กันยายน 2558

 
 
2
3
6
8
12
13
14
15
16
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
 
 
All Blog
ศรีราชา ปฐมบทคอนแทร็คฟาร์มของซีพีเอฟ

ศรีราชา ปฐมบทคอนแทร็คฟาร์มของซีพีเอฟ

4 ทศวรรษแห่งการสร้างความมั่นคงให้เกษตรกรไทย




หากพูดว่าเกษตรกรไทยทำงานได้เงินใช้หนี้ก็คงไม่ผิด แต่ที่ศรีราชา จังหวัดชลบุรี...เป็นพื้นที่ที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ได้เริ่มปักหมุดดำเนินการโครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงไก่เนื้อแก่เกษตรกร ช่วยให้เกษตรกรหลุดจากวงจรการเป็นหนี้ไม่สิ้นสุด สร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกร ตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงปัจจุบันรวม 4 ทศวรรษแล้ว
นายสุรเชษฐ ปิ่นเกล้า รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจไก่กระทง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ซีพีเอฟ เล่าว่า โครงการส่งเสริมไก่เนื้อศรีราชา เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2518 เข้ามาส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เลี้ยงไก่เนื้อในลักษณะคอนแทร็กฟาร์ม นับเป็นจุดกำเนิดในการสร้างงานสร้างอาชีพที่มั่นคง สร้างความเป็นอยู่ที่ดีแก่เกษตรกรไทยจนถึงทุกวันนี้ ตามแนวคิดของนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี และยังนับเป็นการเริ่มต้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่เนื้อที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมสู่เกษตรกรอีกด้วย





คุณอำไพ ชูชื่น ทายาทของลุงแถม ชูชื่น เกษตรกรรายแรกในยุคบุกเบิกของโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรายย่อย อ.ศรีราชา จ.ศรีราชา เล่าว่าพ่อมีตำแหน่งเป็นประธานเกษตรกรศรีราชา ที่บ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก เงินที่ได้จากขายมันและสับปะรดก็นำไปใช้หนี้หมุนเวียนแบบนี้ทุกปีไม่สิ้นสุด แต่พ่อมีหัวก้าวหน้า เมื่อเจ้าหน้าที่ซีพีเอฟเข้ามาชักชวนเกษตรกรในพื้นที่เลี้ยงไก่เนื้อในระบบคอนแทร็คฟาร์ม พ่อจึงสนใจศึกษาข้อมูล และปรึกษากับหน่วยงานราชการ จนมั่นใจจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการกับซีพีเอฟเป็นรายแรกของศรีราชา 
“สมัยนั้น ไม่มีใครกล้าตัดสินทำตามพ่อสักคน เพราะไม่เคยเลี้ยงไก่มาก่อน และยังต้องกู้ธนาคารสร้างโรงเรือนด้วยวงเงินกว่า 2 แสนกว่าบาทเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพิจารณากันอยู่นานทีเดียว จำได้ว่าเมื่อพี่กับพี่สาวช่วยพ่อเลี้ยงไก่ได้รับเงินครั้งแรก 26,000 บาท จากการขายไก่ 1 หมื่นตัว ใช้เงินกู้ 14,000 บาทแล้วเหลือเงินเก็บตั้ง 8,000 บาท ตื่นเต้นมาก พอทำได้แบบเดิม 2-3 รอบเพื่อนบ้านหลายคนก็เริ่มหันมาสนใจดูงานที่บ้าน และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ของซีพีเอฟกันรวม 200 ครอบครัว เพราะเชื่อว่าครอบครัวจะมีรายได้ที่แน่นอนจริงเหมือนบ้านพี่ และมีบริษัทให้คำแนะนำการเลี้ยงไก่ที่ได้มาตรฐานอย่างใกล้ชิด ส่วนครอบครัวพี่จากที่เลี้ยงไม่ค่อยเป็นหลังจากนั้น 3 ปี ก็ขยายจำนวนไก่เป็น 40,000 ตัว และสามารถใช้หนี้ธนาคารหมดภายใน 5 ปี ปัจจุบันแม้ไม่ได้ทำต่อแล้วแต่ยังคิดอยู่เสมอว่าเงินที่ใช้ในวันนี้ เป็นดอกผลจากเงินเก็บของการเลี้ยงไก่กับซีพีเอฟตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ถ้ายังปลูกมันและสัปปะรดอย่างเดียวก็คงไม่ได้เงินขนาดนี้” คุณอำไพ เล่า
นายสุรเชษฐ กล่าวว่า จากความสำเร็จของการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ศรีราชาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทนำไปต่อยอดและขยายการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศไทย รวมทั้งส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น ได้แก่ ไก่ไข่ สุกร ปัจจุบันมีเกษตรกรในพื้นที่ศรีราชา จำนวน 58 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ร่วมโครงการกับบริษัทนานกว่า 10 ปีขึ้นไปและบางคนสืบทอดอาชีพจากพ่อแม่ที่ร่วมโครงการ 



