Group Blog
 
<<
มกราคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
3 มกราคม 2557
 
All Blogs
 
<<<+++วรรณกรรมและปรัชญาของขงจื้อ+++>>>



วรรณกรรมและปรัชญาของขงจื้อ





ขงจื้อกับวรรณกรรมทั้งหก (Confucius and the Six Classics)

งานเขียนที่ขงจื้อรวบรวมและชำระสะสางมีอยู่ด้วยกัน 6 เล่ม
เรียกว่า “วรรณกรรมทั้งหก” (The Six Classics หรือ Liu Ching)
ใน “วรรณกรรมทั้งหก” นี้ส่วนใหญ่เป็นงานรวมรวบและชำระสะสาง
มีเพียงเล่มเดียวเท่านั้นที่ขงจื้อเขียนขึ้นเองคือ บันทึกฤดูใบไม่ผลิและฤดูใบไม่ร่วง
และ “วรรณกรรมทั้งหก” นี้ได้ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
ยกเว้นเพียงเล่มเดียวเท่านั้นคือ ดนตรี

“วรรณกรรมทั้งหก”ของขงจื้อมีดังนี้
1. หนังสือแห่งความเปลี่ยนแปลง (book of Changes หรือ I Ching)
2. หนังสือแห่งกวีนิพนธ์ (Book of Poetry หรือ Shih Ching)
3. หนังสือแห่งประวัติศาสตร์ (Book of History หรือ Shu Ching)
4. หนังสือแห่งประเพณีพิธี (Book of Rituals หรือ Li Ching)
5. ดนตรี (Music หรือ Yueh)
6. บันทึกฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง (Spring and Autumn Annals หรือ Ch’un Ch’iu)


ขงจื้อเป็นนักศึกษาที่สำคัญยิ่งของจีน
ท่านเป็นผู้ที่ตีความคำสอนที่มีมาแต่โบราณให้ชัดแจนและมีความหมายในทางจริยะธรรมยิ่งขึ้น
“วรรณกรรมทั้งหก” นี้ท่านเป็นผู้นำมาชำระสะสางเสียใหม่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
พร้อมทั้งเขียนคำอธิบายและเพิ่มเติมความเห็นเข้าไว้ด้วย
ดังนั้นขงจื้อได้ชื่อว่าไม่เพียงแต่เป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณให้คงอยู่เท่านั้น
หากยังได้เพิ่มเติมคำสอนใหม่ๆ และขยายความวัฒนธรรมเดิมนั้นจนเป็นระบบคำสอนที่ชัดเจนขึ้นมา

ตัวอย่างเช่น ตามวัฒนธรรมเดิมที่ได้ปฏิบัติกันมานั้น
เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรม บุตรธิดาจะต้องไว้ทุกข์ให้แก่บิดามารดาเป็นเวลา 3 ปี
ขงจื้อก็ได้มาให้ความหมายของการปฏิบัติเช่นนี้ว่า
“เด็กไม่สามารถที่จะจากอ้อมแขนของพ่อแม่ไปได้ จนกว้าจะมีอายุ 3 ปี
นี้เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการไว้ทุกข์เป็นเวลา 3 ปี
จึงเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายจนเป็นสากล”

และเมื่อพูดถึงหนังสือแห่งกวีนิพนธ์
ขงจื้อก็ได้ให้คุณค่า ทางจริยธรรมแก่หนังสือเล่มนี้ โดยกล่าวว่า
“ในหนังสือแห่งกวีนิพนธ์นี้มีโคลงกลอนทั้งหมด 300 บท
แต่เนื้อแท้ทั้งหมดของโคลงกลอนทั้งหมดเหล่านี้
สามารถสรุปลงได้เหลือเพียงประโยคเดียวว่า อย่าได้มีความคิดที่คดโกง”


คัมภีร์ทั้งสี่ในปรัชญาขงจื้อ (The Four Books in Confuciaism)

คัมภีร์ที่สำคัญที่เป็นหลักในปรัชญาขงจื้อมีอยู่ด้วยกัน 4 เล่ม
เป็นคัมภีร์ที่สานุศิษย์รุ่นหลังของขงจื้อช่วยกันรวบรวมแต่งขึ้น
เรียกว่า “คัมภีร์ทั้งสี่” (The four Books) ซึ้งมีดังนี้

