ตุลาคม 2553

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
การคัดเลือกรองอธิบดี
การคัดเลือกรองอธิบดี
ปกติเวลามีตำแหน่งว่าง หน่วยงานที่อัตราว่างต้องแจ้งอัตราว่างไปยังปลัดกระทรวงฯ เนื่องจากเป็นอำนาจปลัดกระทรวงฯ
สามารถดำเนินการ2ทาง คือ 1) ย้ายก่อน หรือ. 2) สรรหา ซึ่งกระทรวงต้องประกาศให้กรมแต่ละกรมสรรหาบุคคลที่เหมาะสม แล้วเสนอไปกรมละ2 คน ให้คณะกรรมการพิจารณา
ความเห็นไม่ว่าจะย้ายหรือสรรหา ควรเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของสภาผู้บริหารหรือระดับอธิบดี เพื่อเฟ้นหาคนดีคนเก่งมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนองค์การที่จะไปดำรงตำแหน่ง และขับเคลื่อนกระทรวงฯให้ทะยานไปอย่างองค์กรที่มีชีวิตแและมีพลัง
ปัจจุบันการมีส่วนร่วมไม่มีเลย กระทรวงขาดทิศทางอย่างไม่เคยมีมาก่อน การแต่งตั้งนอกจากไม่เป็นผลดีกับหน่วยนั้นๆแล้ว ยังสร้างความอ่อนแอให้กับองค์กรได้อย่างไร้ความปรานี ลูกโซ่แห่งปัญหาคงเป็บบ่วงรัดคอย้อนกลับไปที่กระทรวงและผู้มีอำนาจแต่งตั้งเองอย่างปฏิเสธไม่ได้ ดูๆประหนึ่งเหมือนแก้ปัญหาได้แค่ของตนเองให้อยู่รอดเท่านั้น
ที่กล่าวมานี้มิได้ปฏิเสธบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือย้ายมา เพราะระดับนี้แล้วย่อมต้องมีความสามารถ แต่บางครั้ง บางเวลา ไม่สามารถรอให้คนมาเรียนรู้ได้ และที่สำคัญตำแหน่งรองอธิบดี ถ้าเป็นคนที่ถูกบ่มเพาะให้เชี่ยวชาญมาอย่างดีแล้วย่อมดี เร็วและแรงกว่า หรือไม่จริง??
จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่ามีเวรต่อกันและกันเลย ประเทศไทยจงเจริญ



Create Date : 22 ตุลาคม 2553
Last Update : 22 ตุลาคม 2553 10:09:04 น.
Counter : 774 Pageviews.

3 comments
  
เห็นด้วยครับ ไม่มีใครรู้ลึกรู้จริงเท่าเราชาวพินิจ
โดย: คนกรมพินิจ IP: 113.53.169.208 วันที่: 27 ตุลาคม 2553 เวลา:11:27:44 น.
  
บางครั้งยามที่เราไม่สามารถเลือกสิ่งของดังที่เราต้องการได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนความรู้สึกของเราให้ดีขึ้นได้ โดยที่ยังไม่ต้องเปลี่ยนของที่ได้รับมา ถ้าเราใส่ความเชื่อของเราเสียใหม่ว่าสิ่งที่เราได้มาจะเป็นประโยชน์แก่เรา ถ้าเราสามารถเปลี่ยนความเชื่อของเราได้ เราก็จะมีความพึงพอใจในสิ่งที่เรารับมา เหตุการณ์นี้ก็เช่นกัน บางครั้งก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าคนในองค์กรของเราถ้าได้ขึ้นแล้วจะสามารถทำให้องค์กรพัฒนาได้จริงหรือไม่ อันนี้ต้องใช้หลักวิเคราะห์ชั้นสูงมากจึงจะสามารถตอบได้ ที่กล่าวแบบนี้เพราะต้องการให้เรามีมุมมองที่กว้างขึ้น เมื่อเรามองในมุมทางบวก มันสามารถลด "อคติ" และความยึดมั่นถือมั่นได้ มิฉนั้นแล้วมันจะส่งผลถึงจิตใต้สำนึก เมื่อปฏิสัมพันธ์กับบุคคลเหล่านี้ แทนที่จะเป็นแรงดูดแต่มันกลับจะเป็นแรงผลัก โดยที่เราไม่รู้ตัว และสุดท้ายปฏิกิริยานี้จะสื่อถึงกัน แล้วผลก็คือเป็นต้วขัดขวางความร่วมมืออยู่ในที แล้วก็ยากที่จะละลายทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วผลที่ได้รับมันจะเป็นเช่นไร "ความเชื่อของเราต่างหากที่เป็นตัวกำหนดทุกอย่าง" ขอให้เชื่อว่าดีเถอะครับทุกอย่างจะดีเอง"
โดย: chanya IP: 223.207.186.237 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2553 เวลา:1:54:04 น.
  
