"แต่โบราณลาภยศเหมือนเมฆลอย เพียงหมื่นร้อยประโยชน์สร้างนามสืบสาน สันโดษเดินเพลินขับกล่อมท่องสายธาร สู่เทือกเขาสูงตระหง่านวางอัตตา" (ดัดแปลงจาก ฯพณฯ จาง จิ่ว หวน,เอกอัครราชทูตสาธารณะประชาชนจีน ประจำประเทศไทย)
Group Blog
 
<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
2 กันยายน 2554
 
All Blogs
 

"ผังเมืองไม่มีประสิทธิภาพ>ประชาชนย่อมไร้ประสิทธิภาพ"

-ปัญหาจราจรติดขัดนิรันด์กาลเป็นปัญหานักการเมืองโง่เขลาต่อนโยบายผังเมือง

-เมืองของมนุษย์แปรสภาพเป็นเมืองพ่อค้ารถยนต์/บรรษัทข้ามชาติ ถนนมีไว้จอดรถช่วงเช้าและเย็น


-เมืองหลวงรถท่วมถนน ชนบทน้ำท่วมไร่นา ป่าถูกรุกวอดวาย เป็นการด้อยภูมิปัญญาสิ่งแวดล้อมของนักการเมืองสมัครเล่น

-นิคมอุตสาหกรรมกลายเป็นแหล่งแก็สพิษฆ่าประชาชน(Holocaust)

-หากยังละเลยไม่หันมาตั้งหลักวางนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติ/สุขภาพแห่งชาติ การมาถึง

ของหายนะนั้นหนีไม่พ้น

***ทำไมไม่กระจายตึกสูงออกไปโดยรอบเมือง?
***ทำไมไม่กระจายงานออกไปยังหัวเมือง?
***ทำไมไม่แยกเมืองบริหาร ออกจากเมืองพานิชยการ ดังเช่นประเทศอื่น?
***ทำไมไม่กำหนด/จัดซื้อที่ดิน/เวรคืน เพื่อพื้นที่สีเขียว(หน้าที่กทม.)
***ทำไมละเลยปล่อยให้ประชาชนอพยพเข้าอยู่อาศัยเขตนิคมอุตสาหกรรมแก๊สพิษ?
***ทำไมไม่ศึกษาระบบป้องกันน้ำท่วมระดับแมคโครภูมิศาสตร์และผังเมืองทั้งประเทศ มันถึงเวลาแล้ว
***ทำไมปล่อยให้กรมกองที่เกี่ยวข้องในระบบราชการต่างกรมต่างคิด ไม่บูรณาการทำด้วยกัน ระบบราชการแบบโบราณ(Bureaucracy)นั้นเหมาะสมเมื่อยุคร้อยปีที่แล้ว บัดนี้หมดสมัยแล้วครับ
*** ฯลฯ

ทั้งหมดต้องเริ่มต้นที่การปฏิรูป/*พัฒนากฏหมาย ต้องปฏิรูประบบรัฐสภา/ที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ แต่นักการเมืองผู้รับผิดชอบๆเล่นการเมืองกัน
จนละเลยหน้าที่หลัก...คอขวดของการพัฒนาประเทศอยู่ที่นักการเมืองและกลไกของรัฐบาล


-"ผังเมืองไม่มีประสิทธิภาพ>ประชาชนย่อมไร้ประสิทธิภาพ"
ตัวอย่างเช่นเสียเวลาในการทำงานไปถึง๔ชั่วโมงจากระบบจราจรและสิ้นเปลืองค่าพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงที่แพงมากมาย
รวมถึงความเหนื่อยล้า ความอบอุ่นในครอบครัว/ปัญหาเยาวชน-ยาเสพติด

-ผังเมือง/ผังภูมิภาค/ประเทศ//สะท้อนภูมิปัญญานักการเมืองประเทศนั้น

มาช่วยกันเรื่องปัญหาผังเมือง เพื่อชีวิตที่ดีของพวกเราเอง




 

Create Date : 02 กันยายน 2554
5 comments
Last Update : 2 กันยายน 2554 10:39:15 น.
Counter : 1470 Pageviews.

