ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
18 ตุลาคม 2551
 

เข็มเจาะประมาณ 18 เมตร ใส่เหล็กขนาดไหน

ปัจจุบัน การทำเสาเข็มเจาะแห้ง เสนอราคาโดยคิดรวมเหล็กเสริมไว้แล้ว โดยเสาเข็มหน้าตัด 0.35 เมตร จะใช้เหล็กข้ออ้อยขนาด 12 มม. จำนวน 6 เส้น ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่ให้ใช้หน้าตัดเหล็กร้อยละหนึ่งของหน้าตัดคอนกรีต ซึ่งเท่ากับ เหล็ก 8 เส้น

ดังนั้น ควรให้เพิ่มเหล็กช่วงสิบเมตรบน เป็นเหล็ก 12 มม. จำนวน 8 เส้น ส่วนข้างใต้ลงไป จะใช้ 6 เส้น หรือลดเหลือ 4 เส้น ก็ไม่ว่ากัน

ผมเคยออกแบบ เสาเข็มเจาะแห้งขนาด ๓๕ ซม. ให้ใส่เหล็กกลม ๑๒ มม. แปดเส้น ยาวสิบเมตร ให้ตัดสองท่อนต่อทาบเท่านั้น เนื่องจากสามขาที่ใช้เจาะหลุม ยกเหล็กกลมยาวห้าเมตรหย่อนลงหลุมได้ตรงๆ ปลายเหล็กไม่ครูดดินข้างหลุม

เสาเข็มเจาะแห้ง ต้องเน้นความสะอาดของหลุมเจาะ และการที่เรียกเสาเข็มเจาะแห้ง ก้นหลุมจึงต้องแห้ง ต้องสะอาด ไม่มีเศษดินก้นหลุม เศษดินที่กองพูนอยูก้นหลุม จะทำให้เสาเข็มทรุดตัวมากกว่าปกติ

ความยาวเหล็กเสริมที่ผมใช้ พิจารณาจากชั้นดิน และเทคนิคการก่อสร้าง

การใส่เหล็กยาวแค่สิบเมตรนั้น เพื่อระวังดินเคลื่อนตัวในชั้นดินอ่อนมาก กรณีข้างบ้านขุดดินแบบไม่ระวัง ลึกกว่านั้น ไม่มีแรงอะไรมากระทำต่อตัวเสาเข็มแล้ว

บางท่านให้ใส่เหล็กยาวตลอด ป้องกันแผ่นดินไหว แต่ถ้าเกิดแผ่นดินไหว ความเสียหายจะเกิดที่โครงสร้างส่วนบนเหนือเสาเข็มขึ้นไปมากกว่า ถ้าการก่อสร้างฝังเหล็กที่จุดต่อคานเสาสั้นกว่าข้อกำหนด

อาคารที่ผมเคยออกแบบไว้ ที่ใช้เสาเข็มเจาะใส่เหล็กตามที่บอก ใช้งานมานานแล้ว ผ่านแผ่นดินไหว (ถ้ามี) มาแล้ว ก็ไม่มีความเสียหายอะไร ใช้งานเป็นปกติอยู่

คำถาม ถ้าเข็มเจาะกับเข็มตอก ขนาดเท่ากันระดับ pile tip เท่ากัน end bearing เท่ากันไม่ใช่หรือครับ แต่กำลังรับของตัวเข็มตอกนั้นมากกว่าอยู่แล้ว เพราะเป็นคอนกรีตอัดแรง ที่สงสัยเรื่อง skin friction ของเสาเข็มเจาะ เพราะเราเจาะเอาดินออกแล้วหล่อเข็มในนั้น แรงเสียดทานจะหายไป ไม่เหมือนเข็มตอกที่แทรกลงไปในดินย่อมมี skin friction ที่มากกว่า

