ชนะคนอื่นเป็นร้อย ยังไม่ยากเท่าชนะตนแค่คนเดียว...
ความผิดปกติของการหายใจขณะนอนหลับ

     การกรน เกิดจากการสั่นของผนังลำคอและเพดานปากรวมทั้งลิ้นไก่ขณะหายใจ อุบัติการของการกรนขึ้นอยู่กับอายุและเพศ โดยรวมแล้ว 25% ของผู้ชาย และ 15% ของผู้หญิง กรนเป็นประจำ ในวัยกลางคน (40–65 ปี) อุบัติการจะสูงขึ้นเป็น 60% ในผู้ชายและ 40% ในผู้หญิง การกรนอาจมีผลมากจากความผิดปกติของผนังจมูก, ทอนซิล, รูปร่างของคางและลิ้น, โรคภูมแพ้, ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ไทรอยด์ ยาและสุรา หรือพันธุกรรม พบว่าประมาณ 40–60% ของผู้ที่กรนเป็นประจำมีโรคหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea) การศึกษาทางระบบวิทยาพบว่า การกรนอาจเป็นปัจจัยหนุนต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด อัมพาต ปัญหาการนอนของคนใกล้ชิดและการหย่าร้าง
    โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive sleep apnea) โรคนี้พบว่ามีการอุดกั้นของการเดินหายใจต่อบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณลำคอขณะหลับ

สาเหตุ
    สาเหตุของโรคนี้ซับซ้อนและมีหลายอย่างรวมกัน เช่น บางคนอาจมีขนาดของทางเดินหายใจที่เล็กกว่าคนทั่วไป บางคนมีความผิดปกติของผนังหรือโครงสร้างอื่นๆ ในจมูก, ริดสีดวงจมูก, ทอนซิลโต บางคนมีการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อในทางเดินหายใจตอนบน ผลที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ คือ ร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมองขาดออกซิเจนเป็นระยะๆ อาจบ่อยถึง 50 ครั้ง ต่อนาทีในรายที่เป็นมาก ทำให้สมองสวิทช์กลับไปมาจากการหลับลึกเป็นตื้น หัวใจเต้นเร็วขึ้นเพื่อพยายามส่งออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ

อาการ
    อาการหลักของโรคนี้ คือ ง่วงหงาวหาวนอนเวลากลางวัน ผล็อยหลับขณะทำงาน มีปัญหาในการทำงาน ถูกไล่ออกจากงาน หลับขณะขับรถเวลารถติดหรืออุบัติเหตุทางการจราจรจากการหลับใน คู่สมรสมักพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยปัญหากรนเสียงดังหยุดหายใจขณะนอนหลับ ผู้ป่วยเองอาจบ่นว่ามีอาการปวดศีรษะโดยเฉพาะเวลาเช้า ความจำไม่ดี หงุดหงิดง่ายซึมเศร้า สมรรถภาพทางเพศเสื่อม โรคนี้มักมีความสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ และโรคความดันโลหิตในปอดสูง ผู้ที่เป็นโรคนี้อย่างรุนแรงมีอัตราตายสูงกว่าบุคคลทั่วไป

การวินิจฉัย
    ทำได้โดยการเริ่มจากการซักถาม ประวัติการนอนอย่างละเอียด การตรวจร่างกาย และการยืนยันโดยการตรวจการนอนหลับ (Polysomnography) ซึ่งแพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนหลับในห้องปฏิบัติการนอนหลับเป็นเวลา 1 คืน จะมีการวัดคลื่นสมองและตรวจการเคลื่อนไหวของลูกตา เพื่อดูระดับต่างๆ ของการหลับ ตรวจกระแสลมที่ผ่านจมูก ตรวจจับเสียงกรน ตรวจกล้ามเนื้อคาง ตรวจการเคลื่อนไหว ของทรวงอกและหน้าท้อง การเคลื่อนไหวของขา ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และระดับของออกซิเจนในเลือด ทั้งหมดนี้จะตรวจไปพร้อมกันขณะหลับ การตรวจนี้จะให้การวินิจฉัยและบอกความรุนแรงของโรคได้ ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาต่อไป