คุณทนง และคุณจรัญ เอี่ยมอินทร์ สองพี่น้องที่สานต่อการเลี้ยงไก่เนื้อจากแม่ ยี่สุ่น เอี่ยมอินทร์ ที่เข้าร่วมโครงการฯ กับซีพีเอฟตั้งแต่ปี 2522 และส่งไม้ต่อให้คุณทนง เมื่อปี 2535 เพราะเห็นอาชีพของแม่ช่วยให้ครอบครัวมีรายได้ที่แน่นอน ความเป็นอยู่สุขสบายขึ้นกว่าเดิมปัจจุบันคุณทนงสานต่อการเลี้ยงไก่จากแม่ 28,000 ตัว และยังขยายไปทำธุรกิจเปิดร้านขายเฟอนิเจอร์ในตัวเมืองศรีราชาอีกทางหนึ่ง ส่วนน้องชายคุณจรัญ เอี่ยมอินทร์ ได้ขยายออกมาเลี้ยงไก่เนื้อกับโครงการฯ อีก 20,000 ตัว และยังเปิดร้านอินเตอร์เน็ตอีกด้วย 



“ผมกับน้องชายคลุกคลีและช่วยงานพ่อมาตั้งแต่เด็กๆ จึงผูกพันกับอาชีพนี้เป็นอย่างดี และที่สำคัญอาชีพนี้ช่วยให้ครอบครัวของเราลืมตาอ้าปากได้ ไม่ต้องตรากตรำปลูกมันที่ต้องรอฟ้าฝนเป็นใจ ลูกหลานได้เรียนหนังสืออย่างเต็มความสามารถ และไม่ต้องไปหางานทำไกลบ้าน อีกทั้ง ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการเลี้ยงที่ทันสมัย โรงเรือนเป็นระบบอีแวป มีเครื่องมือช่วยให้การเลี้ยงไก่ง่ายกว่าสมัยก่อน ผมกับน้องชายจึงถ่ายทอดประสบการณ์เลี้ยงไก่ที่ดีให้แก่ลูกไปพร้อมๆ กันด้วย” คุณทนงเล่าให้ฟัง 


“จากความสำเร็จของเกษตรกรโครงการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ศรีราชาครบ 4 ทศวรรษในปีนี้ จากโรงเรือนเลี้ยงไก่ที่เป็นแบบเปิดมาเป็นโรงเรือนแบบปิดที่ทันสมัย ซีพีเอฟก็ยังคงไม่หยุดเดินหน้าสร้างความสำเร็จให้กับเกษตรกรที่ร่วมโครงการฯ รวม 5,000 รายทั้งในพื้นที่ศรีราชา และพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศไทย เพื่อร่วมช่วยสร้างอาชีพที่มั่นคง ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกรไทย” นายสรุเชษฐกล่าว 







คนเดินทาง/รายงาน


เครดิตจาก  หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

#cp #cpf #ศรีราชา #ฟาร์มต้นแบบ  

 #
โครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรายย่อย #ศรีราชา



Create Date : 18 กันยายน 2558
Last Update : 18 กันยายน 2558 15:01:49 น.
Counter : 1001 Pageviews.

2 comments
  
ขอเบอร์ติดต่อหน่อยได้ไหมคะ
โดย: ศศิธร IP: 1.47.111.245 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:15:29:06 น.
  
ขอเบอร์ติดต่อหน่อยได้ไหมคะ
โดย: ศศิธร IP: 1.47.111.245 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:15:30:43 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2344345
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]