เมื่อถูกดันขึ้นไป ค่อยๆเย็นตัวขึ้น กลั่นตัวกลายเป็นเมฆ (ยิ่งสูงยิ่งหนาวแบบดอยอินทนนท์) และม้วนโค้งเพราะลมทั้งบนและล่างกระทำกับมัน ทำให้เกิดเมฆรูปร่างประหลาดขึ้นมาตามที่เราเห็นที่ อุดรฯ และอุตรดิตถ์ เป็นต้น .... เมฆหิ้งแบบนี้ กระบวนการเกิด ตรงข้ามกับพายุทอร์นาโด ซึ่งอันนั้นจะมี updrafts เกิดขึ้น ดังนั้นเมฆอาร์คัส จะไม่ทำให้เกิดทอรนาโด แต่ลมแรงที่เกิดจากกรณีนี้จะเรียก gustnado แทน .... ที่เกิดที่ ตรัง นั้น คาดว่าอาจเป็น เมฆผนัง (wall cloud) อย่างที่เกิดบ่อยๆที่อเมริกา ในรูปที่ 9 ซึ่งอาจเกิดทอร์นาโดได้ หรืออาจเป็นเมฆอาร์คัสหิ้ง ต้องดูเต็มๆถึงจะรู้ เพราะมันคล้ายกัน
ส่วนเมฆอาร์คัสแบบม้วน ดังที่ ยโสธร .... เมฆม้วนนี้ จะแยกจากพายุเมฆแม่ อย่างสิ้นเชิง ต่างไปจากแบบหิ้ง และไม่เกี่ยวกับทอร์นาโดเช่นกัน เมฆม้วนนี้จะก่อเกิดตอนที่ฟ้าฝนคะนองใกล้จะจบแล้ว เป็น downdraft ตอนท้ายๆ และแบบม้วนนี้จะหาได้ยากกว่า จริงๆแล้วมันก็เหมือน คลื่น ในอากาศ (อากาศก็เป็นของไหลเช่นน้ำ) วิ่งด้วยความเร็วคงที่ ที่ออสเตรเลีย รัฐ ควีนสแลนด์จะเกิดแบบนี้ปีละ 5-10 วัน เดือนตุลา ... เมฆม้วนยังเกิดได้จาก ลมทะเล ใกล้ฝั่งอีกด้วย
เมฆอาร์คัสทั้งสองแบบเกิดได้ทั่วโลก โดยเฉพาะที่ออสเตรเลีย เพราะผืนดินในทวีปออสเตรเลียเป็นทะเลทรายซะมาก จึงร้อนจัด พอเจอฤดูฝนก็ก่อเกิดเมฆแบบนี้ได้ .... ผมเลยแถมรูปเมฆอื่นๆ ตั้งแต่รูปที่ 10 ที่เกิดทั่วโลกมาให้ดู ถ้าบังเอิญเห็นที่ไทยจะได้รู้ว่ามันเกิดมาแล้ว และไม่มีอันตรายครับผม
ดร. ไพโรจน์ ฉัตรอนันทเวช




 

Create Date : 19 มิถุนายน 2557
0 comments
Last Update : 19 มิถุนายน 2557 16:20:58 น.
Counter : 2327 Pageviews.


konseo
Location :
ohio United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




Friends' blogs
[Add konseo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.