Group Blog
 
 
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
21 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
ล้วน ควันธรรม มนต์ขลังแห่งเสียงเพลง


นักร้องและนักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่ บทเพลงและน้ำเสียงใสบริสุทธิ์อันทรงเสน่ห์ของเขา แม้จะฟังนับร้อยนับพันเที่ยวก็ไม่อิ่ม เพลงที่เขาร้องในยุคนั้น ผู้คนนิยมชมชอบกันมาก คนที่อายุเกินห้าสิบยังคงจำได้ เช่น ค่ำแล้วในฤดูหนาว แหวนประดับก้อย นอกจากการเป็นนักร้องคุณภาพแล้ว ด้วยความความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เขาได้นำความรู้ ความแตกฉานทางด้านดนตรี มาแต่งเพลงปลุกใจ รวมทั้งเพลงประกอบบทเรียนทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ

ล้วน ควันธรรม เกิดเมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2455 ที่บ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม. ปฐมวัยเรียนหนังสือที่วัดสะพานสูง เรียนต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัน มาจบภาคภาษาฝรั่งเศสที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล เขาจัดอยู่ในพวกเด็กเรียนเก่ง บทจะบู้ก็ไม่เคยกลัวใคร เป็นคนเอาจริง เพราะรูปร่างสูงใหญ่เป็นที่เกรงขามของนักเลงแถวราชวัตร ส่วนในด้วนความรักนั้น พิสูจน์ได้จากการแสดงออกในบทเพลงรักต่างๆที่ละเมียดละไมที่แต่งและร้องเอง

ครูล้วนสนใจดนตรีมาตั้งแต่เด็กๆ มักจะดีดออร์แกนแล้วร้องเพลงจันทร์เจ้าขาของพรานบูรณ์คลอไปด้วย เสียงของท่านทุ่มใสโดยไม่ต้องปรุงแต่งด้วยเครื่องอิเลกทรอนิกส์ ความถนัดอีกอย่างหนึ่งคือการใช้หีบเพลงปาก เขาชอบติดตามไปหัดร้องเพลงอยู่ข้างๆเวทีที่คนไม่ค่อยเห็นในการแสดงคณะ "จันทโรภาส" ของพรานบูรพ์ ซึ่งโด่งดังมากในยุคนั้น

เมื่อภาพยนตร์ฝรั่งที่มีเสียงพูดในฟิล์มเรื่องแรกเข้ามาฉายในเมืองไทย หนุ่มสาวสมัยนั้นนิยมร้องเพลงฝรั่งกันมาก เขาได้ลงทุนซื้อเครื่องเล่นจานเสียง(ไขลาน) พร้อมทั้งแผ่นเสียงของนักร้องมีชื่อ มาฝึกฝนด้วยตัวเอง นักร้องดังๆ ในยุคนั้นได้แก่ คิด เพาเวล, จอนโบลท์ และ ลอเรนซ์ ทิเบต

เขาชื่นชอบเสียงเทนเนอร์ของ เนลสัน เอดดี้ ฝึกร้องจากเพลง Rose Mary ด้วยกิตติศัพท์ในเรื่องนี้ จึงได้รับการขนานนามว่า “เนลสัน เอดดี้เมืองไทย” แล้วยังได้เขียนคำร้องเข้ากับทำนองเพลงสากล จากเพลง I'll string along with you. และอีกหลายเพลง เมื่อวงดนตรีหลวงอยู่ที่สวนมิสกวัน เขาได้ใกล้ชิดกับวงดนตรีนี้ จึงเกิดความสนใจการเขียนโน๊ตเพลง เริ่มศึกษาจากเพื่อนที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกันที่ชื่อ ศิริ ยงยุทธ

เพลงแรกที่แต่งชื่อ "วิมานในฝัน" ในปี พ.ศ. 2477 นับจากนั้นมาเป็นเวลา 32 ปี เขาแต่งเพลงทั้งทำนองและคำร้องประมาณ 300 เพลง



