Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
18 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 
พ.อ. สมัคร บุราวาศ ราชบัณฑิตในสาขาวิชาอภิปรัชญา




พันเอกสมัคร บุราวาศ เกิดวันที่ 9 กันยายน 2459 ที่บ้านพักในวังกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เทเวศร์ กทม. เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 5 คน ของอำมาตย์โท พระยากสิกรบัญชา (เล็ก บุราวาศ) และคุณหญิงเจริญกสิกรบัญชา บิดารับราชการในกระทรวงเกษตราธิการ โดยเป็นเลขานุการกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

การศึกษา

พ.ศ. 2466-2467 (2ปี) ร.ร. สตรีโชติเวส สอบได้ชั้นประถมปีที่ 3
พ.ศ. 2468-2470 (3ปี) ร.ร. เซ็นต์คาเบรียล สอบได้ชั้นมัธยมปีที่ 2
พ.ศ. 2471-2473 (3ปี) ร.ร. ประจำจังหวัดนครสวรรค์ สอบได้ชั้นมัธยมปีที่ 6
พ.ศ. 2474 (1ปี) ร.ร. วชิราวุธวิทยาลัย สอบได้ชั้นมัธยมปีที่ 7
พ.ศ. 2475 (1ปี) ร.ร. สวนกุหลาบวิทยาลัย สอบได้ชั้นมัธยมปีที่ 8
พ.ศ. 2476 (1ปี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอบได้ชั้นวิทยาศาสตร์ปีที่ 1
พ.ศ. 2477 สอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงได้ที่ 1 ได้ไปศึกษาวิชา
ณ ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2477 (1ปี) Portsmouth Technical College สอบได้
Matriculation
พ.ศ. 2478-2480 (3ปี) Royal School of Mines, Imperial College of Science and Technology, London University
ได้รับปริญญา B.Sc. (1st Class Honours) A.R.S.M.



ตำแหน่งหน้าที่ราชการ

1 เมษายน 2482 นายช่างผู้ช่วยโทแผนกตรวจเหมืองกองโลหกิจ กรมที่ดินและโลหะกิจ กระทรวงเกษตราธิราช

1 ธันวาคม 2482 นายช่างผู้ช่วยโท แผนกทำเหมืองแร่ กองโลหกิจ

1 ตุลาคม 2483 กระทรวงกลาโหมขอโอนเข้าสำรองราชการ กองบังคับการ กรมพลาธิการทหารบก

1 ตุลาคม 2485 กระทรวงอุตสาหกรรม ขอโอนไปรับราชการแผนกค้นคว้ากองวิชาการเหมืองแร่ กรมโลหกิจ

1 กุมภาพันธ์ 2487 หัวหน้ากองวิชาการเหมืองแร่ กรมโลหะกิจ

26 มกราคม 2489 นายช่างประจำกรม

29 มิถุนายน 2489 ลาออกจากราชการ เพื่อสมัครเป็นผู้แทนราชฏร

22 พฤษภาคม 2491 กลับเข้ารับราชการ อาจารย์ภาษาต่างประเทศ กองโรงเรียนายเรือ

20 กรกฏาคม 2492 หัวหน้ากองค้นคว้าและวิจัย กองสัญญาณทหารเรือ

9 ตุลาคม 2495 ลาออกจากราชการกองทัพเรือ

กันยายน 2502 กลับเข้ารับราชการ ปษ.ฝ่ายเจาะและผลิต กองสำรวจและผลิตน้ำมัน กรมการพลังงานทหาร

เมษายน 2505 หน.ธรณีวิทยา กองสำรวจและผลิตวัตถุดิบ กรมการพลังงานทหาร

10 พฤศจิกายน 2512 นายช่างใหญ่ฝ่ายธรรีวิทยา กสผ. และ รรก. หน.ธรณีวิทยา และวิศวโยธา กสผ. กรมการพลังงานทหาร

ตำแหน่งราชการ

30 กันยายน 2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตในวิชาปรัชญา (ราชกิจจาฯ เล่ม 59 ตอนที่ 65 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2485)

3 กันยายน 2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิศาสตร์ (ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 12 กันยายน 2517 ราชกิจจาฯ เล่ม 91 ตอนที่ 162 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2517)



การปฏิบัติราชการ กรมโลหกิจ

พ.ศ. 2482-2483 และ 2485-2489

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษกลับมา แรกเข้ารับราชการที่กรมที่ดินและโลหกิจ (ต่อมาเป็นกรมโลหกิจ) เมื่อ พ.ศ. 2482 พ.อ.สมัคร บุราวาศ เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้งแผนกวิศวกรรมเหมืองแร่ขึ้นในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกเหนือจากการไปปฏิบัติงานที่กรม ยังได้ไปเป็นอาจารย์สอนวิชาการเหมืองแร่ให้แก่นิสิตวิศวกรรเหมืองแร่ด้วย (พ.ศ. 2482 - 2489)

