ข้าวยำหมูตุ๋น
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
18 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ข้าวยำหมูตุ๋น's blog to your web]
Links
 

 
โรคไต

ไตเป็นอวัยวะที่ทำ หน้าที่กรองและดูดซึมของเหลว เพื่อควบคุมสมดุลในร่างกาย โดยขับของเสียในเลือดที่ได้จากการเผาผลาญสารอาหารออกมากับปัสสาวะ แล้วดูดน้ำ และสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายกลับไปใช้ต่อ เปรียบไปแล้วคล้ายกับระบบบำบัดน้ำเสียของตึกนั่นเอง ถ้าไตทำงานได้ไม่ดีของเสียที่ควรจะถูกขับทิ้งออกไป ก็จะคั่งค้างอยู่ภายในกระแสเลือดจนทำให้ร่างกายเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา แถมยังปล่อยสิ่งที่ควรจะดูดกลับออกไปกับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ นอกจากทำหน้าที่ขับของเสียแล้ว ไตยังมีหน้าที่ควบคุมความดันเลือดและสร้างฮอร์โมนที่กระตุ้นสร้างเม็ดเลือด แดงอีกด้ว
ย ดังนั้นสัตว์ที่มีปัญหาเรื่องไตเรื้อรังจึงมักจะมีอาการโลหิตจางร่วมด้วย



โรคไต หรือภาวะไตวาย คือการที่ไตสูญเสียหน้าที่ ไม่สามารถทำงานได้ปกติ ภาวะไตวายเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

* ความ ผิดปกติทางพันธุกรรม หรือความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด สุนัขที่มีโครงสร้างของไตผิดปกติจะทำให้ไตทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์และสามารถ พัฒนาเป็น
โรคไตที่รุนแรงขึ้นได้
* การได้รับบาดเจ็บ เช่น โดนรถชน โดนเตะ ตกจากที่สูง ทำให้มีเลือดออกในไตและเกิดภาวะไตวายตามมา
* การได้รับสารพิษต่างๆ เช่น ยาเบื่อหนู พืชมีพิษบางชนิด สารตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สารหนู เป็นต้น
* การ ติดเชื้อแบคทีเรีย ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือมีการติดเชื้อในกระแสเลือดจนไปสู่ไต เมื่อทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมแล้วส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อการรักษา ค่อนข้างด

* การ อุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีเนื้องอก ซีสต์ ฝี อุดตันในทางเดินปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่ได้ และมีของเสียคั่งอยู่ในกระแสเลือด
* ยา บางตัวที่ใช้ในการรักษาโรค เช่น ยาลดปวด ยาฆ่าเชื้อรา ยาลดอักเสบ ยาที่ใช้ในการทำเคมีบำบัดรักษามะเร็ง ยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีอายุมากควรให้ยาในขนาดที่ต่ำลงมาเพื่อลดผลข้างเคียงต่อไต
* การติดเชื้อราที่ทำลายไต
* มะเร็ง พบได้น้อยและมักเป็นแบบแพร่กระจาย
* โรค ทางระบบภูมิคุ้มกัน สุนัขสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเนื้อเยื่อของตัวเอง และกลุ่มก้อนของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติเหล่านั้นก็จะไปเกาะตามเส้นเลือด และส่วนที
่ใช้ในการกรองของไต ทำให้เกิดความผิดปกติในการกรอง
* อาหาร หรือสารเจือปนในอาหาร เช่น สีผสมอาหาร สารถนอมอาหาร (อาหารที่มีโปรตีนสูง หรือมีความเค็มมากอาจทำให้ไตทำงานหนัก และมีผลต่อไตในระยะยาวได้ )
* มีความผิดปกติของโรคหัวใจ หรือโรคอื่นๆ มาก่อน ซึ่งมีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพ
* การเสื่อมสภาพของไตตามอายุของสัตว์ที่มากขึ้น

ถ้า ความเสียหายของไตเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และไตส่วนที่เหลืออยู่มีเวลาเพียงพอที่จะทำหน้าที่ทดแทนส่วนที่เสียไปได้ ไตก็ยังสามารถทำหน้าที่ต่ไปได้ แม้ว่าจะมีไตส่วนที่ดีเหลืออยู่เพียง 25 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม และเมื่อการทำหน้าที่ของไตลดลงต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ หรือเกิดความเสียหายอย่างฉับพลันจนหน่วยไตปรับตัวไม่ทันก็จะเกิดภาวะไตวายขึ้น

ภาวะไตวายแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ ภาวะไตวายเฉียบพลัน และภาวะไตวายเรื้อรัง

