ปัญหาทุกอย่าง มีทางออกเสมอ
Group Blog
 
<<
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
13 เมษายน 2550
 
All Blogs
 
จตุคามรามเทพกำลัง Fever เอาประวัติท่านขุนพันธ์มาให้อ่านกันครับ

สำหรับประวัติของ พล.ต.ต.ขุนพันธ รักษ์ราชเดช

เดิมชื่อว่า “บุตร์ พันธรักษ์” มีพี่น้องรวม 6 คน โดย พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช” เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 ก.พ. พ.ศ. 2446 ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ 5 ต.ดอนตะโก อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นพื้นที่ อ.พรหมคีรี ในด้านชีวิตครอบครัว พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช มีภรรยาคนแรกชื่อเฉลา ตอนนั้นท่านมีอายุได้ประมาณ 30 ปี ขณะที่รับราชการอยู่ที่จังหวัดพัทลุง มีบุตรด้วยกัน 8 คน ต่อมาภรรยาเสียชีวิต ท่านจึงได้ภรรยาใหม่ชื่อสมสมัย มีบุตรด้วยกัน 4 คน

โดยตระกูลของฝ่ายบิดา พล.ต.ต.ขุน พันธรักษ์ราชเดช นั้นสืบเชื้อสายมาจากหมอประจำราชสำนัก ของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ทำให้ได้รับการถ่ายทอดตำรับยาและมีความรู้ในเรื่องแพทย์แผนโบราณเป็นอย่างดี โดยเข้าเรียนครั้งแรกเมื่อปี 2452 กับพระอาจารย์ปาน หรือหลวงพ่อปานวัดอ้ายเขียว ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเกจิรูปหนึ่งของภาคใต้ หลังเริ่มร่ำเรียนด้านไสยศาสตร์กับครูคนแรกคือ “หมื่นตาหมอพลับ” และในปี 2468 ได้สอบบรรจุเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ กระทั่งจบการศึกษาและออกมาทำหน้าที่รับราชการเป็นตำรวจ มีความสนใจศึกษาทางด้ายไสยเวทย์กับสำนักเข้าอ้อที่ จ.พัทลุง โดยมีปรมา จารย์ คือ “ปรมาจารย์ทองเฒ่า” และมีพระอาจารย์เอียด เป็นผู้ประสาทวิชาให้

ด้านประวัติการทำงาน มีชื่อเสียงโด่งดังในการปราบขุนโจรชื่อดังหลายคน ไม่ว่าจะเป็นโจร “เสือดำ หัวแพร” ซึ่งเป็นขุนโจรชื่อดังใน จ.พัทลุง “เสือกลับ คำทอง” รวมถึง สี่เสือเมืองสุพรรณ อย่าง เสือใบ, เสือมเหศวร, เสือร้ายนามกระเดื่องแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่บรรดาเหล่าโจรยกให้เป็นหัวหน้าโจรในสมัยนั้น และขุนโจรแบ่งแยกดินแดน อย่าง “ขุนโจรอะแวสะดอ” ในภาคใต้ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้ทำการปราบปรามเหล่าโจรหลากหลายรูปแบบ ทั้งการนำเอาความรู้ด้านไสยเวทย์มาประยุกต์ใช้ประโยชน์กับราชการ จนสร้างชื่อเสียงให้กับกรมตำรวจในขณะนั้น ก่อนจะเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2507 ได้ตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี.

ประวัติ ท่านขุนพันธ์

• พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต ๘ เป็นนายตำรวจชาวเมืองนครศรีธรรมราช ที่ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่จนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วไปในภาคใต้และในจังหวัดอื่นๆ ที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝีมือในการปราบปรามโจรผู้ร้าย

• นอกจากนั้น ท่านยังเป็นผู้สนใจวิชาการทั่วไป โดยสนใจทางด้าน ประวัติศาสตร์ คติชนวิทยา และไสยศาสตร์ เป็นพิเศษมีข้อเขียนปรากฏอยู่ในหนังสือ และวารสารต่างๆหลายเรื่อง ปัจจุบันคนทั่วไปนิยมเรียกท่านสั้นๆ ว่า "ท่านขุน"