นิสิตที่จบการศึกษามาเป็นวิศวกรเหมืองแร่ นับตั้งแต่รุ่นแรกและรุ่นต่อๆมา ต่างได้นำวิชาความรู้เข้ารับราชการ รับใช้ประเทศชาติ หรือออกทำงานส่วนตัว หรือเข้าทำงานกับบริษัทเหมือนแร่ ช่วยกันบุกเบิกและพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่อันมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศษรฐกิจของประเทศ เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นตามลำดับดังประจักษ์อยู่ทุกวันนี้

หลังจากที่ พ.อ.สมัคร บุราวาศ ได้ไปช่วยราชการที่กรมพลาธิการทหารบก กระทรวงกลาโหม อยู่ระยะหนึ่ง ก็ได้กลับมาปฏิบัติราชการที่กรมโลหกิจตามเดิม ตั้งแต่ พ.ศ. 2485 ถึง พ.ศ. 2489 นั้น อยู่ในช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยกำลังเจอกับปัญหาการขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ทั้งในทางราชการ อุตสาหกรรม และกิจการทั่วไป ซึ่งไม่สามารถนำเข้าจากต่างประเทศได้

พ.อ.สมัคร บุราวาศ ขณะนั้น เป็นหัวหน้าแผนกค้นคว้ากองวิชาการเหมืองแร่ ต่อมาเป็นหัวหน้ากองวิชาการเหมืองแร่ ได้พยายามทุกวิถีทางเข้าช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนี้ ท่านได้ใช้ความรู้ ความสามารถ ค้นคว้า ทดลอง โดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (ซึ่งบางเรื่องต้องเริ่มตั้งแต่ออกสำรวจหาวัตถุดิบ) มาทดลองและทำการผลิต เพื่อใช้แทนสิ่งของที่กำลังขาดแคลน ซึ่งเป็นผลสำเร็จหลายเรื่อง ช่วยแก้ปัญหาความขาดแคลนของประเทศไปได้ในช่วงระยะเวลานั้น

ผลงานที่ พ.อ.สมัคร บุราวาศ ได้ทำไว้ มีดังต่อไปนี้

1. ทดลองกลั่นน้ำมันจากยางพารา เพื่อใช้แทนน้ำมันเบ็นซินและดีเซลในยามขาดแคลนน้ำมันในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งบริษัทแร่และยางไทยได้นำผลการทดลองไปใช้ผลิตน้ำมันดังกล่าวขึ้นใช้งานได้

2. ทดลองผลิตจุนสีให้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ใช้เพื่อการทำแบตเตอรี่ไฟฟ้า ใช้ในการสื่อสารสถานีต่อสถานี สมารถแก้ไขปัญหาขาดแคลนจุนสีไปได้

3. ในปี พ.ศ. 2486-2487 ทดลองผลิตแมกนีเซียมคลอไรด์จากน้ำทะเล เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวยึด ผงขัด-หินสีข้าว ซึ่งมีผู้นำไปใช้ผลิตเป็นการค้าได้

4. ทดลองเอาดินสารส้ม จากบางแหล่งมาทำการสกัดเอาสารส้ม เพื่อใช้ในการประปา สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนสารส้มไปได้

5. ทดลองใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ทำเครื่องปั้นดินเผา

6. ทดลองผลิตน้ำมันจาระบีจากไขมันสัตว์ เพื่อใช้แทนน้ำมันจาระบีจากผลิตภัณฑ์น้ำมัน

นอกจากนี้ พ.อ.สมัคร บุราวศ ยังได้ทำการสำรวจธรณีวิทยาและแหล่งแร่ต่างๆ หลายแห่งทั่วประเทศ ซึ่งรายงานการสำรวจสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในงานสำรวจธรณีวิทยาและแหล่งแร่ จนถึงปัจจุบันนี้



กองสัญญาณทหารเรือ

พ.ศ. 2491-2495

พ.อ.สมัคร บุราวาศ ได้เข้ารับราชการในกองทัพเรือ เมื่อ พ.ศ. 2491
ในตำแหน่งอาจารย์ภาษาต่างประเทศ กองโรงเรียนนายเรือ