 

"มาช่วยกันเรื่องปัญหาผังเมือง เพื่อชีวิตที่ดีของพวกเราเอง'

อยากให้สื่อกระตุ้นเรื่องแนวนี้ครับ เพราะบ้านเมืองแก้กันที่ปลายเหตุ กรุงเทพแน่นอยู่แล้ว ถึงจะขนส่งสาธารณะ หรือแก้มลิง ฯลฯ ก็แก้ไขยาก

ขอบคุณพี่เอกนะครับที่ไปเยี่ยม เขาเพิ่งจะหยุดการโหวตบล็อกแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ครับ เป็นคนละโหวตกับโหวตบล็อกแก๊งค์ บังเอิญมาโหวตในช่วงเดียวกัน

 

โดย: yyswim 3 กันยายน 2554 0:46:52 น.  

 

อยากให้สื่อกระตุ้นเรื่องแนวนี้ครับ เพราะบ้านเมืองแก้กันที่ปลายเหตุ กรุงเทพแน่นอยู่แล้ว ถึงจะขนส่งสาธารณะ หรือแก้มลิง ฯลฯ ก็แก้ไขยาก

คิดจะให้สมาคมนักผังเเมืองเป็นผู้กระตุ้น/เป็นโครงการผ่านทางทีวีช่องทีพีบีเอส
เชิญนพเป็นที่ปรึกษา จะมีเวลาหรือเปล่าครับ?
บ่ายนี้จะมีประชุมสมาคมฯที่คณะสถาปัตย์เกษตรบางเขนพอดี

 

โดย: หน้าแตกดังเพล้งงง ! (ขามเรียง ) 3 กันยายน 2554 10:02:51 น.  

 

บทบาทสตรีกับงานผังเมืองประเทศไทย (วิกิพีเดีย)

นางปรียา ฉิมโฉม สกุลเดิม เทพหัสดิน ณ อยุธยา (16 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550) นักผังเมืองและสถาปนิก ผู้บุกเบิกสำคัญผู้หนึ่งด้านการผังเมืองของประเทศไทย ตั้งแต่ครั้งยังเป็นกองผังเมืองจนถึงระดับกรมโดยได้เป็นผู้อำนวยการ (อธิบดี) คนที่ 3 ของสำนักผังเมือง (ปัจจุบันคือกรมโยธาธิการและผังเมือง) และนับเป็นอธิบดีหญิงคนแรกของกระทรวงมหาดไทย นางปรียา ฉิมโฉมเป็นนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น ที่ 1 (พ.ศ. 2476)

นางปรียา ฉิมโฉม เป็นบุตรี ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เป็นบุตรีคนที่ 2 ที่เกิดกับหม่อมแม้นมารดา มีพี่น้องร่วมมารดา 4 คน และมีพี่น้องร่วมบิดาอีก 14 คน เมื่อวัยเด็กอยู่กับบิดามารดาและพี่น้องส่วนใหญ่ที่บ้านนางเลิ้ง ถนนหลานหลวง ศึกษาชั้นประถมและมัธยมถึงขั้นปีที่ 2 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดในขณะนั้น ที่โรงเรียนราชินี แล้วจึงย้ายมาเรียนที่โรงเรียนสตรีจุลนาค ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ท่านบิดากับพี่สาวใหญ่ คือ คุณไฉไล เทพหัสดินฯ ก่อตั้งขึ้นที่ถนนหลานหลวงจนจบชั้นมัธยมปีที่ 8 แล้วจึงสอบเข้าศึกษาต่อที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2476
นางปรียา ฉิมโฉมได้เข้าศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์พร้อมกับน้องสาว คือคุณธารี เทพหัสดิน ณ อยุธยา นอกจากจะเป็นนิสิตรุ่นแรกของคณะฯ แล้ว ยังนับได้ว่าเป็นนิสิตหญิงสองคนแรกของคณะฯ นี้อีกด้วย นิสิตสถาปัตยกรรมฯ รุ่นแรกมีจำนวนรวมกันทั้งหมด 13 คน ทุกคนจบการศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรขั้นสูงสุดในขณะนั้น ร่างโดยอาจารย์นารถ โพธิประสาท ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จึงได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปีเป็นแห่งแรกของประเทศ
นางปรียา ฉิมโฉม ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งสถาปนิกที่กรมโยธาเทศบาล (กรมโยธาธิการและผังเมืองปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2483 กรมโยธาเทศบาลตั้งอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามของถนนหลานหลวง จึงสะดวกสามารถเดินไปทำงานได้ นางปรียาและน้องสาว คือนางธารีฯ นับเป็นสถาปนิกหญิงคนแรกของกรมเช่นกัน
นางปรียา ฉิมโฉม สมรสกับนายสนิท ฉิมโฉมสถาปนิก รุ่น 1 เพื่อนร่วมชั้น ที่ได้มาทำงานที่กรมโยธาด้วยกันซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งสถาปนิกใหญ่ของกรม มีบุตรชายร่วมกันเพียง 1 คน คือ นายณัฐเสกข์ ฉิมโฉม อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

