Group Blog
สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
มงคลปริตร หรือ มงตลสูตร



มงคลสูตร

บทความโดยย่อบทหนึ่งใน อนุสสติสูตร เป็นบทว่าด้วย เทวตานุสสติ

[๒๙๖] ภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่
เทวดาเหล่าดาวดึงส์อยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่
เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตดีมีอยู่
เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่ เทวดาที่สูงกว่าเหล่าพรหมนั้นมีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด
อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ ประการนี้แล..


อนุสสติฏฐานสูตร จบ

(อนุสสติฏฐานสูตร อาหุเนยยวรรคที่ ๑ ปฐมปัณณาสก์ ฉักกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ภาค ๓
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๖)
ขอขอบคุณที่มาจาก  อนุสสติฏฐานสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติ


(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ แม้ของตนเช่นนี้ๆดั่งเทวดาเหล่านั้น เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ อันที่เราได้ปฏิบัติมาดีแล้วเหมือนดั่งเทวดาเหล่านั้นเช่นนี้ๆ เป็น "เทวตานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


ตำนานมังคละสุตตัง





       หมู่มนุษย์ทั้งหลาย ในชมพูทวีป มาประชุมกันที่ประตูเมือง แล้วต่างก็พากันพูดคุยกันว่า สิ่งที่ตนนับถือเป็นมงคล ต่างฝ่ายต่างก็พากันถกเถียงกัน ในความเป็นมงคลของสรณะแห่งตน จนบังเกิดโกลาหล หาข้อยุติไม่ได้ พวกภุมเทวดา และเทพารักษ์ เมื่อได้ฟังพวกมนุษย์คิดและถกเถียงกัน ในข้อที่เป็นมงคล ก็พากันถกเถียงกันบ้าง จนเกิดโกลาหลรุกรามขึ้นไปจนถึงชั้นพรหม สิ้นเวลาไปจนถึง ๑๒ ปี ก็ยังไม่มีผู้ใดชี้เด็ดขาดลงไปได้ว่า สิ่งใดเป็นมงคล

       จนร้อนถึง ท้าวสุทธาวาส มหาพรหม จึงได้ประกาศ แก่หมู่เทพและมนุษย์ทั้งหลายว่า นับแต่นี้ไปอีก ๑๒ ปี องค์พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า จักทรงตรัสแสดงมงคลทั้งหลาย ให้เราทั้งหลายฟัง ณ เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี

       เมื่อกาลล่วงเลยมา สิ้นเวลาได้ ๑๒ ปี พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จอุบัติในโลกนี้แล้ว พวกเทวดาก็ต่างพากันไปถามปัญหาว่าอะไรเป็นมงคลแก่องค์อินทร์ องค์อินทร์ก็ไม่สามารถตอบปัญหาได้ จึงชวนกันไปเฝ้า พระบรมศาสดา เพื่อทูลถามปัญหา แล้วก็มอบหน้าที่ให้เทพยดาองค์หนึ่งเป็นผู้ถามปัญหา

       เมื่อความรู้ไปถึง เทพทุกชั้นฟ้า ต่างก็พากันเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เพื่อสดับมงคลคาถา รวมเป็นมีจำนวนถึง ๑๐,๐๐๐ จักรวาล