1. ขงจื้อ (The Analects of Confucius หรือ Lun Yu)
2. หลักแห่งทางสายกลาง (The Doctrine of the mean หรือ Chung Yung)
3. การศึกษาที่ยิ่งใหญ่ (the Great Learning หรือ Ta Hsueh)
4. เม่งจื้อ (The Mencius หรือ Meng Tzu)


เล่มแรกนั้นเป็นหนังสือรวบรวมคำสอนของขงจื้อที่สานุศิษย์ในสมัยหลังได้รวบรวมเขียนขึ้น
ทำให้ได้ทราบถึงแนวความคิดของขงจื้อในหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนใหญ่

เล่มที่สองเป็นบทหนึ่งในหนังสือแห่งพิธีกรรม (Book of Rites หรือ Li Chi)
ซึ่งเชื่อกันว่า จื้อซู หลานชายของขงจื้อเป็นผู้เขียนขึ้น

เล่มที่สามเป็นอีกบทหนึ่งในหนังสือแห่งพิธีกรรมเช่นกัน
สานุศิษย์ของขงจื้อในศตวรรษที่ 3 และที่ 2ก่อน ค.ศ. เป็นรวบรวมขึ้น
เล่มที่สองและเล่มที่สามนี้เป็นหนังสือรวบรวมคำสอนของเม่งจื้อ
นักปราชญ์ที่สำคัญในปรัชญาขงจื้อรองลงมาจากขงจื้อ


จริยธรรมของปรัชญาขงจื้อ

1.ความชอบธรรม (อี้) (Righteousness, Yi)
ความดีสูงสุดตามทรรศนะของขงจื้อได้แก่สิ่งที่เรียกว่า “ความชอบธรรม” (อี้)
ความชอบธรรมของขงจื้อหมายถึง
“สิ่งที่ควรจะเป็น” (The “Oughtness” of a Situation)
หรือความเหมาะสมถูกต้องของเหตุการณ์
ทุก ๆ คนในสังคมต่างก็มีหน้าที่ที่เหมาะสมแก่ตนในการปฏิบัติ
การรู้ตนเองควรจะทำสิ่งใด และการทำในสิ่งที่ตนเองควรกระทำคือความชอบธรรม"


อย่างไรก็ตาม ถ้าบุคคลกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยคำนึงถึงผลประโยชน์เป็นหลัก
แม้ว่าการกระทำของเขาจะบังเอิญออกมาถูกต้องก็ตาม
แต่การกระทำของเขานั้นไม่จัดเป็น “ความชอบธรรม”

บุคคลผู้มีปัญญาหรือ “สุภาพบุรุษ” (Superior Man)
จะปฏิบัติภาระหน้าที่ของตนความหลักแห่งความชอบธรรมนี้
ในขณะที่บุคคลผู้ด้อยสติปัญญา (Inferior Man)
จะกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเพียงเพื่อกำไร

ขงจื้อกล่าวว่า
"ในการติดต่อกับโลกภายนอก
ผู้ที่เป็นสภาพบุรุษจะไม่คำนึงถึงความเป็นมิตรหรือศัตรู
แต่จะคำนึงถึงสิ่งที่เป็นว่า “ถูกต้อง” เท่านั้น
ผู้เป็นสุภาพบุรุษจะใช้ความพยายามเพื่อค้นหาความถูกต้อง
ในขณะที่ผู้ที่ต่ำกว่าจะใช้ความพยายามเพื่อค้นหาผลกำไร"

"เมื่ออยู่หน้าคนดีจงคิดตลอดเวลาว่า
ทำอย่างไรจึงจะสามารถปฏิบัติตัวให้ทัดเทียมเขาได้
เมื่อพบคนชั่วจงหลีกเลี่ยงเสีย"



2. มนุษยธรรม (เหยิน) (Humen – Heartedaness, Jen)
“มนุษยธรรม” (เหยิน) ตามความหมายของขงจื้อ หมายถึง
“การมีความรักในบุคคลอื่น (Loveing others)"
ทุกๆ คนมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำตามฐานะทางสังคม
และตำแหน่งในความรับผิดชอบของตน
แต่หน้าที่อันสำคัญที่ทุกคนจะกระทำร่วมกันคือ การมีความรักในบุคคลอื่น
ผู้ที่มีความรักในบุคคลอื่นอย่างแท้จริงเท่านั้น
จึงจะสามารถปฏิบัติภาระหน้าที่ของตนในสังคมได้อย่างสมบูรณ์