โดย: ขามเรียง 22 กันยายน 2554 12:23:09 น.  

 

น้ำท่วมคือปัญหา ณ.พ.ศ.2544.นี้
ปัญหาที่เกิดกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
ผลกระทบบนระนาบชุมชนเมือง/ความเป็นเมือง รวมถึงภาคเกษตรกรรมภาคอุตสาหกรรม (มหภาค/จุลภาค)
ที่เป็นสหสัมพันธ์กัน การละเลยพยาธิสภาพปัญหาน้ำท่วมตามธรรมชาติ เชิงการวางผังเมืองที่เป็นสหวิชาการและเชิงกายภาพ
มิได้เป็นภารกิจของสถาปนิกและวิศวกรผังเมือง/สมาคมและภาคราชการ ที่เป็นกลไกของรัฐเท่านั้น บนยอดสุดของความรับผิดชอบ แท้จริงคือผู้นำ/พรรค/นักการเมือง
ที่ควรมีวิสัยทัศน์-ญาณทัศน์ และฉากทัศน์(Vision Intuitive & scenario)อย่างยิ่ง

สังคมสุขนิยม(Hedonism)ในหลุมสบาย(Comfort Zone)เป็นปรัชญาที่นำมาวิเคราะห์สาเหตุของหายนะครั้งนี้
หากชาวเอเซียอุษาคเนย์นามว่า"อาเชียน"ยังจะปรารถนามีเผ่าพันธุ์ที่ยั่งยืนต่อไป
ควรที่จะต้องนำการเมืองสีเขียว(Green Politics)มาเป็นหนึ่งในนโยบายบริหารจัดการเมือง/ผังเมืองและแผ่นดินหรือสิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติ/สุขภาพโดยรวม อย่าง ขาดไม่ได้และเร่งด่วน

[b]นักการเมือง/นักเคลื่อนไหว บูชาระบบประชาธิปไตยกันสุดหัวใจหรือเปล่า?[/b]
(ไม่เคยมีรัฐบาลไหนสนใจอย่างจริงจังเลย คราวนี้คงเป็นบทเรียนที่ล้ำค่า ประเทศไทยมี 2 อย่าง ไม่น้ำท่วมก็แห้งงแล้ง : facebook: post by Somchai Roogun)

แท้ที่จริงในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา๖๗และมาตรา๘๕
ยังได้บรรจุสาระกำหนดเรื่องผังเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้ด้วยแล้ว
แต่จะมีใครสักกี่คนที่ให้ความสนใจ

อนึ่งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย(คปร) ยังได้คิดเรื่องการปฏิรูปเมืองไว้ด้วยเช่นกัน(รายงานฯหน้า๘๗)

ผมขอท้าทายสมาชิกชุมชนปรัชญา/ห้องสมุด ที่ใฝ่รู้ ได้โปรดนำร่องผู้คนให้ความสนใจกับมาตราดังกล่าว

--------------------- ----------------------- --------------------------
กระทู้ K11185732 ปรัชญาน้ำท่วม [ปรัชญา] ณ. ลังค่าย (5 - 13 ต.ค. 54 14:45)

 

โดย: อุทกภัยครั้งใหญ่เกิดขึ้น (ขามเรียง ) 14 ตุลาคม 2554 11:03:56 น.  

 

Photobucket

 

โดย: ขามเรียง 14 ตุลาคม 2554 11:29:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ขามเรียง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ขามเรียง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.