กล่าวโดยอรรถกถา

               เทพบุตรนั้นเชิญเทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาลให้ประชุมกันในจักรวาลอันเดียวนี้ เพื่อต้องการจะฟังมงคลปัญหา ได้เห็นแล้วซึ่งเทวดา มารและพรหมทั้งปวงผู้เนรมิตอัตภาพให้ละเอียด ประมาณเท่าปลายขนทรายเส้นหนึ่งเป็น ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ บ้าง ๓๐ บ้าง ๔๐ บ้าง ๕๐ บ้าง ๖๐ บ้าง ๗๐ บ้าง ๘๐ บ้างผู้ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้แล้ว ผู้รุ่งโรจน์ก้าวล่วง (เทพ, มาร, และพรหม) เหล่านั้น ด้วยพระสิริและพระเดช และได้ทราบถึงความปริวิตกแห่งใจของพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น แม้ที่ยังไม่ได้มาในสมัยนั้นด้วยใจ เพื่อจะถอนเสียซึ่งลูกศรคือความสงสัยของเทพเจ้าและมนุษย์ทั้งปวง จึงได้ทูลว่า
               เทพเจ้าและมนุษย์เป็นอันมากหวังอยู่ซึ่งความสวัสดี คือปรารถนาความสวัสดีแห่งตน จึงพากันคิดมงคลทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นผู้ซึ่งข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ตามความอนุมัติของเทพเจ้าเหล่านั้น และด้วยความอนุเคราะห์ของมนุษย์ทั้งหลาย ขอจงตรัสบอกซึ่งมงคลอย่างสูงสุด คือว่าขอพระองค์ได้อาศัยความอนุเคราะห์ต่อข้าพระองค์ทั้งหลาย โปรดตรัสบอกมงคลอันสูงสุด เพราะจะนำประโยชน์สุขมาให้โดยส่วนเดียวแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายทั้งปวงทีเดียว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำของเทพบุตรนี้อย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า อเสวนา จ พาลานํ เป็นต้น. การไม่คบ คือการไม่เข้าไปนั่งใกล้ ชื่อว่า อเสวนา ในพระคาถานั้น. ในคำว่า พาลานํ มีวิเคราะห์ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใดย่อมอ่อนแอ เหตุนั้นชนเหล่านั้นชื่อว่า คนพาล.
               ถามว่า ย่อมอ่อนแอ เพราะเหตุไร?
               ตอบว่า ชนทั้งหลายย่อมเป็นอยู่สักว่าลมหายใจเข้าออก. อธิบายว่า ไม่ได้เป็นอยู่ด้วยปัญญา. ซึ่งคนพาลทั้งหลายเหล่านั้น.
               ในคำว่า ปณฺฑิตานํ มีวิเคราะห์ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใด ย่อมดำเนินไปด้วยปัญญา เหตุนั้นชนเหล่านั้นชื่อว่า บัณฑิต. อธิบายว่า ชนทั้งหลายย่อมดำเนินไปด้วยญาณคติในประโยชน์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ. ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น.
               การคบ คือการเข้าไปนั่งใกล้ ได้แก่ การมีบุคคลนั้นเป็นสหาย การมีบุคคลนั้นเป็นเพื่อนชื่อว่า เสวนา.
               การทำสักการะ การทำความเคารพ การนับถือและการกราบไหว้ ชื่อว่า บูชา.
               คำว่า ปูชเนยฺยานํ หมายถึง ผู้ควรแก่การบูชา.
               คำว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวบรวมการกระทำทั้งหมดคือ การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ เข้าด้วยกันแล้วตรัสว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด
               มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ท่านจงถือเอาในคำที่ท่านถามว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกมงคลอันสูงสุด ทั้ง ๓ นี้ว่า เป็นมงคลอันสูงสุดก่อนดังนี้ก่อน นี้คือการอธิบายบทแห่งพระคาถานี้.
               ส่วนการอธิบายเนื้อความแห่งพระคาถานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบอย่างนี้.
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับคำของเทพบุตรนี้อย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า อเสวนา จ พาลานํ การไม่คบคนพาลทั้งหลายดังนี้เป็นต้น.


- มงคลสูตรนี้ เป็นธรรมอันว่าด้วยการปฏิบัติชอบ เป็นทางเจริญแห่งมรรค คือ ประกอบด้วย ศีล ทาน ภาวนา เป็นข้อเจริญปฏิบัติที่เหล่าเทวดาทั้งหลายไปทูลกราบขอข้อเจริญปฏิบัติกับพระตถาคตผู้เป็นพระบรมครู มนุษย์และเทวดาทั้งหลายพึงทำ แม้เทวดาทั้งหลายก็เจริญปฏิบัติให้บรรลุบททั้ง ๓๘ ประการตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาเช่นนี้ๆ เมื่อเราผู้เป็นมนุษย์นั้นเจริญปฏิบัติกระทำในมงคลทั้ง ๓๘ ประการนี้ดีแล้ว ย่อมนำประโยชน์สุขมาให้แต่ตนเอง ครอบครัว และ คนรอบข้าง แลเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปจุติในสุคติภูมิอยู่บนสวรรค์นั้น






