ชนะคนอื่นเป็นร้อย ยังไม่ยากเท่าชนะตนแค่คนเดียว...

ความรู้เรื่องโรคหัวใจ

     หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญภายในร่างกาย มีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปฟอกที่ปอดและส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจเป็นอวัยวะ ที่มีความแข็งแรงทนทานมาก
     หัวใจคนเราเริ่มเต้นตั้งแต่ที่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา ตอนอายุตัวอ่อนเพียง 22 วันและก็จะเต้นตลอดไป แต่กระนั้นก็ตาม หัวใจก็เหมือนกับอวัยวะอื่นๆภายในร่างกาย ที่สามารถเกิดความผิดปกติหรือโรคขึ้นได้

โรคหัวใจ ในผู้ใหญ่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน(Coronary artery disease)
2. โรคลิ้นหัวใจ และความผิดปกติเกี่ยวกับเส้นเลือดแดงเอออร์ตา(Valvular and aortic disease)
3. โรคหัวใจโตจากโรคความดันโลหิตสูง(Hypertensive heart disease)
4. โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดที่พบในผู้ใหญ่(Congenital heart disease in adults)
5. โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ(Cardiomyopathy)
6. หัวใจเต้นผิดจังหวะ(Cardiac arrhythmia)
7. โรคที่เกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ(Pericardial disease)

 

    เนื่องจากเนื้อหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ ชนิดต่างๆ มีมาก ดังนั้นในบทความนี้จะขอกล่าวโดยย่อก่อน หากมีผู้สนใจเรื่องใด จะจัดทำเป็นบทความเฉพาะเรื่องอีกครั้ง

+โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน(Coronary artery disease)
    เกิดจากส่วนของคราบสะสมไขมันที่เราเรียกว่า พล็าค(Atherosclerotic plaque) เกาะบริเวณภายในผนังหลอดเลือดแดง โคโรนารี่ จนเกิดการตีบตัน เป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในที่สุด และถ้าแผ่นคราบไขมันเกิดการแตกหรือฉีกขาด จะทำให้เกร็ดเลือด จำนวน มาก มาเกาะและอุดตันรูเส้นเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดแดงโคโรนารี่อุดตันเฉียบพลัน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดรุนแรงหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย …

+โรคลิ้นหัวใจ และความผิดปกติเกี่ยวกับเส้นเลือดแดงเอออร์ตา(Valvular and aortic disease)
   โรคลิ้นหัวใจผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่
     -โรคหัวใจรูห์มาติค(Rheumatic heart disease)
       มักเป็นที่ลิ้นหัวใจไมตรัล (อาจทำให้เกิดลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ และ/หรือ รั่ว)และลิ้นหัวใจเอออร์ติค (ซึ่งทำให้เกิดลิ้นหัวใจ เอออร์ติครั่ว)
       โรคหัวใจรูห์มาติค เป็นผลที่ตามมาจากโรคติดเชื้อไข้รูห์มาติค ซึ่งมักเป็นหลังจากการติดเชื้อไปประมาณ 10-20 ปี แต่ก็ไม่ได้ เกิดขึ้น ทุกรายที่มีโรคติดเชื้อไข้รูห์มาติค
       โรคติดเชื้อไข้รูห์มาติค (Rheumatic fever) เป็นผลตามมาหลังจากการติดเชื้อคออักเสบ จากเชื้อ Streptococcus group A ซึ่งมักเป็นหลังจากเกิดคออักเสบ 2-4 สัปดาห์ ส่วนอาการแสดงของโรคไข้รูห์มาติคมีหลายแบบ ในรายที่มีหัวใจอักเสบร่วมด้วย ก็จะมีผลตามมาคือเกิด โรคหัวใจรูห์มาติคในภายหลังได้
      -โรคลิ้นหัวใจอักเสบติดเชื้อ(Infective endocarditis)
       ในรายที่มีประวัติฉีดยาเสพติดเข้าเส้นมักทำให้เกิดลิ้นหัวใจไตรคัสปิดติดเชื้อและเกิดการรั่ว
      -โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบ
       ซึ่งมักพบในคนสูงอายุ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเป็นลมหมดสติเฉียบพลัน อาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจ ขาดเลือด และภาวะหัวใจ ล้มเหลวได้  นอกจากนี้ยังมีภาวะ ที่เกิดลิ้นหัวใจรั่วโดยไม่ได้เกิดพยาธิสภาพที่ลิ้นหัวใจโดยตรง กลุ่มนี้มักเป็นจากหัวใจที่โตขยายขนาดออกทำให้ลิ้นหัวใจซึ่งไม่ได้ยาวตามขนาดหัวใจที่เพิ่ม ปิดกันไม่สนิท ทำให้เกิดการรั่วตามมา มักพบสภาวะนี้ที่ลิ้นหัวใจ ไตรคัสปิด และลิ้นหัวใจไมตรัล