ขุนพันธรักษ์ราชเดช


พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช มีชื่อเดิมว่า

• บุตร์ พันธรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๖ ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์ เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรกกับบิดา ตั้งแต่ ก ข ก กา ไปจนจบ

• พออ่านสมุดข่อยได้บ้าง จึงได้เข้าเรียนที่วัดอ้ายเขียวกับอาจารย์ปานซึ่งเป็นสมภาร และอาจารย์นาม สมภารรูป ต่อมา และที่วัดอ้ายเขียวนี้เอง ท่านได้เรียนกับครูฆราวาสคนหนึ่งชื่อ นายหีด เป็นชาวอำเภอสวี จังหวัดชุมพร

• ซึ่งอาจารย์ปานได้พามาอยู่ที่วัดนี้ เป็นผู้มีความรู้ใครๆ เรียกกันว่า หลวงหีด นายหีดได้สอนหนังสือไทยแบบใหม่ให้คือ ใช้แบบเรียนเร็ว เล่ม ๑ - ๒ - ๓ จนท่านขุนมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่ในเกณฑ์ดีหลังจากนั้นท่านจึงเข้าสู่การศึกษาระบบโรงเรียน



ขุนพันธรักษ์ราชเดช


โดยเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ ๑ ที่โรงเรียนวัดสวนป่าน

• อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากท่านมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสือดีอยู่แล้วก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ดังนั้น เมื่อเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ ๑ ได้ ๑ วันทางโรงเรียนก็เลื่อนชั้นให้เรียนชั้นประถมปีที่ ๒ และวันรุ่งขึ้นก็เลื่อนชั้นให้เรียนในชั้นประถมปีที่ ๓ เป็นอันว่าท่านเข้าโรงเรียนได้เพียง ๓ วันได้เลื่อนชั้นถึง ๓ ชั้น

• เมื่อครั้งเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่โรงเรียนวัดสวนป่าน มีพระภิกษุอินทร์รัตนวิจิตร เป็นผู้สอน เรียนอยู่ได้ประมาณ ๒ เดือน โรงเรียนนั้นก็ถูกยุบ ท่านจึงเข้าเรียนในชั้นเดิมที่โรงเรียนวัดพระนคร ตำบลพระเสื้อเมือง (ปัจจุบันตำบลในเมือง) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีครูเพิ่ม ณ นคร เป็นครูประจำชั้นเรียนจนจบประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนในปี พ.ศ. ๒๔๕๖

• ได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ ๑ ที่โรงเรียนวัดท่าโพธิ์ (โรงเรียนเบญจมราชูทิศในปัจจุบัน)พอเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๒ ได้ไม่กี่เดือนก็ต้องออกจากโรงเรียนเพราะป่วยเป็นโรคคุดทะราด ต้องพักรักษาตัว ถึงปีกว่า เมื่อหายจึงคิดที่จะกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเดิม แต่ปรากฎว่าเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ ๒ และปีที่๓ แล้ว

• จึงเปลี่ยนเดินทางเข้าไป ศึกษาที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยไปอยู่กับพระปลัดพลับ บุณยเกียรติ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า ที่วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) ได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ในชั้นมัธยมปีที่ ๒



ขุนพันธรักษ์ราชเดช


ขณะที่เรียนที่โรงเรียนนี้ได้เรียนวิชามวย ยูโด และยิมนาสติก

• จากครูหลายคน เช่น ครูย้าย ครูศิริ ครูนก ครูมณี จนมีความชำราญพอสมควร ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗

• ต่อมาในปี พ.ศ. ๓๔๖๘ จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐมขณะที่เรียนได้เป็นครูมวยไทยด้วย เรียนอยู่ ๕ ปี สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ หลังจากจบการศึกษาแล้วทางราชการได้แต่งตั้งให้ไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อย ที่กองลังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. ๓๔๗๓ เป็นนักเรียนทำการอยู่ ๖ เดือน ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยตรี

• ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กองเมือง จังหวัดพัทลุง ที่พัทลุงนี้เองท่านได้สร้างเกียรติประวัติดในตำแหน่งหน้าที่จนเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงราชการและคนทั่วไป โดยการปราบปรามผู้ร้ายสำคัญของจังหวัดพัทลุง คือ เสือสังหรือเสือพุ่ม