ภาวะไตวายเฉียบพลัน เป็นการสูญเสีย หน้าที่ของไตอย่างเฉียบพลัน จนหน่วยไตที่เหลือไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำงานชดเชยได้ บางรายสามารถฟื้นฟูสภาพไตให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ เช่น กรณีเป็นนิ่วอุดตันทำให้ฉี่ไม่ได้ เมื่อนำนิ่วออกไปแล้ว ค่าของเสียในเลือดสามารถลดลงสู่ระดับปกติอย่างรวดเร็ว แต่บางครั้งก็ไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ (ขึ้นอยุ่กับสาเหตุ) ส่วนภาวะไตวายเรื้อรังเป็นการสูญเสียหน้าที่ของไตอย่างถาวร ไม่สามารถฟื้นฟูสภาพให้กลับมาทำงานได้เหมือนเดิม ไตวายแบบนี้จะค่อยๆ เกิดขึ้นโดยใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี แม้ว่าจะได้รับการรักษาแล้วอาการมักจะคงที่ ไม่ได้ดีขึ้นมากนัก

สาเหตุของไตวายเฉียบพลัน ที่สำคัญได้แก่

o ไตขาดเลือด เช่น ในกรณีเสียเลือดอย่างรุนแรง หรือภาวะโรหัวใจที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตได้น้อยลง
o สาร พิษต่างๆ เช่น ยาถูพื้น ยาล้างจาน ยาฆ่าปลวก ที่ฮิตมาตามเมืองหนาว ก็คือพวกสารที่ใส่ในหม้อน้ำรถยนต์เพื่อป้องกันน้ำแข็งตัว ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ethyleneglycol
o ยา เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาฆ่าเชื้อรา ยาแก้มะเร็งบางชนิดที่มีผลต่อไต ยาลดปวดลดอักเสบ ยาสลบ เป็นต้น
o ภาวะขาดน้ำ
o ภาวะติดเชื้อ เช่น โรคฉี่หนู ซึ่งแม้ว่าเชื้อจะถูกกำจัดไปโดยยาปฏิชีวนะแล้วแต่ไตที่เสียสภาพไปก็อาจเกิดไตวายตามม
าได้
ในกรณีที่สัตว์เป็นโรคไตวายเรื้อรังอยู่แล้ว เจ้าของให้อาหารที่มีโปรตีนสูงก็อาจทำให้ไตวายเฉียบพลัน

ไตวายเรื้อรัง เป็นแบบที่ไตค่อยๆ เกิดความเสียหายและใช้เวลานานเป็ฯปีหว่าจะแสดงความผิดปกติออกมา กว่าเจ้าของจะสังเกตพบก็มักจะเป็นมากแล้ว แต่ถ้ามีการรักษาและติดตามอาการอย่างเหมาะสม สุนัขบางตัวก็สามารถอยู่ต่อไปได้อีกนานเป็นปี ไตวายเรื้อรังมักพบในสุนัขอายุมาก (สุนัขพันธุ์เล็กอายุประมาณ 10-14 ปี สุนัขพันธุ์ใหญ่อาจเป็นโรคไตวายได้ตั้งแต่อายุ 7 ปี) สุนัขที่เป็นดรคไตวายเรื้อรังจะปัสสาวะมากและเจือจาง เพราะมีหน่วยไตที่ดีเหลืออยู่ไม่เพียงพอที่จะกรองและดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ กระแสเลือด สุนัขจะกินน้ำเยอะขึ้นเพื่อรักษาปริมาณน้ำในร่างกายให้เหมาะสม ไตวายเรื้อรังอาจพัฒนาไปเป็นไตวายเฉียบพลันได้

อาการของสุนัขที่เป็นโรคไต

1. กินน้ำมากผิดปกติ
2. ปัสสาวะมาก (ในกรณีเรื้อรัง) หรือไม่ปัสสาวะเลย (ในกรณีเฉียบพลัน)
3. อาเจียน เบื่ออาหาร
4. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือเดินเซ ซึม
5. ช่องปากอักเสบ เป็นแผลในช่องปาก เหงือกอักเสบ
6. มีกลิ่นปากและลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
7. ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด เนื่องจากของเสียโดยเฉพาะยูเรียที่ค้างอยู่ในกระแสเลือดทำให้เยื่อบุทางเดินอาหารเกิ
ดการอักเสบ และเป็นแผลหลุม ที่สำคัญก็คือกระเพาะอาหารเป็นแผล
8. ซึด โลหิตจางเนื่องจากขาดฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
9. น้ำหนักลด กล้ามเนื้อเริ่มฝ่อลีบ