ต่อมา พ.ศ. 2492 นาวาเอก ชลี สิธุโสภณ ร.น. (ยศขณะนั้น) ผู้บังคับการกองสัญญาณทหารเรือ เห็นว่า ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพเรือขาดแคลนหลอดวิทยุเป็นอย่างมาก ไม่สามารถสั่งซื้อจากต่างประเทศได้ หากจะรอให้เหตุการณ์เป็นไปแบบนั้นคงไม่ได้ ทั้งๆที่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหลอดวิทยุก็มีอยู่ในประเทศไทย แต่การผลิตหลอดวิทยุนั้นเป็นงานใหญ่ ต้องเริ่มตั้งแต่การสำรวจค้นหาวัตถุดิบที่จะมาทำแก้ว และวัตถุทนไฟสำหรับสร้างเตาหลอมแก้ว แล้วจึงจะเริ่มการทำแก้ว ต่อไปก็ทำแก้วรูปต่างๆ แล้วทำหลอดไฟฟ้า จนถึงขั้นทำหลอดวิทยุ

แต่ละขั้นตอนจะต้องมีการทดลองกรรมวิธีต่างๆ โครงการนี้จำเป็นต้องมีนักวิชาการ และช่างเทคนิคที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ มาดำเนินการจึงจะบรรลุผลสำเร็จ นาวาเอก ชลี สินธุโสภณ จึงขอตัว พ.อ.สมัคร บุราวาศ จากกองโรงเรียนนายเรือมาเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นเอก สังกัดกระทรวงกลาโหม ตำแหน่งหัวหน้ากองค้นคว้าและวิจัย กองสัญญาณทหารเรือ และได้เริ่มทำโครงการแก้วขึ้น สร้างโรงประกอบแก้วและโรงประกอบวัตถุทนไฟ

งานที่ พ.อ. สมัคร บุราวาศ ได้ทำไว้คือ บุกเบิกการสำรวจค้นหาแหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการทำแก้วและวัตถุทนไฟ เช่น ทรายแก้ว ดินทนไฟ ดินขาว แร่ฟลูออไรท์ หินฟันม้า เป็นต้น ท่านได้ทำการทดลอง อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ ซึ่งเป็นนายทหารตามโครงการนี้ ให้มีความรู้และความชำนาญการทำแก้ว การผสมแก้ว การผสมวัตถุทนไฟ การตรวจการทดลองต่างๆ จึงนับได้ว่าเขาเป็นบุคคลหนึ่งที่บุกเบิกให้งานทำแก้วและวัตถุทนไฟในประเทศไทยเจริญก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้

หลังจากที่ท่านได้วางรากฐานการทำแก้ว และวัตถุทนไฟให้กับทางราชการกองทัพเรือ จนเป็นแนวทางที่งานนี้จะรุดหน้าไปโดยมั่นคงแล้ว ใน พ.ศ. 2495 ท่านได้ลาออกจากราชการกองทัพเรือ เพื่อไปประกอบอาชีพส่วนตัว โดยหวังจะได้สร้างสรรวิชาอุตสาหกรรมใหม่ๆต่อไป

กรมการพลังงานทหาร
พ.ศ. 2502-2518

พ.อ.สมัคร บุราวาศ ได้เริ่มเข้ารับราชการในกรมการพลังงานทหาร เมื่อ พ.ศ. 2502 เริ่มจากตำแหน่งที่ปรึกษา ฝ่ายเจาะและผลิตน้ำมัน กองสำรวจและผลิตน้ำมัน ต่อมาได้เป็นหัวหน้าแผนกธรณีวิทยา กองสำรวจและผลิตวัตถุดิบ ตำแหน่งสุดท้ายคือ นายช่างใหญ่ฝ่ยธรณีวิทยาและรักษาราชการหัวหน้าแผนกธรณีวิทยาและวิศว
ท่านรับราชการที่กรมการพลังงานทหารนานกว่าที่หน่วยราชการอื่น แม้งานในหน้าที่ราชการจะอยูในขอบเขตจำกัด แต่ก็ได้ปฏิบัติราชการด้วยความมานะ อดทน บากบั่น เป็นผู้รับผิดชอบด้านธรณีวิทยา ได้ทำการสำรวจธรณีวิทยา และทำรายงานการสำรวจไว้มาก และยังได้ทำการวิจัยเรื่องต่างๆเกี่ยงกับน้ำมัน ได้แก่

1. การวิจัยเรื่องทรายน้ำมัน

2. เป็นผู้รับผิดชอบด้านธรณีวิทยา ของโครงการสำรวจปิโตเลียมลุ่มแอ่งเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2512-2517 ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี

