อ่านแล้วอย่าเชื่ออะไรมาก
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
20 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 

World Trading System at Risk! Why? What’s next!

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) ร่วมกับองค์การการค้าโลก(WTO), สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (ISIS) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (TBS) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดการสัมมนาในหัวข้อ World System at Risk! Why? What’s Next! ขึ้นที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา

รศ. ดร. กุลภัทรา สิโรดม คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นวิทยากรหลัก (Keynote Speaker) ในหัวข้อ Global Education Reform for Thai Competitiveness and Upgrading ซึ่งได้สรุปว่าในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อการสร้างความได้เปรียบนั้น จะต้องเน้น 3 i คือ Internationalization, Innovation and Impact โดยนักศึกษาที่จบการศึกษาไปจะต้องได้รับการอบรมในสามกระบวนการนี้ เพื่อที่จะสามารถสร้างความได้เปรียบในโลกได้

ในลำดับต่อไปคือการสัมมนาโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสามท่านคือ Dr. Patrick Low, Chief Economist จาก WTO, Prof. Dr. Ann Capling, Top Trade Policy Expert จาก ออสเตรเลีย และ ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ Head of Research Group, Phatra Securities Public Company Limited ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงเกี่ยวกับการาระหว่างประเทศ ที่น่าสนใจน่าจะสรุปและวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้

ตอนที่ได้ทราบว่ามีหัวข้อสัมมนาเช่นนี้ครั้งแรก รู้สึกแปลกใจว่า เพราะเหตุใดผู้จัดจึงจัดสัมมนาเรื่องความเสี่ยงในการค้าระหว่างประเทศ (World Trading System at Risk) เพราะในคำว่า “ความเสี่ยง” นั้น ผู้เขียนนึกถึง “การเงินระหว่างประเทศ (World Financial System at Risk)” ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังกระทบกับ สหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ กรีก และในอีกหลายประเทศในขณะนี้ ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสนใจว่า การค้าระหว่างประเทศยังมีความเสี่ยงด้วยหรือ และเสี่ยงด้วยเพราะเหตุใด

เมื่อได้ฟังแล้ว ถึงเข้าใจ ผู้เขียนขออนุญาตไม่สรุปคำว่า “Risk” ว่า “ความเสี่ยง” แต่น่าจะเป็น “อุปสรรค” ของการค้าระหว่างประเทศมากกว่า เพราะวิทยากรทุกท่านกล่าวถึงปัจจัยต่างๆ อันไม่ขัดขวางมิให้การค้าระหว่างประเทศสามารถดำเนินไปได้อย่างเสรี ผลประการหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการประชุมรอบต่างๆ ของ WTO แม้แต่โดฮาก็ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จ ซึ่งต้นเหตุหลักของการค้าระหว่างประเทศที่วิทยากรทุกท่านพูดถึง นั่นคือ “การเมือง” หรือ “รัฐ” หรือ “หน่วยงานภาครัฐ”

ปัจจัยที่ทำให้รัฐกลายเป็นอุปสรรคของการค้าระหว่างประเทศมีอยู่หลายประเด็น เช่น การที่ภาครัฐไม่สามารถปรับตัวให้กับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นการรุ่งเรืองขึ้นของจีนและเอเชีย (The Rising of China and ASIA) รัฐทั่วไปในโลกยังคงประสบปัญหาการแย่งชิงการเป็นผู้นำ (struggle for leadership) ในขณะที่โลกนี้กำลังเปลี่ยนแปลงไป มีตัวแสดงหลายตัวและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น และมีการพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น แต่องค์กรของรัฐไม่ได้ตอบสนองกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและสลับซับซ้อนนี้อย่างเหมาะสมในระดับที่จะสามารถรับมือกับการค้าระหว่างประเทศได้ รัฐบาลไม่อาจเป็นผู้อำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitator) ได้ในสถานการณ์ที่โลกมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น