ความหมายของคำว่า มนุษย์

               สัตว์โลกที่ชื่อว่า มนุษย์ เพราะอรรถว่าเป็นเหล่ากอแห่งพระมนู ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า สัตว์โลกทั้งหลายที่ชื่อว่ามนุษย์ เพราะเป็นผู้มีใจสูง.
               มนุษย์เหล่านั้นมี ๔ จำพวก คือ พวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ๑ พวกมนุษย์ชาวอมรโคยาน* ๑ พวกมนุษย์อุตตรกุรุ ๑ พวกมนุษย์ชาวปุพพวิเทหะ ๑.
               มนุษย์ชาวชมพูทวีป ท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้.


ชมพูทวีป หมายถึง โลกมนุษย์ทั้งหมด ไม่ใช่อินเดีย-เนปาล อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ ดังมีหลักฐานที่พระพุทธเจ้าแสดงดังนี้

ทวีปต่างๆในจักรวาล
๑) ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว
-มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง ๔ ศอก มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี (อาจตายก่อนอายุได้ ไม่แน่นอน)
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุยิ่งหย่อนขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน
-สมัยหนึ่งมนุษย์ในชมพูทวีปเคยมีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปี แต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมลง อาหารเลวลง อายุก็ลดลง
-ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง ๑๐ ปี เท่านั้น และตัวจะเตี้ยถึงขนาดต้องสอยมะเขือกิน
-ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป" เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก "ชมพู"

๒) อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-เป็นแผ่นดินกว้าง ๙,๐๐๐ โยชน์ ประกอบด้วยเกาะ และแม่น้ำใหญ่น้อย
-มีธาตุแก้วผลึกอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุแก้วผลึกทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอมรโคยานทวีปมีสีแก้วผลึก
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก มีใบหน้าวงกลม คล้ายวงพระจันทร์ คนหน้าเหมือนดั่งเดือนแรม จมูกโด่ง คางแหลม
-มนุษย์ที่อมรโคยานทวีป มีความสูง ๖ ศอก มีอายุ ๕๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-ดอกไม้ประจำอมรโคยานทวีปคือ "กะทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)"

๓) ปุพพวิเทหะทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-เนื้อที่กว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ มีเกาะ ๔๐๐ เกาะ
-มีธาตุเงินอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุเงินทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของปุพพวิเทหะทวีปมีสีเงิน
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์เต็มดวง คนหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์ มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร
-มนุษย์ที่ปุพพวิเทหะทวีป มีความสูง ๙ ศอก มีอายุ ๗๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-ดอกไม้ประจำปุพพวิเทหะทวีปคือ "สิรีสะ (ไม้ทรึก)"

๔) อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม เนื้อที่กว้าง ๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นที่ราบ
-มีธาตุทองคำอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุทองคำทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอุตรกุรุทวีปมีสีเหลืองทอง
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ รูปร่างงาม มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ ไม่ยึดถือสมบัติ บุตร ภรรยา สามี ว่าเป็นของๆตน
-มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป มีความสูง ๑๓ ศอก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-มีต้นไม้นานาชนิด ดอกไม้ประจำอุตรกุรุทวีปคือ "กัปปรุกขะ (กัลปพฤกษ์)" ถ้าอยากได้อะไร ก็ไปนึกเอาที่ต้นกัลปพฤกษ์ จะสมปรารถนา
-มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป เมื่อตายจากทวีปนี้ ทุกคนจะได้ไปเกิดใน "เทวภูมิ" ทุกๆคน เป็นกฏตายตัว






ขอขอบคุณที่มาบทขัดมังคลสุตตังโดยย่อจาก
//namthan01.blogspot.com/2013/07/blog-post.html
ขอขอบคุณอรรถกถาจาก
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=317
มนุษย์ จักรวาล หนื่นแสนโกฏฺิโลกธาตุ มีใน จูฬนีสูตร เป็นต้น
//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=5985&Z=6056
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=520



มงคลปริตร หรือ มงตลสูตร


ใช้สวดเพื่อแสดงมงคลอันสูลสุดที่พระพุทธเจ้าตรัสบอกให้แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนและที่พักอาศัย


(หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะคาถาโย ภะนามะ เส.)