ขงจื้อกล่าวว่า
“มนุษยธรรม ประกอบไปด้วยความรักในบุคคลอื่น"

ตามหลักของปรัชญาขงจื้อ “ความชอบธรรม” (อี้)
จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุคลมี (มนุษยธรรม” (เหยิน) หรือ“ความรักในบุคคลอื่น”
ในความหมายที่ว่า “ขยายขอบเขตของการปฏิบัติให้ครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่น”


เม่งจื้อกล่าวว่า
"จงปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ในครอบครัวของท่านให้เหมาะสม
และขยายการปฏิบัตินี้ไปยังผู้ใหญ่ในครอบครัวของบุคคลอื่น
จงปฏิบัติต่อผู้น้อยในครอบครัวของท่านให้เหมาะสม
และขยายการปฏิบัตินี้ไปยังผู้น้อยในครอบครัวของบุคคลอื่น"

"บุคคลที่ดีเมื่อเกี่ยวข้องกับวัตถุสิ่งของจะรักมัน แต่ไม่ใช่ด้วยมนุษยธรรม
เมื่อเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นจะมีมนุษยธรรม แต่ไม่ใช่ด้วยความรักใคร่เสน่หา
บุคคลพึงมีความรักใคร่เสน่หาต่อสมาชิกในครอบครัว
มีมนุษยธรรมต่อบุคคลอื่น และมีความรักต่อวัตถุสิ่งของ"


3. ความรู้สึกผิดชอบ (จง) (Conscientiousness’ Chung)
“ความรู้สึกผิดชอบ” (จง) เป็นการปฏิบัติในแง่บวกที่มุ่งสู่ “มนุษยธรรม” (เหยิน)
และ “ความชอบธรรม” (อี้)
หลักสำคัญมีอยู่ว่า
“จงปฏิบัติต่อบุคคลอื่นให้เหมือนกับท่านต้องการให้อื่นปฏิบัติต่อท่าน”

ขงจื้อกล่าวว่า
"มนุษย์แห่งเหยินคือบุคคลที่เมื่อต้องการเจือจุนตนเองก็เจอจุบุคคลอื่นด้วย
เมื่อต้องการพัฒนาตอนเองก็พัฒนาบุคคลอื่นด้วย
การมีความสามารถคำนึงถึงเพื่อจะปฏิบัติต่อคนอื่นให้เหมือนกับตัวเอง
นั่นและสิ่งที่เรียกว่าการปฏิบัติเหยิน"


ในหนังสือ หลักแห่งทางสายกลาง (doctrine of the mean) กล่าวไว้ว่า
“จงปฏิบัติต่อบิดาของท่านให้เหมือนกับที่ท่านต้องการให้บุตรของท่านปฏิบัติต่อท่าน
จงปฏิบัติต่อผู้ปกครองของท่าน ให้เหมือนกับที่ท่านต้องการให้ผู้อยู่ใต้ปกครองของท่านปฏิบัติต่อท่าน
จงปฏิบัติต่อพี่ชายของท่านให้เหมือนกับที่ท่านต้องให้ให้น้องชายของท่านปฏิบัติต่อท่าน
จงปฏิบัติเป็นตัวอย่างต่อเพื่อนให้เหมือนที่ท่านต้องการให้เพื่อนของท่านปฏิบัติต่อท่าน”



4. ความเห็นแก่ผู้อื่น (สู่) (Altruism, Shu)
“ความเห็นแก่ผู้อื่น” (สู่) เป็นการปฏิบัติในแงลบที่มุ่งไปสู่
“มนุษยธรรม” (เหยิน) และ “ความชอบธรรม (อี้)
หลักสำคัญมีอยู่ว่า
“อย่าได้ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นในสิ่งที่ท่านไม่อยากให้บุคคลอื่นปฏิบัติต่อท่าน”

หนังสือการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ (The Great Learning) กล่าวไว้ว่า
“อย่าได้นำสิ่งที่ท่านไม่ชอบในบุคคลที่สุงกว่าท่านไปใช้กับบุคคลที่ต่ำกว่าท่าน
อย่าได้นำสิ่งที่ไม่ชอบในบุคคลที่ตกว่าท่านไปใช้กับบุคคลที่สูงกว่าท่าน
อย่าได้นำสิ่งที่ท่านไม่ชอบในบุคคลข้างหน้าไปใช้กับบุคคลที่อยู่ข้างหลัง
อย่าได้นำสิ่งที่ท่านไม่ชอบในบุคคลที่อยู่ข้างหลังไปใช้กับบุคคลที่อยู่ข้างหน้า
อย่าได้นำสิ่งที่ท่านไม่ชอบในทางขวาไปใช้กับทางซ้าย
อย่าได้นำสิ่งที่ท่านไม่ชอบในทางซ้ายไปใช้กับทางขวา”


สมัยหนึ่ง จือคุงถามขงจื้อว่า
“จะมีคำใดบ้างไหมที่จะใช้เป็นกฎปฏิบัติสำหรับทุกสิ่งในชีวิตของคนเรา”
ขงจื้อตอบว่า
“คำนั้นไม่ใช่ สู่ ดอก หรือ สิ่งที่ท่านไม่ชอบให้ปฏิบัติต่อตัวเอง อย่าได้ปฏิบัติต่อบุคคลอื่น”

อีกสมัยหนึ่ง ขงจื้อกล่าวว่า
“เชน (ชื่อจริงของเซียงจื้อสานุศิษย์คนหนึ่งของขงจื้อ)
คำสอนของฉันทั้งหมดเกี่ยวโยงกันด้วยหลักอันเดียว”
“เป็นเช่นนั้น” เซียงจื้อตอบ
เมื่อขงจื้อออกจากห้องไปแล้ว พวกสานุศิษย์ทั้งหลายพากันถามขึ้นว่า
“ท่านหมายถึงอะไร”
เซียงจื้อ ตอบว่า
“คำสอนของอาจารย์ของเราประกอบด้วยหลักของ จง และ สู่ และก็มีเพียงเท่านี้เอง”

ดังนั้น จง และสู่ จึงเป็นหนทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ เหยิน (ความรักในบุคคลอื่น)
อันจะก่อให้เกิด อี้ (ความชอบธรรม) ขึ้นมา


5. บัญญัติแห่งสวรรค์ (หมิง) (Decree of Heavan, Ming)
ปรัชญาขงจื้อมีหลักที่เกี่ยวกับ “การทำหน้าที่เพื่อหน้าที่”
ขงจื้อสอนให้บุคคลทั้งหลายกระทำในสิ่งที่ตนเองควรกระทำอย่างเต็มความสามารถ
โดยไม่ต้องวิตกกังวลกับผลที่จะได้รับจากงานนั้น
ทำงานเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามที่ควรจะทำ
ทำเพราะเห็นว่าเป็นหน้าที่อันแท้จริงของตน
และทำเพราะเห็นว่างานเป็นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวของมันเอง
และไม่ว่าผลของงานจะออกมาในรูปใดก็ไม่ควรจะยึดติดกับผลของงานนั้น


ขงจื้อได้เสนอแนวความคิดเรื่อง “บัญญัติสวรรค์” (หมิง)
เพื่อที่จะมาอธิบายถึงผลของงานที่จะปรากฏออกมา
“บัญญัติแห่งสวรรค์” อยู่นอกอยู่เหนืออำนาจการควบคุมของมนุษย์
และเป็นสิ่งที่คอยบงการวิถีชีวิตของมนุษย์อยู่
เพราะ “บัญญัติสวรรค์”นี้เอง
ที่ทำให้บุคคลแต่ละคนได้รับผลของงานและฐานะต่างๆ ไม่เท่าเทียมกัน
แต่ทุก ๆ คน ควรจะทำงานในความรับผิดชอบให้เต็มที่จนสุดความสามารถ
และผลของงานจะเป็นอย่างไรก็สุดแล้วแต่ “บัญญัติสวรรค์”

ชีวิตของขงจื้อเองเป็นตัวอย่างที่ดีในคำสอนเรื่องนี้
ท่านมีชีวิตอยู่ในยุคสมัยแห่งความปั่นป่วนทางสังคมและทางการเมืองครั้งใหญ่
ท่านได้พยายามอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ในอันที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมจีนในขณะนั้นให้ดีขึ้น
ท่านได้เดินทางไปทุกหนทุกแห่งและได้พูดคุยกับคนทุกคน
แม้ว่าความพยายามของท่านจะปราศจากผลแต่ท่านก็ไม่เคยผิดหวัง
แม้ท่านจะรู้ดีว่าท่านไม่ประสบความสำเร็จแต่ท่านก็ไม่เคยละความพยาม