3. งานสำรวจปิโตเลียมภาคเหนือลุ่มแอ่งจังหวัดลำปาง และแพร่ ซึ่งเริ่มในปี พ.ศ. 2518




ระหว่างรับราชการอยู่ที่กรมการพลังงานทหาร ท่านได้รับอนุมัติให้ไปราชการต่างประเทศ รวม 2 ครั้ง แต่ละครั้งเมื่อกลับมา ก็ได้ทำรายงานการไปศึกษาและดูงาน พร้อมทั้งเสนอโครงการต่างๆ ที่จะจัดทำ และความคิดเห็นในการแก้ไข ปรับปรุงงานขึ้นเสนอต่อทางราชการเพื่อพิจารณา

นอกจากนั้น ท่านยังได้ช่วยเหลือกิจการอุตสาหกรรมของบริษัท โรงงานต่างๆ รวมทั้งเอกชนทั่วไป บางรายก็ลงมือเข้าช่วยการทดลองด้วย โดยไม่คิดหวังผลตอบแทนแต่อย่างใด

ชีวประวัติด้านการประพันธ์

พ.อ.สมัคร บุราวาศ อาศัยอยู่ที่บ้านในวังกรมหลวงราชบุรี ตำบลบางขุนพรหม สะพานเทเวศร์ ชอบใฝ่คว้าหาความรู้อยู่เสมอ ชอบอ่านวรรณคดีไทยและจีน อ่านตำราต่างๆตั้งแต่ยังเด็ก
ท่านเป็นนักเรียนที่เรียนเก่งมาตั้งแต่ชั้นประถม มัธยม ตลอดจนถึงมหาวิทยาลัย(จุฬาฯ) ในปี พ.ศ. 2477 สามารถสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงได้ที่ 1 จึงได้ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ ผู้ที่สอบชิงทุนได้ จะเลือกเรียนวิชาอะไรก็ได้ แต่นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น (พลเอก พระยาพหล-พลพยุหเสนา) ได้ขอให้ไปเรียนวิชาเหมืองแร่ เพราะในสมัยนั้นคนไทยที่มีความรู้ทางเหมืองแร่และธรณีวิทยามีน้อยมาก กิจการเหมืองแร่ในไทยดำเนินการโดยคนต่างชาติทั้งสิ้น
ท่านได้เลือกเรียนวิศวกรรมเหมืองแร่ด้วยความเต็มใจ ณ Royal School of Mines มหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งต่อมา ยังได้ขอร้องให้นายสมาน บุราวาศ ผู้เป็นน้องชายและสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงได้ที่ 1 (แผนกวิทยาศาสตร์) ในปี พ.ศ. 2479 ไปศึกษาวิชาธรณีวิทยาเหมืองแร่ ณ ที่เดียวกัน เพื่อว่าเมื่อกลับมาเมืองไทยแล้ว พี่น้องจะได้ช่วยกันหาแร่ และขุดแร่ ทำความเจริญให้ชาติบ้านเมือง



ตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่ประเทศอังกฤษ พ.อ.สมัคร บุราวาศ เรียนเก่งสู้ฝรั่งได้ไม่แพ้กัน เมื่อจบปริญญาตรี ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ระหว่างเรียน ได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เห็นได้จาก จดหมายที่เขียนมาถึงครอบครัวในเมืองไทย จะมีแต่เรื่องแร่และเหมืองแร่ที่ได้ไปพบเห็นตามเมืองต่างๆ

ท่านเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่ออายุได้ 5 ขวบ ได้อุปสมบทเป็นสามเณร ที่วัดเทวราชกุญชร เมื่ออายุได้ 8 ขวบ อุปสมบทเป็นสามเณรที่วัดจังหวัดนครสวรรค์ ในวัยหนุ่มอายุได้ 23 ปี อุปสมบทที่วัดพระยายัง



ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาด้วยเหตุผล เกิดจากความสนใจ ชอบอ่านและศึกษาให้รู้ถ่องแท้เสียก่อน ตลอดเวลที่ศึกษาอยู่ประเทศอังกฤษ นอกจากจะเขียนบทความทางวิชาการทั่วๆไปส่งมาลงหนังสือและวารสารต่างๆทางเมืองไทยอยู่เป็นประจำแล้ว ยังเขียนบทความเกี่ยวกับพุทธศาสนาและปรัชญาส่งมาด้วย

เมื่อ พ.ศ. 2479 ท่านได้แต่งหนังสือขนาดยาว เรื่อ "พุทธปรัชญาอธิบายด้วยวิทยศาสตร์" ส่งมาให้คุณพ่อพิมพ์แจกญาติมิตร เป็นที่แพร่หลายในขณะนั้น

