"แต่โบราณลาภยศเหมือนเมฆลอย เพียงหมื่นร้อยประโยชน์สร้างนามสืบสาน สันโดษเดินเพลินขับกล่อมท่องสายธาร สู่เทือกเขาสูงตระหง่านวางอัตตา" (ดัดแปลงจาก ฯพณฯ จาง จิ่ว หวน,เอกอัครราชทูตสาธารณะประชาชนจีน ประจำประเทศไทย)
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
8 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 

ปรัชญาเลข๓ไทย-3ฝรั่ง-IIIจีน

หัวข้อ...

ความจริง ความดี ความงาม
ความจริง ความดี ความงาม




 

Create Date : 08 พฤศจิกายน 2551
12 comments
Last Update : 4 มกราคม 2552 7:53:36 น.
Counter : 1311 Pageviews.

 

 

โดย: ขามเรียง 8 พฤศจิกายน 2551 21:10:12 น.  

 

ปรัชญาคือเมล็ดพันธุ์แห่งศาสตร์ทั้งหลาย ที่แตกออกเป็น
๓สายในเชิงรูปธรรมและนามธรรม ความจริง ความดี ความงาม (๓/3/และIII)

และแบ่งเป็น๑. วิทยาศาสตร์กายภาพ/วัตถุธาตุ ระเบียบระบบโครงสร้าง กระบวนการ ปรากฎการณ์ และพฤติกรรมของมันในจักรวาลอวกาศ
๒.ศาสนา ระเบียบระบบโครงสร้างทางจิต ปรากฏการณ์ กระบวนการและพฤติกรรมของมนุษย์/สังคมมนุษย์ รวมทั้งความสัมพันธ์กับจักรวาลพระเจ้าและสภาวนิพพาน
๓.มนุษย์ศาสตร์
๔.สังคมศาสตร์
โดยที่มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ น่าจะเป็นพัฒนาการลูกผสมของศาสนาและหยืบยืมวิธืวิทยามาจากวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เป็นศาสตร์ที่ยืนอยู่บนความจริงอันพิสูจน์ได้ แต่จิตและวิญญาณมันยังจับต้อง ทำให้นิ่งไม่ได้

จากคุณ : ขามเรียง - [ 3 ม.ค. 52 11:53:57 ]

 

โดย: ขามเรียง 4 มกราคม 2552 7:42:03 น.  

 

ต่างกันในส่วนประกอบหลายอย่าง โดยเฉพาะคุณลักษณะเรื่องความเชื่อ ส่วนใหญ่ศาสนาจะเน้นไปที่ความเชื่อในตัวบุคคล ซึ่งต่างจากกรอบของปรัชญา ที่เชื่อในกรอบจากโลกธรรมชาติ(ไม่ว่าจะอธิบายว่ากรอบนั้นๆเกิดจากอะไรและความเป็นจริงเป็นอย่างไรก็แล้วแต่)


เรื่องวิธีการก็ต่างกัน ศาสนาเน้นการปฏิบัติอย่างเดียว ส่วนปรัชญาจะมีเรื่องการตั้งสมมุติฐาน การสังเกตุ การวิจารย์ การวิจัย วิธีการในแบบนิรนัย วิธีการในแบบอุปนัย ที่เป็นเรื่องของการเรียนรู้


ปรัชญาจะเน้นไปที่ความเป็นตัวของตัวเองมากกว่า เป็นเรื่องวิธีการ

จากคุณ : the author - [ 3 ม.ค. 52 13:57:27 ]

: ขามเรียง

 

โดย: ขามเรียง 4 มกราคม 2552 7:44:42 น.  

 

ศาสนามีเจตจำนงมีความรักต่อมวลมนุษย์ สำคัญที่จิตวิญญาณ ยิ่งใหญ่สถิตย์นิ่ง กว่าปรัชญา,
ปรัชญามีเจตจำนงมีความรักต่อความรู้ ความจริง สำคัญที่ปัญญา ละเอียดแยกย่อย ผุดบังเกิดตลอดเวลา.