- มงคลสูตรนี้ เป็นธรรมอันว่าด้วยการปฏิบัติชอบ เป็นทางเจริญแห่งมรรค คือ ประกอบด้วย ศีล ทาน ภาวนา เป็นสิ่งอันผู้ชื่อว่า มนุษย์และเททวดาทั้งหลายพึงทำ แม้เทวดาทั้งหลายก็เจริญปฏิบัติให้บรรลุบททั้ง ๓๘ ประการตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาเช่นนี้ๆ เมื่อเราผู้เป็นมนุษย์นั้นเจริญปฏิบัติกระทำในมงคลทั้ง ๓๘ ประการนี้ดีแล้ว ย่อมนำประโยชน์สุขมาให้แต่ตนเอง ครอบครัว และ คนรอบข้าง แลเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปจุติในสุคติภูมิอยู่บนสวรรค์นั้น



เอวัมเม  สุตัง
อันข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ)
ได้สดับมาแล้วอย่างนี้,           
เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา,
สมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า,
สาวัตถิยัง  วิหะระติ  เชตะวะเน,
เสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของ
อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเม,
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี,

อะถะ  โข  อัญญะตะรา  เทวะตา,
ครั้งนั้นแล เทพยดาองค์ใดองค์หนึ่ง,
อะภิกกันตายะ  รัตติยา,
ครั้นเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว,

อะภิกกันตะวัณณา,
มีรัศมีอันงามยิ่งนัก,
เกวะละกัปปัง  เชตะวะนัง,
ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง,

โอภาเสตะวา, เยนะ  ภะคะวา  เตนุปะสังกะมิ,
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ในที่ใด
ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น,
อุปสังกะมิตวา  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทตวา,
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว
จึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว,

เอกะมันตัง  อัฏฐาสิ,
ได้ยืนอยู่ในท่ามกลางส่วนข้างหนึ่ง,
เอกะมันตัง  ฐิตา  โข  สา  เทวะตา,
ครั้นเทพยดานั้น
ยืนในที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล,

ภะคะวันตัง  คาถายะ  อัชฌะภาสิ,
ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า,
พะหู  เทวา  มะนุสสา  จะ,
หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก,
มังคะลานิ  อะจินตะยุง  อากังขะมานา  โสตถานัง,       
ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย,
พรูหิ  มังคะละมุตตะมัง.
ขอพระองค์จงเทศนา มงคลอันสูงสุด.


(ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า)

อะเสวะนา  จะ  พาลานัง,
การไม่คบคนพาลทั้งหลาย ๑, 
ปิณฑิตานัญจะ  เสวะนา,
การคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑,
ปูชา  จะ  ปูชะนียานัง,
การบูชาชนควรบูชาทั้งหลาย ๑, 
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ,

ปะฏิรูปะเทสะวาโส  จะ,
การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑,
ปุพเพ  จะ  กะตะปุญญะตา,
การเป็นผู้มีบุญ อันทำแล้วในกาลก่อน ๑,
อัตตะสัมมาปะณิธิ  จะ,
การตั้งตนไว้ชอบ ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ,

พาหุสัจจัญจะ  สิปปัญจะ,
การได้ฟังมาแล้วมาก ๑, ศิลปศาสตร์ ๑,
วินะโย  ตะ  สุสิกขิโต,
วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑,
สุภาสิตา   จะ  ยา  วาจา,
วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง,
การบำรุงมารดาและบิดา ๑,
ปุตตะทารัสสะ  สังคะโห,
การสงเคราห์ลูกและเมีย ๑,
อะนากุลา  จะ  กัมมันตา,
การงานทั้งหลายไม่อากูล ๑,
เอตัมมังตะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

