เมื่อมีเหตุ ก็ย่อมมีผล ดับเหตุได้ก็ดับผลนั้งลงได้ เช่นกัน
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
10 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 

ทำไมความศรัทธา ถึงเป็นเหตุ แห่งความสำเร็จในบวรพระพุทธศาสนา

แม้ว่าใครหลายคนจะยังมีความรู้สึกว่า การทำอะไรก็ตามแล้วจะต้องมีปัญญาเป็นสำคัญก็มี มีสติเป็นสำคัญก็มี มีวิริยะคือความเพียรเป็นสำคัญก็มี ตลอดจนถึงมีสมาธิเป็นสำคัญก็มี จึงจะประสบความสำเร็จต่อการกระทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นหนทางแห่งการบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือการทำกิจการงานต่างๆได้อย่างสำเร็จลุล่วง คำว่า สำคัญ ในที่นี้หมายถึง ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ซึ่งบทความที่จะกล่าวเป็นความคิดเห็น ที่เปิดกว้างเพื่อให้ทุกท่านในวงที่ต้องรักษาและทะนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและคนรอบข้าง (เหมือนลูกโซ่แต่ไม่ใช่เพราะความจริงทุกห่วงโซ่มีความจำเป็นและสำคัญเท่าเทียมกันเสมอ ในวัฏสงสารนี้ คำว่าเท่าเทียม หมายถึง ทุกคนมีสิทธิ์จะหลุดพ้น) ก่อนจะกล่าวความคิดเห็นนี้ต้องขอยกพระสูตรที่ว่าด้วยเหตุแห่งความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม มาให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่งก่อน เนื่องจากคงจะเห็นมาแล้วหลายบทความในลักษณะนี้
ผมสรุปให้ฟังก่อนเลยว่า เหตุที่เสื่อมเพราะ ความประมาทเป็นเหตุหลัก ทีนี้คำว่าประมาท คืออะไร แต่ยังไม่ตอบ มาอ่านพระไตรปิฏกกันก่อนครับ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร
[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อย และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้ สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ
[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ
[๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ
[๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ
[๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑ เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือนไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