รายการทีวีช่อง 9


เมื่อปี พ.ศ. 2472 เขาเข้ารับราชการสังกัดกรมฝิ่นสามเสน ราว 6-7 ปี ต่อจากนั้นย้ายมาอยู่กรมสรรพสามิตอีก 4 ปี จึงได้ลาออกจากราชการ เขาเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการฝึกชกมวย เป็นนักมายคาดเชือก อายุขณะนั้น 27-28 ปีแล้ว ชกที่สวนสนุกอยู่ 7-8 ปี ได้ค่าเหนื่อยไฟว์ละ 45 บาท ในระหว่างที่หากินทางชกมวยก็ใช้เวลาว่างร้องเพลงควบคู่กันไป จึงได้ฉายาว่า "นักมวยนักร้อง"

เขาเคยเข้าประกวดร้องเพลงในงานวัด ด้วยมนต์เสน่ห์แห่งน้ำเสียง จึงชนะการประกวด ได้ถ้วยรางวัลจากงานวัดหลายใบ แต่หาได้เป็นตัวเงินไม่ เมื่อกรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ประกาศรับสมัครนักร้อง ในปี พ.ศ. 2482 ยุคที่สงครามโลกครั้งที่ 2 เพิ่งเริ่มต้น เขาสอบผ่านพร้อมกับนักร้องดังคนอื่นๆ เช่น รุจี อุทัยกร, มัณฑนา โมลากุล ได้ทำงานในตำแหน่งนักประพันธ์เพลง หน้าที่นี้ทำให้เขาเชี่ยวชาญในการประพันธ์เพลงเป็นอย่างยิ่ง

ช่วงที่รับราชการที่กรมโฆษณาการ ได้แต่งบทละครวิทยุ 30-40 เรื่อง เพลงประกอบละครวิทยุที่นิยมกันมาก ได้แก่ แหวนประดับก้อย, คำปฏิญาณ, เสียงกระซิบสั่ง, ค่ำแล้วในฤดูหนาว, ผีเสื้อกับดอกไม้, เพลินเพลงเช้า, ระกำดวงจิต และใจเป็นห่วง

หลังจากนั้นไม่นาน เขาตัดสินใจลาออกจากกรมโฆษณาการ ออกมาทำงานหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยกับเพื่อนนักหนังสือพิมพ์ เป็นหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยในยุคสุดท้ายของสมัยนั้น ก่อนที่จะโอนกิจการให้คนอื่นทำต่อไป ต่อมาตั้งวงดนตรีของตัวเอง ชื่อ Chamber Music ใช้นักดนตรีเพียง 4 คน เขาจะเป็นนักร้องนำเสมอ เปิดตัวครั้งแรกที่ศาลาเฉลิมกรุง ได้เดินสายไปตามวิกต่างๆอีก 4 ปี คู่แข่งที่สำคัญคือวงดุริยะโยธิน

ครั้งหนึ่งมีการประกวดเพลงสดุดีท่านผู้นำ เขาชนะรางวัลที่ 3 ได้เงิน 500 บาท เพลงชื่อ ดินแดนแห่งดอกบัวงาม เนื้อเพลง :

ดินแดนแห่งดอกบัวงาม มีชื่อตามตามสมญาว่าไทย
เจริญด้วยวัฒนชัยวัฒนธรรม ส้ำเลิศรุ่งเรือง
เป็นเมืองแห่งความสวย งามด้วยเชิงศิลปะยินชื่อเฟื่อง
มากมายด้วยวัดนามกระเดื่อง สมที่จะเป็นเมืองพุทธศาสน์แห่งไทย
ผู้คนหญิงชายล้วน แต่งกายสวยโอ่อ่า
ถ้อยคำพูดจาน่าปราศรัย สมควรทั่วโลกจะยอมรับนับเมืองไทย
ว่าศรีไลจิตใจโอบอ้อม คนไทยจิตใจเมตา
โดยพระพุทธศาสนาคอยเกลากล่อม เลื่องชื่อลือล้นคนรับยอม
พร้อมใจเชิดชูรู้กันทั่วไป พอดวงตะวันเยี่ยมฟ้า
ทอแสงอุษารับวันใหม่ เจื้อยแจ้วปักษาร่าเริงไพร
ชวนเพลินหฤทัยไปจนสิ้นวัน ลมเย็นผ่อนโรยโชยฉิว
แลลิ่วทิวไม้ใบก้านสั่น เกลื่อนกล่นต้นไม้ทั้งเถาวัลย์
เลื้อยพันผูกกอยอดชูแกว่งไกว กลิ่นของดอกไม้ที่ดอกสวยเด่น
หอมเย็นชุ่มฉ่ำชื่นหทัย มากมายเลื่อนชุมอยู่ตามสุมทุมพุ่มไพร
แตกดอกออกใบไสวยามค่ำคืน แดนดินถิ่นไทยไกลแสน
งามแม้นสรวงดวงดาวดื่น แจ่มเจิดเฉิดจันทร์ค่ำคืน
ชื่นชมดินแดนแห่งดอกบัวงาม