อธิบาย เวลาตอกเสาเข็มยาวถึงชั้นทราย ตุ้มน้ำหนักจะกระทุ้งให้ปลายเสาเข็มจมชั้นทราย จากพลังงานของ น้ำหนักตุ้ม คูณ ระยะยกตุ้ม (คิดง่ายๆ) ชั้นทรายจะออกแรงต้านไม่ให้ปลายเข็มจมลง ตาม action = reaction นั่นคือ end bearing ที่เกิดมาก เอาไปบวกกับพื้นที่รอบรูปคูณด้วย friction/unit เสาเข็มตอกจึงรับน้ำหนักได้มาก

เสาเข็มเจาะ ขุดดินขึ้นมาแล้วเทปูนลงไป end bearing จึงมีน้อยมาก คำนวณจากหน้าตัดเสาเข็ม คูณด้วยแรงต้านของดินต่อหน่วย โดยดินนั้นยังไม่ได้ถูกกด จึงมีค่าน้อย แรงรับของเสาเข็มเจาะจึงมีแต่แรงเสียดทานเป็นส่วนใหญ่ end bearing มีน้อย (skin friction ไม่เกิดเต็มที่ในทันที ค่อยๆ เกิด)

เมื่อเสาเข็มเจาะต้องรับน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกจะกดให้เสาเข็มจมลง ดินใต้ปลายเสาเข็ม จะถูกกดให้ยุบตัว จึงเกิด end bearing เพิ่มมากขึ้น การทำเสาเข็มเจาะ ก้นหลุมจึงไม่ควรมีเศษดิน เพราะ end bearing ของดินหลวม มีน้อย จึงเกิดการทรุดตัวมากกว่าปกติ

คิดง่ายๆ ว่า ทำไม เสาเข็มเจาะ ที่มีขนาดใหญ่กว่าเสาเข็มตอก ที่ความยาวเท่ากัน เสาเข็มตอกจึงรับน้ำหนักได้มากกว่า คนมักคิดกันว่า เป็นเพราะกำลังอัดคอนกรีตต่างกัน (ถ้าเป็นเช่นนั้น ใช้เสาเหล็กไม่ดีกว่าหรือ กำลังของเหล็กมากกว่าคอนกรีตเกินสิบเท่า ลดขนาดฐานรากได้เยอะ) การรับน้ำหนักของเสาเข็มต้องคิดจากดิน ซึ่งต่างกันที่ ดินปลายเข็มถูกอัดกระทุ้งหรือไม่

-------------------------------
แนะนำ - [ 19 ต.ค. 51 03:44:48 ]

หน้าตัดเหล็กเสริมในเสาเข็มเจาะใช้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของหน้าตัดเสาเข็มนะครับ (ไม่ใช่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 อันนั้นเป็นข้อกำหนดของหน้าตัดเสา คสล.) ช่วงปลายๆเสาเข็มอาจลดจำนวนร้อยละของเหล็กเสริมได้อีก หรือ อาจเสริมเหล็กไม่ตลอดความยาวของเข็ม

บางกรณีในโครงการใหญ่ๆผู้ออกแบบอาจให้เสาเข็มรับแรงแผ่นดินไหวด้วย
ปริมาณเหล็กเสริมจะมากกว่าร้อยละ 0.5 ไปถึงร้อยละ 0.7-0.8 ก็ได้ครับ

เพิ่มเติมครับ
ชั้นดินอ่อนในกรุงเทพ บางจุดอยู่ลึกถึง 13-14 เมตร วิศวกรผู้ควบคุมงานบางคนบังคับให้กดปลอกเหล็กยาว 15เมตรเลยทีเดียว ผู้รับเหมางานเข็มเจาะแห้งส่วนใหญ่มักจะกดปลอกแค่ 12-13 เมตร โชคร้ายดินพังเพราะเข้าใจว่าดินอ่อนหมดประมาณ 10 เมตรก็มีนะครับ

ปกติงานเล็กๆมักไม่ได้ทำ Boring เลยไม่รู้ว่าชั้นดินเป็นยังไง ดินเริ่มแข็งที่ไหน ถ้าเป็นผมแนะนำ..อยากให้เสริมเหล็กมากกว่า 10 เมตร (อย่างน้อยซัก 15 เมตร) กรณีอยากประหยัดอีกหน่อยก็ให้ลด%เหล็กในช่วง 5 เมตรล่าง ก็ได้