นอกจากนี้ ความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศที่กำลังดำเนินไปในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่การเจรจาหรือดำเนินการเพื่อมุ่งไปสู่ค้าแบบเสรีแต่เป็นการเจรจาเพื่อมุ่งสู่การค้าในลักษณะสองทาง (bilateral) ซึ่งจะสร้างกลุ่มการค้าแบบบล็อก มากกว่าที่จะสร้างการค้าเสรีขึ้นได้ (อาเซียนก็เป็นตัวอย่างของกลุ่มเศรษฐกิจที่จะทำบล็อกในกลุ่มสมาชิกตัวเอง) ในที่นี้ การค้าระหว่างประเทศที่ง่ายขึ้น, การลดภาษี หรือการสร้างตลาดเดียว จึงกลับมิใช่ “เป้าหมาย” แต่เป็นเครื่องมือในการเจรจาทางด้านการเมือง (ที่จะนำมาใช้ลงโทษ หรือให้รางวัล) กันมากกว่า นอกจากนี้ ปัญหาการเมืองภายในประเทศเองยังเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าด้านการเกษตร ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความละเอียดอ่อนมากที่สุด

วิทยากรยังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า รัฐบาลในประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออก มีแนวโน้มที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเจรจาการค้าระหว่างประเทศมากกว่ารัฐบาลในบริเวณอื่นของโลก โดยเฉพาะรัฐที่มีการปกครองแบบอำนาจนิยม เพราะเอกชนไม่สามารถล็อบบี้รัฐบาลได้อย่างโปร่งใสและเป็นอิสระเหมือนรัฐบาลในกลุ่มประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในแง่มุมนี้ การค้าเสรีจึงไม่ได้มาจากการผลักดันโดยภาคเอกชน แต่เป็นการผลักดันโดยการเมือง
ในประเทศไทย ระบบการค้าระหว่างประเทศมีอุปสรรคที่ทำให้กลุ่มธุรกิจสูญเสียความกระตือรือร้นในความร่วมมือกันทางการค้า ซึ่งมาจากรูปแบบการค้าของไทยนั้นถูกควบคุมโดยต่างชาติ เช่นประเทศญี่ปุ่น (ในที่นี้คงหมายถึง MNCs ที่เป็นญี่ปุ่น) อันทรงอิทธิพลในธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนรถยนต์ นอกจากนี้ประเทศไทยยังพึ่งพาการส่งออกที่เป็นสินค้าที่ใช้แรงงานหรือทรัพยากรสูง เช่น รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ ซึ่งมีความละเอียดอ่อนกับอัตราแลกเปลี่ยนการเงิน

เมื่อได้ฟังสัมมนาดังกล่าว จึงได้กลับมาย้อนคิดถึงบทบาทของภาครัฐในการจัดการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทำให้นึกถึงอาดัม สมิธ ที่เคยบอกว่า การค้าเสรีจะเกิดขึ้นได้จริงๆ ก็ต่อเมื่อภาครัฐ “ถอยออกไป” แต่ในปัจจุบันนี้ คงไม่ใช่เช่นนั้น เพราะความแตกต่างของการพัฒนาในหลายประเทศ ทำให้ภาครัฐต้องมีบทบาทหลักในการช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการค้าเสรีที่มีความเป็นธรรม ย้อนกลับมาดูในประเทศไทย ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่เส้นทางของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งในปี 2558 หรืออีกประมาณ 4 ปีนับจากนี้ ตลาดของไทยจะเป็นตลาดเดียวกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทุน แรงงาน เอกชน บริษัทห้างร้าน สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ในปัจจุบัน การรับรู้เรื่องการเข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยยังมีอยู่น้อยมาก เห็นได้จากการที่ มหาวิทยาลัยทั้งหลาย ยังไม่ได้เตรียมการอย่างเป็นรูปธรรมในการผลิตบัณฑิตที่จะจบไปจากนี้ให้กลายเป็นบัณฑิตของอาเซียน ที่พูดภาษาต่างๆ ในอาเซียน หรือมีทัศนคติในแบบพลเมืองอาเซียนได้ นอกจากนี้ความแตกต่างภายในภูมิภาคของอาเซียนนั้น จะมองว่าเป็นภัยคุกคาม หรือมองว่าเป็นโอกาสก็ได้ แต่ปัญหาคือ ทุกวันนี้มีใครมองอะไรมันหรือยัง




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2553
2 comments
Last Update : 20 ธันวาคม 2553 11:17:36 น.
Counter : 1140 Pageviews.

 

Photobucket

ยามเย็นจ้าาาา

 

โดย: Junenaka1 20 ธันวาคม 2553 17:22:25 น.  

 

แวะมาอ่านจร้าว่างๆแวะไปเยี่ยมblogเราบ้างนะ bigeye

 

โดย: NSA (tewtor ) 13 เมษายน 2554 11:09:05 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผีกองกอย
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ผีกองกอย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.