เพลงแหวนประดับก้อย ได้รับความนิยมสูงสุด ราวกับว่า เสน่ห์ของเพลงนี้มีเบื้องหลังแห่งชีวิตจริงของผู้แต่ง มีเสียงตอบรับจากแฟนเพลงและวิจารณ์กันกระหึ่มเมือง เนื่องจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมาก เขาจึงแต่งเป็นบทละครเวที เนื้อร้อง :

เห็นกันอยู่เกือบทุกๆวัน แล้วมีเหตุใดไหวหวั่น จากกันไม่เคยพบเลย
รักโอ้รักของเรานี่เอ๋ย คิดถึงที่เรานั้นเคย ชูชื่นทุกคืนทุกวัน
แหวนที่เคยประดับติดนิ้ว ยังคอยรัดกิ่ว ดูนิ้วนั้นใจฉันสั่น
คิดถึงตัวเจ้าของแหวนนั้น แหวนเอยเจ้าของแหวนหมั้น เขานั้นไปอยู่แห่งใด
คอยฉันเฝ้าแต่คอย ใจลอยเอ๋ยเมื่อไหร่
แหวนเอ๋ยเมื่อไร เจ้าของๆเจ้า เขาจึงกลับมา
แหวนที่เคยประดับนิ้วก้อย แม้ว่าราคานิดหน่อย แต่ค่าเลิศลอยนักหนา
ฉันรักเท่าดวงชีวา คิดแล้วยิ่งดูเหมือนว่า พาให้คิดถึงเจ้าของ
หนาวน้ำค้างที่กระเซ็นซัด ลมเย็นในยามสงัด งามใดไม่ชวนฉันมอง
คิดถึงอยู่ก็แต่เจ้าของ แหวนทองที่ฉันนั้นใส่ เตือนใจทุกวันทุกคืน
แม้นแสงจันทร์จะไม่แจ่มงาม แสงดาวจะพราวสง่า งามตาไม่ชวนฉันชื่น
สวยงามใดอะไรอื่นๆ นับร้อยและพันทั้งหมื่น ไม่ชื่นเท่าเจ้าของแหวน
โอเมื่อไหร่จะมา เหมือนพาให้ เสียดายแสน
รักแหวนเจ้าของแหวน หาอื่นใดแทน ไม่ชื่นอุรา
แหวนที่เคยประดับนิ้วก้อย แม้ว่าราคานิดหน่อย แต่ค่าเลิศลอยหนักหนา
ฉันรักเท่าดวงชีวา คิดแล้วยิ่งดูเหมือนว่า พาให้คิดถึงเจ้าของ



"แหวนประดับก้อย" เปิดการแสดงถึง 79 รอบ เขาได้เงินถึงแสนห้าหมื่นบาท ต่อมาได้แต่งบทละครอีก 2-3 เรื่อง เช่น วิมานเพลง แสดงที่วิกนาครสนุก ช่วงนั้นอยู่ในภาวะสงคราม ท่านได้อุทิศเวลาให้ทางราชการ แสดงละครการกุศลเรื่องแนวที่ 5 เรื่องนี้ยิ่งใหญ่มากเพราะใช้วงดนตรีกองทัพบก และกองทัพเรือถึง 150 ชีวิต เรียกการแสดงนี้ว่าละครสังคีต

