Group Blog
สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
อาฏานาฏิยปริตร # ๔-๘ ภาณยักษ์,สัจจะกิริยา,ยังกิญจิระตะนังคาถา,คาถาสักกัตตะวาคาถา, สามัญญานุโมทนาคาถา


อาฏานาฏิยปริตร # ๔ (เตสัง สัจเจนะ (ภาณยักษ์))


ตั้งจิตระลึกถึงคุณแห่งพระเมตตาและกรุณาของพระพุทธเจ้า
จากนั้นตั้งจิตน้อมนำเอาพระบารมีนั้นแผ่เมตตาไปตามทิศทั้งหลาย
ขอให้ สัมภเวสี และ อมนุษย์ จงเป็นผู้มีสุข ปราศจากทุกข์
ขอให้ เทพยดาทั้งหลาย ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔
มีท้าวเวสสุวรรณ(ท้าวกุเวร) ท้าวธตรฏฐ์ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ จงเป็นผู้มีสุข ปราศจากทุกข์
ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น จงเป็นมิตรอันดีแก่เรา จงดูแลคุ้มครองรักษาเรา อย่าได้ผูกเวรเบียดเบียนเรา
แล้วแผ่ไปให้เขาเหล่านั้นตามทิศต่างๆตามบทสวดดังนี้

                                                                       .

เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ
ด้วยสัจจะ ด้วยศีล และด้วยกำลังแห่งขันติ
และเมตตาของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้คุณธรรมเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายเทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุข


ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา
คนธรรพ์ทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก มีอยู่ในทิศบูรพา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้คนธรรพ์เหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุข


ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา 
เทพยดาทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก มีอยู่ในทิศทักษิณ
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้เทพยดาเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายเทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุข


ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มะหิทธิกา
นาคทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก มีอยู่ในทิศปัศจิม
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้นาคเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายเทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุข


อุตตะรัสสมิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
ยักษ์ทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก มีอยู่ในทิศอุดร
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้ยักษ์เหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายเทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุข


ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะวิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
ท้าวธตรฏฐ์ ประจำอยู่ทิศบูรพา
ท้าววิรุฬหก ประจำอยู่ทิศทักษิณ
ท้าววิรูปักข์ ประจำอยู่ทิศปัศจิม
ท้าวกุเวร ประจำอยู่ทิศอุดร

จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน
มหาราชทั้ง 4 เหล่านั้น เป็นผู้มียศ รักษาโลก
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้มหาราชเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายเทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุข


อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา
เทพยดาและนาคทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก
สถิตอยู่ในอากาศก็ดี สถิต อยู่ในภาคพื้นก็ดี

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้เทพยดาและนาคเหล่านั้น
จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายเทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุขทุกเมื่อเทอญ.



อาฏานาฏิยปริตร # ๕ สัจจะกิริยา คาถา
                              .

ให้ตั้งสัจจะอธิษฐานขอถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐไปตลอดชีวิต




ให้ทำไว้ในใจระลึกบูชาถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นผู้บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
กำหนดนิมิตว่าเราน้อมก้มลงกราบแทบเบื้องพระบาทของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยความเคารพศรัทธา
จากนั้นก็กล่าวพระคาถาดังนี้ว่า


นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะโสตถิเม โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า



ให้ทำไว้ในใจระลึกบูชาถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเพื่อเป็นเครื่องออกจากทุกข์
กำหนดนิมิตว่าเรานั่งอยู่ในส่วนข้างหนึ่งอันควรแล้วพระพุทธเจ้านั้นตรัสเทสนาธรรมแก่เรา
(ให้ระลึกถึงพระธรรมบทใด พระสูตรใด พระปริตรคาถาใดๆที่เราฟังหรือสวดแล้วสบายกายใจ
ที่เรานำมาปฏิบัติแล้วให้ผลออกจากทุกข์ได้จริง)
แล้วเรากราบลงน้อมรับในธรรมอันประเสริฐ อันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาดีแล้ว
จากนั้นก็กล่าวพระคาถาดังนี้ว่า


นัตถิเม สะระณัง อัญญัง  ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิเม โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า