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ถึงอย่างไรเราก็ต้องเดินหน้าต่อไป เพื่อไปสู่เป้าหมายตามที่ตั้งไว้ครับ ขอเป็นกำลังใจให้ครับผม
โดย: นภสินธุ์ IP: 210.246.159.249 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:49:39 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนทำงานด้านเด็ก
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
เกิด 17 ก.พ.2502 จังหวัดชัยนาท เป็นบุตร นายสุเทพ-นางชิ้น ไทยเขียว
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 โรเรียนวัดโพธิ์ทอง ต.บางขุด อ.สรรคบุรี แล้วมาเรียนมัธยมที่โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
"ตอนเรียนมัธยม เป็นช่วงปี 2515-2517 ผมต้องขี่จักรยานไปกลับวันละ 18 ก.ม. ลำบากมากโดยเฉพาะในหน้าฝน ผมเป็นคนที่ไม่ตั้งใจเรียน แต่ไม่เกเร พอผมเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยากทำนาเหมือนคุณพ่อคุณแม่ แต่ธรรมชาติช่วย จังหวะที่ผมเรียนจบ เกิดน้ำท่วมใหญ่ รวมถึงที่นา ผมต้องลงไปช่วยคุณพ่อ คุณแม่ยกฟ้อนข้าวขึ้นที่สูง เหนื่อยมาก รู้สึกลำบาก ไม่อยากทำนาอีกแล้ว เริ่มอยากเรียนหนังสือต่อ"
ผมจึงตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พักอยู่กับญาติที่กองรักษาการณ์ทำเนียบรัฐบาล ตัวเลือดตามล่องกระดานกัดติดหลังเป็นแถวเลยอยู่ไม่ได้ น้าชายไปฝากอยู่กับแฟนของเพื่อนตำรวจเป็นหมอนวดแถวถนนเพชรบุรีอยู่อีก 1 สัปดาห์ ต่อมาจึงได้หาที่พักถาวรได้ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ขณะนั้นมีน้าชายชื่อ นายวิชิต เรียนทัพ อดีตนายก อบต.บางขุด พักอาศัยอยู่ก่อน
"ผมสอบเข้าศึกษาต่ออะไรก็ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจ่าอากาศ ช่างฝีมือทหาร เตรียมทหาร หรือแม้แต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคค่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการไม่ตั้งใจเรียน มาเรียนต่อได้เพราะวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ กิ่งเพชร ราชเทวี เปิดรับนักศึกษาภาคค่ำ ในขณะที่สถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้เปิดเรียนไปแล้วเกือบหนึ่งเทอมแล้ว จึงมีที่เรียน"
"ช่วงที่อยู่วัดเห็นพระเณรนั่งดูหนังสือ ไม่นอน ผมจึงไม่นอน ผลการเรียนจึงเริ่มดีขึ้น โดยกลางวันทำงาน กลางคืนเรียน ไม่อยากใช้เงินคุณพ่อคุณแม่ เพราะรู้ว่าท่านลำบาก กระทั่งเรียนจบอนุปริญญา หรือปกศ.สูง เอกสังคมศึกษา ในระดับปริญญาไม่มีที่เรียนกลางคืน ต้องเรียนกลางวัน จึงไม่ได้ทำงานจนจบการศึกษาบัณฑิตหรือ กศ.บ. เอกสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพลศึกษา"
"ช่วงนั้น ผมขอหลวงพ่อคุมศาลาเผาศพ และรับอาราธนาศีล บริการน้ำ-อาหาร รับจ้างจุดธูปเพื่อหาเงินเรียนจนจบปริญญาตรี สอบเข้าศึกษาต่อปริญญาโทได้ขณะที่เรียนเทอมสุดท้ายของปริญญาตรี จบปริญญาโท สังคมศาสตรมหาบัณฑิต (สค.ม.) อาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 4 ทำงานภาคเอกชนอยู่ 4 ปี จึงเข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2529 โดยเป็นพนักงานคุมประพฤติ 3 จังหวัดชลบุรี"