+โรคหัวใจโตจากโรคความดันโลหิตสูง(Hypertensive heart disease)
      ในผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว เมื่อไม่ได้รับการรักษาปล่อยให้ความดันโลหิตสูงอยู่นาน ก็จะทำให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้นโดยเฉพาะหัวใจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือหัวใจห้องล่างซ้ายซึ่งต่อตรงกับเส้นเลือดแดงเอออร์ตา เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัว (Left ventricular hypertrophy) ซึ่งทำให้การคลายตัวของหัวใจผิดปกติ และอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้


+โรคหัวใจแต่กำเนิดที่พบในผู้ใหญ่
(Congenital heart disease in adults)
   ที่พบบ่อยในทางคลินิก ได้แก่
    -ผนังหัวใจด้านบนรั่ว (Atrial septal defect)
     โอกาสจะปิดเองได้มีน้อย (ประมาณ 4%) ส่วนใหญ่รูรั่วจะขยายขนาดออกเมื่อโตขึ้น ในรายที่มีอาการจากรูรั่ว(เช่นเหนื่อย หัวใจล้มเหลว)หรือมีเลือดไหลผ่านรูรั่วมากๆ แพทย์จะทำการผ่าตัดปิดรูรั่ว ซึ่งในการรักษาปัจจุบันนอกจากการผ่าตัดแล้ว ยังมีวิธีการ อุดรูรั่ว โดยไม่ต้องผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์ลักษณะคล้ายร่มใส่เข้าทางสาย สวนหัวใจที่แทงผ่านผิวหนังเข้าไปอุดรูรั่วดังกล่าว

…..ดูตัวอย่างอุปกรณ์อุดรูรั่วที่มีชื่อว่า Amplatzer septal occluder      

     -ผนังหัวใจด้านล่างรั่ว (Ventricular septal defect)
     -การมีท่อเชื่อมต่อระหว่างเส้นเลือดแดงเอออร์ตาและเส้นเลือดแดงพัลโมนารี่ ( Patent ductus arteriosus)
     -เส้นเลือดแดงเอออร์ตาตีบคอด (Coartation of Aorta)
      มักจะเป็นที่เส้นเลือดแดงเอออร์ตาบริเวณทรวงอก ในผู้ชายเป็นบ่อยกว่าผู้หญิง 2-5 เท่า


+โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ(Cardiomyopathy)
   แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
      -กล้ามเนื้อหัวใจโป่งพอง (Dilated cardiomyopathy)
      -ผนังกล้ามเนื้อหัวใจโต (Hypertrophic cardiomyopathy)
      -กล้ามเนื้อหัวใจถูกบีบรัด (Restrictive cardiomyopathy)

+หัวใจเต้นผิดจังหวะ(Cardiac arrhythmia)
  แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ
    -กลุ่มหัวใจเต้นเร็ว (Tachyarrhythmia)
    -กลุ่มหัวใจเต้นช้า (Bradyarrhythmia and conduction disturbances)

+โรคที่เกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ(Pericardial disease)
   ที่พบบ่อยมี 2 โรค คือ
     -เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis)
      อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อยได้แก่ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ ไวรัส, แบคทีเรีย, วัณโรค, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ จากโรคไตวาย
     -การมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardial effusion)
      อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ, การถูกกระแทกบริเวณหน้าอก, การติดเชื้อเอดส์, โรคมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม, ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ เป็นต้น
      ในรายที่เป็นมากโดยเฉพาะถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจจะกดบริเวณผนังหัวใจโดยตรงโดย เฉพาะหัวใจ ด้านขวาทำให้การไหลของเลือดเข้าหัวใจไม่สะดวก ผลคืออาจทำให้ เกิดความดันโลหิตต่ำและช็อคจนเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับ การเจาะดูด เอาน้ำออกจากช่องเยื่อหุ้มหัวใจทันท่วงที

ขอขอบคุณ : //www.thaiheartclinic.com/data5.asp

Smileyขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับSmiley




 

Create Date : 20 กรกฎาคม 2555
0 comments
Last Update : 21 กันยายน 2555 14:06:35 น.
Counter : 6637 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


kitpooh22
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




สวัสดีครับ
..............................
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม และมาเม้นให้ครับ



ขอบคุณครับ :-)
THX


วันเกิดบล็อก 25/5/2009
Google+
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
20 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kitpooh22's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.