ครูล้วนสนใจการแต่งบทกวีตั้งแต่เป็นนักเรียนชั้นมัธยม สนใจบทกลอนจากหนังสือวรรณคดีไทยเป็นอย่างมาก ครั้งหนึ่งหลังจากได้ชื่นชมธรรมชาติยามค่ำที่สวนลุมพินี ท่านได้แต่งร้อยกรองแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึกในขณะนั้น นั่นคือเพลง "ค่ำแล้วในฤดูหนาว"

พอย่างเข้าเขตหน้าหนาว
ลมหนาวก็โชยพัดกระหน่ำ
สายลมเอื่อยมาในเวลาค่ำฉ่ำชื่นกว่าทุกวัน
น้ำค้างพร่างพรมลมเย็นรำเพย
หนาวโอ้อกเอ๋ยหนาวจนสั่น
เสียงเรไรร้องก้องสนั่นทำให้ฉันเป็นสุขใจ
เสียงเพลงค่ำแล้ว ค่ำแล้ว ค่ำแล้ว
ดังแว่วมาแต่ไกล
นี่ใครนะใครช่างประดิษฐ์คิดเพลงค่ำ ๆ
หนาวลมยิ่งทำให้ใจคนึง
คิดถึงแต่รักที่หวานฉ่ำ
หารักอื่นใดไหนจะหวานล้ำฉ่ำเท่ารักเราไม่มี
สวนลุมพินีถิ่นที่เคยไป
เขาดินถิ่นไกลก่อนนี้เคยชื่น
เดี๋ยวนี้ผ่านไปเห็นแล้วขมขื่นไม่ชวนชื่นเหมือนก่อนนั้น
นภาสะอาดดูงามสดใส
ฉันรักจับใจสะอาดนะนั่น
หนาวลมเยือกเย็นนั้นทำให้สั่นจิตใจฉันเลื่อนลอยไป
เสียงเพลงค่ำแล้ว ค่ำแล้ว ค่ำแล้ว
ดังแว่วมาแต่ไกล
ติดเตือนหัวใจให้คิดถึงยามค่ำ ๆ
คิดถึงร่วมทางเคยเที่ยวด้วยกัน
ทุกคืนก่อนนั้นหวานชื่นฉ่ำ
ทุกทีที่ไปฝังใจยังจำไม่ลืมคำที่ได้ฝากกัน

ในยุคที่เพลงนิยมท้องถิ่นกำลังเป็นที่นิยม อย่างเพลง แสนแสบ, บางรัก, ท่าฉลอม เขาแต่งเพลงร่วมสมัยด้วยในชื่อ "บางซื่อ" เนื้อร้อง :

บางซื่อมันไม่ซื่อเหมือนบาง ฉันคิดถึงนางแล้วต้องร้องไห้
เจ็บปวกรวดร้าวเหมือนใครเขากรีดดวงใจ เจ็บปวดไม่มีสิ่งใดเทียบได้เลยสักอย่าง
รีกนางเพราะนางเกิดที่บางซื่อ น้ำใจเจ้าหรือฉันคิดคงซื่อเหมือนบาง
ไว้ใจเชื่อใจไม่คิดเหินห่าง บางซื่อไม่ซื่อเหมือนบางฉันโทษนางคนเดียว
คนเกิดบางซื่อควรหรือไม่ซื่อกลับคด สับปลับเลี้ยวลดหมดความเชื่อถือทุกอย่าง
ลาแล้วบางซื่อขอจำไว้แต่ชื่อบาง ลาก่อนน้องนางแล้วบางซื่อเอย



แต่งเพลงกีฬาสีและซ้อมของโรงเรียนประสาทพร


ต่อมา ศิลปินผู้มีอารมณ์สุนทรีท่านนี้ ได้ก่อตั้งโรงเรียนประสาทพร นนทบุรี สอนตั้งแต่อนุบาลถึงชั้นมัธยม ด้วยจิตใจที่มีเมตตา ท่านได้รับอุปการะเด็กยากจน ให้การศึกษาแก่เด็กกำพร้า แม้กระทั่งเด็กที่เกเรจากโรงเรียนอื่น ได้ค้นหาวิธีการสอนแบบใหม่ๆ ที่ไม่น่าเบื่อ โดยใช้เปียนโนเป็นสื่อการสอน ซึ่งได้ผลดียิ่ง เช่น บทร้อยกรอง "วิธีจับยักษ์" พิมพ์เป็นหนังสือเล่มพร้อมภาพประกอบ



