"แต่โบราณลาภยศเหมือนเมฆลอย เพียงหมื่นร้อยประโยชน์สร้างนามสืบสาน สันโดษเดินเพลินขับกล่อมท่องสายธาร สู่เทือกเขาสูงตระหง่านวางอัตตา" (ดัดแปลงจาก ฯพณฯ จาง จิ่ว หวน,เอกอัครราชทูตสาธารณะประชาชนจีน ประจำประเทศไทย)
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
31 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
การเมือง..."แม่ยกพันธมิตรฯ"...จิตวิเคราะห์ของFreud

สืบเนื่องจากกระทู้ในห้องปรัชญา
กระทู้#K6927940ถามเรื่องปรัชญาศิลปะของฟรอยด์เอาไปปฏิบัติจริงได้ใหม?
ในการชุมนุมของพันธมิตรฯมีแม่ยก มีเพลงไพเราะที่แต่งขึ้นมาร้องเอาใจกลุ่มแม่ยกทุกค่ำคืน โดยนักร้องนักแสดงศรัญญู(ตั้ว) วงศ์กระจ่าง
กระทู้ข้างล่างเป็นภาพแม่ยกและอาจารย์สมเกียรติฯ แกนนำพันธมิตรฯครับ
************************************************

บทเรียนการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จ เชิงจิตวิทยาเพศคู่: การประยุกต์ใช้


Create Date : 31 สิงหาคม 2551
Last Update : 31 สิงหาคม 2551 16:57:46 น. 7 comments
Counter : 520 Pageviews.

 
//i368.photobucket.com/albums/oo123/ekk2_2008/b25dc526-1.jpg?t=1220173692


โดย: ขามเรียง วันที่: 31 สิงหาคม 2551 เวลา:16:14:30 น.  

 
5 5 5 5

คุณขามเรียง ตอบสั้นจัง อะ

อยากได้วิธีปฏิบัติโดยละเอียดอะ


โดย: โอซาัรัน IP: 125.26.143.141 วันที่: 3 กันยายน 2551 เวลา:0:33:24 น.  

 
แม่ยกพันธมิตร>


โดย: ขามเรียง วันที่: 3 กันยายน 2551 เวลา:14:13:00 น.  

 
เราเป็นแม่ยกพันธมิตร
ที่เต็มใจให้แก่พ่อแม่พี่น้องที่เสียสละ
และประทับใจอัญชลี ไพรีรัก
เชื่อมะ ว่าแม่ยกบริจาคเล็กๆน้อยๆ
แต่พ่อยก บริจาคทีละเป็นล้านๆจ้ะ
ตั้งทฤษฎีใหม่เถอะคุณ ว่างานี้มีแต่แม่ยกพ่อยกรักชาติ
ที่ทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ
ไล่ทรราชย์ออกไปให้พ้นนนนนนนนนนน
จะเห็นได้ว่าตอนนี้นักศึกษาออกมาเป็นทีมงานแล้ว
ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าแม่ยกจะเกิดขึ้นมากมายนั่นคือพ่อแม่ของนิสิตนักศึกษาเหล่านั้นที่สนับสนุนให้ลูกๆออกมา ออกมา เพื่อปกป้องชาติและในหลวง


โดย: คนไทยรักกัน IP: 118.174.21.242 วันที่: 6 กันยายน 2551 เวลา:7:46:06 น.  

 
ขอเป็นกำลังใจให้เหล่าพันธมิตร ฯ ทุกท่านครับ


โดย: สมบัติ อาภานันท์ IP: 203.148.164.138 วันที่: 7 กันยายน 2551 เวลา:8:51:23 น.  

 
ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ทำเพื่อชาติครับ


โดย: PeAcH (Kiratipal ) วันที่: 20 ตุลาคม 2551 เวลา:9:17:02 น.  