นับจากปี พ.ศ. 2480 ถึง 2518 เป็นเวลา 38 ปี ได้เขียนบทความและหนังสือต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 100 เรื่อง ทุกวันนี้ คนรุ่นปัจจุบัน ถ้าได้อ่านหนังสือของเขา จะเห็นว่าไม่ได้ล้าสมัยเลย

เรื่องการศึกษาและความรู้ของเขาในวิชาชีพนั้นดีเลิศอย่างไรก็เป็นที่ทราบกันทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ นอกจากวิชาชีพโดยตรงแล้ว ทางปรัชญาก็ได้รับการยกย่องถึงขั้นได้รับเลือกเป็นราชบัณฑิตในสาขาวิชาอภิปรัชญา ในวัยเพียง 26 ปี ในปี พ.ศ. 2485 สมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี

ส่วนด้านการปฏิบัติธรรมก็เป็นที่เลื่องลือไม่ด้อยกว่าผู้ใด แม้แต่จะอยู่ในภาวะที่จิตใจถูกกระทบกระเทือนอย่างหนักก็ตาม

ท่านสอนที่มหามกุฎราชวิทยาลัยถึง 10 ปี เป็นผู้บรรยายวิชาปรัชญาที่มีความสามารถเป็นเยี่ยม พูดเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจได้โดยง่าย ใช้คำพูดง่ายๆที่ชาวบ้านร้านตลาดก็รู้ บรรยายอย่างคนมีความสุข เป็นกันเอง มีน้ำเสียงที่น่าฟัง แจ่มใส ชัดเจน ผู้ที่เรียนกับอาจารย์สมัครจึงไม่มีใครง่วงนอน มีแต่ความกระตือรือร้น เรียนสนุก ไม่น่าเบื่อ

ระหว่างที่เป็นอาจารย์สอนปรัชญานั้น ได้แต่งหนังสือหลายเรื่อง เช่น คำบรรยายวิชาปรัชญา, คำบรรยายวิชาวิทยาศาสตร์ส่วนเปรียบเทียบพระพุทธศาสนา, ประวัติและการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลก และประวัติและลัทธิของปวงปรัชญาเมธี

พ.อ.สมัคร บุราวาศ รักและสนใจวิชาปรัชญาเป็นพิเศษ ด้วยนิสัยความเป็นปราญ์ของท่านนั้น เป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้บางคนมองเห็นไปว่าเป็นคนแปลก ทำอะไร คิดอะไร ไม่ค่อยเหมือนคนอื่น เขาสนใจในลัทธิการเมือง และเมื่อได้ศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งแล้ว ก็มีความเห็นว่าความเป็นธรรมในสังคมเป็นเรื่องสำคัญ

ท่านถือหลักพุทธโอวาทว่า ต้องปฏิบัติตัวตามสิ่งที่ตนเชื่อหรือที่ตนสอนคนอื่น จึงทำตัวให้เข้ากับคนได้ทุกชั้นอย่างกลมกลืน ไม่ลุ่มหลงในลาภยศสรรเสริญ โดยส่วนตัวแล้วเป็นคนโกรธยาก ฝ่ายตรงข้ามมองว่าท่านเป็นพวกหัวเอียงซ้าย ซึ่งเพื่อนๆและคนใกล้ชิดไม่เห็นเช่นนั้น

มิใช่นักวิชาการที่ดีเยี่ยมเท่านั้น ท่านยังเป็นนักปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจัง สิ่งใดที่เห็นว่าควรจะทำ จะทำทันที ด้วยการอุทิศทั้งกายและใจ ทุ่มเทจนหมดสิ้น การกระทำเช่นนั้นจึงมักถูกทำให้เข้าใจผิด ดังนั้นในบางสิ่งบางอย่าง จึงมีผู้เห็นว่า ท่านเป็นนักทฤษฏีมากกว่าปฏิบัติ แต่ในบั้นปลยท้ายที่สุดของชีวิต ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ท่านเป็นนักปฏิบัติที่ไม่ด้อยกว่าไปกว่าการเป็นนักทฤษฎี การพิสูจน์โดยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันนี้เอง ที่เป็นผลทำให้สุขภาพของเขาเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว

พ.อ.สมัคร บุราวาศ ได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2518 อายุ 59 ปี

เชิญอ่านบทสรุปจากหนังสือ "ปัญญา"


รายชื่อหนังสือที่เขียนโดย พ.อ.สมัคร บุราวาศ เรียงลำดับตามปี พ.ศ. 