ลุงพรเล่านิทานด้วยเพลง ทางทีวีช่อง 4 เมื่อ พ.ศ. 2499


ท่านยังจัดรายการวิทยุในนามของ "ลุงพร" ที่เด็กๆชอบกันมาก ภายหลังต้องเปลี่ยนเป็น"คุณพร" เพราะมีคนเอาชื่อนี้ไปใช้โดยไม่บอกไม่กล่าว มีหลายเพลงที่แต่งให้เด็กๆร้อง ท่านสอนหนังสือและดนตรีให้แก่เด็กๆจนถึงบั้นปลายชีวิต ด้วยความรักชาติและความเป็นครู มักจะฝากบอกลูกหลานให้ช่วยกันปกป้องประเทศชาติ ให้ทุกคนห่างไกลยาเสพติด อยากเห็นเยาวชนรักดนตรี
ตัวอย่างบทเรียนสำหรับเด็กที่ใช้ดนตรีประกอบ

ร. เรือ
ร. เรือ รบเร้า โรเรียน เรไร
ริกรี้ เริงรำ รับรู้ เรืองรอง
รอนรอน ร้อนร้อน โรยริน โรมรัน
รถรบ เรรวน เร้ารุก รอรี
ตะวันรอนรอน แดดไม่ร้อน เดินไปโรงเรียน
รักเรียกต้องเร่ง ด้วยความรีบร้อน ไม่ควรรอรี



ในวันไหว้ครู


วาทะของท่าน
"นาย...ฉันจะพูดให้ฟัง
เราเกิดมาในแผ่นดินนี้
เราต้องหวงแหนแผ่นดินเกิด
เราต้องจารึกองค์พระประมุขไว้ในดวงใจ
เราจะทำการใด ต้องตั้งมั่นอยู่ในความกตัญญู อุตสาหะ
เราถึงจะมีแต่ความเจริญในชีวิต..."

ในปี พ.ศ. 2511-2516 ท่านรับเป็นกรรมการตัดสินนักร้อง รายการบันไดดารา ผู้จัดรายการคือพันเอก การุณ เก่งระดมยิง ทุกเช้าวันเสาร์ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบก

ในช่วงสูงวัยแล้ว ท่านปรารถนาจะทำอยู่ 2 เรื่องและเคยกล่าวกับญาติสนิทของท่านเสมอ คือ

1. ต้องการรวบรวมบทเรียนประกอบดนตรีไว้เป็นหมวดหมู่ และพิมพ์เป็นการถาวร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. ต้องการขยายโรงเรียนอีกแห่ง เปิดสอนระดับอนุบาลโดยเฉพาะ และเน้นดนตรีเป็นสื่อการเรียนอย่างจริงจัง

ท่านได้แต่งเพลงพรรณนาถึงป่าเขาลำเนาไพร ต้นน้ำ ลำธารแสะสัตว์ป่า เพื่อปลูกฝังการอนุรักษ์ธรรมชาติให้กับอนุชนรุ่นหลังในระดับชั้นประถมและมัธยม แต่ท่านทำได้ไปเพียงบางส่วนยังไม่ทันได้เผยแพร่ ท่านจากไปเสียก่อน เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2522 อายุ 66 ปี



Create Date : 21 สิงหาคม 2554
Last Update : 4 กรกฎาคม 2558 13:48:07 น. 28 comments
Counter : 8839 Pageviews.

 


สวัสดีค่ะ...

ฟังเพลงเก่าๆ ก็เพราะไปอีกแบบนะค่ะ..