ให้ทำไว้ในใจระลึกบูชาถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระอรหันต์ และ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ผู้ได้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงแล้ว
แลได้นำพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเผยแพร่ให้เราได้รู้ตาม เป็น สังฆานุสสติ
จากนั้นก็กล่าวพระคาถาดังนี้ว่า


นัตถิเม สะระณัง อัญญัง  สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิเม โหตุสัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า





อาฏานาฏิยปริตร # ๖ ยังกิญจิ ระตะนัง คาถา


ตั้งจิตระลึกถึงบูชาคุณของพระรัตนตรัย เป็น อนุสสติกรรมฐาน



พึงทำไว้ในใจระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าประเสริฐที่สุดในสามโลกไม่มีใครเสมอเหมือน
มีพระเมตตาเอ็นดูต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายเสมอกันหมดไม่เอนเอียง มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ
ได้ทรงนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ได้รู้อมตะธรรมอันประเสริฐอันเป็นบรมสุข
ชี้นำทางสรรพสัตว์ทั้งหลายออกจากที่มืดไปสู่แสงสว่างให้ได้พ้นจากกองทุกข์ตาม
แม้เทวดาและพรหมทั้งหลายก็สักการะบูชา
จากนั้นก็กล่าวพระคาถาดังนี้ว่า


ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
รัตนะหลายหลากมากชนิด อันมีอยู่ในโลก
ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ
แต่รัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระพุทธรัตนะ ย่อมไม่มี
ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต
เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน




พึงทำไว้ในใจระลึกถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว
ซึ่งเป็นธรรมอันประเสริฐที่สุดในสามโลกไม่มีธรรมใดเสมอเหมือน ด้วยเป็นอมตะธรรมอันประเสริฐ อันเป็นบรมสุข
เป็นทางนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายออกจากที่มืดไปสู่แสงสว่างให้ได้พ้นจากกองทุกข์ตามเป็นผล
แม้เทวดาและพรหมทั้งหลายก็สักการะบูชา
จากนั้นก็กล่าวพระคาถาดังนี้ว่า


ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
รัตนะหลายหลากมากชนิด อันมีอยู่ในโลก
ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ
แต่รัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระธรรมรัตนะ ย่อมไม่มี
ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต
เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน




พึงทำไว้ในใจระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
มีพระอรหันตสาวกทั้งหลาย พระอริยะสาวกทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงแล้ว
ได้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว และ ได้เผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้เราได้รู้ตาม
ซึ่งเป็นสมณะสงฆ์ที่ประเสริฐที่สุดในสามโลกไม่มีสมณะสงฆ์ใดเสมอเหมือน ควรแก่เขากราบไหว้ต้อนรับ ควรแก่เขานำมาบูชา
ได้นำพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเผยแพร่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย
ได้รู้ทางออกจากที่มืดไปสู่แสงสว่างให้ได้พ้นจากกองทุกข์ตามเป็นผล
แม้เทวดาและพรหมทั้งหลายก็สักการะบูชา
จากนั้นก็กล่าวพระคาถาดังนี้ว่า


ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
รัตนะหลายหลากมากชนิด อันมีอยู่ในโลก
ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ
แต่รัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระสังฆรัตนะ ย่อมไม่มี
ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ฯ





บทพระคาถานี้ผู้ที่ปฏิบัติและศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระรัตนะตรัย
จะสามารถน้อมระลึกถึงด้วยความปราศจากกิเลส มีความสงบและจิตตั้งมั่น
จากความทำไว้ในใจจากการประกาศตนเป็นพุทธบริษัทนั้นด้วยเหตุดังนี้ว่า

- ศรัทธาในพระพุทธเจ้ายิ่ง เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยขัดเคืองกายใจ
- ศรัทธาในพระธรรมยิ่ง เชื่อและเข้าถึงซึ่งธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว
- ศรัทธาในพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า คือ พระอรหันต์ พระอริยะเจ้า ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงแล้ว

เพราะมีศรัทธาเต็มกำลังใจอย่างนี้ๆ จิตเราจึงมีความมุ่งมั่นจดจ่อตั้งอยู่ที่พระรัตนตรัยโดยส่วนเดียว
เป็นเหตุทำให้จิตตั้งมั่นได้ง่าย จึงเข้าถึงซึ่งอุปจาระสมาธิได้ง่ายดังนี้