ขงจื้อพูดถึงตัวเองว่า
“ถ้าหากหลักการของฉันนั้นจะคงอยู่ในโลกนี้ก็เพราะบัญญัติแห่งสวรรค์
ถ้าหากหลักการของฉันจะสูญสิ้นไปก็เป็นเพราะบัญญัติแห่งสวรรค์ อีกเช่นกัน”


ท่านได้พยายามอย่างเต็มความสามารถ
ส่วนผลลัพธ์ท่านปล่อยให้เป็นเรื่องของ “บัญญัติแห่งสวรรค์”
สำหรับขงจื้อแล้ว “บัญญัติแห่งสวรรค์”(หมิง) คือพลังที่มีจุดมุ่งหมาย
การรู้จัก “บัญญัติแห่งสวรรค์”
เป็นคุณสมบัติสำคัญในการเป็นสุภาพบุรุษ(Superior Man)ตามความหมายของขงจื้อ

ดังนั้นขงจื้อกล่าวว่า
“ผู้ไม่รู้จักหมิง ไม่สามารถที่จะเป็นสุภาพบุรุษได้”
“ผู้ที่เป็นสุภาพบุรุษจะมีแต่ความสุขอยู่เสมอ ส่วนผู้ที่ด้อยปัญญาจะมีแต่ความโศกเศร้า”

เหตุผลที่ผู้มีคุณธรรมพยายามต่อสู้ในทางการเมือง
ก็เพราะเขาเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่จะทำเช่นนั้น
แม้เขาจะรู้ดีว่าความพยายามของเขาจะไม่บรรลุผลก็ตาม

ชีวิตและความตายขึ้นอยู่กับ “บัญญัติแห่งสวรรค์”
ความมั่นคงและฐานันดรก็ขึ้นอยู่กับ “บัญญัติแห่งสวรรค์”

การเป็นสุภาพบุรุษหรือผู้สูงส่งหรือผู้มีปัญญา (Superior Man) ตามทัศนะของขงจื้อ
จึงจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของ
อี้ (ความชอบธรรม)
เหยิน (ความรักในบุคคลอื่น)
จง (ปฏิบัติต่อคนอื่นให้เหมือนกับตนเอง)
สู่ (ไม่ปฏิบัติต่อคนอื่นในสิ่งที่ตนเองไม่ต้องการ)
และจะต้องรู้จัก หมิง (บัญญัติแห่งสวรรค์) อีกด้วย
บุคคลที่ขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งข้างตนไม่สามารถเป็นสุภาพบุรุษที่แท้จริงได้
จะเป็นได้เพียงคนธรรมดาสามัญหรือผู้ด้วยปัญญา (Inferior Man) เท่านั้นเอง


6. ความสัมพันธ์ทั้งห้า (The Five Relationships)
ตามทัศนะของขงจื้อ สังคมที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์คือ
สังคมที่มี อี้ (ความชอบธรรม)

ที่นี้ทำอย่างไรสังคมจึงจะเกิดความชอบธรรมขึ้นมา

ขงจื้อให้ทัศนะว่าสังคมประกอบขึ้นจากครอบครัวหลายๆครอบครัวมารวมกัน
ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นพื้นฐานของสังคม
ถ้าหากว่าสามารถจัดระเบียบครอบครัวให้มั่นคง มีความสุข และความชอบธรรมได้แล้ว
สังคมโดยส่วนรวมก็จะเป็นปึกแผ่น มั่นคง มีความสงบสุข และความชอบธรรมไปด้วย

ขงจื้อจึงเน้นความสำคัญของสถาบันครอบครัวเป็นอย่างมาก

ทีนี้ทำอย่างไรระบบครอบครัวจึงจะมั่นคง มีความสุข และความชอบธรรม (อี้) เกิดขึ้น
ขงจื้อเสนอให้ใช้หลักเหยิน (ความรักในบุคคลอื่น) มาใช้ในครอบครัว
ในทางปฏิบัติคือปฏิบัติตามหลัก จง และสู่ นั่นเอง