จบสูตรที่ ๑๓

จบกัสสปสังยุตต์ที่ ๔

พออ่านแล้วเริ่มมองเห็นไหมครับว่าอะไรที่มันเป็นเหตุ กลับมาที่เรื่องความประมาท ครับ ความประมาทมีหลายความหมาย หากเราทั้งหลายนั้นเห็นว่าธรรม หมายถึงสิ่งที่เราทุกคนต้องเจอต้องพบและต้องเป็น ดังนั้น ความประมาทนี้จึงหมายถึงความประมาทในธรรมเช่นกัน อ้อมาที่ความหมายของความประมาทก่อนครับ
ความประมาทในทางพุทธ หมายถึง การใช้ชีวิตตามความต้องการของกิเลส ความอยาก ความโกรธ ความหลงเพราะไม่รู้ไม่เข้าใจอย่างถี่ถ้วน ข้อที่ว่าความหลงเป็นเหตุอีกมากมายหลายเรื่อง ดังนั้นจะเห็นว่าความประมาทไม่ใช่ทางที่จะทำให้อะไรดีขึ้นเลย แล้วมันเกี่ยวยังไงกับการมีหรือไม่มีศรัทธาละ และเกี่ยวยังไงกับความเสื่อมของพระศาสนาละ พอมาถึงจุดนี้ก็จะเห็นว่ามันมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันอยู่อย่างเป็นลำดับอย่างแน่นอน เพราะหากทุกคนมาถึงจุดที่ยอมรับและเข้าใจว่าพระพุทธศาสนาเป็นพระศาสนาที่ให้ความสำคัญในด้านการปฏิบัติ หรือ เรียกการทดลองอย่างเป็นเหตุและเป็นผล ด้วยอะไรละ นั่นซิ...แต่เรากำลังพูดถึงเรื่องความเกี่ยวข้องกันของความประมาทในธรรม กับ ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม กับ ความศรัทธา ว่ามันเกี่ยวกันยังไง
องค์แห่งอินทรีย์ทั้ง ๕ ในพุทธศาสนานั้นมี
๑ ศรัทธา ๒ วิริยะ ๓ สติ ๔ สมาธิ ๕ ปัญญา แล้วทำไมต้องเป็นอินทรีย์ทั้งห้า นี้ที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้เข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คำตอบคือ พระพุทธศาสนาเราทั้งหลายเห็นเรื่องการทำหรือชำระจิตให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสอันเศร้าหมองเป็นเรื่องสำคัญที่สุด บางคนยังสงสัย อินทรีย์ทั้ง๕ นั้นใช้กับเรื่องอื่นก็ได้เหมือนการ เช่น ศรัทธาผิดๆ วิริยะผิดๆ สติผิดๆ สมาธิผิดๆ ปัญญาผิดๆ ก็ทำอะไรให้สำเร็จได้ แต่ยกเว้นความสำเร็จในพระพุทธศาสนาเพราะไม่ใช่เหตุให้จิตบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส เท่านั้นเอง นี้จึงเป็นข้อแตกต่าง แต่นั่นแหละคือความยากของผู้ไม่เข้าใจว่า แล้วความศรัทธาที่ว่า มันสำคัญยังไง มันมีองค์ประกอบเกี่ยวข้องกันมากกว่าที่เราเข้าใจแม้กระทั่งผู้ที่กำลังเสนอความคิดเห็นนี้อยู่ก็ตาม ผมอยากจะยกตัวอย่างเวลาที่เราจะทำอะไรก็ตาม ว่าเมื่อทำแล้วดีมีประโยชน์ ได้เงิน ไม่อดตายแน่นอน และไม่ผิดกฏหมาย อย่างนี้เชื่อว่า ทุกคนคงอยากรู้แน่นอนว่าทำอะไรยังไงใช่ไหมครับ และหากเราทั้งหลายได้ลองทำดูแล้วปรากฏว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ถามตัวเราว่าเราชอบไหมและอยากให้ผู้อื่นได้เหมือนเราไหมถ้าสิ่งนั้นไม่ได้จำกัดที่ใครที่ไหนที่อะไรๆเลย แต่จุดสนใจที่แท้จริงตอนเราเริ่มต้นมานับถือปฏิบัติด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาคืออะไร แน่นอนย่อมมีคำตอบเดียว และแน่นอนอีกเช่นกันผู้ที่ไม่ได้นับถือปฏิบัติด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริงก็ไม่มีคำตอบในสิ่งนั้นๆ เพราะยังคงประมาทอยู่นั่นเอง เห็นไหมว่ามันเป็นจุดเริ่มต้น ทีนี้พอรู้คำตอบแล้วก็เริ่มจะพอรู้แล้วว่าจะทำไงต่อ เมื่อใดก็ตามที่พิจารณาและคิดหาทางออกอย่างแท้จริงเกิดขึ้นในจิตใจก็เท่ากับว่า เราเริ่มมีศรัทธาแล้ว และเมื่อศรัทธาเกิด สิ่งอื่นๆก็จะเกิดตามมาจนครบองค์ ๕ อันมี วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา และเคลื่อนไปพร้อมกันราวกับเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นหนทางของการสร้างความสุขในขณะยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพานที่เราทั้งหลายทุกคนมีได้ ด้วยจุดเริ่มต้นนั้น คือ ทาน หรือ การให้ หรือ การเสียสละ การสำรวมกาย วาจา ใจ หรือการรักษาศีล การฝึกสติ ให้มีสมาธิ ด้วยการภาวนา และเกิดปัญญาความรู้และเข้าใจในธรรมทั้งหลาย ด้วยตนเองนั้นตามลำดับ ซึ่งการอบรมอินทรีย์ก็คือการสะสมความดีเพื่อที่จะทำให้เกิดปัญญา อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลายนั้นนั่นเอง เพื่อการละคลายจากกิเลสความเศร้าหมองทั้งปวง นั่นคือจิตบริสุทธิ์ ซึ่งก่อนจะเป็นอย่างนี้ก็เป็นที่แน่ใจว่าจะต้องมีอุปสรรคมากมายให้คอยกำจัด แต่ถ้าผ่านมาถึงจุดนี้ได้ก็จะไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งต่างๆนั้นอย่างแน่นอน และเมื่อดำเนินมาถึงจุดนี้แล้ว ก็จะพอทำให้มองเห็นภาพหรือหนทางการเข้าสู่ความเข้าใจ หรือ ปัญญาที่ขจัดอวิชชา ความไม่รู้ ความหลง กิเลสตัณหาต่างๆนานา ซึ่งทั้งหลายล้วนเป็นเหตุแห่ง...คำตอบเดียวที่มีอยู่ในจิตใจว่าเป็นไปตามกฏต่างๆนั้นจริงไหม อันมี
กฏไตรลักษณ์ นั้น ๑
อริยะสัจ ๔ นั้น ๑
และอินทรีย์ทั้ง ๕ ที่อบรมนั้นเป็นการอบรมจิตใจใช่ไหม ๑
และเหตุให้เกิดการอบรมได้ตามองค์อินทรีย์ทั้ง ๕ นั้นเป็นองค์อริยะมรรคทั้ง ๘ ใช่หรือไม่อย่างไร ถึงตรงนี้หลายท่านคงมองเห็นแล้วว่าคำตอบนั้นคืออะไร คำตอบที่เป็นนคำตอบเดียวไม่มีอื่นนั้นคืออะไร ใช่ไหมครับ แต่ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังไม่รู้ว่าคำตอบคืออะไร ก็ไม่เป็นไรครับ เพราะว่าทุกคนนั้นมีสิ่งต่างๆที่เป็นเหตุปัจจัยแตกต่างกันครับ ไม่มีอะไรใหม่และก็ไม่เคยมีอะไรเก่า ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเกิดขึ้นและเป็นไปอยู่อย่างนั้นเสมอ แต่เมื่อถึงเวลาเราก็จะมองเห็นคำตอบนั้นได้เองครับ