 
อ.วัลลภ : อยากจะถามเรื่องของ “Sex กับการสร้างสรรค์” ว่า…ตามทฤษฎี ไม่ว่าจะเป็นของ ฟรอยด์หรือคนอื่นๆ, ในเรื่องของการสร้างสรรค์…ในทางกามารมณ์ มันมีส่วนที่จะผลักดันให้คนคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ? คือผมไม่ได้มองในเรื่องของการมีความสัมพันธ์ทางเพศเพียงอย่างเดียว คือไม่ใช่เฉพาะเรื่องของ sexual intercourse หรือว่าอาจจะเป็นเรื่องอื่นเช่น sexual frustration เป็นความกดดันในเรื่องทางเพศ แล้วกระตุ้นให้เกิด sexual motivation อีกทีหนึ่งอย่างไร ? อันนี้ผมอยากจะถามและให้ช่วยอธิบาย.

จากประสบการณ์ ผมก็ทำงานในด้านสร้างสรรค์ คือต้องสร้างสรรค์…ถ้าเผื่อว่าผมไม่สร้างสรรค์ก็จะไม่มีอะไรใหม่ออกมา ยกตัวอย่างเช่น ผมมีงานขึ้นมา ผมก็จะไม่ทำอะไรที่มันซ้ำซาก คือถ้าเกิดทำงานซ้ำซากขึ้นมาก็จะเกิดความไม่พอใจ ที่นี้สิ่งที่ไม่พอใจ มันก็คล้ายเหมือนกันกับทฤษฎีของฟรอยด์ที่ว่า คือ คนเราที่สร้างสรรค์ก็เพราะว่า ตัวเองไม่พอใจกับความเป็นจริง เพราะฉนั้นจึงหาอะไรใหม่ๆออกมาเพื่อจะสร้างสรรค์งานในแง่ของศิลปะก็ดี หรืองานส่วนอื่นๆก็ดี อันนี้ผมยังไม่ค่อยเข้าใจทฤษฎีของฟรอยด์ที่ลึกซึ้งว่า subconscious มันจะเกี่ยวข้องกับ sexual motivation ไหม ?

อ.สมเกียรติ : Herbert Read นักวิจารณ์ กวี ชาวอังกฤษ พูดถึงเรื่องนี้ในทำนองนี้ว่า ก้นบึ้งของแรงบันดาลใจของศิลปิน อยู่ที่สัญชาตญานดิบในระดับ id. และในระดับ id ยังแตกกิ่งออกเป็น 2 แขนงคือ libido กับ thanatos.

สำหรับ libido คือแรงขับทางเพศหรือสัญชาตญานมุ่งเป็น ในขณะที่ thanatos คือแรงขับที่รุนแรง หรือสัญชาตญานมุ่งตาย. เขาคิดว่าสองส่วนนี้เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในเชิงสร้างสรรค์.

สำหรับ libido นั้น จะสร้างสรรค์งานออกมาในเชิงที่เป็นการปลดปล่อยแรงขับทางเพศซึ่งทุกคนมีอยู่ ถ้าหากว่าเราไม่ปลดปล่อยสิ่งเหล่านี้ออกมา หรือระเหิดมันออกมา จะทำให้เราเป็นโรคประสาทได้. คือการเก็บกดเอาเรื่องเพศไว้อยู่ตลอดเวลา แล้วไปแสดงความหงุดหงิดในเรื่องอื่นๆ. อันต่อมาก็คือ thanatos. เช่นกัน หากเราเก็บกดเอาไว้นานๆ เราอาจจะไม่แสดงความรุนแรงในเชิงพฤติกรรม แต่เราจะใช้ปากดุด่าคนอื่น หรือว่า พูดจากในเชิงเสียดสี จะเป็นวิธีการระเหิดอีกอย่างหนึ่ง.

ศิลปินก็เป็นสามัญชนคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้คำอธิบายอันนี้ ศิลปินได้ใช้วิธีการระเหิดโดยออกมาในรูปของงานศิลปะ หรืองานสร้างสรรค์ เช่น งานศิลปะแบบอีโรติค หรือในทางตรงข้ามก็ออกมาในรูปของความรุนแรง เช่น สีที่สาดลงไปบนผืนผ้าใบอย่างรุนแรง หรือการตวัดปัดป้ายฝีแปรงอย่างรวดเร็ว ฉับพลัน หรือแม้กระทั่งการขว้างสีลงไปบน canvas. คือแสดงออกด้วยความรุนแรงสารพัด. ไม่ทราบว่าผมอธิบายหรือตอบคำถาม อ.วัลลภหรือเปล่าครับ.