• ซึ่งเป็นเสือร้ายที่แหกคุกมาจากเมืองตรัง ขุนพันธรักษ์ราชเดช เล่าว่า เสือสังนี้มีร่างกายใหญ่โตดุร้าย และมีอิทธิพลมาก มาอยู่ในความปกครองของกำนันตำบลป่าพยอม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงนอกจากนั้นแล้วยังมีคนใหญ่คนโตหลายคนให้ความอุ้มชูเสือสัง จึงทำให้เป็นการยากที่จะปราบได้

• แต่ท่านก็สามารถปราบเสือสังได้ในปีแรกที่ย้ายมารับราชการ โดยท่านไปปราบปรามเสือสังได้ในปีแรกที่ย้ายมารับราชการโดยท่านไปปราบร่วมกับพลตำรวจเผือก ด้วงชู มี นายขี้ครั่ง เหรียญขำ เป็นคนนำทาง การปราบปรามเสือสังครั้งนี้ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก





ตอนนั้นจเรพระยาศรีสุรเสนาไปตรวจราชการตำรวจที่พัทลุงพอดี

• ผู้ปราบเสือสังจึงได้รับความดีความชอบ คือ ว่าที่ร้อยตำรวจตรีบุตร์ พันธรักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นร้อยตำรวจตรี พลตำรวจเผือก ด้วงชู เป็นสิบตรี นายขี้ครั่ง ได้รับรางวัล ๔๐๐ บาท หลังจากนั้นมาอีก ๑ ปี ท่านก็ได้รับผู้ร้ายสำคัญอื่นๆ ๑๖ คน เช่น เสือเมือง เสือทอง เสือย้อย เสือแดง เป็นต้น ด้วยความดี ความชอบ

• จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น"ขุนพันธรักษ์ราชเดช" และในปีพ.ศ. ๒๔๗๘ ได้รับเลื่อนยศเป็น นายร้อยตำรวจโท และในปีนี้ได้อุปสมบทที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีท่านเจ้าคุณรัตนธัชมุนี (แบน) เป็นพระอุปัชฌาย์บวชอยู่ได้ ๑ พรรษา จึงลาสิกขา

• ในปี พ.ศ.๒๔๗๙ ท่านได้ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองตรวจ ประจำกองบังคับการตำรวจภูธรมณฑล นครศรีธรรมราชประจำจังหวัดสงขลาได้ปราบโจรผู้ร้ายหลายคน กองปราบโจรครั้งสำคัญได้ทำให้ท่านมีชื่อเสียงมาก คือ การปราบผู้ร้ายทางการเมือง ที่นราธิวาส ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ หัวหน้าโจรชื่อ "อะเวสะดอตาเละ" นัยว่าเป็นผู้ที่อยู่ยงคงกระพัน เที่ยวปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยเท่านั้น ในที่สุดก็ถูกขุนพันธ์ฯ จับได้ท่านจึงได้รับฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า "รายอกะจิ" และไดัเลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอกในปีนั้นเอง





พ.ศ.๒๔๘๒ ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับกองเมืองพัทลุง

ปี พ.ศ.๒๔๘๕ ย้ายเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้ปราบปรามโจรหลายราย รายสำคัญคือเสือสายและเสือเอิบ

• หลังจากนั้นขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดในภาคอื่น คือใน พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดพิจิตร ได้ปฏิบัติหน้าที่ มีความดีความชอบเรื่อยมา และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายมากมายที่สำคัญคือการปราบเสือโน้มหรืออาจารย์โน้ม จึงได้รับพระราชทานยศเป็นพันตำรวจตรี

• พ.ศ.๒๔๘๙ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท ได้ปะทะและปราบปรามเสือร้ายหลายคน เช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร เป็นต้น

• กรมตำรวจได้พิจารณาเห็นว่า ผู้ร้ายในเขตจังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรี ชุกชุมมากขึ้นทุกวัน ยากแก่การปราบปรามให้สิ้นซากจึงได้ตั้งกองปราบพิเศษขึ้น โดยคัดเลือกเอาเฉพาะนายตำรวจที่มีฝีมือในการปราบปรามรวมได้ ๑ กองพัน