เดือนนี้อ้อมแอ้มมีของรางวัลให้เพื่อนๆค่ะ
ส่งรูปที่ถ่ายกับคุณแม่ที่คิดว่าสวย เจ๋ง น่ารัก
หรือจะเป็นตัวคุณถ่ายรูปคู่กับลูกๆก็ได้นะค่ะ
หรือเป็นญาติพี่น้องที่มีลูกๆน่ารักถ่ายกะคุณแม่
มาประกวดกันหน่อย รูปใครถูกใจอ้อมแอ้ม
จะมีของรางวัลให้ค่ะ รางวัลขออุบไว้ก่อน
แต่เป็นรางวัลที่น่าประทับใจมากๆนะค่ะ



โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 21 สิงหาคม 2554 เวลา:15:26:08 น.  

 
ร้องได้ยกเว้นเพลงสุดท้ายค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 21 สิงหาคม 2554 เวลา:16:27:07 น.  

 
เคยได้ยินชื่อท่านมาบ้าง
มีแค่เพียงเพลงค่ำแล้วในฤดูหนาวค่ะ
ที่พอคุ้นๆ
ดีค่ะ เอาเรื่องราวเก่าๆมาแบ่งปันกันจากรุ่นสู่รุ่น
ขอบคุณค่ะ



โดย: hellojaae (hellojaae ) วันที่: 21 สิงหาคม 2554 เวลา:19:24:51 น.  

 


ม่าม๊าร้องเพลงไม่เป็นค่ะ

แต่ชอบฟัง




โดย: mamamodern วันที่: 21 สิงหาคม 2554 เวลา:22:01:31 น.  

 

แวะมาชมประวัติปรมาจารย์ด้ายร้องเพลง
จะคุ้นเคยลงมาถึงรุ่นลูกคุรหมึก วิดรจน์ ควันธรรม
และน้องแม๊ก ลูกคุณหมึก
ที่จัดรายการเพลงสากลร่วมกัน
เชื้อไม่ทิ้งแถว
ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
เพราะอยู่ในแวดวงเสียงเพลงเหมอนกัน


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 22 สิงหาคม 2554 เวลา:8:31:39 น.  

 
ครูล้วน นี่ผมไม่ค่อยคุ้นเคยครับ แต่จะคุ้นรุ่นลูกมากกว่า อย่างคุณวิโรจน์ ควันธรรม ซึ่งก็ไม่เห็นออกสื้อนานแล้วด้วย


โดย: ปลายแป้นพิมพ์ วันที่: 22 สิงหาคม 2554 เวลา:11:15:22 น.  

 
ชอบมากเลยค่ะ เพลงยุคนี้แหละเหมือนจะเป็นเพลงที่ชอบฟังมาก ๆ ได้ยินเมื่อไรต้องไม่พลาดที่จะฟังค่ะ เหมือนกับเป็นเพลงแห่งความสุขในวัยเด็ก วัยที่โลกสดใสไร้เดียงสา จากวันที่ได้ยินจากวิทยุรุ่นเก่า ๆ ของพ่อ สดใสจำได้เพลงพวกนี้ พ่อกับแม่เปิดประจำ เพลงสมัยนี้ส่วนใหญ่สดใสฟังทีแล้วจะเป็นลมต้องรีบไปเปลี่ยนสถานีแทบไม่ทัน แต่พอถึงเวลาที่ลูกเราวัยรุ่นแล้ว เราคงต้องทนฟังไปกะเขา


โดย: วันสดใส วันที่: 22 สิงหาคม 2554 เวลา:22:27:44 น.  

 
ร้องได้เพลงเดียวคือค่ำแล้วในฤดูหนาวค่ะ เพราะฟังบ่อยๆ(ที่บ้านชอบเปิด )ขอบคุณสำหรับเนื้อเพลงด้วยค่ะ มีความรู้สึกว่าเพลงสมัยก่อนสวยงามด้วยภาษาที่ละเอียดอ่อน จะลองฟังเพลงอื่นๆที่พี่อิมนำมาลงไว้นะคะ


โดย: popang (popang ) วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:11:14:49 น.  

 
"แหวนประดับก้อย" เป็นเพลงที่ชอบมากๆ เพลงของคุณล้วน ควันธรรม นับวันก็หาฟังยาก.......ช่างสรรหารูปอดีตมาโชว์
ชอบค่ะ........น่าสนใจค่ะ


โดย: nathanon วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:14:53:28 น.  

 
Hello P In , how are you ?
Photobucket


โดย: kimmy (kimmybangkok ) วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:17:40:33 น.  