อาฏานาฏิยปริตร # ๗ สักกัตตะวา คาถา





ตั้งจิตระลึกบูชาถึงคุณของพระพทุธเจ้า เป็น พุทธานุสสติ
แล้วระลึกว่า เรากราบแทบเบื้องพระบาทของพระองค์ จากนั้นสวดพระคาถาดังนี้


สักกัตตะวา พุทธะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระพุทธรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ


หิตัง เทวะมะนุสสานัง
เป็นประโยชน์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย     
พุทธะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า


นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงพินาศไป
ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
ขอทุกข์ทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี




ตั้งจิตระลึกบูชาถึงคุณของพระธรรม เป็น ธัมมานุสสติ
แล้วระลึกว่า เรานั่งอยู่ในส่วนข้างหนึ่งอันควรแล้วพระพุทธเจ้านั้นตรัสเทสนาธรรมแก่เรา
(ให้ระลึกถึงพระธรรมบทใด พระสูตรใด พระปริตรคาถาใดๆที่เราฟังหรือสวดแล้วสบายกายใจ
ที่เรานำมาปฏิบัติแล้วให้ผลออกจากทุกข์ได้จริง)
แล้วเรากราบลงน้อมรับในธรรมอันประเสริฐ อันเป็นเครื่องออกจากทุกข์
ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาดีแล้ว จากนั้นสวดพระคาถาดังนี้


สักกัตตะวา ธัมมะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระธรรมรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ


ปะริฬาหูปะสะมะนัง
เป็นเครื่องระงับความกระวนกระวาย       
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระธรรมรัตนะ


นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงพินาศไป
ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
ขอทุกข์ทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี


สักกัตตะวา ธัมมะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระธรรมรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ


ปะริฬาหูปะสะมะนัง
เป็นเครื่องระงับความกระวนกระวาย
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระธรรมรัตนะ


นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงินาศไป
ภะยา วูปะสะเมนตุ เต
ขอภัยทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี




ตั้งจิตระลึกบูชาถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระอรหันต์ และ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย
ผู้ได้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงแล้ว
แลได้นำพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเผยแพร่ให้เราได้รู้ตาม เป็น สังฆานุสสติ
แล้วสวดพระคาถาดังนี้


สักกัตตะวา สังฆะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระสงฆรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ


อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
สังฆะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระสงฆ์


นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงพินาศไป
โรคา วูปะสะเมนตุ เต
ขอโรคทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี




บทสวดพระคาถานี้ใช้เสกยาสมุนไพรกินหายชะงัดดีนักแล
มีความเชื่อว่า..แม้ท่านหมอชีวกท่านก็ใช้พระคาถานี้เสกเมื่อปรุงยาสมุนไพร







อาฏานาฏิยปริตร # ๘ สามัญญานุโมทนา คาถา
                                                      .



สัพพีติโย วิวัชชันตุ..........
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป
สัพพะโรโค วินัสสะตุ..........
โรคทั้งปวง(ของท่าน)จงหาย
มา เต ภะวัตวันตะราโย..........    
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน
สุขี ทีฆายุโก ภะวะ..........
ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน

สัพพีติโย วิวัชชันตุ..........
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป
สัพพะโรโค วินัสสะตุ..........
โรคทั้งปวง(ของท่าน)จงหาย
มา เต ภะวัตวันตะราโย..........    
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน
สุขี ทีฆายุโก ภะวะ..........
ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน

สัพพีติโย วิวัชชันตุ..........
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป

สัพพะโรโค วินัสสะตุ..........
โรคทั้งปวง(ของท่าน)จงหาย

มา เต ภะวัตวันตะราโย..........
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน

สุขี ทีฆายุโก ภะวะ ฯ..........
ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน

อะภิวาทะนะสีลิสสะ..........นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ......อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯ
ธรรมสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่
ผู้มีปรกติไหว้กราบ,มีปรกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์ ฯ







Create Date : 14 สิงหาคม 2558
Last Update : 14 สิงหาคม 2558 7:19:27 น.
Counter : 571 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]