• แต่งตั้งให้ พ.ต.ต.สวัสดิ์ กันเขตต์ เป็นผู้อำนวยการกองปราบและ พ.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราขเดช เป็นรองผู้อำนวยการกองปราบพิเศษ ได้ประชุมนายตำรวจที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อวางแผนกำจัดเสือฝ้าย แต่แผนล้มเหลวผู้ร้ายรู้ตัวเสียก่อน

• ขุนพันธ์ฯได้รับคำสั่งด่วนให้สกัด โจรผู้ร้ายที่แตกเข้ามาจังหวัดชัยนาทครั้งนั้น ขุนพันธ์ฯ ใช้ดาบเป็นอาวุธคู่มือแทนที่จะใช้ปืนยาวดาบนั้นมีถุงผ้าแดงสวมทั้งฝักและด้าม





คนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า "ขุนพันธ์ดาบแดง"

• ฝีมือขุนพันธ์ฯ เป็นที่ครั่นคร้ามของพวกมิจฉาชิพทั่วไป แม้แต่เสือฝ้ายเองก็เคยติดสินบนท่านถึง ๒๐๐๐ บาท เพื่อไม่ให้ปราบปรามแต่ขุนพันธ์ฯ ก็ไปสนใจ คงปฏิบัติหน้าที่อย่างดีจนปราบปรามได้สำเร็จ ท่านอยู่ชัยนาท ๓ ปี ปราบปรามเสือร้ายต่าง ๆ สงบลงแล้วได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับตำรวจภูธรที่อยุธยาอยู่ได้ประมาณ ๔ เดือนเศษ ก็เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุมที่กำแพงเพชร

• ตอนนั้นเป็นระยะเปลี่ยนอธิบดีกรมตำรวจ และ ขุนพันธ์ฯ ก็ถูกใส่ร้ายจากเพื่อนร่วมอาชีพว่าเป็นโจรผู้ร้าย พล.ร.ต.หลวงสังวรยุทธกิจ อธิบดีกรมตำรวจยังเชื่อมั่นว่าขุนพันธ์ฯเป็นคนดี จึงโทรเลขให้ไปพบด่วนและแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชรเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐

• ขุนพันธ์ฯ ได้ปรับปรุงการตำรวจภูธรของเมืองนี้ ให้มีสมรรถภาพขึ้นและได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายต่าง ๆ ที่สำคัญคือเสือไกร กับ เสือวันแห่งอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ฝีมือการปราบปรามของขุนพันธ์ฯ ยิ่งลือกระฉ่อนไปไกล



ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๑

• ทางจังหวัดพัทลุงมีโจรผู้ร้ายกำเริบชุกชุมขึ้นอีก ราษฎรชาวพัทลุงนึกถึงขุนพันธ์ฯนายตำรวจมือปราบ เพราะเคยประจักษ์ฝีมือมาแล้ว จึงเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมตำรวจผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอตัวขุนพันธ์ฯกลับพัทลุง เพื่อช่วยปราบโจรผู้ร้าย กรมตำรวจอนุมัติตามคำร้องขอ

• ขุนพันธ์ฯจึงได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุงอีกวาระหนึ่ง ได้ปราบปรามเสือร้ายที่สำคัญ ๆ สิ้นชื่อไปหลายคนผู้ร้ายบางคนก็หนีออกนอกเขตพัทลุงไปอยู่เสียที่อื่น นอกจากงานด้านปราบปราม ซึ่งเป็นงานที่ท่านถนัดและสร้างชื่อเสียงให้ท่านเป็นพิเศษแล้ว ท่านยังได้พัฒนาเมืองพัทลุงให้เป็นเมืองท่องเที่ยว โดยการปรับปรุงชายทะเลตำบลลำปำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและให้มีตำราจคอยตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารรถไฟที่เข้าออกเมืองพัทลุง

• ทำให้เมืองพัทลุงในสมัยที่ท่านเป็นผู้กำกับการตำรวจมีความสงบน่าอยู่ขึ้นมาก ตำรวจที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้เลิกไปเมื่อกรมตำรวจจัดตั้งกองตำรวจรถไฟขึ้นด้วยคึวามดีความชอบในหน้าที่ราชการ ท่านจึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำราจโท ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔๓




ท่านอยู่เมืองพัทลุงได้ ๒ เดือนเศษจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๔