2480 พุทธปรัชญาอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ 269 หน้า (ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2518 ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พ.อ. สมัคร บุราวาศ)


2480 วิทยาศาสตร์ของภาษาไทย 204 หน้า (ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2518 ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พ.อ. สมัคร บุราวาศ)

(ไม่มีภาพประกอบ)
2481 ธรณีวิทยา 56 หน้า


2492 ประวัติและลัทธิของปวงปรัชญาเมธี แปลจากเรื่อง Living Biographies of Great Philosphers ของ Henry Thomas & Dana Lee Thomas (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2522 หนา 450 หน้า)


2494 องคุลิมาล (ฉบับพิมพ์ใหม่ ก.ย. 2537 หนา 123 หน้า)


2495 พุทธปรัชญา มองจากทรรศนะทางวิทยาศาสตร์ (ฉบับพิมพ์ใหม่ พ.ศ. 2537 หนา 263 หน้า)



2495 ปัญญาวิวัฒน์ เล่ม 1 และเล่ม 2 รวม 1614 หน้า


2497 ปรีชาญาณของสิทธัตถะ 758 หน้า


2497 พัฒนาการแห่งพุทธปรัชญา (ปรีชาญาณของสิทธัตถะเล่ม 2) 


2497 ปัญญา (ฉบับพิมพ์ใหม่ พ.ศ. 2542 หนา 384 หน้า)


2497 วิทยาศาสตร์ใหม่และพระศรีอารย์

(ไม่มีภาพประกอบ)
2498 จิตวิทยาและการทำใจทางพุทธศาสนา 497 หน้า

(ไม่มีภาพประกอบ)
2500 พุทธปรัชญา 25 พุทธศตวรรษ 676 หน้า


2511 วิชาปรัชญา (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2515 หนา 726 หน้า)


2516 ปรัชญาพราหมณ์ในสมัยพุทธกาล 496 หน้า


2516 วัฒนธรรมไต-จีน เล่นนี้ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดบทความประเภทร้อยแก้ว ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประจำปี พ.ศ. 2518 หนา 180 หน้า



Create Date : 18 ธันวาคม 2554
Last Update : 12 สิงหาคม 2560 10:56:12 น. 24 comments
Counter : 12015 Pageviews.

 
ท่านเก่งมาก ๆ ค่ะ
เกียรตินิยมอันดับ 1

เสียดายที่ไม่เคยอ่านหนังสือขิงท่านเลย
มัวอ่านแต่นิยายค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 ธันวาคม 2554 เวลา:19:05:06 น.  

 
ขิง = ของ พิมพ์ผิดค่ะ

เตาอบขนมซื้อมาตั้งมากกว่า 25 ปีแล้ว
ตัดเปลี่ยนปลั๊กไปรอบหนึ่งแล้วค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 ธันวาคม 2554 เวลา:19:33:20 น.  

 
น่าทึ่งนะคะ

คนสมัยรุ่นพ่อเราเก่งกาจจริงๆ

ไม่เคยได้อ่านหนังสือพวกนี้เลยค่ะ


โดย: ซองขาวเบอร์ 9 วันที่: 18 ธันวาคม 2554 เวลา:22:05:41 น.  

 
Insignia_Museum Diarist ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
---------------------------------
วันนี้เอนทรี่คุณimยาวมาก เพิ่งกลับเข้าบ้านค่ะเปิดคอมมาโหวตให้คุณimก่อนเวลาของวันจะหมด เดี๋ยวจะกลับมาอ่านค่ะ


โดย: เกศสุริยง วันที่: 18 ธันวาคม 2554 เวลา:23:30:07 น.  

 
nsignia_Museum Diarist ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
----------------------------------------
แวะมาเก็บความรู้ใหม่ๆจากเรื่องราวของอดีตค่ะ


โดย: เรือนเรไร วันที่: 19 ธันวาคม 2554 เวลา:22:37:01 น.  

 
สวัสดีวันสีชมพูค่ะ ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ ท่านนี้เป็นญาติกับท่านผอ. สบสมัย บุราวาศ ด้วยป่าวน้อ เป็นผอ.คนแรกของ ร.ร สตรีสมุทรปราการค่ะ


โดย: ไผ่สวนตาล วันที่: 20 ธันวาคม 2554 เวลา:12:25:13 น.  

 
พ.อ.สมัคร มีพี่สาว 2 คน คุณสบสมัยเป็นพี่สาวคนที่ สองของ พ.อ. สมัคร บุราวาศครับ


โดย: Insignia_Museum วันที่: 20 ธันวาคม 2554 เวลา:20:35:02 น.  