แต่ทั้งสองมีส่วนสัมพันธ์ทับซ้อนกันในบางกรณี
ขามเรียง [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 18 พ.ย. 52 15:03:02 [แก้ไข]
------------------------------------------------

4. สังคมมนุษย์อยู่รอดปลอดภัย ยั่งยืน ด้วย:-
3.ธรรมชาติ
2.ศาสนา และ
1.ปรัชญา
----------------------------------------------------
ปรัชญาเป็นอาวุธ๒คม ต้องมีศาสนากำกับ เชิญอ่านตัวอย่าง(วิกิพีเดีย)

สมเด็จ พระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช หรือพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่าง ๆ จนได้รับสมญานามว่า พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม (จัณฑาโศกราช) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดใน ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรม อย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)

 

โดย: ขามเรียง 24 พฤศจิกายน 2552 10:45:36 น.  

 

มีเรื่องที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์ช่วงนั้นอยู่ เรื่องหนึ่งก็คือ 'จาณักยะ' เป็นบุคคลร่วมสมัยกับ 'ซางยาง' (商鞅, ตายเมื่อ 338 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นทั้งอาจารย์, ที่ปรึกษา และมหาเสนาบดีแห่ง 'แคว้นฉิน' ในยุคของ 'ฉินเซี่ยวกง' (秦孝公)... โดย 'ซางยาง' คือผู้ที่นำการปฏิรูปการปกครองหลายๆ อย่างมาสู่แคว้นฉินยุคนั้น และบัญญัติ 'หลักกฎหมาย' ที่ใช้ในการปกครอง และการปฏิรูปการเมืองอย่างรอบด้านในตำราเล่มสำคัญคือ 'ฝ่าจิง' (法經) หรือ Book of Law ซึ่งเป็นต้นแบบที่ 'หานเฟยจื่อ' (韓非子, ประมาณ 280–233 ปีก่อนคริสตกาล) นำไปประยุครวมกับแนวคิดของ 'เซินปู้ไฮ่' (申不害) กับแนวคิดของ 'เซินเต้า' (慎到) จนกระทั่งกลายเป็นแนวคิดของ 'สำนักฝ่าเจีย' (法家) หรือ 'นิตินิยม' อันเป็นกลจักรสำคัญที่ทำให้ 'ฉินซีฮ่องเต้' (秦始皇帝) สามารถรวมรวมประเทศจีนกลับเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งหลังจากที่ต้องฟาดฟันกัน เองมานานหลายร้อยปีหลังการล่มสลายของ 'ราชวงศ์โจว' ... คล้ายกันมากเลยเห็นมั้ย??!!

----------------------------------------------------

'จาณักยะ' มีชีวิตโลดแล่นอยู่ในประวัติศาสต์ของอินเดีย ประมาณ 350-283 ปีก่อนคริศตกาล เป็นทั้งอาจารย์, ที่ปรึกษา, และมหาเสนาบดีให้แก่ 'พระเจ้าจันทร์คุปต์' (Chandragupta) ผู้สถาปนาราชวงศ์ 'โมริยะ' หรือ 'เมารยะ' (Maurya) และเป็นผู้พิชิตที่ขับไล่กองทัพทหารอันเกรียงไกรของ 'อเล็กซานเดอร์มหาราช' ออกไปจากประเทศอินเดียในยุคนั้น ซึ่งในบันทึกประวัติศาสตร์ของชาวกรีก จะบันทึกชื่อของ 'พระเจ้าจันทร์คุปต์' เป็น Sandrokyptos (Σανδρόκυπτος), Sandrokottos (Σανδρόκοττος) หรือ Androcottus นั่นเอง ... หลานปู่ของ 'พระเจ้าจันทร์คุปต์' ก็คือ 'พระเจ้าอโศกมหาราช' มหากษัตริย์ผู้หันมาสนใจ และเลื่อมใสศรัทธาศาสนาพุทธ และเป็นมหาราชที่มีคุณูปการในการเผยแผ่ศาสนาพุทธให้ยิ่งใหญ่ไพศาลอยู่ใน ประเทศอินเดียในยุคสมัยหนึ่ง ... ซึ่งก็แน่นอนว่า รากฐานสำคัญที่ทำให้ราชวงศ์ 'โมริยะ' สามารถรวบรวมประเทศอินเดียให้เป็นปึกแผ่นได้ในสมัยนั้น ย่อมเป็นผลพวงแห่งความคิด และความชาญฉลาดมองการณ์ไกลของ 'จาณักยะ' ผู้นี้โดยเฉพาะ