จริงๆแล้ว จากคนที่ศึกษาฟรอยด์อย่างจริงจังลงไปถึงเบื้องลึก เขาบอกว่า การที่ฟรอยด์คิดอย่างนี้ คือมีคำอธิบายที่เกี่ยวกับรากฐานในเรื่องเพศนี้ เนื่องมาจากฟรอยด์เสพโคเคนในขณะที่เขียนทฤษฎีนี้ โคเคนที่ฟรอยด์เสพในสมัยนั้นเป็นสิ่งที่ยังไม่ถูกห้ามทางกฎหมาย และถูกค้นพบและทำขึ้นมาโดยนักเคมีชาวเยอรมัน ค้นพบจากต้นโคคาแล้วผลิตขึ้นมาเป็นโคเคน แล้วสามารถนำมาใช้เป็นยาบำบัดผู้ป่วยทางจิตด้วย. ฟรอยด์เองก็ใช้โคเคน และหลังจากการเสพโคเคน ได้ก่อให้เกิดความวิตกทางเพศ. ดังนั้น ทฤษฎีของเขาจึงถูกความวิตกกังวลอันนี้เข้าไปแทรกแซง และได้สร้างทฤษฎีนี้ขึ้นมา ซึ่งอันนี้เป็นคำอธิบายอีกอันหนึ่งที่มาสมทบการเกิดทฤษฎีคลาสสิคของเขา. สำหรับความวิตกทางเพศอันนี้ มีหลักฐานที่เป็นจดหมายของฟรอยด์ที่เขียนไปถึงเพื่อนของเขาหลายฉบับ ซึ่งได้มีการเขียนที่แสดงถึงความวิตกทางเพศ หรือสมรรถนะทางเพศของตน

อ.อุทิศ : เรื่องของการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ผมคิดว่าคำอธิบายของฟรอยด์ใช้ได้กับคนบางกลุ่ม ไม่สามารถที่จะอธิบายได้ทั้งหมด. เพราะผมคิดว่า แรงขับที่ทำให้คนสร้างสรรค์ เรื่องเพศมันเป็นระดับเคมี ระดับชีวะ ผมกลับเชื่อว่า แรงขับที่ทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ เรื่องวัฒนธรรมสำคัญกว่า ปัจจัยทางวัฒนธรรม…อย่างเช่น ความโมโห ความไม่พอใจกับบริบททางสังคม สำหรับผมน่ะ ผมเชื่อว่า ความไม่พอใจในบริบทสังคม เห็นว่า มันไม่ได้อย่างใจ มันกำลังไปผิดทาง เราอยากให้สังคมมองอย่างที่เราเห็น. คือว่า แรงขับทางวัฒนธรรมทำให้เราอยากจะสร้างสรรค์ อันนี้เป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการสร้างสรรค์ของคนอีกกลุ่มหนึ่ง.

อ.วารุณี : ดิฉันเห็นว่า เรื่องของเพศนั้น โดยตัวมันเองมันเป็นกลางๆ แต่บางทีวัฒนธรรมไปติดป้ายมันว่ามันเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ไม่ดี. ดิฉันคิดว่า ทุกๆอย่างมันมีสองด้าน และในระดับของมนุษย์ปุถุชน…ถ้าเราคาดหวังว่าเราจะไปเหนือโลก หรือเราอยากจะไปถึงพระนิพพาน เราก็พูดอีกระดับหนึ่ง. แต่พวกเราส่วนใหญ่ที่อยู่ในสังคม เราก็จะอยู่ในระดับของชีวิตทางโลก และเมื่อเราอยู่ในระดับของชีวิตทางโลก เราก็หนีไม่พ้นเรื่องเพศ. และสิ่งที่อยากจะคุยมากกว่าก็คือ เรื่องเพศนั้น เราจะไม่ไปติดป้ายลบหรือป้ายบวกให้มัน มองมันอย่างเป็นกลางๆได้ไหม ? แล้วก็เข้าใจขอบเขตของมัน คืออย่าให้มันถูกใช้เพื่อเป็นผลประโยชน์ในเชิงการค้า หรือว่าเอาไปใช้เพื่อที่จะขูดรีดคนอื่น หรือเอาไปใช้เพื่อให้คนอื่นมายกย่องเรา. คือเรื่องทางเพศนั้น ถ้ามองไปถึงที่สุดแล้ว มันเป็นเรื่องที่มีความเป็นส่วนตัวสูง เพราะฉนั้นจะทำอย่างไรให้มันเป็นผลทางบวก ไม่ใช่ผลทางลบ. คือเราก็อยู่กับมัน แต่อยู่กับมันอย่างไม่เอาสิ่งเหล่านี้ไปเป็นเครื่องมือเพื่อเอาเปรียบคนอื่น.