ต.ค. 2541 เติบโตมาเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 จ่าศาลจังหวัดปากพนัง รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนาระบบงานศาล, 16 ก.พ. 2542 เป็นจ่าศาลจังหวัดอำนาจเจริญ, 18 มี.ค. 2542 ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพิจารณาจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรม, 4 มิย. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็น อกพ. สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 8 มิย.2544 รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์บริการข้อมูลตุลาการ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 15 ต.ค. 2544 ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพสถานพินิจ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 7 พ.ย. 2544 คณะกรรมการบริหารแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ.2545-2549, 12 มีค.2545 กรรมการและเลขานุการการเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมตามมติคณะรัฐมนตรี, 3 ต.ค.2545 รักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ขึ้นเป็นผู้บริหารระดับ 9 ในตำแหน่ง รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เมื่อ 25 เมย.2546
ย้ายไปเป็นรองอธิบดีกรมคุมประพฤติ 1 ปี 8 เดือน ก่อนจะได้รับคำสั่งให้กลับมาทำงานในตำแหน่งรองอธิบดีพินิจและคุ้ม ครองเด็กและเยาวชนอีกครั้งและได้ขึ้นเป็นอธิบดีในที่สุด
ผลงานดีเด่นที่เป็นที่ยอมรับ คือ จัดทำมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานธุรการศาล และนำวิธีการบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management/ TQM) จนศาลจังหวัดนครราชสีมาได้รับ การประกาศรับรองด้านบริการ ISO 9000
การปฏิรูปกระทรวงยุติธรรม ในฐานะเป็นคณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพิจารณาจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี จนสามารถรวบรวมหน่วยงานต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมเข้ามาอยู่ร่วมกันในปัจจุบัน
ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณด้านการบำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2550 และได้รับเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น พ.ศ.2544 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 สค.2550
"ทุกอย่างที่ทําให้เรามาถึงวันนี้ ได้กรรมเป็นตัวกํากับทั้งหมด และอะไรที่เราเคยเสีย ใจแบบสุดๆ หรือว่าเศร้าใจอย่างสุดๆ ความรู้สึกนั้นมันไม่เคยเสถียรเลย มันลดลงมาหมด
วันนี้ดีใจที่ได้เป็นอธิบดี อาจจะดีใจจน ตัวลอย แต่ว่าไม่เท่าไหร่ก็ลดลง เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจเท่าทันโลก เข้าใจเรื่องกฎของไตรลักษณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มียศเสื่อมยศ มีลาภเสื่อมลาภ เพราะฉะนั้นอย่าไปยึดติด ที่สําคัญที่สุด คือเรามีหน้าที่ หน้าที่นั้นต้องทําให้ดีที่สุดในการที่จะมองไปที่ประชาชนและเด็กๆ
ผมเชื่อว่าผมอาจจะมีกรรมดีที่ได้มีหน้าที่การงานที่ดี แต่ส่วนหนึ่งผมว่า ผมก็อาจจะเคยทํากรรมอะไรไว้บางอย่างกับเด็กๆ ผมถึงต้องชดใช้อะไรมากมายถึงขนาดนี้ รู้สึกว่าต้องเป็นทุกข์เป็นร้อน เห็นอะไรไม่สบายใจต้องเข้าไปจัดการ ฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็อยากเห็นสังคมมีคุณธรรม มีจริยธรรม เพราะทุกวันนี้เรื่องเหล่านี้มันตกต่ำไปมาก"
สมรสกับเบญจพร ไทยเขียว ซึ่งรับราชการครู มีบุตรชาย 2 คน นายชัชชล ไทยเขียว อายุ 25 ปี จบศึกษาด้านภาษาและวัฒนธรรม และศึกษาดนตรีและทำเครื่องดนิตรีกู่ฉินไปด้วยที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบอาชีพส่วนตัวสอนคนตรีกู่ฉิน และจำหน่ายเครื่องคนตรีจีนคุณภาพจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อาจารย์พิเศษ
และนายยิ่งคุณ ไทยเขียว อายุ 23 ปี จบศึกษาคณะวิศวศาสตร์คอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น ปัจจุบันกำลังศึกษา MBA มหาวิทยาลัยหอการค้า