---------------------------------------------------

ประมาณร่วม 2000 ปีต่อมา ชาติมหาอำนาจตะวันตกอย่างอิตาลีที่แตกเป็นก๊กเป็นเหล่าจนต้องรบราฆ่าฟันกัน เองเหมือนชาวเอเชียในยุคสมัยหนึ่ง ก็เกิดมีอัจฉริยะบุคคลอย่าง 'มาคีอาเวลลี' (Machiavelli) ผู้รจนาตำราเล่มสำคัญอย่าง The Prince และ The Art of War ที่แทบจะไม่แตกต่างไปจากแนวความคิดใน 'ราชานีติ' ของ 'จาณักยะ' แต่ใช้ลีลาการเขียนแบบบทสนทนาโต้ตอบที่คล้ายกับตำราของ 'หานเฟยจื่อ' ทั้งยังวางรากฐานด้านกฎหมายให้กับการเมืองการปกครองของอิตาลีในยุคนั้นที่ แทบจะโหดเหี้ยมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า 'สำนักฝ่าเจีย' ของ 'หานเฟยจื่อ' อีกด้วย !!! ...

 

โดย: ขามเรียง 24 พฤศจิกายน 2552 10:48:31 น.  

 

.. อย่างไรก็ตาม ด้วยความเป็นมหาอำนาจของชาติตะวันตกในยุคหลังๆ ที่พยายามจะกลืนกินทั้งวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของชนชาติอื่นๆ ของโลก จึงมีการเขียนตำรับตำราต่างๆ ออกมามากมาย ซึ่งมักจะ 'แสร้งทำเป็นยกย่อง' ให้ 'จาณักยะ' เป็น 'มาคีอาเวลลีแห่งอินเดีย' หรือ 'แสร้งทำเป็นยกย่อง' ให้ 'หานเฟยจื่อ' เป็น 'มาคีอาเวลลีแห่งจีน' ... ทั้งๆ ที่ 'มาคีอาเวลลี' นั่นแหละที่อาจจะเป็น Political Hacker ที่ขโมยทรัพย์สินทางปัญญาไปจากชนชาติเอเชียโดยยังไม่เคยจ่ายค่าลิขสิทธิ์ใดๆ คืนกลับมาให้เลยด้วยซ้ำ ... หน้าไม่อายมากๆ !! ... :D
Prev: ประวัติศาสตร์โลก ผ่าน "เกลือ"
Next: The Business of Changing The World
(//zhuqipix.ไม่อนุญาตให้โฆษณา/journal/item/163)

 

โดย: ขามเรียง 24 พฤศจิกายน 2552 10:49:41 น.  

 

ความคิดเห็นที่ 18 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

ที่น่าสังเกตุ คือ ลัทธิฝ่าเจี่ย (法家) เป็นลัทธิที่มีแนวคิดเช่นเดียวกับ สำนักกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง (Positivism Legal School) ขอรับ แนวคิดของทั้งสามสำนักที่ท่านอาจารย์กล่าวมา สอดคล้องกับคติของทางฝั่งสำนักกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง ที่มีหลักการใหญ่อยู่ที่สันดานของมนุษย์เพื่อกำหนดกฎหมาย ทั้งสามสี่สำนักนี่ กลับตอบเป็นเสียเดียวกันว่า

"สันดานมนุษย์นั้นชั่วร้าย!!" --- Thomus Hobbes ปรมาจารย์ในสำนักนี้นั้นชอบผู้คนนะขอรับ :)

ใน ขณะที่พุทธศาสนาให้แนวคิดไปในแบบกึ่งๆ กลางๆ (ออกไปจนนอกเหนือกว่าจากสิ่งที่เห็นอยู่) แถมออกไปในแนวมุ่งประโยชน์ต่อปัจเจกชน มากกว่าจะมุ่งประโยชน์ต่อมหาชนเช่นสำนักกฎหมายพวกนี้ขอรับ

smile

จากคุณ : กระบี่เก้าเดียวดาย [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 18 พ.ย. 52 16:14:56 [แก้ไข]

 

โดย: ขามเรียง 24 พฤศจิกายน 2552 10:52:15 น.  

