พฤศจิกายน 2553

 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
28
29
30
 
 
All Blog
การปฏิเสธงานที่ได้รับมอบหมาย คือ การปิดโอกาสของตนเอง

ประสบการณ์ส่วนตัวเวลาผู้ใหญ่มอบหมายงานให้ทำ แม้ว่างานนั้น ๆ จะเป็นงานที่ไม่เคยทำหรือไม่เคยมีความรู้ สิ่งแรกที่ทำ คือ “ไม่ปฏิเสธ” เลยทำให้มีนิสัยติดตัวและเจริญเติมโตในหน้าที่ราชการมาถึงวันนี้


ประการแรกการที่ผู้ใหญ่ไว้ใจเรา ให้เราทำงานทั้งที่เราไม่มีประสบการณ์และความรู้พอแสดงว่าท่านไว้วางใจเรา เราจึงควรฉวยโอกาสนี้ไว้ และยิ่งต้องทำให้สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย มีเพื่อนๆ รุ่นเดียวกัน ชอบปฏิเสธงาน และบางที่กลับคิดว่าผู้ใหญ่มอบหมายงานที่ตนเองไม่รู้นั้น คือ “การกลั่นแกล้ง” ทุกวันนี้ย้อนกลับไปดูเพื่อนคนนั้นก็ยังไปไม่ถึงไหน


วันนี้เมื่อเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ก็ยังคงมีให้เห็นเสมอๆ กรณีเจ้าหน้าที่ทุกระดับชั้นยังคงปฏิเสธงานกันอยู่เนือง ๆ แม้ว่างานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอย่างยิ่ง ทั้งที่ได้พยายามเล่าและชี้แจงประสบการณ์ให้ฟังเสมอ ๆ ว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่มีผลดีกับตนเอง

“นกมันจะมีไม่ทางรู้ได้เลยว่าตนเองนั้นสามารถบินได้สูงแค่ไหน ถ้าหากไม่ลองกางปีกออก”




Create Date : 05 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2553 16:37:34 น.
Counter : 1786 Pageviews.

6 comments
  
ครับผมเองมีนิสัยไม่ดีอยู่อย่างครับตือปฏิเสธคนไม่เป็น ไม่ว่าใคร ๆ ผู้ใหญ่ หรือผู้น้อย ถ้าทำให้ได้ก็ทำทันที นิสัยแบบนี้ผมเป็นมาแต่กำเนิดครับ แต่ผมไม่เคยคิดเรื่องการได้ดีหรือไม่ได้ดีเลยครับ ทุกวันก็ยังเป็นอยู่ บางเรื่องมันทำให้เราเสียเวลากับงานส่วนตัวของเรา ถึงรู้ผมก็ไม่เคยปฏิเสธ แต่ก็มีเหมือนกันที่ต้องปฏิเสธเพราะมันจำกัดด้วย มันเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้จริงๆ หรือเป็นเรื่องที่ได้กระทบหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ก็ด้วยเรื่องปฏิเสธไม่เป็นนี่แหละครับทำให้งานดุษฎีนิพนธ์ของผมต้องเสียเวลาถึง 1 ปี และอาจถูกทำให้หมดสภาพเป็นนักศึกษาก็เป็นได้ครับ และยังพ่วงด้วยโดยถูกลูกน้องร้องเรียนเข้าอีก แต่ผมถือว่าเป็นกรรมที่จะต้องชดใช้เจ้ากรรมนายเวรให้มันจบสิ้นไปในชาตินี้ครับ เรื่องเดิมอีกเหมือนกันทุกวันนี้ผมก็ไม่สามารถปฏิเสธได้อยู่ดีแหละครับ บางครั้งอยากจะร้องให้ครับ พอท่านเอ่ยถึงเรื่องนี้มันโดนใจผมซะเหลือเกินครับ
โดย: chanya IP: 223.207.186.237 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2553 เวลา:1:16:10 น.
  
ผมว่าคุณจรรยามีพื้นฐานจิตดีหากเป็นอย่างที่กล่าว..แต่ต้องทำแล้วดีทุกอย่างเพื่อนผมบางคนทชอบบริการคนอื่นอย่างไม่บกพร่อง แต่งานในหน้าที่มีแต่รูโหว่ ผมขอขยายความเพิ่มเติมว่า "งานที่ทำต้องทำและดีอย่างทั่วถ้วนเสมอกัน" อย่าได้"หน้าแล้วลืมหลัง" และที่สำคัญต้องบริหารเวลาให้ดี และหากงานเกี่ยวข้องกับคนหมู่มากด้วยต้องมีหลัก "การมีส่วนร่วม" ควบรวมอยู่ด้วยเสมอ..หวังว่าความเห็นนี้พอมีประโยชน์บ้างนะครับ
โดย: คนทำงานด้านเด็ก IP: 183.89.74.150 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2553 เวลา:4:26:12 น.
  