นี้คือเหตุที่พระธรรมจะไม่เสื่อมไป เพราะว่ามีศรัทธา อย่างแท้จริงซึ่งเป็นเหตุเริ่มต้น และเหตุที่มีความศรัทธาก็เพราะความไม่ประมาทนั่นเอง และอีกเรื่องที่สำคัญอีกประการคือ ในการสร้างความศรัทธาให้เกิดนั้น มีสองประการคือ ภายใน กับ ภายนอก ที่กล่าวมานั้นเป็นภายใน คือ รับรู้ได้ด้วยจิตใจตนเองซึ่งจะทำให้ผู้นั้นได้ประโยชน์สุขอย่างเต็มที่โดยตนเอง ส่วนศรัทธาที่เกิดจากสิ่งภายนอก ก็เป็นเครื่องช่วยหรืออุบายให้ระลึกนึกถึง หรือน้อมใจมาหาคำสอนของพระศาสดาหรือเหตุที่มาแห่งสิ่งทั้งหลายนั่นเอง แต่จะได้ประโยชน์สุขได้เท่ากับการรู้ภายในหรือศรัทธาภายในนั้น (วัตถุธรรมทั้งหลาย เรียกว่า ภายนอก) ยังห่างไกลกันมากนักดังจะกล่าวถึงต่อไปถึง ในเรื่องระดับและเหตุแห่งความเป็น อริยะบุคคล มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ต่อไป
อนุโมทนาสาธุครับ




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2552
0 comments
Last Update : 11 ตุลาคม 2552 7:18:49 น.
Counter : 997 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


kengkenny
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add kengkenny's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.