ทานัญจะ  ธัมมะจะริยา  จะ,
การให้ ๑,  การประพฤติธรรม ๑,
ญาตะกานัญจะ  สังคะโห,
การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑,
อะนะวัชชานะ  กัมมานิ,
กรรมทั้งหลายไม่มีโทษ ๑.
เอตัมมังตะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

อาระตี  วีระตี  ปาปา,
การงดเว้นจากบาป ๑,
มัชชะปานา  จะ  สัญญะโม,
การเว้นจากการดื่มน้ำเมา ๑.
อัปปะมาโท  จะ  ธัมเมสุ,
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑.
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

คาระโว  จุ  นิวาโต  จะ,
การเคารพ ๑   การไม่จองหอง ๑,
สันตุฏฐี  จะ  กะตัญญุตา,
ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑,
การเป็นผู้รู้อุปการะ อันท่านทำแล้วแก่ตน ๑,
กาเลนะ  ธัมมัสสะวะนัง,
การฟังธรรมโดยกาล ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

ขันตี  จะ  โสวะจัสสะตา,
ความอดทน ๑,  การเป็นผู้ว่าง่าย ๑,
สะมะณานัญจะ  ทัสสะนัง,
การเห็นสมณะทั้งหลาย ๑,
กาเลนะ  ธัมมะสากัจฉา,
การเจรจาธรรมโดยกาล ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

ตะโป  จะ  พรัหมะ  จะริยัญจะ,
ความเพียรเผากิเลส ๑,
ความประพฤติอย่างพรหม ๑,
อะริยะสัจจานะ  ทัสสะนัง,
การเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑,
นิพพานะสัจฉิกิริยา  จะ,
การทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

ผุฏฐัสสะ  โลกะธัมเมหิ  จิตตัง,
จิตของผู้ใด อันโลกธรรมทั้งหลาย
ยัสสะ  นะ  กัมปะติ,
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว,
อะโสกัง  วิระชัง  เขมัง,
ไม่มีโศก  ปราศจากธุลี   เกษม,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

เอตาทิสานิ  กัตวานะ,
เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย
กระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว,
สัพพัตถะ  มะปะราชิตา,
เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง,
สัพพัตถะ  โสตถิง  คัจฉันติ,
ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง,
ตันเตสัง  มังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด  ของเทพยดา
และมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.





- เมื่อเราทำไว้ในใจเจริญระลึกในมงคลทั้ง ๓๘ ประการนี้มาเป็นที่ตั้งแห่งสติ ด้วยระลึกว่าพระตถาคตผู้เป็นสมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าตรัสสอนแก่ท้าวมหาพรหมให้เจริญปฏิบัติดังนี้และแม้เทวดาหมู่ใดทั้งหลายบนสวรรค์ทั้งปวงก็พึงกระทำให้บรรลุบทในมงคงทั้ง ๓๘ ประการนี้ ด้วยเหตุดังนี้เราก็ควรน้อมนำปฏิบัติเจริญในใจอยู่เนืองๆซึ่งมงคลทั้ง ๓๘ ประการนั้นแล้วกระทำออกมาทางกายและวาจา ย่อมถึงซึ่งอนุสสติ ๖ อันว่าด้วย "เทวตานุสสติ" และ ทำให้เราเข้าถึงซึ่งทางแห่งมรรค อันสืบเนื่องไปสู่ผล ที่พระโสดาบันเป็นต้นพึงกระทำให้บรรลุบท เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ไม่ก้าวลงสู่สิ่งที่ชั่วและแม้เมื่อจะละโลกนี้ไปแล้วก็ไม่ก้าวล่วงสู่นรกย่อมขึ้นไปสู่แดนสุคติภูมิที่เหล่าเทวดาอาศัยอยู่ด้วยประการฉะนี้





ขอขอบคุณที่มาบทสวดมนต์แปลจาก
//namthan01.blogspot.com/2013/07/blog-post.html



Create Date : 14 สิงหาคม 2558
Last Update : 14 กันยายน 2559 16:11:15 น.
Counter : 603 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]