 
ได้อารมณ์การฟังวิทยุเมื่อตอนเด็กๆ เลยค่ะ^^


โดย: namfaseefoon วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:20:52:03 น.  

 


ม่าม๊าแวะมาทักทายค่ะ




โดย: mamamodern วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:11:49:08 น.  

 
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

[ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]
แวะมาทักทายยามสายๆก่อนเที่ยง วันนี้ทานอะไรกันดีคะคุณim?


โดย: เกศสุริยง วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:11:49:01 น.  

 
สงสัยคอมเม้นท์เราเองมีปัญหาค่ะ
ขอคุณอิมช่วยลบเม้นท์ข้างบนด้วยนะคะ
ขอโทษค่ะ
ขอบคุณค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:16:56:09 น.  

 
คิดถึงครูล้วนมากเลยครับ..สมัยก่อนคุณลุงจะเรียกผมว่าไอ้ตูดทั้งที่ผมชื่อต่อ..ท่านชอบให้ผมนวดให้และคอยสั่งสอนให้เป็นคนดีและช่วยเหลือสังคม...ถึงตอนนี้ผมผมก็ยังปฏิบัติตามคำสอนของคุณลุงอยู่ครับ...ศิษย์ครูล้วน ควันธรรม...ป.ส.พ.


โดย: เจริญพงษ์ เคารพวงศ์ชัย IP: 180.183.50.171 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:11:20:37 น.  

 
คิดถึงวันเก่าๆ ที่เคยเรียนอยู่ โรงเรียนประสาทพร


โดย: ซามูไรพเนจร IP: 101.108.148.79 วันที่: 2 เมษายน 2555 เวลา:21:40:01 น.  

 
คุณแม่บอกว่าร้องเพลงคุณครูล้วนเพลงนึงมาตั้งแต่อายุ 18 ตอนนี้ท่านอายุ 77 ชอบมากแต่หาฟังไม่ได้ ท่านร้องให้ฟังจำได้บางตอนว่า " แม่แผ่ความรักเมตตา แม้ยากจนฟันฝ่า ยังมาอุ้มท้องอาทร ซ้ำต้องอดหลับอดนอน เปรียวหวานการกินผ่อน เดือดร้อนตอยตั้งครรภ์ " ท่านผู้ใดทราบชื่อเพลงหรือมีเก็บไว้กรุณาโพสต์ หรือส่งไฟล์เพลงให้หน่อยนะคะ
ขอบคุณค่ะ

แก้ว ( kaewrattana@sanook.com )


โดย: แก้วกานดา IP: 49.49.123.84 วันที่: 20 เมษายน 2555 เวลา:0:21:56 น.  

 
คุณแก้วกานดาครับ เพลงที่พูดถึงนั้น ชื่อเพลงโอ้ชนกชนนี
ร้องโดยชาญ เย็นแข

โอ้ความซาบซึ้งตรึงใจ
ไหนจะมีดังแม่อันแปรเปรียบสายนที
ล้ำค่ากว่าธรณี แม่นั้นยังเป็นที่ลูกนี้มีความอาวรณ์
แม่แผ่ความรักเมตตา แม้ยากจนฟันฝ่า
ยังมาอุ้มท้องอาทร ซ้ำกลับอดหลับอดนอน
เปรี้ยวหวานการกินผ่อนเดือดร้อนเพราะการอุ้มครรภ์
ยอมอดทนครบจนเก้าเดือน เกิดความปวดร้าวหนาวเยือน
เจ็บเตือนเหมือนใจแม่สั่น ทนเวทนาแรมวัน
สุดจะสรรเนื้อความปวดยามลูกเตือนเคลื่อนกาย
แม่อันสุดรักลูกเอย ทุกข์เพียงใดไม่เอ่ย
ชมเชยลูกน้อยกลอยตา เลี้ยงเห่ไกวเปลกล่อมมา
แม่นี้ยอมฟันฝ่า แม่จ๋าล้วนมีบุญคุณ
คุณพ่ออันเลี้ยงพลันลูกโต เปรียบไปก็คล้ายร่มโพธิ์
แผ่คลุมคุ้มบังให้อุ่น ยอมหลั่งหยดเหงื่อเจือจุน
พ่อคอยหนุนประคอง แม่มองด้วยความเมตตา
โอ้อันชนกชนนี เลี้ยงลูกนี้จนใหญ่
ต่อไปท่านนั้นชรา ทิ้งทอดบิดามารดา ไม่เลี้ยงดูดังว่า บาปหนาเหมือนทรพี