การรักษา
    สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นกับสภาพความผิดปกติและความรุนแรงการรักษาขั้นพื้นฐานที่ต้องทำ คือ ลดน้ำหนัก งดการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ยาบางอย่างซึ่งมีผลต่อการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อในลำคออาจต้องถูกงดไป หากผู้ป่วยมีโรคภูมิแพ้ คัดจมูก ก็ควรได้รับการรักษาด้วย เนื่องจากสิ่งนี้ทำให้โรคหยุดหายใจขณะหลับมีอาการรุนแรงขึ้น
    -การใช้หน้ากากและเครื่องเพิ่มความดันของทางเดินหายใจ (CPAP) ถือ ว่าเป็นการรักษามาตรฐานสำหรับโรคนี้ ผู้ป่วยจะต้องสวมหน้ากากที่ครอบจมูกหรือจมูกและปากขณะนอนหลับ หน้ากากนี้จะต่อเข้ากับเครื่อง ปัมพ์ลม ที่มีขนาดประมาณเครื่องปิ้งขนมปัง หลักการคร่าวๆ ของเครื่องนี้ ก็คือ ใช้กระแสลมก่อให้เกิดความดัน ในช่องคอเพื่อจะค้ำผนังลำคอ มิให้หย่อนตัวและปิดขณะหายใจ เครื่องมือนี้สามารถรักษาได้ถึง 95% ของผู้ป่วย ข้อจำกัด คือ ผู้ป่วยต้องใช้เวลาปรับตัว ให้เกิดความคุ้นเคยกับเครื่อง โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน พบว่าประมาณ 70% ของผู้ป่วยใช้เครื่องมือนี้อย่างสม่ำเสมอ
    -การใช้อุปกรณ์ดึงคางหรือขากรรไกร (Oral appliance) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะในกรณีที่ความรุนแรงของโรคไม่มาก วิธีนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์เฉพาะตัวของผู้ป่วย คล้ายๆ กับการจัดฟัน ผู้ป่วยจะต้องสวมอุปกรณ์นี้ขณะนอนหลับทุกคืน เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้กว้างพอที่อากาศจะไหลเข้าออกได้ ข้อเสียคือ ผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถทนใส่อุปกรณ์นี้ได้ขณะหลับ
    -การผ่าตัด ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ โดยหลักการแล้ว การผ่าตัดจะเข้าไปแก้ไขการอุดกั้นทางเดินหายใจของผู้ป่วย ทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น อาการกรน รวมทั้งการหยุดหายใจขณะหลับก็หายไป ดังนั้น ถ้าการผ่าตัดได้ผล ผู้ป่วยก็จะหายขาดจากอาการกรน รวมทั้งอาการหยุดหายใจขณะหลับไปเลย การจะผ่าตัดส่วนใดนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน ว่ามีการอุดกั้นในทางเดินหายใจส่วนใด เช่นการผ่าตัดปรับผนังกั้นกลางจมูกจะทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีผนังกั้นกลางจมูก คด การผ่าตัดเพื่อลดขนาดของผนังข้างของจมูกจะทำในกรณีที่เป็นเยื่อบุจมูกอักเสบ เรื้อรัง การผ่าตัดต่อมทอนซิลหรือตัดต่อมอดีนอยด์ออกทำในกรณีที่เป็นต่อมทอนซิลหรือ ต่อมอดีนอยด์อักเสบเรื้อรัง หรือการผ่าตัดบริเวณเพดานอ่อนของผู้ป่วยทำในกรณีที่มีเพดานอ่อน หรือลิ้นไก่หนาตัวมากกว่าปกติ ซึ่งอาจใช้วิธีการผ่าตัดธรรมดา การใช้ลำแสงเลเซอร์ หรือการใช้คลื่นวิทยุในการรักษา

    สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัดวิธีใหม่ และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน คือ การรักษาด้วยการใช้คลื่นวิทยุ แบบ Somnoplasty จะถูกปล่อยเข้าไปในเนื้อเยื่อของผู้ป่วย และถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่ไม่สูงมากนัก เกิดการเปลี่ยนแปลงของโปรตีน เนื้อเยื่อเกิดการหดตัวทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น อาการกรน รวมทั้งอาการหยุดหายใจขณะหลับก็หายไป ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้คือ ไม่เจ็บ ไม่ต้องดมยาสลบ สามารถทำได้ที่ห้องตรวจ ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที หลังทำการรักษา ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ หรือสังเกตอาการเพียง 1 คืน และไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยมักต้องรับการรักษาด้วยวิธีนี้ 2 ครั้งห่างกันประมาณ 6-8 อาทิตย์ อาการต่างๆก็จะหายไป การรักษาด้วยคลื่นวิทยุนี้ สามารถทำได้ทั้งที่ช่องจมูก เพดานอ่อน หรือบริเวณโคนลิ้น และให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ
    ในกรณีที่มีอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับอยู่ในขั้นรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยการผ่าตัดที่ทำให้ช่องลำคอกว้างขึ้น ดึงขากรรไกรมาทางด้านหน้าหรืออาจต้องใช้วิธีเจาะคอของผู้ป่วย เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้วิธีนี้ในกรณีที่เป็นมาก และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วเท่านั้น

ที่่มา : //www.bangkokhospital.com

SmileySmileyขอบคุณที่แวะมเยี่ยมครับSmileySmiley




Create Date : 30 กันยายน 2555
Last Update : 30 กันยายน 2555 11:19:11 น. 0 comments
Counter : 2235 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kitpooh22
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




สวัสดีครับ
..............................
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม และมาเม้นให้ครับ



ขอบคุณครับ :-)
THX


วันเกิดบล็อก 25/5/2009
Google+
Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
30 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kitpooh22's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.