เห็นด้วยครับ ในที่ประชุมประจำเดือนจะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่อยู่เสมอว่า งานใครทำมากก็ได้ประสบการณ์มากยิ่งงานยากๆ หากทำสำเร็จแล้ว งานเล็กๆ ยิ่งไม่เป็นปัญหาเหมือนกับที่เขียนไว้ในหนังสือ "กินกบตัวนั้นซะ" เมื่อเราเติบโตในหน้าที่การงาน สิ่งที่เราทำงานมามากๆ จะเป็นองค์ความรู้ให้เราบริหารงาน บริหารคนได้ง่ายขึ้น
โดย: เจริญ ขอนแก่น IP: 182.53.116.29 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2553 เวลา:9:59:36 น.
  
บางคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงค่ะท่าน แม้จะพยายามใช้วิธีการที่หลากหลาย รวมทั้งการมีส่วนร่วม แต่ก็ไม่ท้อค่ะ แม้จะเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียนก็ตาม ก็จะใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส ........ได้กำลังใจจากข้อความท่านอธิบดีมากค่ะ
โดย: สุปรียา จันทบุรี IP: 118.172.245.76 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:46:04 น.
  
เคยเสนอรับงานเพราะอยากทำ แต่โดนคนอื่นหมั่นไส้ หลัง ๆ เลยรอรับสั่งอย่างเดียวค่ะ
โดย: รัตนา IP: 210.246.159.240 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:08:33 น.
  