ขงจื้อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในครอบครัวออกเป็น 5 ลักษณะด้วยกัน
เรียกว่า “ความสัมพันธ์ทั้งห้า” (The Five Relationships) ซึ่งมีดังนี้
1 พ่อแม่กับลูก
2 พี่กับน้อง
3 สามีกับภรรยา
4 เพื่อนกับเพื่อ
5 นายกับบ่าว

ถ้าบุคลเหล่านี้ในครอบครัวเคารพซึ่งกันและกันตามหน้าที่ที่ตนมีอยู่
ตามหลักของจงและสู่ก็จะเกิดเหยิน (ความรัก) และอี้ (ความชอบธรรม)ขึ้น
และคุณธรรมข้ออื่น ๆ ก็จะเกิดตามขึ้นมา เช่น
1. พ่อแม่จะมีความรักความเมตตา ลูกจะมีความกตัญญูกตเวที
2. พี่จะมีความสุภาพอ่อนโยน น้องจะมีความอ่อนน้อมและเคารพนับถือ
3. สามีจะความประพฤติที่ถูกต้อง ภรรยาจะมีความซื่อตรงและภัคดี
4. เพื่อนจะมีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อกัน
5. นายจะมีความเมตตากรุรา บ่าวจะมีความเคารพเชื่อฟัง


ขงจื้อกล่าวว่า
“จงประพฤติตนในลักษณะที่ว่าพ่อแม่ของท่านไม่มีความวิตกห่วงใยในตัวท่านอีกต่อไป
นอกจากในส่วนที่เกี่ยวกับสุขภาพของท่าน”





ต้องขออภัยเจ้าของบทความด้วยที่ไม่ได้ให้เครดิต เนื่องจากลืมเซฟไว้ค่ะ





Create Date : 03 มกราคม 2557
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2558 20:07:02 น. 1 comments
Counter : 6270 Pageviews.

 
แล้วจะเข้ามาอ่านอีกทีนะคะ


โดย: Maeboon วันที่: 3 มกราคม 2557 เวลา:2:10:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Kluaytub
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 29 คน [?]







4 สิ่งในโลกที่เงินซื้อไม่ได้
ความรัก
เวลา
ชีวิต
มิตรแท้

วันเวลาในโลกนี้
มีอยู่แค่ 3 วัน
เมื่อวาน :
ซึ่งเราได้ใช้มันแล้ว
และไม่มีวันหวนกลับมา
วันนี้ :
เรากำลังใช้มันอยู่
และใช้ได้แค่ครั้งเดียว
พรุ่งนี้ :
ยังไม่รู้เลยว่า
จะได้ใช้หรือเปล่า?

เวลาใครทำอะไรไม่ดีกับคุณ
อย่าลืม
ขอบคุณเขา
ที่ช่วยเสียสละตัวเอง
ทำให้คุณ
รีบเดินออกไป พบสิ่งที่ดีกว่า

คนเราเปลี่ยน.....
ด้วยเหตุผลสองประการ
เปลี่ยนเพราะได้เรียนรู้มามากแล้ว
เปลี่ยนเพราะเคยเจ็บปวดมามากแล้ว


ชีวิต
ก็เหมือนการขี่จักรยาน
คุณต้องปั่นไปข้างหน้าเท่านั้น
ถึงจะประคองตัวเอาไว้ได้

ความซื่อสัตย์สุจริต
เป็นของขวัญล้ำค่า
อย่าไปคาดหวัง
ว่าจะได้มาจากคนไร้ค่า

คุณสามารถปิดตา
เวลาที่เจอสิ่งที่ไม่อยากเห็น
แต่คุณไม่สามารถปิดใจ
ในเวลาที่ไม่อยากรู้สึก

ถ้าตอนนี้ "หดหู่"
แสดงว่าอยู่กับอดึต
ถ้าตอนนี้ "กังวล"
แสดงว่าอยู่กับอนาคต
ความสุขคือ...
การอยู่กับปัจจุบัน
และทำมันให้ดีที่สุด

การรู้จักชื่นชมสิ่งต่างๆที่มีอยู่
จะทำให้เราตระหนักว่า
ทุกวันนี้...
เรามีความสุขมากมายอยู่แล้ว



#855FA8#8B7D7B
#8B658B#5D478B
#9AC0CD#CD9B9B#CDAA7D

คนที่กำลังดูบล็อก
Friends' blogs
[Add Kluaytub's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.