ถ้าเรามองว่า วิดีโอโป๊หรือหนังสือโป๊เรามีไว้เพื่อผ่อนคลาย แล้วเราก็สำเร็จความใคร่ด้วยตัวของเราเอง เราก็สบายใจไป นอนหลับอย่างนี้โดยไม่ต้องกินยานอนหลับซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย ถ้าเราดูเพียงแค่นี้ก็คิดว่าใช้ได้. แต่ที่นี้มันไม่เพียงเท่านั้น เพราะว่าชีวิตเรามันไม่โดดเดี่ยวอย่างนั้น. ถ้าเรามองต่อไป เราจะพบว่าสื่อพวกนี้มันสร้างอยู่บนพื้นฐานของอะไร ? คือถ้าอาจารย์บอกว่าไม่อยากจะกดขี่ใคร คือกลางๆไม่ต้องการเป็นอะไร ? แต่เราหนีพ้นตรงนั้นไหม ? ถ้าเราเสพสิ่งเหล่านี้ เราหนีพ้นจากการที่กล้าบอกไหมว่า เรากำลังไม่ได้กดขี่ใคร ? เรากำลังเสพของเราอย่างเดียว.

คือดิฉันคิดว่า ทั้งหมด 4 ครั้งที่เรพูดกันมา คิดว่ามีอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆคือ อันหนึ่งเราพูดในระดับปัจเจกซึ่งอันนี้จะมี อ.อุทิศชูธงอยู่. แล้วก็พูดกันในระดับสังคมซึ่งดิฉันคงจะยืนอยู่ในแนวนี้สูง. ทีนี้ดิฉันกำลังคิดว่า มันก็ไม่ผิดทั้งสองอย่าง แต่จริงๆแล้ว เราจะยืนอยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง โดยไม่พิจารณาอีกจุดหนึ่งได้หรือเปล่า. ถ้าเราเป็นปัจเจกแล้วเราก็รู้สึกว่า ฉันก็อยากจะสวย ฉันก็อยากจะมีความสุขทางเพศล่ะ ฉันก็ทำไปโดยไม่คำนึงถึงว่ามันมีความสัมพันธ์กับสังคมอย่างไร ? ถ้าเป็นอย่างนี้ ดิฉันคิดว่าเราก็คงไม่ต้องมาพูดกันกระมัง ทุกคนใครอยากทำอะไรก็ทำไป. แต่ดิฉันคิดว่าในทางที่มันเป็นจริงไม่ใช่อย่างนั้น คือมันแยกกันไม่ออกและมันมีผลกระทบต่อสังคม. เราถึงต้องมาพูดไหมว่า ในขณะที่เราบอกว่าเรามีความต้องการทางเพศในฐานะปัจเจก มันส่งผลกระทบอย่างไรต่อคนอื่น หรือว่าคนอื่นส่งผลกระทบต่อความเป็นปัจเจกของเราอย่างไร ?