 


เอาน้ำมะนาวมาฝากน่ะค่ะ เวลาไม่รู้จะดื่มอะไรมะนาวเหมือนจะดีที่สุดนะคะ อ่านเรื่องราวของท่านแล้วทึ่งจริง ๆ ค่ะ ท่านเป็นสุดยอดปราชญ์คนหนึ่งเลย ถ้าได้มีโอกาสและเวลาอ่านหนังสือที่ท่านแต่งก็จะยอดมากเลยค่ะ สดใสเพิ่งรู้จักท่านนี่เอง ดีมากเลยที่คุณอิมนำประวัติและงานของท่านมาลง สดใสอ่านแล้วก็อยากทำห้องสมุดให้ตาต้าอ่านบ้างค่ะ ทุกวันนี้ก็รวบรวมหนังสือดี ๆ ไว้ให้เค้าอ่านตอนโตบ้างแล้วส่วนใหญ่เป็นหนังสือวรรณกรรมท้องทุ่งนา ธรรมมะ และภาษาอังกฤษ คงต้องหาหนังสือของท่านมาเก็บไว้อ่านบ้างค่ะ ดูเหมือนจะหนักไปแต่ก็ไม่ควรจะให้ภูมิปัญญาอันลุ่มลึกของคนสมัยก่อนเป็นที่ไม่มีใครรู้ และพากันหันมาสนใจอยู่แต่กับโลกอินเตอร์เน็ต



โดย: วันสดใส วันที่: 21 ธันวาคม 2554 เวลา:8:58:35 น.  

 
อยากอ่านหนังสือของท่านจังค่ะ


โดย: HoneyLemonSoda วันที่: 21 ธันวาคม 2554 เวลา:23:23:22 น.  

 
น่าแปลกจังทำไมที่โรงพยาบาลกลางจึงมีแต่น้ำมะนาวขาย สดใสก็ไม่เคยเห็นที่ไหนจะขายแต่น้ำมะนาวอย่างเดียว คุณหมอพยาบาลคงนิยมดื่มกันมังคะ แถมมีรสขมด้วยคงใส่เปลือกมะนาวอย่างสดใสว่าแหละ คุณอิมอย่าดื่มน้ำมะนาวตอนท้องว่างนะคะ สดใสลองแล้วโดนกัดกระเพาะแสบเลยค่ะ ต้องหลังอาหารลดอาการแน่นท้องด้วยค่ะ

หนังสือของท่านจะไปหาซื้อได้ที่ใหนบ้างคะตอนนี้ ตามร้านหนังสือเก่าจตุจักรอย่างนั้นใช่มั๊ย มีไว้ติดบ้านซักเล่มก็ดีค่ะ หนังสือของคุณพ่อสดใสก็มีน่าตาคล้าย ๆ แบบนี้เหมือนกันแต่โดนปลวกกินหมดเลย แล้วเราก็ไม่เคยจะเห็นคุณค่าด้วย ตอนเด็ก ๆ จะหาเอาแต่พวกนิทานมาอ่านเท่านั้นเอง เช่นเรื่องเด็กจอมแก่น ของ ว. ณ ประมวลมารค คุณอิมรู้จักมั๊ย เขาเป็นนักแปลที่แปลได้เป็นภาษาไทยแบบราบรื่นหู สดใสก็บรรยายไม่ถูก แต่ว่าอ่านสามรอบได้แล้ว



เอาหนังสือเด็ก ๆ มาฝากค่ะ สลับบรรยากาศบ้างค่ะ สดใสยังชอบอ่านหนังสือแบบนี้อยู่ ที่จริงตาต้าเค้าดูน่ะค่ะทุกเช้าก่อนไปโรงเรียน ไม่งั้นปลุกยาก เปิดyoutube ให้ดูน่ะค่ะ โลกของเด็ก ๆ ที่เราต้องหวนกลับไปอีกครั้ง กลายเป็นเด็ก แต่งตัวสีสรรแบบเด็ก ๆ แต่ก็สนุกดีค่ะ


โดย: วันสดใส วันที่: 22 ธันวาคม 2554 เวลา:9:01:23 น.  

 
ดูแล้วก็น่าแปลกนะครับ

นักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อย มักจะสนใจศึกษาวิชาปรัชญาควบคู่ไปด้วย และสามารถผสมผสานเอาวิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาปรัชญา เข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืน

ทั้งที่วิชาทั้งสองสาขา ดูอย่างผิวเผินแล้วเหมือนกับอยู่คนละขั้ว คนละโลก

วิชาวิทยาศาสตร์ ศึกษาในสิ่งที่จับต้องได้ มีกฎเกณฑ์ตายตัว

วิชาปรัชญา ในความรู้สึกของคนทั่วไป เป็นเรื่องเชิงสังคมศาสตร์เสียเป็นส่วนใหญ่ หรือไม่ก็เป็นเรื่องทางความคิด ที่จับต้องไม่ได้