ฟังเสียงได้ที่

//youtu.be/YzE5GhSfcRQ


โดย: Insignia_Museum วันที่: 21 เมษายน 2555 เวลา:20:20:06 น.  

 
เพิ่งจะเห็น blog นี้ ขออนุญาตไปแปะ link ไว้ใน Facebook ของกลุ่มนักเรียนประสาทพรนะคะ

สำหรับท่านอื่นๆ ที่เป็นศิษย์เก่าสนใจ join ใน Facebook ก็บอกได้ค่ะ

ศิษย์เก่าประสาทพร ม.1 รุ่น 2 ค่ะ


โดย: khampoo2000@yahoo.com IP: 171.97.162.109 วันที่: 16 มีนาคม 2556 เวลา:14:46:27 น.  

 
คิดถึงคุณลุงล้วนค่ะ คิดถึง รร. ประสาทพรด้วย
มศ.3 ห้อง A รุ่นสุดท้ายค่ะ


โดย: ปัทมา IP: 171.98.247.52 วันที่: 16 มีนาคม 2556 เวลา:15:07:30 น.  

 
ยินดีครับคุณปัทมา


โดย: Insignia_Museum วันที่: 18 มีนาคม 2556 เวลา:23:00:00 น.  

 


โดย: Insignia_Museum วันที่: 19 เมษายน 2557 เวลา:8:33:14 น.  

 
คิดถึง ๆๆๆ เพื่อนๆ คุณครูทุกท่าน และ คิดถึงครูล้วน/จากศิษย์เก่า โรงเรียนประสาทพร


โดย: หญิง IP: 171.99.136.226 วันที่: 20 พฤษภาคม 2557 เวลา:18:09:10 น.  

 
ผมรักลุงพรมากๆและหวงด้วยผมก้าวมาในวงการบันเทิงครั้งแรกตั้งแต่เด็กๆโดยลุงพรนี่แหละครับรักเหมือนพ่อเลยผมจะงอนเวลาลุงพรคุยกับเด็กๆคนอื่นกลัวลุงพรจะรักคนอื่นมากกว่าผมคิดถึงลุงพรมากๆครับอยากให้ลุงพรยังมีชีวิตอยู่ผมจะอยู่กับลุงพรเหมือนเดิมครับพ่อคนที่ผมรักและหวงมาก


โดย: เทิดพร มโนไพบูลย์ IP: 125.26.138.27 วันที่: 29 กรกฎาคม 2557 เวลา:11:42:53 น.  

 


โดย: Insignia_Museum วันที่: 10 ตุลาคม 2559 เวลา:21:14:28 น.  

 
แวะมาเติมความรู้ค่ะ


โดย: เสลาสีม่วง วันที่: 3 มกราคม 2563 เวลา:8:29:46 น.  

 
เห็นรูป อ้อมแอ้ม กับ แม่เจ้าโว้ย แล้วตกใจ
รีบเปิดดูใหม่ว่าบล็อกคุณIm หรือเปล่า


แม่เจ้าโวัย ขอบร้องเพลง ฟังเพลงครูล้วน ทำให้ ลูกสาวคนโต คนรอง(อ้อมแอ้ม) ร้องเพลงท่านได้หลายเพลงค่ะ

เริงฤดีนะ .ทันมาฟัง คุณวิโรจน์ ควันธรรม
มาเป็น DJ เปิดเพลงสากล ในสมัย..Night Spot Production ด้วย


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 18 มีนาคม 2565 เวลา:8:42:10 น.  

 
ลูกชายครูล้วน*


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 18 มีนาคม 2565 เวลา:8:43:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Insignia_Museum
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]




ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
New Comments
Friends' blogs
[Add Insignia_Museum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.