ดิฉันคิดว่าสังคมไทยกำลังอยู่ในการก้าวไปสู่ยุคหนึ่งของการโต้เถียงกันในเรื่องของปัจเจกกับสังคม ซึ่งคิดว่าปัจเจกนิยมในช่วง 5 ปีให้หลังมีอิทธิพลอย่างสูงในสังคมไทย และคิดว่ามันปฏิเสธไม่ได้ แต่สิ่งซึ่งคิดว่าน่ากลัวก็คือว่า เรากำลังเป็นปัจเจกชนที่ไร้ปัญญา. คือในสังคมตะวันตก แน่นอนมันมีส่วนซึ่งไม่ดีหลายอย่าง แต่ดิฉันคิดว่า ในขณะที่สังคมมีเสรี มันมีมิติเชิงปัญญาดำรงอยู่ด้วย อาจเป็นเพราะว่าสังคมของเขาค่อยๆโตขึ้นมาก็ได้ มันไม่เหมือนของเราซึ่งมันถูกอัดทางวัฒนธรรมเข้ามาอย่างรวดเร็ว คนเราก็เลยปรับตัวไม่ได้. อย่างในชนบท เราอาจจะมีมิติทางชุมชนมากกว่าความเป็นปัจเจก ในขณะที่ในเมืองนี้มีความเป็นปัจเจกสูง เพราะฉนั้น ช่องว่างระหว่างชนบทและเมืองจึงห่างไกลกันมาก. การที่มีความคิดแบบปัจเจกเข้ามา สังคมมีปัญญาที่จะรองรับไหมว่าให้เราเป็นปัจเจกนิยมที่มีปัญญา ? ดิฉันคิดว่า เรากำลังมีปัจเจกชนที่ไม่มีปัญญาอยู่เต็มไปหมดเลย หรือว่าปัจเจกชนที่มีปัญญาระดับการ์ตูนญี่ปุ่น คิกขุ หรือการ์ตูนญี่ปุ่นลามก. ในความรู้สึกส่วนตัวแล้ว คิดว่ามันน่ากลัว.

อ.อุทิศ : อ.วารุณีบอกว่าผมพูดในระดับปัจเจก ซึ่งก็จริง ทั้งนี้เพื่อให้เห็นว่า เรื่องเพศนั้นมันจะเป็นคุณหรือเป็นโทษมันขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ และที่อาจารย์พูดเมื่อสักครู่นี้มันได้มาช่วยสนับสนุนผมอีกเพราะผมยืนยันว่า เมื่อมันอยู่กับผม มันไม่มีปัญหา.

สังคมของมนุษย์เราในปัจจุบันตื่นตัวกับศาสตร์ทางด้านมนุษยศาสตร์ ทางด้านสังคมศาสตร์…คือผมไม่ได้ชมตัวเอง ผมเป็นคนที่สนใจในศาสตร์เหล่านี้มาก และศาสตร์เหล่านี้ได้บริหารชีวิตเราให้ชีวิตมีสีสรร มีชีวิตชีวาและอยู่กับเรื่องเพศ มีเพศมาอยู่เป็นเพื่อนด้วย ซึ่งอาจจะเป็นสีเหลือง แล้วมีเรื่องหนังสือและตำราต่างๆมาเป็นสีแดง สีเขียวอะไรพวกนี้ ผมรู้สึกว่ามันอร่อย คือ ทำไมผมจึงเน้นเรื่องปัจเจกมาก ผมจะเลยไปพูดถึงระดับสังคม. ระดับสังคมก็เหมือนกัน, ผมยอมรับว่าสังคมไทย เรื่องเพศถ้าเราเปิด เราจะมีปัญหา เพราะสังคมไทยมีปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะที่อาจารย์มักจะเน้นเสมอว่า พลังทางวัฒนธรรม พลังทางปัญญา พวกนี้มีปัญหามาก.

ทำไมผมจึงยั่วยุพุทธศาสนามาก ลึกๆกยอมรับว่าพุทธศาสนามีคำอธิบายที่ถูกต้อง ใส่ไว้ในหัวและมีอิทธิพลด้วย. แต่สิ่งที่อยากจะยั่วยุเสมอก็คือว่า คืออยากให้คนไทยรุ่นใหม่เห็นว่าพุทธศาสนาเป็นเพียงแค่ one of them. เป็นระบบคิดอันหนึ่งแล้วก็ไม่ได้เป็นมาเฟียทับหัวเรา. มันยังมีระบบคิดอื่นอีกมากมายที่ทำให้เรามองชีวิตและสังคมได้อย่างทะลุปรุโปร่ง. ถ้าเราไม่มีความศรัทธา คำว่าศรัทธานี่ควรจะเผาทิ้งไปเลย ผมก็คิดว่าพุทธศาสนาก็เป็นความคิดที่ดี ที่ใส่เข้าไปในหัวเรา เป็นสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ที่ใส่เข้าไปในหัวเรา. ในโลกนี้มันยังมีแนวคิดอีกตั้งเยอะ มีแนวคิด Adorno มี Einstein มีแนวคิดสังคมวิทยา. คิดว่าสิ่งเหล่านี้ใส่เข้าไป…สังคมไทยสมัยใหม่ไม่สามารถกลับไปเป็นอดีตไม่ได้แล้ว, พุทธศาสนาอาจจะเหมาะกับสังคมในอดีต แต่โครงสร้างสังคมสมัยใหม่มันเปลี่ยนไปแล้ว ตัวละครมันเปลี่ยนไปแล้ว พอตัวละครมันเปลี่ยนไปผมเห็นว่า พลังทางปัญญาในแง่พุทธศาสนาแต่เพียงอย่างเดียวนั้น มันไม่พอ มันต้องการพลังอื่นด้วย.