การ วินิจฉัยโรคไต ได้แก่ การตรวจเลือดและปัสสาวะของสุนัขร่วมกับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และดูจากอาการต่างๆ โดยอาจเอกซเรย์ และอัลตราซาวนด์เพิ่มเติมในภายหลัง

หลังได้รับการรักษาแล้ว อาการหลังจากนั้นอาจเป็นไปได้ 3 ทางคือ
1. ไตสามารถกลับมาทำงานต่อไปได้อีกเรื่อยๆ เป็นสัปดาห์หรือเป็นปี
2. ไตสามารถทำงานได้ในช่วงที่ทำการรักษา แต่ก็กลับมาเป็นอีกเมื่อหยุดการรักษา
3. ไตไม่กลับมาทำงานตามปกติได้อีกเลย

การรักษา

ทำ ได้โดยการให้สารน้ำเพื่อให้มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงไตเพิ่มขึ้น ช่วยให้ไตทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะได้มากขึ้น ให้วิตามินบำรุง เสริมสารอิเล็กโตรไลท์ที่จำเป็นร่วมกับการให้ยาและและอาหารอย่างเหมาะสม เช่น ถ้าอาเจียนก็ให้ยาระงับการอาเจียน ถ้าโลหินจางก็ให้ฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด การฟอกไตก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ค่อนข้างจะต้องใช้เทคนิคที่ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง และแม้ว่าจะได้รับการฟอกไตแล้วก็อาจมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกไม่นานนัก ส่วนการเปลี่ยนไตนั้นยังไม่มีการทำในเชิงรักษาแต่จะเป็นด้านการวิจัยเสีย มากกว่า การรักษาโรคไตจึงเป็นไปในแนวทางเพื่อพยุงสภาพ และรักษาตามอาการเพื่อให้สุนัขมีสุขภาพที่ดีขึ้น และมีชีวิตใกล้เคียงสุนัขปกติ หลังได้รับการรักษาแล้ว หากสุนัขมีอาการดีขึ้น เจ้าของสามารถให้สารน้ำทางใต้ผิวหนังได้เองที่บ้าน โดยทำวันละครั้งหรือสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นกับระดับความรุนแรงของโรคไต หลายรายไม่สามารถฟื้นฟูสภาพไตขึ้นมาได้ใหม่ แต่ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีก็อาจยืดชีวิตต่อไปได้อีกหลายเดือน หรือหลายปี

ข้อควรปฏิบัติต่อสุนัขที่เป็นโรคไต

1. หลีกเลี่ยงการให้ยาที่มีผลต่อไต ถ้าต้องใช้ยาบางตัวที่ขับออกทางไตบ้างเล็กน้อย ก็ควรลดขนาด หรือเพิ่มระยะห่างการให้ยา เช่น จากเดิมให้ทุก 8 ชั่วโมง ก็เปลี่ยนเป็น 10 ชั่วโม
2. สุนัขต้องได้รับน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ ดูแลสุนัขอย่างใกล้ชิด ให้สุนัขได้กินและดื่มตามปกติ เพื่อรักษาสภาพร่างกายให้แข็งแรงและไม่ให้มีความเครียด เพราะอาจทำให้สุนัขไม่ดื่ม และไม่กินซึ่งเป็นผลเสียต่อไต
3. ควบคุมอาหาร โดยให้สุนัขกินอาหารที่มีโปรตีนต่ำ (อาจให้ไข่ต้มเป็นแหล่งโปรตีนแทน เพราะเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย) ฟอสฟอรัสต่ำ (เพื่อช่วยลดการเกิดของเสียในเม็ดเลือด) และโซเดียมต่ำ (เพื่อลดภาวะความดันสูง) แต่มีวิตามินและสารอาหารที่จำเป็นอย่างเหมาะสม การปรุงอาหารเองจึงค่อนข้างจะยุ่งยาก แนะนำให้ทานอาหารสำเร็จรูปสำหรับสุนัขโรคไต ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งแบบเม็ดและกระป๋องหลายยี่ห้อให้คุณเลือกใช้ได้ตามสะดวก
4. คอยสังเกตอาการทั้งการกิน ดื่ม ขับถ่าย หากมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น ควรปรึกษาสัตวแพทย์
5. พาสุนัขมาพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพ และติดตามอาการเป็นระยะตามกำหนด

บทความโดย สพ.ญ. ศิริรักษ์ บัวพึ่ง สัตวแพทย์ศาสตรบัณฑิต รุ่น 62 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิตยสาร dogazine volume 4 no. 41 May 2007


Create Date : 18 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2553 15:46:19 น. 1 comments
Counter : 409 Pageviews.

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: สาวสะตอใต้ วันที่: 18 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:16:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.