• จึงได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต ๘ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจเขต ๘ และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น พันตำรวจเอก และในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.ศ.๒๕๐๗

• ตลอดชีวิตรับราชการ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกียรติประวัติในการปราบปรามโจรผู้ร้ายคนสำคัญๆ ของจังหวัดต่างๆที่ท่านไปประจำอยู่จนเป็นที่เลื่องลือของคนทั่วไป และเป็นที่ครั่นคร้ามของโจรก๊กต่างๆ

• นับได้ว่าท่านเป็นนายตำรวจมือปราบคนสำคัญคนหนึ่งของเมืองไทย และด้วยฝีมือในการปราบปรามนี้เองทำให้ท่านได้รับการเลื่อนยศ และตำแหน่งสูงขึ้นเป็นลำดับมา แม้เกษียณแล้วท่านก็ยังสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้านเมืองเสมอมา เช่น ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยเลือกตั้งปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นต้น




นอกจากเกียรติคุณทั้งในและนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าวแล้ว

• ขุนพันธ์รักษ์ยังมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ที่สำคัญซึ่งควรกล่าวถึงคือ เป็นนักวิชาการที่สำคัญคนหนึ่ง ท่านเป็นทั้งนักอ่านและนักเขียน ได้เขียนเรื่องราวต่างๆ ลงพิมพ์ในหนังสือ และวารสารต่างๆ หลายเรื่อง

• ขุนพันธ์ฯ เป็นคนหนึ่งที่ให้ความสนใจในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มาก เรื่องที่เขียนส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ นอกจากนั้น ก็ยังมีเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั้งประวัติบุคคล และสถานที่ตำนานท้องถิ่น มวย และเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง

• ข้อเขียนต่างๆ ของท่าน เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ในภาคใต้ สองเกลอ ช้างเผือกงาดำ หัวล้านนอกครู ศิษย์เจ้าคุณ มวยไทย เชื่อเครื่องกรุงชิง เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องกรุงชิงนั้น ท่านเล่าว่าเป็นเรื่องที่ท่านเขียนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันตามพระบรมราชโองการ

• และต่อมา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ขออนุญาตนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ใน "รูสมิแล" วารสารของมหาวิทยาลัยปีที่ ๖ ฉบับที่ ๓ เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ งานเขียนของท่านส่วนมากจะลงพิมพ์ในวารสารนครศรีธรรมราช

• หนังสืองานเดือนสิบ วิชชา (วารสารทางวิชาการของวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช) รูสมิแล (วารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และหนังสือที่ระลึกในโอกาสต่างๆ ของโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ

• ในด้านชีวิตครอบครัว ขุนพันธรักษ์ราชเดชมีภรรยาคนแรกชื่อ เฉลา ตอนนั้นท่านมีอายุได้ประมาณ ๓๐ ปี ขณะที่รับราชการอยู่ที่จังหวัดพัทลุง มีบุตรด้วยกัน ๘ คน ต่อมาภรรยาเสียชีวิต ท่านจึงได้ภรรยาใหม่ ชื่อ สมสมัย มีบุตรด้วยกัน ๔ คน







Create Date : 13 เมษายน 2550
Last Update : 20 เมษายน 2550 15:16:58 น. 4 comments
Counter : 759 Pageviews.

 


โดย: นัท IP: 203.172.169.68 วันที่: 28 พฤษภาคม 2550 เวลา:12:57:52 น.  

 


โดย: นัท007 IP: 203.172.169.68 วันที่: 28 พฤษภาคม 2550 เวลา:12:59:06 น.  

 
เด็ดมั่กมากเยย


โดย: ying IP: 203.170.191.167 วันที่: 9 มิถุนายน 2550 เวลา:10:00:08 น.  

 
เข้ามาอ่านเรื่องจตุคาม


โดย: แพรจารุ IP: 203.113.50.14 วันที่: 15 มิถุนายน 2550 เวลา:8:00:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

KnightWin
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




รักแรก รักเดียว รักเธอ
ยินดีต้อนรับ เพื่อน ๆ ทุกคนครับ
ส่งอีเมล์ถึงเราได้ที่นี่ครับ
Tips for New Bloggers
Google

Friends' blogs
[Add KnightWin's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.