ผมถึงบอกว่าให้เราใจกว้าง. อยากให้มองว่าเรื่องเพศเป็นของกลางๆ มันไม่ดีหรือไม่เลว. ถ้าเกิดสังคมไทยมีพลังทางปัญญา สร้างคลังทางปัญญา พลังทางวัฒนธรรมอื่นๆ มีระบบกฎหมายที่เข้มแข็ง มีระบบตรวจสอบที่ดี มีการคุมเรื่องสิทธิมนุษยชน มีการดูแลเรื่องโสเภณี. คือปัจจัยเหล่านั้นถ้ามันวางเอาไว้ดี แล้วมองมันเป็นโครงสร้าง. โครงสร้างทั้งหมดถ้ามันดี ผมก็ว่าเรื่องเพศก็จะเป็นของเชื่องๆ และผมอยากให้มันอยู่. ไม่อยากให้ใช้วิธีคิดแบบโกหก เพราะว่ามันหมดไปแล้ว.

วิธีคิดทางศาสนาเป็นเรื่องของการโกหก อันนี้ผมพูดแบบฟันธงนะ แต่ไม่ได้หมายถึงพุทธศาสนา. อย่างศาสนาอื่นๆที่มีพระเจ้า สำหรับผม..เป็นการโกหกอย่างหนึ่ง เพื่อให้เราทำดีเพราะว่ามีพระเจ้ามองเราอยู่นะ จะมีการบันทึกพฤติกรรมของเรา คุณอย่าไปสนใจว่าคุณทำดีแล้วคนอื่นทำไม่ดี พระเจ้าจะทรงบันทึกทุกสิ่ง อย่างเที่ยงตรงที่สุด. เมื่อถึงวันพิพากษาครั้งสุดท้าย พระเจ้าจะทรงตัดสิน คนที่ทำดีจะได้รับรางวัล แล้วชีวิตจะเป็นอมตะ. สำหรับผม อันนี้มันดีสำหรับในสังคมเกษตร เป็นวิธีโกหก เป็นวิธีจินตนาการที่ทำให้เราเป็นคนดี ไม่เบียดเบียนกัน. แต่วิธีนี้มันเชยมากในสังคมของคนยุคนี้ เพราะสังคมยุคนี้เป็นสังคมเหตุผล…ดึงพุทธศาสนามาเป็น one of them ได้ไหม ? แล้วให้เราใจกว้างเข้าไว้.

ผมจึงพยายามยั่วยุให้ต่อต้านวัฒนธรรมไทย เพราะรู้สึกว่า คำว่าวัฒนธรรมไทยมันเป็นพลวัตร ผมไม่อยากให้เรานำมันมาเป็น ego. ผมรู้สึกว่าพวกเรา…อย่างอาจารย์อะไรนะที่ทำงานศูนย์วัฒนธรรม คลุกกับข้อมูลมาก อยู่กับ function นี้มาก, และมักจะเห็นวัฒนธรรมไทยแบบเก่าเป็น ego ของตัวเอง. ใครมาพูดต่อต้านก็ต้องปกป้อง. อันนี้ผมไม่อยากให้เราต้องไปปกป้อง ใช่ไหม ? วัฒนธรรมร่วมสมัยมันคือชีวิต อะไรที่ไม่ดีก็ต้องเอาออก อะไรที่ดีก็ต้องเอาเข้ามา.



โดย: บางตอนจาก เว็บ ม.เที่ยงคืน (ขามเรียง ) วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:9:55:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขามเรียง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ขามเรียง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.