ชี้แจง - [ 19 ต.ค. 51 10:30:38 ]

ที่ผมว่า คือกรณีทั่วไปของเสาเข็มเจาะแห้งรับแรงทางดิ่งเท่านั้น (กรณีไม่ปกติ เช่น เคยมีการทำเสาเข็มเจาะเรียงเป็นแนวล้อม เพื่อใช้เป็นกำแพงกันดินสำหรับงานสร้างอาคารสูง - *ห้ามวิจารณ์*) แรงทางข้างของอาคารพักอาศัยปกติ ที่เกิดจากแผ่นดินไหวมีน้อย การใส่เหล็กยาวสิบเมตร ป้องกันการขุดดินเท่านั้น (การขุดดินลึกมากกว่านั้น เช่นสร้างห้องใต้ดินทำที่จอดรถอาคารสูง เขาไม่ขุดดินแบบงี่เง่า) แม้ว่าพื้นที่นั้น ดินอ่อนลึกกว่าปกติ ก็ไม่มีผลกับการเกิดแรงทางข้างจากการขุดดินข้างๆ กับเสาเข็มเจาะ

ส่วนเรื่องป้องกันน้ำลงหลุมนั้น การปัก casing กันน้ำลึกตื้นเท่าไร เป็นเรื่องของผู้รับเหมาเข็มเจาะแห้ง ถ้าก้นหลุมมีน้ำมีเศษดิน ก็ไม่ให้เทคอนกรีต ส่วนการเทคอนกรีตไป ถอนปลอกเสาไป ไม่เกี่ยวกับความยาวเหล็กเสริม

เหล็กเสริมที่ใส่กันโดยผู้รับเหมาทำเสาเข็มเจาะเดี๋ยวนี้ มันเยอะมากเกินจำเป็น เพราะจะได้เงินมากขึ้น การกำหนดให้ใส่ร้อยละหนึ่ง ก็มีการโต้แย้งจากผู้รับเหมาที่อยากให้ใส่มากกว่านั้น มากพอแล้ว แค่ขู่เจ้าของงานว่า ใส่เหล็กแค่นั้น บ้านจะพังนะ เจ้าของงานก็กลัวแล้ว ให้ใส่ไปเลย เสียเงินเพิ่มอีกไม่เท่าไรเอง แต่การกำหนดให้ใส่ร้อยละหนึ่ง มี code ให้อ้างอิง

การให้ใส่ร้อยละ 0.5 มีเหตุผลอะไรชี้แจง จะถือว่าไม่มีแรงอะไร ใส่เป็น temperature steel เท่านั้น ถ้างั้น ทำไมใส่ยาวสิบห้าเมตร ควรใส่เหล็กยาวตลอดต้น ไม่งั้นเสาเข็มตอนล่างก็ไม่มี temperature steel หรือดินลึกเกินสิบห้าเมตร ไม่มีปัญหาแล้ว แล้วทำไมลึกสิบเมตรมีปัญหา

ผู้แนะนำคงไม่ทราบว่า เสาเข็มเจาะแห้งสมัยแรกๆ วิศวกรบริษัทเสาเข็มเจาะ กำหนดให้ใส่เหล็กร้อยละหนึ่ง ยาวห้าเมตร เพื่อเป็น dowel และการขุดดินทำฐานรากเท่านั้น ทำเสร็จแล้ว วิศวกรต้องออกระเบียนและหนังสือรับรองการรับน้ำหนักให้ด้วย ไม่งั้นไม่จ่ายเงินงวดสุดท้าย แต่เดี๋ยวนี้ ดูท่าทางหลายเจ้า ไม่มีวิศวกรแน่ อาจเคยเป็นโฟร์แมน ครูพักลักจำวิธีทำเสาเข็มเจาะ ก็ออกมารับงาน



Create Date : 18 ตุลาคม 2551
Last Update : 3 มีนาคม 2552 15:51:24 น. 0 comments
Counter : 9620 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

KittySP
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




[Add KittySP's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com