 

ความคิดเห็นที่ 19 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

ปรัชญาเป็นคำถาม
ส่วนศาสนาเป็นคำตอบ

ปัญหาก็คือคนโดยมากรู้คำตอบแต่ไม่รู้คำถาม

ปรัชญากับศาสนาเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง
ทว่าการแยกของสองสิ่งนี้กลับอยู่ภายใต้สนามพลังของแรงดึงดูดร่วมกัน
เสมือนหนึ่งหยินกับหยาง
มันเป็นสิ่งไม่เหมือนที่มีความเกี่ยวข้องกัน
ถ้าหยินบกพร่องหยางก็จะไม่สมบูรณ์

คนที่ตั้งคำถามถูกและตอบผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจะกลายเป็นนักปรัชญา
ส่วนคนที่ตั้งคำถามผิดและตอบถูกอยู่เสมอจะกลายเป็นนักศาสนา
คนที่ตั้งคำถามถูกและตอบถูกก็จะกลายเป็นผู้บรรลุในจิตวิญญาณของตัวเอง
หรือไม่ก็กลายเป็นศาสดาไปเลย
ส่วนคนที่ตั้งคำถามผิดและตอบผิดก็จะกลายเป็นสาวก

ถ้าหากศาสนาเป็นความเชื่อ
ปรัชญาจะถามว่าเหตุใดจึงเชื่อ
และทำไมเชื่อไม่เหมือนกัน

ไม่รู้สิ คิดว่านะ

แก้ไขเมื่อ 20 พ.ย. 52 15:30:31

แก้ไขเมื่อ 19 พ.ย. 52 18:29:30

จากคุณ : jazz..a.a.minor [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 19 พ.ย. 52 18:28:49 [แก้ไข]

 

โดย: ขามเรียง 24 พฤศจิกายน 2552 10:53:17 น.  

 

There was a very famous statement by the Archbishop of Canterbury in the Second World War, William Temple, and I think it sums it up, 'we are only 3 meals away from anarchy.' if you're heading towards your third missed meal and there's nothing in the local Tesco express, what do you do?

 

โดย: ขามเรียง 5 มีนาคม 2555 3:03:55 น.  

 

I think we've got to start shifting the discussion away from 'what can we do to survive?' to 'what can we do to ensure that nature survives, and therefore, we survive?' I think we have to remember we are a wondering species, we are the ones that gaze the stars and wonder who the hell we are, we are the ones who sit by the sea and look at the infinity of the sea disappearing into the horizon and see that as a metaphor for our own lives. And at the moment we purely become concerned with nature as something that sustains us, rather than feeds us spiritually, psychologically and emotionally, I think we've lost the plot.

 

โดย: ขามเรียง 5 มีนาคม 2555 3:09:58 น.  

 

มีภูเขาสูงและป่าไม้
มีชนบท มีเมือง
มีทะเลและมหาสมุทร

ทั้ง๓ถูกผูกโยงอย่างหมุนเวียน
ท้องฟ้าปล่อยน้ำฝนสะอาดลงมาบนป่าเขาลำเนาไพร
นำปุ๋ย,แร่ธาตุ สู่ชนบทเพื่อกสิกรรม อาหาร สู่เมือง
บริโภค กลายเป็นของเสีย/น้ำเน่า แล้วปล่อยไหลออกทะเล
แดดทำให้น้ำระเหยกลั่นตัว ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าไปยังยอดเขา
วนเวียนเป็นวัฏจักร สร้างชีวิต

 

โดย: ขามเรียง 5 มีนาคม 2555 3:22:18 น.  

 

แผ่นดิน-แผ่นฟ้า-มหาสมุทร

 

โดย: ขามเรียง 5 มีนาคม 2555 3:24:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ขามเรียง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ขามเรียง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.