แต่คนที่ศึกษาด้านใดด้านหนึ่งอย่างถ่องแท้

กลับสามารถเชื่อโยงสร้างสัมพันธภาพของวิชาทั้งสองเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว

ทำให้มองให้ลึกต่อไปได้ว่า

อันว่าวิชาการใด ๆ ไม่ว่าสาขาไหน

ท้ายที่สุด ก็สามารถโยงใยเข้าหากันได้ทั้งหมด และสามารถเกื้อหนุนกันและกัน ทั้งยังนำไปสู่ข้อคิดในหลักปรัชญาต่าง ๆ ที่แสนลุ่มลึกได้

ขอบคุณที่นำประวัติท่านสมัครมาให้ได้เรียนรู้ครับ..


โดย: ลุงแว่น วันที่: 22 ธันวาคม 2554 เวลา:21:59:02 น.  

 
หนังสือที่เขียนโดย พ.อ.สมัคร บุราวาศ ยังหาซื้อได้ตามร้านหนังสือใหญ่ๆ เล่มที่พิมพ์ใหม่ล่าสุดและวางขายทั่วไป คือ พุทธปรัชญา 25 ศตวรรษ, ปรัชญาพราหมณ์ในสมัยพุทธกาล, ปัญญา, องคุลิมาล, ปรีชาญาณของสิทธัตถะ, พุทธปรัชญา มองพุทธศาสนาด้วยทรรศนะทางวิทยาศาสตร์, ปัญญาวิวัฒน์



โดย: Insignia_Museum วันที่: 22 ธันวาคม 2554 เวลา:22:52:15 น.  

 

.
..
...
สุขทรรศน์
...
..
.



โลกที่ร้อน แรงร้าย เพราะใจเร้า

ก็ใจเรา มองลบ เพิ่มทบผล

มองให้ทุกข์ ก็ทุกข์ซ้ำ ต้องจำทน

โลกมัวหม่น ใช่หม่นแท้ แค่มุมมอง...


โดย: ลุงแว่น วันที่: 23 ธันวาคม 2554 เวลา:7:41:07 น.  

 
images by free.in.th
------------------------------
ขอบคุณที่ไปอวยพรวันเกิดให้นะคะคุณim


โดย: เกศสุริยง วันที่: 23 ธันวาคม 2554 เวลา:11:24:25 น.  

 
ท่านเป็นบุคคลที่น่ายกย่องมากค่ะ แต่หากพี่อินไม่นำมาเล่าให้อ่าน หนูก็คงจะไม่รู้จักท่าน
น่าเสียดายที่ท่านอายุสั้นนะคะ
หนูอยากอ่านเรื่องปัญญาวิวัฒน์ทั้งสองเล่มจังเลยค่ะ


โดย: kimmy (kimmybangkok ) วันที่: 23 ธันวาคม 2554 เวลา:20:11:19 น.  

 
เก่งทั้งบ้านเลยคับเนี่ย
น่าเสียดายที่แนวที่ท่านเขียนผมไม่ค่อยได้อ่านเลย

อากาศเย็นสบายนะครับช่วงนี้


โดย: peeradol33189 วันที่: 24 ธันวาคม 2554 เวลา:9:44:39 น.  

 

 


ปรัชญาพราหมณ์ในสมัยพุทธกาล ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๔


โดย: Insignia_Museum วันที่: 22 มิถุนายน 2556 เวลา:16:30:39 น.  

 
สะสมหนังสือเก่า จัดเก็บดีมากเลยค่ะ หนังสือยังดูใหม่อยู่เลย


โดย: ซองขาวเบอร์ 9 วันที่: 26 มิถุนายน 2556 เวลา:21:09:35 น.  

 
"ปัญญาวิวัฒน์" -- ที่สุดของที่สุดค่ะ เกิดมาไม่เสียชาติเกิดแล้ว ได้อ่านหนังสือท่าน ภูมิใจที่คนไทยแท้ๆ เก่งขนาดนี้


โดย: H IP: 1.46.135.202 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2557 เวลา:22:17:37 น.  

 


โดย: Insignia_Museum วันที่: 15 พฤศจิกายน 2557 เวลา:20:27:07 น.  

 


โดย: Insignia_Museum วันที่: 26 กรกฎาคม 2558 เวลา:9:17:25 น.  

 


โดย: Insignia_Museum วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:22:13:25 น.  

 
ท่านนี้สุดยอดจริงๆ


โดย: ต.ตง IP: 171.5.229.232 วันที่: 9 เมษายน 2566 เวลา:13:51:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Insignia_Museum
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]




ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
New Comments
Friends' blogs
[Add Insignia_Museum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.