ผมตามลิงค์มาจาก Face Book นี่เป็นบทความที่ดีที่สุดที่ผมอ่านมาในเดือนนี้ ขอบคุณประสบการณ์ดีๆที่แบ่งปันมาให้นะครับ
โดย: วิสุทธิ์ แม่ฮ่องสอน IP: 110.49.248.142 วันที่: 14 เมษายน 2554 เวลา:12:13:50 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนทำงานด้านเด็ก
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
เกิด 17 ก.พ.2502 จังหวัดชัยนาท เป็นบุตร นายสุเทพ-นางชิ้น ไทยเขียว
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 โรเรียนวัดโพธิ์ทอง ต.บางขุด อ.สรรคบุรี แล้วมาเรียนมัธยมที่โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
"ตอนเรียนมัธยม เป็นช่วงปี 2515-2517 ผมต้องขี่จักรยานไปกลับวันละ 18 ก.ม. ลำบากมากโดยเฉพาะในหน้าฝน ผมเป็นคนที่ไม่ตั้งใจเรียน แต่ไม่เกเร พอผมเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยากทำนาเหมือนคุณพ่อคุณแม่ แต่ธรรมชาติช่วย จังหวะที่ผมเรียนจบ เกิดน้ำท่วมใหญ่ รวมถึงที่นา ผมต้องลงไปช่วยคุณพ่อ คุณแม่ยกฟ้อนข้าวขึ้นที่สูง เหนื่อยมาก รู้สึกลำบาก ไม่อยากทำนาอีกแล้ว เริ่มอยากเรียนหนังสือต่อ"
ผมจึงตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พักอยู่กับญาติที่กองรักษาการณ์ทำเนียบรัฐบาล ตัวเลือดตามล่องกระดานกัดติดหลังเป็นแถวเลยอยู่ไม่ได้ น้าชายไปฝากอยู่กับแฟนของเพื่อนตำรวจเป็นหมอนวดแถวถนนเพชรบุรีอยู่อีก 1 สัปดาห์ ต่อมาจึงได้หาที่พักถาวรได้ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ขณะนั้นมีน้าชายชื่อ นายวิชิต เรียนทัพ อดีตนายก อบต.บางขุด พักอาศัยอยู่ก่อน
"ผมสอบเข้าศึกษาต่ออะไรก็ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจ่าอากาศ ช่างฝีมือทหาร เตรียมทหาร หรือแม้แต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคค่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการไม่ตั้งใจเรียน มาเรียนต่อได้เพราะวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ กิ่งเพชร ราชเทวี เปิดรับนักศึกษาภาคค่ำ ในขณะที่สถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้เปิดเรียนไปแล้วเกือบหนึ่งเทอมแล้ว จึงมีที่เรียน"
"ช่วงที่อยู่วัดเห็นพระเณรนั่งดูหนังสือ ไม่นอน ผมจึงไม่นอน ผลการเรียนจึงเริ่มดีขึ้น โดยกลางวันทำงาน กลางคืนเรียน ไม่อยากใช้เงินคุณพ่อคุณแม่ เพราะรู้ว่าท่านลำบาก กระทั่งเรียนจบอนุปริญญา หรือปกศ.สูง เอกสังคมศึกษา ในระดับปริญญาไม่มีที่เรียนกลางคืน ต้องเรียนกลางวัน จึงไม่ได้ทำงานจนจบการศึกษาบัณฑิตหรือ กศ.บ. เอกสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพลศึกษา"
"ช่วงนั้น ผมขอหลวงพ่อคุมศาลาเผาศพ และรับอาราธนาศีล บริการน้ำ-อาหาร รับจ้างจุดธูปเพื่อหาเงินเรียนจนจบปริญญาตรี สอบเข้าศึกษาต่อปริญญาโทได้ขณะที่เรียนเทอมสุดท้ายของปริญญาตรี จบปริญญาโท สังคมศาสตรมหาบัณฑิต (สค.ม.) อาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 4 ทำงานภาคเอกชนอยู่ 4 ปี จึงเข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2529 โดยเป็นพนักงานคุมประพฤติ 3 จังหวัดชลบุรี"
ต.ค. 2541 เติบโตมาเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 จ่าศาลจังหวัดปากพนัง รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนาระบบงานศาล, 16 ก.พ. 2542 เป็นจ่าศาลจังหวัดอำนาจเจริญ, 18 มี.ค. 2542 ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพิจารณาจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรม, 4 มิย. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็น อกพ. สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 8 มิย.2544 รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์บริการข้อมูลตุลาการ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 15 ต.ค. 2544 ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพสถานพินิจ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 7 พ.ย. 2544 คณะกรรมการบริหารแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ.2545-2549, 12 มีค.2545 กรรมการและเลขานุการการเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมตามมติคณะรัฐมนตรี, 3 ต.ค.2545 รักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ขึ้นเป็นผู้บริหารระดับ 9 ในตำแหน่ง รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เมื่อ 25 เมย.2546
ย้ายไปเป็นรองอธิบดีกรมคุมประพฤติ 1 ปี 8 เดือน ก่อนจะได้รับคำสั่งให้กลับมาทำงานในตำแหน่งรองอธิบดีพินิจและคุ้ม ครองเด็กและเยาวชนอีกครั้งและได้ขึ้นเป็นอธิบดีในที่สุด
ผลงานดีเด่นที่เป็นที่ยอมรับ คือ จัดทำมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานธุรการศาล และนำวิธีการบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management/ TQM) จนศาลจังหวัดนครราชสีมาได้รับ การประกาศรับรองด้านบริการ ISO 9000
การปฏิรูปกระทรวงยุติธรรม ในฐานะเป็นคณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพิจารณาจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี จนสามารถรวบรวมหน่วยงานต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมเข้ามาอยู่ร่วมกันในปัจจุบัน
ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณด้านการบำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2550 และได้รับเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น พ.ศ.2544 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 สค.2550
"ทุกอย่างที่ทําให้เรามาถึงวันนี้ ได้กรรมเป็นตัวกํากับทั้งหมด และอะไรที่เราเคยเสีย ใจแบบสุดๆ หรือว่าเศร้าใจอย่างสุดๆ ความรู้สึกนั้นมันไม่เคยเสถียรเลย มันลดลงมาหมด
วันนี้ดีใจที่ได้เป็นอธิบดี อาจจะดีใจจน ตัวลอย แต่ว่าไม่เท่าไหร่ก็ลดลง เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจเท่าทันโลก เข้าใจเรื่องกฎของไตรลักษณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มียศเสื่อมยศ มีลาภเสื่อมลาภ เพราะฉะนั้นอย่าไปยึดติด ที่สําคัญที่สุด คือเรามีหน้าที่ หน้าที่นั้นต้องทําให้ดีที่สุดในการที่จะมองไปที่ประชาชนและเด็กๆ
ผมเชื่อว่าผมอาจจะมีกรรมดีที่ได้มีหน้าที่การงานที่ดี แต่ส่วนหนึ่งผมว่า ผมก็อาจจะเคยทํากรรมอะไรไว้บางอย่างกับเด็กๆ ผมถึงต้องชดใช้อะไรมากมายถึงขนาดนี้ รู้สึกว่าต้องเป็นทุกข์เป็นร้อน เห็นอะไรไม่สบายใจต้องเข้าไปจัดการ ฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็อยากเห็นสังคมมีคุณธรรม มีจริยธรรม เพราะทุกวันนี้เรื่องเหล่านี้มันตกต่ำไปมาก"
สมรสกับเบญจพร ไทยเขียว ซึ่งรับราชการครู มีบุตรชาย 2 คน นายชัชชล ไทยเขียว อายุ 25 ปี จบศึกษาด้านภาษาและวัฒนธรรม และศึกษาดนตรีและทำเครื่องดนิตรีกู่ฉินไปด้วยที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบอาชีพส่วนตัวสอนคนตรีกู่ฉิน และจำหน่ายเครื่องคนตรีจีนคุณภาพจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อาจารย์พิเศษ
และนายยิ่งคุณ ไทยเขียว อายุ 23 ปี จบศึกษาคณะวิศวศาสตร์คอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น ปัจจุบันกำลังศึกษา MBA มหาวิทยาลัยหอการค้า